รีวิว Noctua NH-U12A 120mm U-Type Premium CPU Cooler

      สำหรับวันนี้เรามาดูอีกหนึ่งสุดยอด CPU Cooler จากค่าย Noctua ในรุ่น NH-U12A ที่เป็นการออกแบบให้ตัว CPU Cooler นั้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ CPU ที่มีการใช้พัดลมขนาด 140mm. ในขนาดของ CPU Cooler ขาดเดียว 120mm. “140mm performance in 120mm size” และสำหรับค่าย Noctua นั้นก็ยังคงยืนพื้นฐานการออกแบบของ Cooling ที่เน้นความเงียบเป็นหลัก ดังนั้นค่ายนี้จึงไม่ได้สนใจในเรื่องของแสงสี RGB ใดๆ ทั้งสิ้น… โดยการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของตัว Heatsink และพัดลมระบายความร้อนในทุกๆ รุ่นจะเน้นในเรื่องของ “ประสิทธิภาพ/ความเงียบ” เป็นอันดับแรกครับ และยังถึงว่า Heatsink รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 ของตระกูล NH-U12 Series อีกด้วย

 

     Noctua NH-U12A นั้นเป็น CPU Cooler ชนิด Heatsink ระบายความร้อนที่เลือกใช้ฐานทองแดงและท่อ Heatpipe ทองแดงเป็นตัวดึงนำความร้อนไปสู่ครีบระบายความร้อนหรือ Fins ที่ทำจากอลูมิเนียม แน่นอนครับว่าเหมือนก็เหมือนกับ Heatsink ทั่วไปที่มีหลักการทำงานมาตราฐานเหมือนๆ กัน แต่ผมขอบอกก่อนว่า นอกจากคุณจะทำ Heatsink ขึ้นมาด้วยวัสดุคุณภาพดีแค่ไหนก็ได้ เช่นทองแดงเกรดสูง, ฟองอากาศน้อย, มีความหนาแน่นสูง, ท่อ Heatpipe ทองแดงใส่สารนู่นนี่… ครีบระบายความร้อนใช้แผ่นอลูมิเนียมคุณภาพสูง หรือท่อ Heatpipe มีการเชื่อมกับกับฐานทองแดงและบริเวรครีบระบายความร้อนเป็นอย่างดี… ก็ไม่ใช่ว่า Heatsink รุ่นที่คุณสร้างขึ้นมามันจะเย็นเสมอไปนะครับ มีหลายค่ายที่ไม่ใช่แค่ Noctua ที่ทำออกมาได้ดีได้ดี คือเงียบและเย็น แต่ทว่ามี Heatsink เพียงน้อยรุ่นเท่านั้นที่ออกแบบมาได้อย่างยอดเยี่ยมที่ได้ทั้งความเย็นและความเงียบ…

      ดังนั้นการออกแบบของ NH-U12A นั้นจะเป็นการ Heatsink รุ่นเก่าอย่าง NH-U12S มาปรับปรุงใหม่ ให้มีท่อ Heatpipe มากถึง 7 เส้นและความหนาของครีบระบายความร้อนที่มากขึ้นกว่า 37% เลยทีเดียว และยังไม่พอแค่นั้น มันยังมาพร้อมกับพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NF-A12x25 ที่เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่ระหว่างพัดลมรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง NF-F12 และ NF-S12A จึงทำให้ NF-A12x25 นั้นกลายเป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับเอาไประบายความร้อนให้กับหม้อน้ำ Radiator, Heatsink หรือแม้แต่เป็นพัดลมระบายความร้อนภายใน PC Case ก็ทำได้ดีมากด้วยเช่นกัน เพราะประสิทธิภาพโดยรวมทั้ง Pressure และ Air-Flow นั้นอยู่ระหว่างกลางของรุ่น NF-F12 (เน้นเรื่องแรงอัดอากาศ Pressure ดีที่สุด) และ NF-S12A (มีอัตราการตักลม Air-Flow ได้ดีที่สุด) อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ครับ ดังนั้นเมื่อ NH-U12A ใช้งานร่วมกับพัดลมรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NF-A12x25 จำนวน 2 ตัวแล้วทาง Noctua เคลมว่ามันจะเย็นเทียบเท่ากับหรือดีกว่า Heatsink ขนาด 140mm ของตัวเองและของคู่แข่งได้สบายๆ เลยล่ะครับ… หรือเป็นที่มาของคำว่า “140mm performance in 120mm size” นั่นเอง…

แกะกล่องดูด้านในกันเลยดีกว่าครับ โดยตัว Package นั้นจะแบ่งเป็น 2 ชุด ทำจากกล่องกระดาษสีน้ำตาล แบบที่เราเห็นกันในรุ่นอื่นๆ นั่นล่ะครับ โดยแยกระหว่างตัว Heatsink + พัดลมหนึ่งกล่อง และสำหรับอุปกรณ์ Accessries สำหรับการติดตั้งมาอีกหนึ่งกล่อง ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคของตัว Heatsink ดูได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยนะครับ

Tech Spec.

 

NH-U12A

      ตัว Heatsink ออกแบบให้มีความสูงเพียง 158mm. และหน้ากว้างเพียง 125mm. เท่านั้นเอง จึงทำให้มันไม่ใหญ่จนเกินไป การออกแบบให้มี Heatsink ขนาดที่ไม่ใหญ่มากเกินไป ทำให้ตัวมันเองไม่ไปติดหรือบังช่องเสียบ PCI-E Slot ช่องแรกของเมนบอร์ด ส่วนตัวพัดลมนั้นจะทำให้การติดตั้งมาให้ตั้งแต่ในกล่องเลยครับ โดยการจับยึดของตัวพัดลมกับ Heatsink ยังคงเป็นลวดยึดแบบเดิม

 

ตัว Heatsink นั้นจะหนาขึ้นกว่า NH-U12S อยู่ประมาณ 37% คือเพิ่มความหนาของครีบระบายความร้อนหรือ Fins ให้มากขึ้นนั่นเอง ส่วนท่อ Heatpipe ทองแดงนั้นได้เพิ่มเข้าไปถึง 7 เส้นด้วยกันครับ

 

      เพื่อให้เข้ากับการติดตั้งแรม DDR4 หรือความเข้ากันได้ “100% RAM compatibility on LGA115x and AM4” ทั้งในส่วนของเมนบอร์ด Socket Intel 115x และ AM4 จึงได้ทำการออกแบบให้การวางตัวของครีบระบายความร้อนและท่อ Heatpipe นั้นหลบไปอีกด้านหนึ่งให้มากกว่า จากภาพด้านบนคงจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า มันเอียงหลบไปทางด้านขวามือ เพื่อหลบ Slot แรมนั่นเอง คราวนี้ก็หมดปัญหากับการติดตั้ง Heatsink เข้ากับเมนบอร์ดที่ชอบใส่แรมมา 2 Slot และชิดกับ Socket มากๆ อย่างพวก ROG MAXIMUS IX/X/XI APEX Series ที่มี Slot แรมที่ชิดกับ Socket มากๆ จนทำให้ Heatsink หลายรุ่น ไม่สามารถใส่กับเมนบอร์ดรุ่นดังกล่าวได้ แต่สำหรับ NH-U12A นั้นได้แก้ปัญหานี้แล้วครับ ไม่ติดแน่นอน (ผมลองประกอบกับ MAXIMUS XI APEX มาแล้ว ไม่ติดกับแรมที่ Heatspreader สูงๆ อย่างแน่นอน…)

 

ใส่ท่อ Heatpipe ทองแดงมาทั้งหมด 7 ท่อด้วยกัน

 

Heatsink รุ่นนี้ยังได้เน้นถึงเรื่องของการเชื่อมท่อ Heatpipe เข้ากับตัวฐานทองแดง และมีการเชื่อมท่อทองแดงเข้ากับแผ่นครีบ Fin อลูมิเนียมอีกด้วย….เขาบอกมาว่าการเชื่อมแบบนี้มันจะมีประสิทธิภาพในการนำความร้อนที่ดีและตลอดไปแบบไม่มีเสื่อมครับ

 

ฐาน Base ทองแดงชุบด้วยนิคเกิลมาอย่างเงางาม และทำการ Lapping มาอย่างเรียบและเงางามด้วยเช่นกัน

 

การใช้ท่อ Heatpipe มากถึง 7 เส้นนี้ถือว่าไม่ธรรมดาจริงๆ น่าจะดึงความร้อนออกมาระบายที่ฟินได้อย่างเต็มที่แน่นอน

 

บริเวณคานยึดฐานด้านล่างยังคงใช้จุดยึดแบบ น๊อต + สปริง ด้านละหนึ่งชุด