รีวิว be quiet! Dark Base Pro 900 ORANGE rev.2 Full Tower Case Review

     มาแล้วครับสุดยอด Case ระดับ Full Tower จากค่าย be quiet! รุ่นใหม่ล่าสุดกับเจ้า Dark Base Pro 900 Rev.2 แถบสีส้ม ที่มาพร้อมกับ Highlight ด้วยการฝังที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายหรือ Wireless Charger มาให้ด้านหน้า Case ตอบโจยท์ผู้ใช้มือถือในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผมเองก็มองว่ามันอำนวยความสะดวกสบายอย่างมาก เพียงแค่คุณมีมือถือที่รองรับการชาร์จแบบไร้สายก็เพียงวางมันลงไปบนแท่นได้เลย ฮ่าๆ

     เอาล่ะครับจุดเด่นหลักๆ ของ Case รุ่นนี้เลยก็คือการออกแบบ PC Case ที่มีเงียบและอำนวนความสะดวกสบายให้แก่อยู่ใช้ PC ระดับ High-END ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด หรือจะกล่าวได้อีกอย่างว่า Case รุ่นนี้จัดอยู่ในกลุ่ม PC Case ระดับ High-END ที่มีขนาด Full Tower ที่มีการออกแบบทั้งภายนอกและภายในที่ไม่แพ้คู่แข่งรายใหญ่ๆ อย่างแน่นอน

 

Outstanding flexibility and silence

     ทีเด็ดของ Case รุ่นนี้เลยก็คือ ความยืดหยุ่นในการถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ภายใน Case ที่ค่อนข้าง flexibility โดยแถบจะเรียกได้ว่าถอดได้เกือบทุกชิ้นเลยก็ว่าได้ และที่เด็ดที่สุดเลยก็คือการย้ายตำแหน่งเมนบอร์ดให้กลับหัวมาทางด้านซ้ายมือได้อีกด้วยครับ เพราะมีการออกแบบให้มีส่วนของ Tray ถาดยึดเมนอร์ดที่สามาถถอดออกมาแล้วพลิกย้ายมาใส่อีกด้านของเมนบอร์ดได้ พร้อมทั้งการย้ายชิ้นส่วนอื่นๆ ให้กลับด้านได้อีกด้วย สุดยอดไปเลยครับ โดยมันรองรับเมนบอร์ดขนาดใหญ่ๆ ได้ทั้ง E-ATX และ XL-ATX ได้อีกด้วยครับ ใหญ่แค่ไหนก็ใส่ใน Case รุ่นนี้ได้ทั้งนั้น…. ส่วนฝาใสด้านข้างนั้นก็เพิ่มความหรูหราและความปปลอดภัยด้วยกระจกเทมเปอร์ (TEMPERED GLASS) อีกด้วย หุหุ…

 

Feature :

  • Motherboard tray and HDD slots with enhanced possibilities for individual requirements
  • Three Silent Wings 3 PWM fans
  • Stepless dual-rail fan controller is switchable between Silence and Performance modes
  • Ready for radiators up to 420mm
  • PSU shroud and HDD slot covers provide a neat interior
  • Side panel made of tempered glass
  • Eye-catching RGB LED illumination
  • Three years manufacturer’s warranty
  • German product conception, design and quality control

 

Dimension.

มาดูขนาดความสูงในแต่ละด้านของ Case รุ่นนี้กันเลยครับ โดยมันเป็น Case แบบ Full Tower ที่มีความสูงที่สุดจากฐานด้านล่างสุดขึ้นไปด้านบนอยู่ที่ 586mm. หน้ากว้างของของ Case อยู่ที่ 243mm. และความลึกของตัว Case อยู่ที่ 577mm. ครับ ดูแล้วก็สมส่วนดีนะสำหรับ Case ขนาด Full Tower

 

RELOCATABLE MOTHERBOARD TRAY
ทีเด็ดมันอยู่ที่การกลับด้านของเมนบอร์ดมาอยู่อีกฝั่งของ Case ได้เนี่ยล่ะครับ ^^”

ชาร์จมือถือของคุณง่ายๆ เพียงวางมันลงไปที่บริเวณจุด Wireless Charger โดยเป็นแบบ Fast charge ด้วยนะครับ ผมเอา S8+ วางไปแค่ไม่กี่นาที % ขึ้นมาหลายระดับเลยล่ะครับ  นอกจากนี้ยังรองรับช่องเสียบแบบ USB 3.1 Type C Gen. 2 ได้อีกด้วย ^O^

 

     ด้านในตัว Case ยังมีการเพิ่มชุด Fan Controller ที่สามารถใส่พัดลม +12V 4-Pin PWM ได้มากถึง 8 ตัว โดยแบ่งการทำงานเป็น 2 ชุด ด้านละ 4 ตัวพร้อม Switch ควบคุมการทำงานแบบ Performance และแบบ Silent Mode ได้อีกด้วยครับ  และยังไม่สุดแค่นั้นครับเจ้า Controller ชุดนี้ยังสามารถต่อ RGB Strip แบบ +12V 4-Pin พ่วงเข้ากับเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่รองได้ได้ทันที สุดยอดไปเลยครับ หุหุ…

 

Air-Flow Guide

ตัวอย่างการวางระบบ Air-Flow ของตัว Case ที่ได้จากการใช้พัดลมดูดและเป่าออก โดยจะเน้นการดูดอากาศเย็นเข้าจากด้านหน้าและด้านล่าง Case และดูดลมร้อนออกจากทางด้านหลังและด้านบนตัว Case ครับ

 

และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราไปชมตัว Case และการติดตั้ง Hardware เข้าไปด้านในเจ้า be quiet! Dark Base Pro 900 Rev.2 สีส้มตัวนี้กันเลยดีกว่าครับ  >>>

 

 

      Unboxing แกะกล่องดูกันเลยครับ โดยเจ้า Dark Base Pro 900 รุุ่นใหม่สีส้ม Rev.2 นั้นจะมาพร้อมกับกล่องใบใหญ่สีดำ โดยจะมีออกมาจำหน่ายทั้งหมด 3 สีด้วยกัน กล่าวคือแถบสีด้านข้างตัว Case ในสีส้ม, สีดำ และสีเงิน  และล่าสุดเห็นว่ามีตัวสีขาวล้วน Dark Base 900 White Edition ที่ผลิตออกมาจากหน่ายเพียง 2000 ตัวเท่านั้นด้วยนะครับ ฮ่าๆ…

 

ด้านในกล่องก็จะมีโฟมกันกระแทกและห่อด้วยถุงผ้ากันไฟฟ้าสถิตสีดำมาให้อีกหนึ่งชั้นครับ ก็สามารถเก็บไว้คุมตัว Case ตอนไม่ได้ใช้งานเพื่อป้องกันฝุ่นได้

 

บริเวรณด้านข้างของตัว Case ทั้งด้านซ้ายที่เป็นกระจก Tempered Glass และอีกด้านเป็นแบบฝาทึบพร้อม Logo  be quiet! ที่สามารถถอดออกมากลับด้านได้ เมื่อเราทำการสลับด้านของเมนบอร์ดครับ  และสำหรับตัวถังของ Case รุ่นนี้ก็จะเป็นสีดำด้านทั้งตัว และตัดด้วยแถบสีส้มตามภาพเลยครับ  ส่วนขนาดของตัว Case นั้นก็คือแบบ Full Tower

 

ฝาเคสด้านหน้า ออกแบบมาให้เป็นแบบเปิด/ปิดได้ โดยเป็นตัว Lock แบบกดย้ำๆ เพื่อปลด Lock ครับ

 

ด้านหน้า Case ให้พัดลมรุ่น Silent Wing3 ขนาด 140mm. มาให้ถึง 2 ตัวกันพร้อมกับตะแกรงกันฝุ่นที่สามารถออกมาทำความสะอาดได้.. โดยรอบการทำงานของพัดลมนั้น สูงสุดอยู่ที่ 1600rpm. เป็นแบบ 4-Pin PWM 

 

และยังมีตะแกลงกันฝุ่นด้านล่างสำหรับพัดลมขนาด 120/140mm อีก 2 ตัว + PSU มาให้อีกด้วยนะครับ (พัดลมด้านล่างไม่ได้แถมมาให้นะ)

 

ส่วนด้านหลัง Case นั้นเราจะเห็นได้ว่า พัดลมตัวดูดอากาศออกด้านหลังนั้นจะให้ Silent Wings 140mm มาให้อีก 1 ตัว โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งขนาด 120/140mm. สรุปแล้ว Case รุ่นนี้แถมพัดลม Silent Wings 140 มาให้ถึง 3 ตัว คือด้านหน้า 2 และด้านหลัง 1

 

บริเวณเท้าของ Case นั้นจะมีฐานค่อนข้างใหญ่ทั้ง 4 จุด และมาพร้อมกับยางกันลื่น

 

บริเวณด้านบนนั้นฝาครอบจะทำจากอลูมินั่มพร้อมลายเสี้ยนสีดำด้าน และมาพร้อมกับชุด Wireless Charger แบบ Fast Charge

 

ฝาด้านข้างเป็นแบบใสสีชา ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากกระจกนิรภัย (Tempered Glass)

 

บริเวณด้านในตัว Case ครับ จะเห็นได้ว่าดูโล่งมากๆ ใส่เมนบอร์ดขนาดใหญ่ๆ ได้สบาย ไม่ว่าจะเป็นขนาด ATX, E-ATX และ XL-ATX พร้อมทั้งยังเจาะบริเวณด้านหลังเมนบอร์ดในตำแหน่งของการยึด Cooling ของ CPU มาได้ค่อนข้างกว้างมาก ช่วยให้การติดตั้งชุด CPU Cooling จากทางด้านหลังได้ค่อนข้างสะดวกมาก

 

แกะฝาข้างด้านขวาออกดูกันเลยครับ

 

ฝาข้างด้านขวาหรือบริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดนั้น จะติดตั้งแผ่นซับเสียงมาให้เพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงานมาได้อย่างดี และที่สำคัญบริเวณที่ติดตั้งกรอบพลาสติกของ  be Quiet! logo นั้นสามาราถติดตั้งพัดลมขนาด 120mm. ได้อีก 2 ตัวเลยทีเดียว หุหุ…

 

ภาพบริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดครับ

 

ฝาด้านบนสามารถถอดออกมาได้ และยังเห็นได้ว่ามีการติดตั้งแผ่นซับเสียงไว้ให้อีกด้วย ไม่เงียบให้รู้ไป…

 

ด้านบน Case นั้นเราจะเห็นได้ว่า สามารถติดตั้งพัดลมขนาด 120/140mm ได้ 3 ตัวเลือกได้เลยว่าจะใส่ Size ไหน

 

บริเวณ Front Panel ด้านหน้า Case ประกอบไปด้วยช่องเสียบ USB3.0 จำนวน 2 ช่อง, Front Audio Panel In/Out, Power Swtich, LED Switch, HDD LED, USB3.1 Gen.2 Type-C + A และแท่นชาร์จแบบ Wireless Charger

 

ถ้าเรามีมือถือที่รองรับ Wireless Charger ก็สามารถนำวางในตำแหน่งที่รองรับการชาร์จไร้สายได้ทันที (จะทำงานเมื่อ PC เปิดอยู่)

 

ส่วนฝาปิดด้านหน้า Case นั้นก็มีการติดตั้งแผ่นซับเสียงมาให้เล่นกันครับ

 

บริเวณช่องใส่พัดลมด้านบน Case ซึ่งจะรองรับได้ทั้งการติดตั้งหม้อน้ำได้แทั้งขนาด 360/420mm. ได้เลยครับ

 

มุมมองจากทางด้านใน Case ครับ

 

ชุด PSU SHROUD สำหรับปิดซ่อนตัว PSU และสายไฟด้านล่าง Case ครับ โดยฝาด้านบนนั้นออกแบบให้สามารถถอดออกได้เป็นส่วนๆ ทั้งหมด 5 ชิ้นด้วยกัน

 

เมื่อถอดออกทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่ามันสามารถติดตั้งพัดลมได้อีก 2 ตัวได้ทั้งขนาด 120/140mm.

 

บริเวณตรงกลางระกว่างช่องติดตั้งพัดลมทั้ง 2 ตัวนั้นสามารถติดตั้ง SSD 3.5″ ได้อีก 1 ตัวครับ ใครอยากเอา SD มาโชว์ตรงนี้ก็เชิญ….

 

ส่วนช่องเสียบ SSD อีก 1 ช่องนั้นจะซ่อนไว้ด้านหลัง Case ใกล้ๆ กับตัว Fan Controller

 

ตัว Fan Controller ครับ โดยจะมาพร้อมกับช่องเสียบ 4-Pin PWM ทั้งหมด 8 ช่อง แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 4 ช่อง และยังสามารถปรับ Switch เลือกโหมดการทำงานของพัดลมได้แบบ Performace/Silent Mode ได้อีกด้วย  ส่วนช่องเสียบอื่นๆ นั้นก็จะมาจากวาย Controller จากด้านหน้า Case สำหรับปรับโหมดการทำงานของพัดลมได้อีกทีหนึ่ง

 

ชุดสาย Front Panel ด้านหน้า Case และชุดของ Fan Controller HUB ครับ

 

ตัว Bay ถาดติดตั้งเมนบอร์ดนั้นสามารถถอดออกมาได้ และยังสามารถปรับระดับความสูงขึ้นและลงได้อีก 2-3 ระดับตามความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง เช่นถ้าใส่หม้อน้ำด้านบน Case แล้วรู้สึกว่าพัดลมหม้อน้ำชิดเมนบอร์ดเกินไป เราก็สามารถขยับเมนบอร์ดลงมาได้อีก 1-2 Step

 

หรือจะกลับด้านเมนบอร์ดให้ไปอยู่อีกฝั่งก็ทำได้ครับ แต่ถ้าจะย้ายจริงๆ แล้วจำเป็นต้องย้ายอุปกรณ์อื่นๆ ไปได้ทั้งหมด เช่นตัว Bay ยึด HDD, ฝาด้านข้าง + ด้านหน้า Case และฐานยึด PSU เป็นต้น

 

การติดตั้ง PSU ของ Case รุ่นนี้ก็ดูเหมือนจะพิเศษกว่าชาวบ้านนิดหนึ่งครับ คือจะเป็น Bay เลื่อนไปด้านหน้าระดับหนึ่ง และยังสามารถปรับระดับ PSU ได้อีก 3-4 Step เพื่อเลื่อนขยับตามความต้องการของเรา ส่วนการออกแบบเช่นนี้ ทำมาเพื่อตอนเรากลับด้านเมนบอร์ด แน่นอนว่าตำแหน่งของ PSU ก็ต้องเปลี่ยนไป ดังนั้นเขาจึงออกแบบมาให้สามารถกลับด้าน PSU พร้อมกับชุดสาย AC ที่พ่วงกับช่องระบายอากาศด้านหลัง Case ที่สามารถขยับขึ้ลงเปลี่ยนตำแหน่งได้อีกด้วย  เห็นไหมครับว่า flexibility ยืดหยุ่นขนาดไหน ?

 

บริเวณ Bay 3.5″ ที่สามารถติดตั้ง HDD 3.5″ อีก 2 ช่องจะสามารถซ่อนอยู่ด้านใต้ชุด PSU SHROUD

 

ตัวอย่างการติดตั้ง HDD ขนาด 5.2″ เข้าไปในตัว Bay HDD 8รับ โดยจุดยึดน็อตทุกรู จะมีการติดตั้งยางกันสั่นมาให้ทุกยุด เพื่อลดเสียงบนกวนจากการสั่นสะเทือนของ HDD แบบจานหมุนนั่นเอง

 

ดังนั้นบริเวณด้านล่างของ Case จะยังมีพื้นที่ให้ติดตั้งพัดลมขนาด 120/140mm. ได้อีก 2 ตำแหน่งครับ

 

ส่วนการติดตั้งพัดลมนั้นต้องทำการยึดจากด้านล่างของ Case โดยการถอดฝาครอบ Cover ด้านล่างของตัว Case ออกก่อนถึงจะทำการติดตั้งพัดลมได้ครับ

 

อุปกรณ์ด้านในกล่อง Accessries นั้นให้ Bay HDD ขนาด 3.5″ มาให้อีก 3 ตัว, LED Strips +12V 4-Pin มีมาให้ 2 ชุด  ใครอยากจะเอาไปแปะส่วนไหนใน Case ก็เชิญเลยครับ โดยเอามันไปต่อกับตัว Controller ด้านหลัง Case ได้เลย…

 

     อุปกรณ์ต่างๆ ใน Accessories Box ครับ โดยจริงแล้วตัว Bay 3.5″ แบบชั้นเดวจะมีทั้งหมด 3 อัน โดยผมใส่ไปได้ใน Case แล้ว 1 ชุด และผมเอาตัว 3.5″ ที่หนา 2 ช่อง ออกมาถ่ายภาพให้ชมครับ  ส่วนอุปกรณ์ที่เหลือก็จะเป็นในส่วนของชุดยึดปั้มน้ำและฝาปิด Cover ช่องต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงชุดน็อต + ยางรองกันสั่นสำรองสำหรับ Motherboard Tray อีก 4 ชิ้นสีส้ม เผื่อขาดหรือทำหาย…

 

Drive bay capacity

  • 5.25 bays  x2
  • 3.5 slots (max.)  x7
  • 3.5 slots (scope of delivery)  x5
  • 2.5 slots (max.)  x14
  • 2.5 slots (scope of delivery)  x10

 

ชอบตรงที่แถม LED Strips มาให้อีก 2 แผงยางๆ นี่ล่ะครับ ซึ่งจะเป็นแบบ RGB +12V 4-Pins และยังสามารถเอาสายมาพ่วงเพิ่มได้อีกที่ปลายอีกด้าน โดยถ้าเมนบอร์ดใครมีหัวเสียบแบบ RGB +12V 4-Pin ก็สามารถต่อจาก Controller เข้าเมนบอร์ดแล้วควบคุมผ่าน Software ของเมนบอร์ดเพื่อ Sync ระบบแสงสีได้ทันทีครับ ^^”

 

การต่อใช้งาน LED Strips ทั้ง 2 ชุดนั้นสามารถเอามาต่อเข้ากับ Controller ด้านหลัง Case ได้ทันที โดยจะมีตำแหน่งสำหรับเสียบของชุดสาย LED Strip แยกให้ 2 ชุด และยังสามารถต่อพ่วงออกไปได้อีก 1 ช่องสำหรับสาย LED RGB Strip 12V 4-Pin ได้อีก 1 ช่อง

 

ตัวอย่างการติดตั้งชุด LED RGB Strip ด้านหลัง Case แบบ 12V 4-Pin ครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราสามารถนำอุปกรณ์ที่รองรับการต่อใช้งานมาเสียบใช้ได้ทันทีครับ

 

โดยการต่อใช้งานนั้นก็เสียบขั่วให้ถูกต้องด้วยนะครับ ดูที่ขั่ว +12V เป็นหลักว่าเสียบตำแหน่งไหน

 

 

Installation

การติดตั้งนั้นเริ่มจากการหาตำแหน่งยึดของ PSU ก่อนเลยครับ่าวคุณจะคว่ำหน้ามันลงไปกับพื้นเพื่อดูดอากาศเย็นเข้าตรงๆ หรือจะหง่ายขึ้นแบบนี้ก็ได้ เผื่อเปิด Cover ออกมาดูแล้วเท่ห์ดี ฮ่าๆ…

 

การใส่ PSU เข้าไปใน Case รุ่นนี้ก็จะมีวิธีใส่แบบแปลกๆ หน่อยนะครับ โดยต้องเอาโครงยึด PSU จริงๆ ชั้นในถอดออกมาก่อน แล้วค่อยใส่ PSU เข้าไปอีกทีหนึ่ง

 

     โดยแผงด้านหลังของที่เสียบ AC Plug นั้นมันจะแยกออกจากตัว Case อีกทีหนึ่ง โดยจะมีการต่อสายไฟ AC เข้าไปเสียบกับ PSU ทีกทีหนึ่ง ที่ทำเช่นนี้เพราะว่าเขาเผื่อให้เราสามารถเลื่อนเจ้าแผงปิดหลัง + AC Plug นี้ขึ้นลงปรับระดับได้ตามความต้องการของเราได้นั่นเอง ยังไงก่อนประกอบก็เช็ค Layout ของต่ำแหน่งเมนบอร์ด PSU และอะไรต่างๆให้เรียบร้อย แล้วค่อยประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าไปครับ เพราะ Case ที่มีการออกแบบที่ยืดหยุ่นแบบนี้ บางทีมันก็ดูมีรายละเอียดเยอะเกิน ถ้าวางตำแหน่งอะไรพลาด อาจจะต้องมานั่งรื้อใหม่นะครับ ^^”

 

จากภาพผมได้เลื่อน Tray รองเมนบอร์ดลงมาด้านล่าง 1 ระดับ เพื่อเว้นที่ไว้สำหรับใส่ชุดน้ำ ROG RYUJIN AIO 360 ด้านบนตัว Case ครับ ส่วนเมนบอร์ดเป็น ROG MAXIMUS XI HERO (WIFI) + CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T

 

 

จากนั้นทำการติดตั้งหม้อน้ำไว้ด้านบนพร้อมกับพัดลมให้เรียบร้อย โดยผมจะให้พัดลมทั้ง 3 ตัวดดูดอากาศร้อนออกจากกด้านบน Case ซึ่งการติดตั้งหม้อน้ำ AIO 360mm ก็สามารถทำได้สบายๆ เพราะอย่าลืมว่า Case ตัวนี้ออกแบบมาให้ใส่หม้อน้ำได้ใหญ่สุดถึงขนาด 420mm. เลยนะครับ

 

ทำการทาซิลิโคนให้เรียบร้อย พร้อมประกอบ Block AIO ลงไปยังตัว CPU

 

      ติดตั้งตัวกราฟิกการ์ดลงไปครับ โดยเราใช้ ASUS RTX 2080 Ti Turbo ในการประกอบครั้งนี้ ส่วนแรมก็ T-Froce Xcalibur RGB DDR4-3600C18 16GB-Kit  สำหรับความรู้สึกจากการที่เราประกอบ Hardware ต่างๆ ลงบนตัว Case รุ่นนี้ก็บอกได้เลยว่า ในตำแหน่งของเมนบอร์ด หม้อน้ำ และการติดตั้งกราฟิกการ์ดนั้นทำได้ค่อนข้างสะดวกเพราะตัว Case ออกแบบภายในมาได้กว้างและโล่งมากๆ และรู้ร้อยสายไฟต่างๆ ในจุดที่จำเป็นก็มีเยอะมากด้วยเช่นเดียวกัน  จึงทำให้เราสามารถร้อยสายไฟไปของพัดลมและ PSU Cable ต่างๆ ไปได้ตามความของเรา และยังช่วยให้เราเดินสายไฟได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

การติดตั้ง HDD 3.5″ Bay นั้นทำได้จากการถอดชุดยึดนี้ออกมาจากทางด้านหลัง Case แล้วทำการใส่ HDD เข้าไปแล้วขันน็อคยึดตามความต้องการของเรา ข้อดีของ Case รุ่นนี้คือออกแบบมาให้ Bay ต่างๆ มียางกันสั่นบริเวณรูขันน็อตของตัว HDD ทุกจุดเลยครับ เพื่อป้องกัน HDD จานหมุนสั่นสะเทือน และลดเสียงรวบกวนลงไปในตัว

 

การติดตั้ง SSD 2.5″ บริเวณด้านบนของ PSU Cover นั้นจะมีการเตรียม SSD ใส่ลงบน Bay ชุดนี้ก่อนครับ

 

ทำการติดตั้ง 2.5″ Bay ชุดนี้เข้าไปที่ตัว PSU Cover

 

จากนั้นก็ทำการติดตั้งสายสัญญาณต่างของ SSD ได้เลยครับ โดยตัว SSD ก็จะโชว์อยู่บน PSU Cover ตามที่เห็นเลยครับ

 

 

เมื่อติดตั้ง Hardware ต่างๆ เรียบร้อยหมดแล้ว ก็ทำการจัดเก็บสายไฟด้านหลังของ Case ให้เรียบร้อยครับ

 

ต้องบอกเลยว่า Case รุ่นนี้ทำการบ้านเรื่องของการเก็บสายไฟต่างๆ ด้านหลัง Case มาได้ค่อนข้างดีมาก โดยมีพื้นที่ให้เก็บสายไฟค่อนข้างเยอะ และกว้างพอที่จะมัดสายไฟไว้รวมกันชุดใหญ่ๆ แล้วยังคงสามารถปิดฝาก Case ด้านหลังได้โดยง่าย ไม่ติดกับสายไฟเลยครับ เยี่ยมไปเลยในจุดนี้

 

มีการแถมสายรัดสายไฟแบบตีนตุ๊กแกมาให้ 6 เส้น ช่วยให้สะดวกในการเก็บายไฟอย่างมาก โดยไม่จำเป็นต้องรัด Cablr Tie เลยด้วยซ้ำ  ส่วนพื้นที่ด้านหลังของ Case ที่ตำแหน่งของด้านหลัง CPU นั้นจะเห็นได้ว่ามีพื้นที่ที่เจาะไว้ให้สามารถประกอบ Back plate ของชุด Cooling ได้อย่างสะดวกครับ

 

บริเวณช่องลอดสายไฟของ CPU +12V 8-Pin ก็สามารถสอดเข้าไปได้พร้อมๆ กัน 2 ชุดอย่างสะดวกเลยครับ เพราะรูกว้างมากในจุดนี้

 

     อีกจุดหนึ่งที่มีความสำคัญของ Case รุ่นนี้คือการที่ให้ชุด Fan Controller Hub มาให้ด้านหลัง Case แบบนี้ช่วยให้การต่อสายไฟพัดลมนั้นทำงานได้มากๆ โดยเอามาต่อไว้ยังจุดนี้ที่เดียว ไม่ต้องไปเดินสายไฟเสียบในหลายๆ จุดให้วุ่นวายอีกต่อไป โดยตัว Controller ชุดนี้รองรับการติดตั้งพัดลมแบบ 4-Pin PWM ได้ถึง 8 ตัวโดยแบ่งเป็นข้างละ 4 ตัว รวม 2 ชุด โดยแต่ละชุดแยกควบคุมเรื่องของความเร็วการทำงานพัดลมได้ 2 Mode แยกกันได้แก่ Perf และ Silent Mode

     ส่วนจุดเสียบอื่นๆ จะเป็นในส่วนของ RGB 12V 4-Pin Header ที่สามารถต่อเข้ากับสาย Strip มาตราฐานออกไปได้อีก 1 จุด และต่อเข้ากับชุด RGB Strips ที่แถมมาให้กับ Case อีก 2 ชุด โดยจะเป็นหัวเสียบแบบเฉพาะแยกให้อีก 2 จุดครับ โดยรองรับการควบคุมผ่าน Software ของเมนบอร์ดที่มีช่องเสียบ RGB 12V 4-Pin ได้ทันที ซึ่งจะแถมสาย RGB 12V 4 Pin Header อีกหนึ่งชุด ต่อเข้าไปที่เมนบอร์ดครับ

 

 

เรียบร้อยก็ปิดฝา Case ให้เรียบร้อยพร้อมใช้งานครับ ^^”

 

เมื่อจัดการเรื่องการเดินสายและจัดระเบียบสายไฟต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลา Switch ON กันแล้วครับ ซึ่งบอกได้เลยว่า สวยงามและเรียบหรูจริงๆ

 

ภาพตัวอย่าง Case เมื่อประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปเรียบร้อยแล้วครับ เราจะเห็นได้ว่าตัว Case นั้นใหญ่และมีพื้นที่ว่างเหลือๆ เลยครับ ทำให้ดูโล่งและสะอาดตามากๆ และยังคงมีพื้นที่ให้ใช้สอยอีกมากมายเลยทีเดียว ^^”

 

ส่วนการติดตั้งสาย RGB Strip นั้นจะวางไว้ตรงไหนก็ตามความต้องการของเราเลยครับ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมเอาวางไว้เพื่อโชว์แสงเฉยๆ ครับ… จริงแล้วตำแหน่งของมันน่าจะอยู่บริเวณด้านบน Case และด้านหน้าครับ

 

และผมก็ยังชอบที่สามารถเอา SSD มาโชว์บริเวณด้านบน PSU Cover ได้แบบนี้ ซึ่งหากเป็นรุ่น T-Force DELTA RGB ที่มีไฟสวยๆ แบบนี้ก็สามารถโชว์แสงสีของ SSD ได้แบบจัดเต็มเลยครับ ^^”

 

ผมติดตั้ง OCK Panel ไว้ด้านหลังของ Case เพื่อเปลี่ยนการทำงานของระบบ PSU +12V ในรุ่น Dark Power Pro จาก Quad-Rails มาเป็นแบบ Single-Rail ได้อย่างสะดวกครับ เอาใจนัก Overclock โดยเฉพาะ…

 

ตัวอย่างการใส่ชุด 3.5″ Bay ของ HDD ที่สามารถติดตั้งได้อีก 3 ชุดตรงนี้ครับ

 

     หากใครต้องการใช้ HDD เยอะๆ ก็ไม่ต้องห่วงครับเพราะเขาแถมชุด 3.5″ Bay สำหรับ HDD จานหมุนมาให้เยอะอยู่นะครับ ประมาณ 5 ช่องได้ และยังสามารถใส่ได้สูงสุด 7 ช่องแต่ต้องหาอุปกรณ์เสริมของชุด Bay นี้เพิ่ม.. ซึ่งไม่แน่ใจว่า Accessories เสริมของ be quiet! จะเข้ามาจำหน่ายในไทยในอนาคตหรือไม่ ส่วนการติดตั้ง SSD 2.5″ นั้นใส่ได้สูงสุดบน 10 ช่อง และได้สูงสุด 14 ช่องโดยต้องซื้อ Bay มาใส่เพิ่ม

 

Wireless Charger

ทดสอบการชาร์จแบบไร้สายด้วยการนำมือถือรุ่นที่รองรับมาวางบริเวณจุดชาร์จครับ โดยเราใช้มือถือ Smart Phone ในรุ่น Samsung S8+ ในการทดสอบ

 

เมื่อวางลงไปตำแหน่งของจุดชาร์จก็จะเห็นได้ว่าระดับ % ของ Battery นั้นขึ้นมาแสดงทันที นั่นหมายความว่าชาร์จแบบไร้สายติดแล้วนั่นเองครับ โดยเป็นแบบ Fast Charge นะครับขึ้นอย่างเร็วเลย ^^” (ต้องเปิด PC  เท่านั้นถึงจะทำการชาร์จแบบไร้สายได้)

 

     เอาล่ะครับก่อนอื่นก็ขอเช็คระบบแสงสีของตัว Case กันสักนิดหนึ่ง ก็เพราะว่าเขามีปุ่มกด Mode ของ LED ด้านหน้า Case มาให้ด้วย เผื่อว่าเมนบอร์ดของใครไม่รองรับพวก AURA Sync อะไรพวกนั้นก็จพไม่มี Software ควบคุมเรื่องแสงสีของ RGB Strip ที่เขาแถมมาให้ทั้ง 2 ชุด โดยเจ้าปุ่มด้านหน้านั้น สามารถกดปุ่ม 1 ครั้งเพื่อเปลี่ยนสีของ RGB LED ไปทีละสีและโหดการกระพริบแบบ Breathing น่าจะมีอยู่ 6-7 สีนี่ล่ะครับ รวมถึงสีขาวด้วยครับ ส่วนการกดค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที จะเปลี่ยนจากโหมด Static/Breathing เป็นแบบ Rainbow Color วนสีไปเรื่อยๆ และยังสั่งปิดไฟ LED Off ได้อีกด้วยครับ ^^”

 

AURA Sync Test

ทดลองต่อใช้งานกับ ASUS AURA Sync ก็สามารถมองเห็นชุดสาย  ADD Strip เป็นที่เรียบร้อยครับ และพร้อมทำการ Sync กับตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับได้ทันที

 

Hardware Spec.
 CPU
 Intel Core i9-9900K ES 8C/16T Coffeelake 14nm++
 CPU Cooler  ROG RYUJIN  360 AIO CPU Cooler
 Motherboard
 ROG MAXIMUS XI HERO WIFI
 Memory
 T-Force Xcalibur DDR4-3600C18 16GB-Kit (8GBx2)
 VGA
 ASUS RTX 2080 Ti 11GB Turbo
 Hard Drive
 T-Force DELTA S RGB 250GB x1 (OS)
WD Blue 1TB x1 (Game Drive)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809
 Case  be quiet! Dark Base Pro 900 Rev.2 [Full Tower]

 

AURA Sync LED RGB Show Case

ตัวอย่างการแสดงแสงสีแบบ RGB Color ที่สามารถ Sync รูปแบบกันได้ผ่านทาง ASUS AURA Sync Software ครับ

 

 

-การติดตั้งพัดลมเสิมในตำแหน่งด้านล่างของ Case

ตัวอย่างการติดตั้งพัดลมเสริมบริเวณจุด PSU Cover และด้านล่างของตัว Case ครับ โดยจะเริ่มจากการติดตั้งพัดลมในรุ่น Silent Wings 3 ขนาด 120mm. บริเวณ PSU Cover กันก่อนเลยครับ

 

ผมเลือกใช้ชุดยึดแบบยางกันสั่น เน้นเก็บเสียงครับ

 

ใส่ชุดยุดทั้ง 4 มุมให้เรียบร้อย และเลือกใช้หมุดยึดแบบพลาสติกทั้ง 4 ชุด + ยางรองกันสั่นไว้ให้พร้อม

 

การติดตั้งตัวพัดลมนั้นผมจะใส่ไว้ด้านล่างชุด PSU Cover ตามภาพเลยครับ จริงๆ แล้วผมอยากใส่ไว้ที่ตำแหน่งใต้การ์ดจอนะ แต่ดันไปติดชุดสาย USB3.0 Front Panel ซะงั้น… อันนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ Layout ของเมนบอร์ดด้วยอีกทีว่าจะวางไว้ตำแหน่งไหน

 

ส่วนการติดตั้งพัดลมด้านล่าง Case อีกตัวนั้นผมใส่เป็นตัวอย่างให้ดูในรุ่น Silent Wings 140mm ซึ่งจะใส่ไว้ในตำแหน้งด้านหน้าสุดครับ

 

 

การติดตั้งพัดลมด้านล่าง Case นั้นถ้าจะขันน็อตได้ก็ต้องทำการรื้อชุด Cover ฐานล่างของตัว Case ออกเสียก่อน โดนจะมีน็อตยึดอยู่ 2 ตัวด้านใน จากนั้นดึงสไลด์ออกได้เลย

 

ทำการติดตั้งน๊อต/จุกยางจากทางด้านล่างตัว Case ครับ

 

แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จพิธีสำหรับการติดตั้งพัดลมในตำแหน่งด้านล่าง Case ครับ

 

Temperature Test

    ทดสอบเรื่องของอุณหภูมิในตัว Case กันสักนิดครับ วันนี้เราติดตั้ง Intel Core i9-9900K 8C/16T ความเร็วเดิมๆ จากโรงงาน ผมเปิดแค่ XMP DDR4-3600 ของแรมเท่านั้นครับ ส่วนชุด AIO Cooling นั้นก็เป็นชุดใหญ่จากค่าย ROG ในรุ่น RYUJIN 360 ที่มาพร้อมกับพัดลมระบายความร้อนจากค่าย Noctua IPPC 2000rpm. จำนวน 3 ตัว ส่วนผลการทดสอบในการ Stress Test CPU จะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันเลยครับ ^^”

 

AIDA CPU Stress Test : 1 ชั่วโมง

     เราทำการทดสอบด้วย AIDA Stress Test เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ก็พบว่าความร้อนสูงสุดของเจ้า Intel Core i9-9900K 8C/16T ที่ทำงานแบบ All Core ตอน Full Load @ 4.7Ghz ตลอดนั้นก็มีความร้อนสูงสุดถึง 100c อยู่หนึ่งคอร์ครับ ส่วนคอร์อื่นๆ ก็แตะ 92-96c+ องศากันเลยทีเดียว ชั่วโมงนี้หาตัวดับร้อนเข้า i9-9900K ยากจริงๆ ครับ เห็นใจคนที่ใส่เคสเล่นจริงๆ เลยล่ะครับ ฮ่าๆ แต่เอาน่าครับ อย่างน้อยมันก็ทำงานใน Case ได้แบบไม่มีปัญหาอะไร และที่สำคัญพัดลมใน Case รุ่นนี้ทั้งหมดที่ใส่ไป ก็ราวๆ  5 ตัว + กับพัดลมหม้อน้ำอีก 3 ตัวรวม 8 ตัวก็ทำงานได้เงียบดีนะครับ เมื่อแลกกับความร้อนที่ออกมาก็พอรับได้อยู่  ถ้าอยากเย็นก็คงต้องเพิ่มพัดลมแรงๆ และก็ต้องแลกกับเสียงรบกวนที่ตามมาด้วย อันนี้ก็ลองชั่งใจดูละกันว่าต้องการใช้งานแบบไหน  ส่วนคอนเซ็ปของค่าย be quiet! นั้นเขาจะเน้นเงียบเป็นหลักอยู่แล้วครับ ^^”

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ be quiet! DARK BASE PRO 900 Rev.2 สีส้มตัวนี้ ที่เป็น Case ขนาด Full Tower ที่สามารถถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างอสระและยืดหยุ่นในแบบ flexibility ที่สามารถย้ายอุปกรณ์ในจุดตำแหน่งต่างๆ เข้าออกได้แทบทุกชิ้น หรือจะเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งการวางของเมนบอร์ดให้กลับด้านจากทางด้านขวามาทางด้านซ้ายก็ยังทำได้ด้วยเช่นกันครับ  และโอกาสหน้าหากมีเวลาว่างพอ เราจะลองประกอบเมนบอร์ดแบบกลับด้านใน Case ตัวนี้ดูกันอีกสักครั้งครับ ว่าหน้าจะจะออกมาเป็นอย่างไร  และสำหรับรีวิวฉบับนี้ก็แกะๆ รื้ออยู่ 2-3 วันกว่าจะนิ่งกับ Case แค่ตัวเดียว ฮ่าๆ…. ดังนั้นมันดูเหมือนจะไม่มีอะไรสำหรับการรีวิว Case ตัวหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ได้ลองใช้งานจริงๆ ผมว่าก็ต้องใช้เวลาอยู่กับมันสักพักหนึ่งเพื่อให้รู้วิธีการประกอบ ถอดชิ้นส่วน และทางเดินสายไฟต่างๆ ก็จะทำให้เราสะดวกในการถอดประกอบมากขึ้นครับ

     ถ้าถามความรู้สึกของผมเลยก็คือ ผมเองไม่ได้กระกอบพวก Case นี้อยู่บ่อยๆ หลอกนะครับ เพราะปกติแล้วผมก็จะเทสบน Base test ด้านนอก ซึ่งนานๆ ทีจะได้ประกอบ Case จริงๆ จังๆ สักที เฉลี่ยก็ปีละ 1-2 ตัวเท่านั้น และความรู้สึกจากที่ได้ลองประกอบเจ้า Case ตัวนี้ตอนแรกก็คิดว่ามันดูใหญ่ก็จริงๆ แต่กลัวจะยุ่งยากในเรื่องของการถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เพราะออกแบบมาให้ถอดได้เยอะมากหลายชิ้นมาก ผมเลยเริ่มจากการสำรวจตัว Case โดยเริ่มถอดรื้ออุปกรณ์ทุกชิ้นออกทั้งหมดก่อน ว่าตรงไหนถอดยาก-ง่าย และจุดไหนไม่จำเป็นต้องถอดดูสักรอบหนึ่ง  ก็พบว่าการยึดตัว Case ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นน็อตเกลียวหยาบเสียส่วนใหญ่ และผมก็เจอข้อเสียบางจุดเลยก็คือขันน็ตออกยากมากอย่างที่บริเวณฐานยึด PSU ด้านข้าง Case มันแน่นเกินไปครับ   และบางจุดมีถ้าขันน๊อตมาไม่ดี หรือขันเข้าออกบ่อยๆ ก็จะทำให้เกลียวหวานเกิดได้กับบางรู ซึ่งผมเจอแค่ 1 จุดเท่านั้นบริเวณชุด Tray ของเมนบอร์ด  อันนี้ก็ต้องระวังกันด้วยเวลาขันน็อตต่างๆ อย่าให้เอียง ควรขันให้ตรงตำแหน่ง และอีกอย่างที่ต้องระวังเลยก็คือจุกยางกันสั่นบริเวณตัว Tray ของเมนบอร์ด ถ้าขันน็อตแน่นเกินไป อาจจะทำให้ยางกันสั่นนั้นขาดเอาได้ แต่างเขาก็แถมอันสำรองมาให้อีก 4 ชิ้นครับ  รวมแล้วก็ถือว่าการถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง Hardware นั้นทำได้สะดวกดี แต่ก็จะยากหน่อยก็ตรงที่เราติดตั้ง SSD ลงไปที่ตัว PSU Cover นั้นหากมีความต้องการถอดรื้อบริเวณนั้นบ่อยๆ อาจจะถอดยากสักนิด เพราะตัว Cover นั้นกว่าจะเอาออกมาได้นั้นก็ต้องเอียงให้ได้ตำแหน่งก่อน และระวังติดตายไฟของ PSU ที่อยู่ด้านล่างด้วยครับ เพราะมันอาจจะเกี่ยวกัน ทำให้ดึงออกยาก

     ส่วนเรื่อง Option เสริมต่างๆ ที่ดูน่าสนใจอันแรกเลยก็คือการติดตั้ง Wireless Charger แบบ Fast Charge มาให้ ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้มือถือ Smart Phone ในยุคนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว สะดวกมากในการชาร์มือถือ  และจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือชุด Fan Controller HUB ที่แถมมาให้ด้านหลัง Case ที่เป็นได้ทั้งชุดควบคุมพัดลม 4-Pin PWM ได้ถึง 8 ตัว แบ่งออกเป็น 2 ชุดชุดละ 4 ตัวที่สามารถควบคุมความเร็วด้วย Switch แยกได้ได้ทั้ง 2 ชุดในโหมด Perf/Silent แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ตัว Controller ยังออกแบบมาให้สามารถติดตั้ง RGB Strips ที่แถมมาให้อีก 2 ชุดแก่ผู้ใช้ได้อีกด้วยครับ และยังต่อพ่วงออกไปยังจุดอื่นด้วยชั่วเสียบแบบ  RGB +12V 4-Pin Header ได้อีก 1 จุด พร้อมการต่อใช้งานร่วมกับ ASUS AURA Sync ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วยครับ จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ

    อีกเรื่องหนึ่งที่ชอบเลยก็คือความเงียบและระบบ Air-Flow ของตัว Case ที่ออกแบบมาให้ใส่พัดลมได้เยอะมาก และให้ Silent Wings 140mm PWM มาให้อีก 3 ตัวใน Case ส่วนการติดตั้งพัดลมเสริมนั้นก็ทำได้อีกหลายตัวมากเลยทีเดียว ตอบโจทย์ทั้งสายลมและสายชุดน้ำได้เป็นอย่างดี เช่นการติดตั้งหม้อน้ำขนาดใหญ่ 360/420mm. ได้ทั้งด้านบน และด้านหน้า Case ได้อีกด้วยครับ, ตัว Tray ยึดเมนบอร์ดสามารถขยับขึ้นลง เพื่อปรับแต่งหลบหม้อน้ำหนาๆ และพัดลมด้านบน Case ได้  และรวมถึงจุดเก็บ/ซ่อนสายไฟด้านหลัง Case และด้านใต้ PSU Cover นั้นก็มีมาให้เยอะมากๆ ครับ ถูกใจคนชอบเก็ยสายไฟใน Case แบบผมมาก เพราะผมไม่ชอบ Case ที่ประกอบแล้ว ไม่มีที่ซ่อนสายไฟ หรือการซ่อนสายไฟด้านหลัง Case มีพื้นที่ไม่หนาพอ ทำให้ปิดฝาด้านหลัง Case ได้ยากเกินไป  แต่สำหรับ be quiet Dark base Pro 900 Rev.2 ตัวนี้ทำออกมาได้ดีมากสำหรับจุดเก็บสายไฟบริเวณต่างๆ จึงทำให้การเดินเก็บสายไฟบนตัว Case รุ่นนี้ทำได้ง่ายและสะดวกมากๆ

 

     สุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากเจ้าสุดยอด Full Tower Case จากค่าย be quiet! ในรุ่น Dark Base Pro 900 Rev.2 แถบสีส้มตัวนี้ไว้พิจารณาดูกันด้วยนะครับ หากใครต้องการ Case ที่มีพื้นที่ใช้สอยเยอะๆ ถอดประกอบเปลี่ยนตำแหน่งได้หลากหลายแบบ มีการติดตั้งอุปกรณ์ซับเสียงเพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงาน, ติดตั้งหม้อน้ำและพัดลมได้แบบจุใจในขนาด 360/420mm. และสามารถกลับด้านเมนบอร์ดไปอยู่อีกฝั่งของ Case ได้อีกด้วย ในราคาที่สมน้ำสมเนื้อ เพียงตัวละ 9,360.- บาทเท่านั้นเอง ถือว่าไม่แพงแล้วสำหรับ Case ระดับ High-END Full Tower ที่มีฝาข้างใสแบบ Tempered glass ให้อีกด้วยครับ

 

Special Thanks
B&Y Computer CO.,LTD.