ทดสอบจริง Liquid Gallium Thermal Conductivity

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy มีตัวนำความร้อนแบบยิ่งยวดสำหรับ CPU มาแนะนำกันอีกหนึ่งชนิด หลังจากที่ลองเล่นมันมาสักพักใหญ่ๆ แล้วกับเจ้า Liquid Gallium Thermal Conductivity ที่มีสื่อในการนำไฟความร้อนได้ดีในระดับ 40.6W/m.K กันเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับซิลิโคนคุณภาพที่เราใช้กันแล้วจะอยู่ที่เพียงระดับ 8-12W/m.K เท่านั้นเอง ซึ่งต่างกันคนละโลกกันเลยก็ว่าได้…. ด้วยจุดเด่นของตัวนำความร้อนชนิดนี้ที่เป็นแบบโลหะเหลวที่ใช้สารประกอบหลักคือ Gallium จึงทำให้นิยมนำมาทำเป็นตัวนำความร้อนแบบโลหะเหลวให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อย่างเช่น CPU และ GPU เป็นต้น

 

     สำหรับเจ้า Gallium ตัวนี้ก็ระบุ Spec มาเพียงแค่ค่า Thermal Conductivity อยู่ที่ระดับ 40.6W/m.K เท่านั้น และส่วนประกอบอื่นๆ ไม่ได้ระบุแบบชัดเจน แต่แน่นอนว่าสารประกอบหลักต้องเป็น Gallium อยู่แล้ว  ส่วนข้อควรระวังในการใช้งานอย่างมากเลยก็คือ การระวังอย่าให้โดนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดบนลายวงจรของเมนบอร์ดและตัว CPU เพราะมันเป็นโลหะเหลวที่สามารถสื่อนำไฟฟ้าได้ หากหยดลงไปยังอุปกรณ์หรือลายทองแดงบนวงจร จะทำให้เกิดการช๊อตหรือลัดวงจรได้ทันที !!!

     นอกจากนี้ข้อจำกัดในการใช้งานอีกอย่างหนึ่งที่ต้องแจ้งไว้ก่อนเลยก็คือ อย่านำไปใช้กับ Heatsink ชนิดอลูมิเนียมโดยเด็ดขาด เพราะ Gallium มันมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะอย่างอลูมิเนียม ดังนั้นแนะนำให้ใช้กับพวกโลหะชนิดทองแดงจะดีที่สุด และสำหรับการใช้ทาหน้ากระดอง CPU เป็นระยะเวลายาวนาน อาจจะทำให้รอย screen บนหน้ากระดอง CPU เลือนหายไปได้ นั่นหมายถึงการหมดการรับประกันของ CPU ด้วยเช่นกัน !!!   ดังนั้นจึงนิยมนำมาทาใต้กระดอง ระหว่าง Die + IHS ของ CPU เสียมากกว่า หรือที่เราเรียกกันว่า Delid เปลื่ยนซิลิโคนใต้กระดองนั่นเอง..  ดังนั้นโปรดใช้งานอย่างระมัดระวัง !!!   และปัจจุบันนิยมนำมาเปลี่ยนซิลิโคนใต้กระดองของ CPU Intel ในตระกูล Ivy Bridge, Haswell, Skylake/X, Kabylake/X และ Coffeelake เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้โลหะเหลวระบายความร้อนอย่าง Liquid Gallium นั้นช่วยลดอุณหภูมิของ Core CPU ลงไปได้มากกว่า 20-26c องศาเซลเซียส+++ ในช่วง Full Load เมื่อเทียบกับซิลิโคนเดิมที่ติดมากับ IHS ของ CPU Intel

 

ข้อควรระวัง !!!

  • Liquid Gallium สามารถนำไฟฟ้าได้ โปรดระวังอย่าให้โดนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
  • แนะนำให้ใช้กับ Heatsink/Cooler ชนิดที่มีฐาน Base เป็นทองแดง ทองเหลือง หรือเงิน หรือทากับ Die CPU โดยตรงเป็นต้น
  • ห้ามใช้กับ Heatsink ที่เป็นอลูมิเนียมโดยเด็ดขาด เพราะ Gallium มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะอลูมิเนียมแบบรุนแรง
  • การใช้ Liquid Gallium ทาบริเวณด้านหน้ากระดอง CPU โดยตรงอาจจะทำให้รอย Screen S/N รุ่น CPU เลือนหายไป/ทำความสะอาดได้ยาก อาจส่งผลต่อการรับประกัน โปรดระวัง !!!
  • เหมาะสำหรับใช้ทาบริเวณใต้กระดอง CPU เสียมากกว่า

 

ตัว Package นั้นจะมาบรรจุ Liquid Gallium ไว้ในหลอดไซริ้งขนาดเล็ก บริมาณที่บรรจุไว้คือ 0.3ml ราคาหลอดละ 350.- เท่านั้นเอง ถูกจริงไรจริง ^O^

 

และสำหรับ CPU ที่เราจะนำมาทดสอบเปรียบเทียบการเปลี่ยนซิลิโคนใต้กระดองของเดิมเทียบกับการใช้ Liquid Gallium นั้นคือ CPU Intel Core i3-8350K 4C/8T Cache L3 8MB. 4.0Ghz

 

(ภาพประกอบ) ก่อนที่จะใช้งานเจ้า Gallium เราก็ต้องเปิดกระดองของ CPU ออกได้อระมัดระวัง (การเปิดกระดองของ CPU Intel อาจจะทำให้หมดการรับประกันแบบถาวร หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ)

 

เมื่อแกะกระดองออกหรือการ Delidded เรียบร้อยแล้วก็ทำความสะอาดบริเวณ Die และ IHS เดิมให้เรียบร้อย และทา Liqiud Gallium ลงไปไม่ต้องเยอะมาก ใช้คัตตั้นบัดเป็นตัวช่วยทา

 

     ตัวอย่างการทา Liquid Gallium บน CPU Intel Core i5-7640X 4C/4T (Kabylake-X 14nm.) นั้นต้องระวังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือตัว R ที่วางรอบๆ die CPU ด้วยนะครับ อย่าให้ Gallium เลอะบนตัว R อย่างเด็ดขาด… เราสามารถป้องกันได้โดยการใช้น้ำยาทาเคลือบเล็บสีใสของผู้หญิงมาทาเคลือบได้ หรือจะใช้เทปกาว หรือซิลิโคนมาทาทับเพื่อป้องกันได้เช่นกัน และหากไม่ระวังให้ดี คุณอาจจะโดน 00 Approved ได้อย่างแน่นอน ฮ่าๆ…

แนะนำการทา Liquid Gallium ที่ดีนั้นควรทาที่บริเวณใต้ฝา IHS ของกระดองด้วย ซึ่งอาจจะทาติดยากมากกว่าตรง Die แนะนำว่าให้เอากระดาษทรายละเอียดเบอร์ 1000 ชุบน้ำมาขัดที่ผิวของ IHS ใต้กระดองออกไปเล็กน้อย จะช่วยให้ทา Liquid Gallium ติดได้ง่ายขึ้น รวมถึงการนำความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

 

ซิลิโคนที่เราใช้บนกระดองวันนี้ เราจะใช้ Kingpin KPx เนื้อสีฟ้าสดใสเป็นตัวนำความร้อนด้านบนกระดองสู่ตัว CPU Water Block