รีวิว Noctua NH-U12A 120mm U-Type Premium CPU Cooler

      สำหรับวันนี้เรามาดูอีกหนึ่งสุดยอด CPU Cooler จากค่าย Noctua ในรุ่น NH-U12A ที่เป็นการออกแบบให้ตัว CPU Cooler นั้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ CPU ที่มีการใช้พัดลมขนาด 140mm. ในขนาดของ CPU Cooler ขาดเดียว 120mm. “140mm performance in 120mm size” และสำหรับค่าย Noctua นั้นก็ยังคงยืนพื้นฐานการออกแบบของ Cooling ที่เน้นความเงียบเป็นหลัก ดังนั้นค่ายนี้จึงไม่ได้สนใจในเรื่องของแสงสี RGB ใดๆ ทั้งสิ้น… โดยการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของตัว Heatsink และพัดลมระบายความร้อนในทุกๆ รุ่นจะเน้นในเรื่องของ “ประสิทธิภาพ/ความเงียบ” เป็นอันดับแรกครับ และยังถึงว่า Heatsink รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 ของตระกูล NH-U12 Series อีกด้วย

 

     Noctua NH-U12A นั้นเป็น CPU Cooler ชนิด Heatsink ระบายความร้อนที่เลือกใช้ฐานทองแดงและท่อ Heatpipe ทองแดงเป็นตัวดึงนำความร้อนไปสู่ครีบระบายความร้อนหรือ Fins ที่ทำจากอลูมิเนียม แน่นอนครับว่าเหมือนก็เหมือนกับ Heatsink ทั่วไปที่มีหลักการทำงานมาตราฐานเหมือนๆ กัน แต่ผมขอบอกก่อนว่า นอกจากคุณจะทำ Heatsink ขึ้นมาด้วยวัสดุคุณภาพดีแค่ไหนก็ได้ เช่นทองแดงเกรดสูง, ฟองอากาศน้อย, มีความหนาแน่นสูง, ท่อ Heatpipe ทองแดงใส่สารนู่นนี่… ครีบระบายความร้อนใช้แผ่นอลูมิเนียมคุณภาพสูง หรือท่อ Heatpipe มีการเชื่อมกับกับฐานทองแดงและบริเวรครีบระบายความร้อนเป็นอย่างดี… ก็ไม่ใช่ว่า Heatsink รุ่นที่คุณสร้างขึ้นมามันจะเย็นเสมอไปนะครับ มีหลายค่ายที่ไม่ใช่แค่ Noctua ที่ทำออกมาได้ดีได้ดี คือเงียบและเย็น แต่ทว่ามี Heatsink เพียงน้อยรุ่นเท่านั้นที่ออกแบบมาได้อย่างยอดเยี่ยมที่ได้ทั้งความเย็นและความเงียบ…

      ดังนั้นการออกแบบของ NH-U12A นั้นจะเป็นการ Heatsink รุ่นเก่าอย่าง NH-U12S มาปรับปรุงใหม่ ให้มีท่อ Heatpipe มากถึง 7 เส้นและความหนาของครีบระบายความร้อนที่มากขึ้นกว่า 37% เลยทีเดียว และยังไม่พอแค่นั้น มันยังมาพร้อมกับพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NF-A12x25 ที่เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่ระหว่างพัดลมรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง NF-F12 และ NF-S12A จึงทำให้ NF-A12x25 นั้นกลายเป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับเอาไประบายความร้อนให้กับหม้อน้ำ Radiator, Heatsink หรือแม้แต่เป็นพัดลมระบายความร้อนภายใน PC Case ก็ทำได้ดีมากด้วยเช่นกัน เพราะประสิทธิภาพโดยรวมทั้ง Pressure และ Air-Flow นั้นอยู่ระหว่างกลางของรุ่น NF-F12 (เน้นเรื่องแรงอัดอากาศ Pressure ดีที่สุด) และ NF-S12A (มีอัตราการตักลม Air-Flow ได้ดีที่สุด) อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ครับ ดังนั้นเมื่อ NH-U12A ใช้งานร่วมกับพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NF-A12x25 จำนวน 2 ตัวแล้วทาง Noctua เคลมว่ามันจะเย็นเทียบเท่ากับหรือดีกว่า Heatsink ขนาด 140mm ของตัวเองและของคู่แข่งได้สบายๆ เลยล่ะครับ… หรือเป็นที่มาของคำว่า “140mm performance in 120mm size” นั่นเอง…

แกะกล่องดูด้านในกันเลยดีกว่าครับ โดยตัว Package นั้นจะแบ่งเป็น 2 ชุด ทำจากกล่องกระดาษสีน้ำตาล แบบที่เราเห็นกันในรุ่นอื่นๆ นั่นล่ะครับ โดยแยกระหว่างตัว Heatsink + พัดลมหนึ่งกล่อง และสำหรับอุปกรณ์ Accessries สำหรับการติดตั้งมาอีกหนึ่งกล่อง ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคของตัว Heatsink ดูได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยนะครับ

Tech Spec.

 

NH-U12A

      ตัว Heatsink ออกแบบให้มีความสูงเพียง 158mm. และหน้ากว้างเพียง 125mm. เท่านั้นเอง จึงทำให้มันไม่ใหญ่จนเกินไป การออกแบบให้มี Heatsink ขนาดที่ไม่ใหญ่มากเกินไป ทำให้ตัวมันเองไม่ไปติดหรือบังช่องเสียบ PCI-E Slot ช่องแรกของเมนบอร์ด ส่วนตัวพัดลมนั้นจะทำให้การติดตั้งมาให้ตั้งแต่ในกล่องเลยครับ โดยการจับยึดของตัวพัดลมกับ Heatsink ยังคงเป็นลวดยึดแบบเดิม

 

ตัว Heatsink นั้นจะหนาขึ้นกว่า NH-U12S อยู่ประมาณ 37% คือเพิ่มความหนาของครีบระบายความร้อนหรือ Fins ให้มากขึ้นนั่นเอง ส่วนท่อ Heatpipe ทองแดงนั้นได้เพิ่มเข้าไปถึง 7 เส้นด้วยกันครับ

 

      เพื่อให้เข้ากับการติดตั้งแรม DDR4 หรือความเข้ากันได้ “100% RAM compatibility on LGA115x and AM4” ทั้งในส่วนของเมนบอร์ด Socket Intel 115x และ AM4 จึงได้ทำการออกแบบให้การวางตัวของครีบระบายความร้อนและท่อ Heatpipe นั้นหลบไปอีกด้านหนึ่งให้มากกว่า จากภาพด้านบนคงจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า มันเอียงหลบไปทางด้านขวามือ เพื่อหลบ Slot แรมนั่นเอง คราวนี้ก็หมดปัญหากับการติดตั้ง Heatsink เข้ากับเมนบอร์ดที่ชอบใส่แรมมา 2 Slot และชิดกับ Socket มากๆ อย่างพวก ROG MAXIMUS IX/X/XI APEX Series ที่มี Slot แรมที่ชิดกับ Socket มากๆ จนทำให้ Heatsink หลายรุ่น ไม่สามารถใส่กับเมนบอร์ดรุ่นดังกล่าวได้ แต่สำหรับ NH-U12A นั้นได้แก้ปัญหานี้แล้วครับ ไม่ติดแน่นอน (ผมลองประกอบกับ MAXIMUS XI APEX มาแล้ว ไม่ติดกับแรมที่ Heatspreader สูงๆ อย่างแน่นอน…)

 

ใส่ท่อ Heatpipe ทองแดงมาทั้งหมด 7 ท่อด้วยกัน

 

Heatsink รุ่นนี้ยังได้เน้นถึงเรื่องของการเชื่อมท่อ Heatpipe เข้ากับตัวฐานทองแดง และมีการเชื่อมท่อทองแดงเข้ากับแผ่นครีบ Fin อลูมิเนียมอีกด้วย….เขาบอกมาว่าการเชื่อมแบบนี้มันจะมีประสิทธิภาพในการนำความร้อนที่ดีและตลอดไปแบบไม่มีเสื่อมครับ

 

ฐาน Base ทองแดงชุบด้วยนิคเกิลมาอย่างเงางาม และทำการ Lapping มาอย่างเรียบและเงางามด้วยเช่นกัน

 

การใช้ท่อ Heatpipe มากถึง 7 เส้นนี้ถือว่าไม่ธรรมดาจริงๆ น่าจะดึงความร้อนออกมาระบายที่ฟินได้อย่างเต็มที่แน่นอน

 

บริเวณคานยึดฐานด้านล่างยังคงใช้จุดยึดแบบ น๊อต + สปริง ด้านละหนึ่งชุด

 

Dual NF-A12x25 120mm Fans

มาดูกันต่อในส่วนของพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดจากทาง Noctua ที่ได้เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2018 ที่ผ่านมาแล้วในรุ่น NF-A12x25 รอบการทำงานสูงสุด 2,000rpm. พร้อมขั่วต่อแบบ 4-Pin PWM. สร้าง Air-Flow ได้ 102,1 m³/h ไม่ใช่หน่วย CFM นะครับ ต้องไปแปลงอีกที ส่วนแรงอัดอากาศอยู่ที่ 2,34 mm H₂O กันเลยทีเดียว จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ ครับ

 

Fan Spec.

 

ตัวพัดลมนั้นออกแบบมาให้มีใบพัดมากถึง 9 ใบ ที่มาพร้อมกับครีบบนใบพัดที่ช่วยบังคับทิศทางลมให้เป็นเส้นตรงมากขึ้นโดยทาง Noctua เรียกว่า “Flow Acceleration Channels” นอกจากนี้ตัวใบพัดยังได้รับการออกแบบด้วยวัสดุพิเศษสุดๆ ที่เรียกว่า Sterrox® หรือวัสดุที่ทำจาก liquid-crystal polymer (LCP) ที่มีความแข็งแรงสูง ช่วยลดอาการสั่นของใบพัดเมื่อปะทะกับอากาศ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุของเสียงรบกวนของอากาศเมื่อใบพัดเริ่มตักลมนั่นเอง ดังนั้นเราจะเป็นได้ว่าแค่รายละเอียดเพียงเล้กน้อยพวกนี้ทาง Noctua ก็ได้ให้ความสำคัญมากอีีกด้วย จริงๆ ยังมีข้อมูลอีกมากครับสำหรับ Sterrox® อ่านต่อได้ที่นี่

NF-A12x25 PWM นั้นใช้แรงดันไฟเลี้ยง DC12V กินกระแส 0.14A ใช้พลังงาน 1.66Watt ส่วนรอบการทำงานสูงสุดอยู่ที่ 2000rpm. ครับ

 

ผิวของใบพัดด้วยการผลิตด้วย Sterrox® หรือวัสดุที่ทำจาก liquid-crystal polymer (LCP) ถ้าจับดูแล้วมันจะให้ความรู้สึกว่าแข็งแรงมาก จริงๆ ครับและผิวก็ดูลื่นๆ เงาๆ อีกด้วย ส่วนแกนมอเตอร์นั้นจะดูว่าใหญ่อลังการเป็นพิเศษ เรียกว่า Metal-reinforced motor hub หรือแกนมอเตอร์ที่ทำจากเล็กทั้งชิ้น ช่วยให้ความเสถียรภาพในการหมุนที่สูง ไม่แหว่งหรือเอียงง่ายๆ อย่างแน่นอน หรือได้ศูนย์ที่ตรงและแม่นยำนั่นเอง

 

บริเวณมุมของจุดยึดพัดลมทุกด้านจะมีกรอบยางซับแรงสั่นสะเทือนมาให้ทุกจุด เพื่อลดเสียงรบกวนจากการทำงานของพัดลม

 

ขั่วต่อแบบ DC 12V 4-Pin PWM

 

Accessories Box

อุปกรณ์ภายในกล่อง Accessories Box นั้นก็จะประกอบไปด้วยชุด ฐานยึดต่างๆ ของ Socket CPU ทั้ง AMD และ Intel

Socket Support :

  • Intel : LGA1150, LGA1151, LGA1155, LGA1156, LGA2011, LGA2066
  • AMD : AM4, AM3(+), AM2(+), FM1, FM2(+)

 

ซิลิโคนที่ให้มานั้นคือ Noctua NT-H1 คุณภาพก็ดีระดับหนึ่งเลยนะครับ และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าจะมีรุ่นใหม่ขายแล้วคือ NT-H2 เย็นกว่าอีกประมาณ 1-2c น่าจะเห็นได้ครับ

 

ป้ายเหล็ก Noctua Sticker ก็ยังให้มาเหมือนเดิมอีก 1 ชิ้น

 

สาย Y-Cacble เอาไว้รวมพัดลมเป็นจุดเดียว มีให้ 1 เส้น และสายไฟลดรอบการทำงานของพัดลมเพื่อให้เงียบลงอีก 2 เส้น เรียกว่า Low-Noise-Adapter “NA-RC14”

 

Installation

ขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยากอะไรครับ ประกอบตัวยึดฐานจากด้านหลังให้เรียบร้อยก่อนเลยครับ ด้วยชุด SecuFirm2 Mounting System จากนั้นขึ้นมาขันน๊อตยึดด้านบนให้แน่นทั้ง 4 มุม

 

บริเวณฐานยึดด้านหลังเมนบอร์ดครับ

 

ใส่แรมด้านในสุดไม่ติดพัดลมอย่างแน่นอนครับ เพราะ Hedatsink รุ่นนี้เคลมมาว่า “100% RAM compatibility on LGA115x and AM4จากที่ลองมานะครับ ASROCK Z370 Taichi และ ROG MAXIMUS XI APEX ใส่แรมช่องในสุดแล้วไม่ติดกับตัวพัดลม โดยสามารถถอดแรมเข้าออกได้โดยที่ไม่ติดตัดลมครับ

 

สรุปแล้วเรื่องที่เขาแก้มาโดยตรงก็คือเรื่องการหลบช่องเสียบแรมช่องที่ใกล้กับ CPU โดยไม่ให้ติดกับพัดลมนั้นทำได้จริงๆ ครับ

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ เราก็จะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบเหมือนเช่นเคยครับ ส่วนโปรแกรมที่ใช้ Burn-in CPU นั้นจะเลือกใช้ของ powerMAX : AVX เป็นระยะเวลา 10 นาที แล้วเก็บผลการทดสอบเฉลี่ย CPU ทั้ง 6 Core ของ CPU Intel Core i7-8086K 6C/12T ที่ผ่ากระดองแล้วด้วย Liquid Gallium

Hardware Spec.

CPU
Intel Core i7-8086K 6C/12T Coffeelake 14nm. (Delidded with Liquid Gallium)
CPU Cooler
Motherboard
ASROCK Z370 Taichi [Intel Z370]
Memory
T-Force Xcalibur RGB DDR4-3600 CL18 16GB-Kit
VGA MSI GTX1080 Ti GAMING X
Hard Drive
PSU CoolerMaster V1200 Platinum
OS Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

รายละเอียดของชุก System ที่เราใช้ในการทดสอบครั้งนี้ครับ

 

Temperature Test

      สำหรับรายละเอียดของการทดสอบของเราในครั้งนี้ก็คงเป็นในมาตราฐานของการทดสอบ Heatsink ของเราแบบทุกๆ รีวิวนั่นคือการ Burn-In CPU 100% ด้วยโปรแกรม powerMAX : AVX เป็นเวลา 10 นาที แล้วเก็บผลการทดสอบความร้อนของ CPU ที่ใช้เป็นโหลดก็คือ Intel Core i7-8086K 6C/12T ผ่ากระดองแล้วด้วย Liquid Gallium โดยจะทดสอบทั้งหมด 3 ระดับความเร็วของ CPU ด้วยกันคือความเร็วเดิมๆ 4.3/4.0Ghz, OC 5.0/4.8Ghz 1.30V และ 5.1/4.8Ghz 1.36V ส่วนผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันเลยครับ

 

CPU Default Speed

: 4.3Ghz/Cache 4.0Ghz Vcore 1.13v

ผลการทดสอบแรกเลยที่ CPU ความเร็วเดิมๆ @4.3Ghz/Cache 4.0Ghz พบว่าให้ผลการทดสอบที่เหลือเชื่อจริงๆ ครับ โดยมันเย็นกว่าพัดลมรุ่นพี่ที่ใช้พัดลมขนาดใหญ่ 140mm. อย่าง NH-D15 และ NH-U14S ในระดับ 1.78c ถึง 3.17c องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียวครับ ไม่ธรรมดาจริงๆ นะเนี่ย

 

Overclock Result

: 5.0Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.30V

     เอาล่ะครับมาดูผลการทดสอบแบบ Overclock เพิ่มความร้อนขึ้นกันอีกนิด ก็พบว่าผลการทดสอบก็ยังเย็นกว่า NH-U14S อยู่ราวๆ 1.33c องศาเซลเซียส ที่ความเร็ว CPU @ 5.0Ghz/4.8Ghz ได้อีกด้วย จัดว่าไม่ธรรมดาอย่างที่ Noctua กล่าวไว้ว่า มันคือ Heatsink ที่ใช้พัดลมขนาด 120mm. ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Heatsink ที่ใช้พัดลมขนาด 140mm. จริงๆ ด้วยครับ หุหุ…

 

Overclock Result

: 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.36V

      และที่น่าประทับใจมากที่สุดเลยก็คือผลการทดสอบที่ความเร็ว 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.36V ตรงนี้มี Heatsink น้อยรุ่นนะครับ ที่จะผ่านการทดสอบ powerMAX AVX ได้ 10 นาทีจบได้แบบชิวๆ จากการทดสอบของเราพบว่าเจ้า NH-U12A ยังคงผ่านการทดสอบนี้ได้แบบหน้าตาเฉยเลย ด้วยอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยทุกคอร์ที่ 82.66c และเย็นกว่า NH-U14S ประมาณ 3c องศาเซลเซียสเลยทีเดียวหุหุ… นี่ล่ะครับเรียกว่าการออกแบบที่ดีมากจริงๆ และเจ้า NH-U12A ยังได้เปรียบตรงที่ได้พัดลมระบายความร้อนในรุ่น NF-A12x25 PWM รอบการทำงาน 2000rpm. ที่ได้รับการปรับแต่งมาอย่างดีอีก 2 ตัว จึงทำให้ดึงลมเข้าและดูดลมร้อนออกได้อย่างรวดเร็ว และยังใช้ท่อ Heatpipe อีก 7 ท่อถ้าไม่เย็นก็ให้มันรู้ไปครับ….

      ทั้งหมดนี้เราเทียบกับ Heatsink ของทาง Noctua เองในรุ่น NH-D15 และ NH-U14S เป็นหลักนะครับ เพราะทาง Noctua บอกว่ามันจะมีประสิทธิภาพที่ไม่แพ้ Heatsink ที่ใช้พัดลมระบายความร้อนขนาด 140mm. ซึ่งก็ทำได้จริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเย็นสู้กับ Heatsink ระดับ Hi-END รุ่นอื่นๆ ได้ทุกตัวนะครับ มันก็มีขีดจำกัดของมันอยู่ อย่างไรแล้วก็ลองดูข้อมูลทั้งหมดนี้ประกอบการตัดสินใจดูกันครับ ^^”


Temperature Results (HW Monitor 6 Cores)

: i7-8086K Default 4.3Ghz All Cores (Stable)

  • Min Temp : 26c
  • Max Temp : 54c

 

: OC 5.0Ghz Cache 4.8Ghz Vcore 1.30V (Stable)

  • Min Temp : 28c
  • Max Temp : 78c

 

OC 5.1Ghz Cache 4.8Ghz Vcore 1.36V (Stable)

  • Min Temp : 29c
  • Max Temp : 86c

 

Check contact between CPU and Heatsink

การรีดซิลิโคนของตัว Heatsink บริเวณหน้าสัมผัสของ CPU และ Base นั้นยังคงทำได้ดีเหมือนเดิมครับ เพราะค่ายนี้จะใช้น๊อต + สปริงที่มีแรงกดค่อนข้างดีมาก จึงทำให้การรีดซิลิโคนทำได้ดีเลยทีเดียว โดนซิลิโคนที่เราใช้งานครั้งนี้ก็ยังคงเป็น Kinpin KPx เนื้อสีน้ำเงินเหมือนเดิมครับ

 

 

Temperature Test with Intel Core i9-9900K

     [Update 15-05-2019] เพิ่มเติมผลการทดสอบของ Noctua NH-U12A ร่วมกับ CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ES ที่ความเร็วเดิมๆ จากโรงงาน Max Boost @ 5.0Ghz ดังนั้นความเร็วของ CPU น่าจะอยู่ราวๆ 4.8-5Ghz ในช่วงทดสอบนะครับ ส่วน Cache Speed อยู่ที่ 4.3Ghz โดยเมนบอร์ดที่ใช้ในครั้งนี้ก็คือ ROG MAXIMUS XI APEX (Z390) และแรม DDR4 ตัวแรงจากค่าย T-Force XTREEM DDR4-4800Mhz CL19-22-22-48 1.50V 16GB-Kit

 

      สามารถใส่กับเมนบอร์ดที่ Slot แรมชิดกับ Socket CPU มากๆ อย่างในรุ่น ROG MAXIMUS XI APEX ที่เป็นเมนบอร์ดที่มีแรม 2 Slot และออกแบบมาให้ชิดกับ Socket เป็นพิเศษ เพื่อลดระยะทางการส่งข้อมูลของแรมและ CPU ให้สื่อสารกันได้ใกล้ที่ได้สุด เพื่อประสิทธิภาพใน Overclock แรมใระดับดับความเร็วเกิน 4800Mhz+ จึงทำให้ Slot แรมและ Socket นั้นชิดกันมากเหลือเกิน จนทำให้บางครั้งหา Heatsink ที่จะใส่กับมันได้ยากจริงๆ ครับ  บางท่านอาจจะต้องยอมหลบไปเล่น AIO Cooler แทนเพราะถ้าจะหา CPU Cooler ดีๆ สักตัวก็มักจะตัวใหญ่ ติดกับแรมที่จะใส่อีก ทำให้วุ่ยวายไปหมด และสำหรับ Noctua NH-U12A นั้นสามารถเข้ากับเมนบอร์ดรุ่นนี้และสามารถใส่แรมที่มี Heatspreader ทรงสูงๆ ได้สบายครับ ไม่ติดกับพัดลมแน่นอน และยังสามารถถอดแรมเข้า/ออก ได้โดยไม่ติดอะไรเลย ถือว่าออกแบบมาได้ดีจริงๆ “100% RAM compatibility on LGA115x and AM4

 

Temperature Test

     ผลการทดสอบที่ออกมากับการติดตั้งเข้ากับ CPU รุ่นใหญ่อย่าง Intel Core i9-9900K 8C/16T ที่มีความร้อนที่ปลดปล่อยออกมาค่อนข้างมากเลยทีเดียว ซึ่งหลายท่านมีปัญหาในการเลือก CPU Cooler ให้กับเจ้า i99900K ตัวนี้จริงๆ ครับ   และสำหรับผลการทดสอบของ Noctua NH-U12A ในครั้งนี้ก็พบว่าสามารถระบายความร้อนให้กับ i9-9900K ได้นะแต่ต้องไม่ OC เกินระดับ 4.9Ghz+ เพราะความร้อนจะทะลุ 100c แบบเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผลการทดสอบชุดนี้ก็จะเป็นการทดสอบที่ความเร็วของ CPU เดิมๆ จากโรงงานที่มี Turbo Boost @ 5.0Ghz สูงสุด และน่าจะวิ่งที่ความเร็วเฉลี่ย 4.8Ghz 8Cores ตลอดเวลา….  และผลการจากทดสอบพบว่าช่วง Idle อยู่ที่ 33.25c และ Full Load อยู่ที่ 90.62c  โดยเป็นผลเฉลี่ยของ CPU ทั้ง 8 Cores  ส่วนผลการทดสอบแบบละเอียดนั้นชมกันต่อได้จากภาพด้านล่างนี้เลยครับ

 

Temperature Result (HW Monitor 8 Cores)

: i9-9900K Default Speed

  • Min Temp : 32c
  • Max Temp : 94c
  • Max Temp Average : 90.62c

 

x264 FHD Benchmark @ 5.0Ghz/Cache 4.5Ghz Vcore 1.25v

ลองลากเล่นดูที่ 5.0Ghz/Cache 4.5Ghz ก็พบว่าอุณหภูมิที่รันโปรแกรม x264 FHD Benchmark ก็ทะลุ 100c ไปถึง 4 คอร์เลยทีเดียว ฮ่าๆ… ผมนี้ยอมใจริงๆ สำหรับพี่ใหญ่ Intel Core i9-9900K ตัวนี้…

 

Conclusion.

      เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Noctua NH-U12A ตัวนี้ที่มาพร้อมกับพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NF-A12x25 PWM 2000rpm. ที่ทั้งเย็นและเงียบมากจริงๆ และสำหรับประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดที่ทำออกมาได้นั้น NH-U12A CPU Cooler รุ่นนี้ก็ออกแบบมาให้เย็นและเทียบเท่ากับ CPU Cooler รุ่นที่ใช้พัดลมระบายความร้อนขนาด 140mm. ได้จริงๆ ตามคอนเซ็ปที่ว่า “140mm performance in 120mm size” จริงๆ ครับ และจากการทดสอบของเราดูเหมือนจะทำได้เย็นกว่า NH-U14S อีกด้วยนะเออ…. จัดว่ากินรุ่นพี่ตัวเองได้อย่างหน้าตาเฉยเลย ฮ่าๆ… แน่นอนครับ Heatsink ที่ใช้พัดลมระบายความร้อนถึง 2 ตัว ย่อมได้เปรียบกว่าจริงๆ… สรุปแล้วเรื่องประสิทธิภาพทำได้ดีอย่างที่บอกไว้จริงๆ และน่าจะเป็น CPU Cooler รุ่นที่ใช้พัดลมแค่ 120mm. รุ่นเดียวที่เย็นที่สุดในตาราง และสามารถทดสอบ powerMAX AVX ผ่าน 10 นาทีที่ความเร็ว CPU Intel Core i7-8086K @ 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.36v ผ่านได้เป็นตัวแรกเลยก็ว่าได้ครับ…

      ส่วนเรื่องของการออกแบบที่ต้องการให้ใส่แรม DDR4 กับบอร์ดรุ่นใดก็ตามแต่แล้วไม่ให้ติดแบบ 100% นั้นก็ทำได้จริงๆ โดยผมได้ลองใส่กับเมนบอร์ดที่มีช่องเสียบแรมชิดกันมากๆ อย่าง MAXIMUS XI APEX ก็พบว่าไม่ติดแรมจริงๆ ด้วยครับ โดยยังสามารถถอดแรมเข้าออกได้ โดยไม่ติดพัดลมเลย และช่อง PCI-E Slot ช่องแรก เวลาใส่การ์ดจอเข้าไป ก็ไม่ติดกับตัว Heatsink และ Clip Lock ของพัดลมจริงๆ ด้วยครับ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น โดยทั้งหมดนี้จะเป็นการทดสอบร่วมกับเมนบอร์ด Socket LGA115x และ AM4 เท่านั้นนะครับ ส่วนพวก SOcket LGA-2066 นั้นมีการระบุว่า พัดลมด้านหลังของ Heatsink น่าจะไปบังช่องเสียบแรมอยู่ ดังนั้นแรมที่ใส่ได้ต้องไม่สูงเกิน 42mm. สำหรับการติดตั้งแรมแบบ Quad-Channel บนเมนบอร์ด LGA-2066 ครับ

      สรุปแล้วก็เย็นอย่างที่เขากล่าวไว้จริงๆ ว่ารุ่นนี้ทำให้ CPU Cooler ที่ใช้พัดลมขนาด 120mm. เย็นเทียบเท่ากับรุ่น 140mm. ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความเข้ากันได้ของ Hardware มากขึ้น เพื่อไม่อยากให้ติดเรื่องของ Slot แรมและช่องเสียบ PCIE Slot ช่องแรกของเมนบอร์ด จึงทำให้เกิดการออกแบบพัฒนาให้เกิดมาเป็นรุ่น NH-U12A นั่นเองครับ และสำหรับวันนี้ผมเองก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

Noctua