รีวิว CPU AMD RYZEN 7 3700X 8Core 16Thread 7nm Processor

     สวัสดีครับ… วันนี้นาย Audigy มีข้อมูลและรีวิว CPU รุ่นใหม่จากค่าย AMD รุ่นใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 7/7/2019 ผ่านมานี้เองในสถาปัตยกรรม ZEN2 Microarchitecture และสำหรับ CPU ที่เราได้รับมาทำการรีวิวเป็นตัวแรกเลยนั้นก็คือ AMD RYZEN 7 3700X 8C/16T ที่ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการ 7nm. ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าการมาของ AMD ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการต่อยอดของสถาปัตยกรรมเก่าอย่าง ZEN ตัวแรก มาปรุงแต่ใหม่แบบแถบยกเครื่องทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของประสิทธิภาพต่อพลังงาน (Perf/Watt), การปรับปรุง Infinity Fabric Gen.2 ทำใหม่ใหม่ที่แยกส่วนของ Flck และ Ulck ให้ปรับแต่งอัตราทด เพื่อช่วยการ Overclock แรมได้ดีขึ้น และสถาปัตยกรรม ZEN 2 ก็ให้ประสิทธิภาพของ IPC แรงขึ้นจากของเดิมได้อีก 15% กันเลยทีเดียว ดังนั้นแรงแน่นอนสำหรับ RYZEN 3000 Series !!!

แรงขึ้นแน่นอน เพราะเขาทำปรับปรุงใหม่เกือบทั้งยวง ช่วยพยุง IPC เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้านี้ได้อีกถึง 15% กันเลยทีเดียวสำหรับเจ้า RYZEN GEN3 ส่วนในเรื่องของ Infinity Fabric นั้นก็ได้รัยการพัฒนาเป็น GEN.2 ด้วยเช่นกัน

DRAM Overclocking

     ผมขอเริ่มที่เรื่องของแรม DDR4 บน AMD RYZEN 3000 Series Platform กันก่อนเลยนะครับ เพราะเป็นที่พูดถึงกันมากในวงการ Overclock ในกลุ่มผู้เล่น AMD ในบ้านเราและต่างประเทศ ว่าเรื่องที่ทาง AMD ได้เปิดให้มีอัตราทดแรมใหม่ระหว่าง Fabric กับ DRAM Clock ได้ในแบบ 1:1 คือความเร็ว Fclk เท่ากับ Mclk และแบบทดตัว Fabric ลงไปในอัตราทด 2:1 DRAM/Fabric clock โดยอนุญาตให้ผู้ใช้ สามารถ Overclock แรมขึ้นไปได้ในความถี่ที่สูงมากๆ เช่นระดับ DDR4-4400Mhz ไปจนถึง DDR4-5000Mhz+ ได้กันเลยทีเดียว… หลายคนเห็นตรงนี้แล้วเฮ…..กันใหญ่เลย ฮ่าๆ…

     เดี๋ยวก่อนครับ มาดูที่ป้าแนะนำเรา จริงๆ แล้ว OC Sweet sport หรือความเร็วของแรมในการ Overclock ที่ทาง AMD แนะนำเราก็คือที่อัตราทด 1:1 สำหรับ DRAM/Fabric clock นั้นอยู่ที่ DDR4-3733 (1866Mhz) เท่านั้นเอง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าระดับ Latency นั้น DDR4-3733C17 อยู่ที่ประมาณ 67ns. จากนั้นลองไปดูในส่วนการ Overclock ด้วยอัตราทด 2:1 DRAM/Fabric clock ซิครับ… Latency เพิ่มขึ้นมาถึง 75-80ns. ที่ความเร็วแรมตั้งแต่ DDR4-3866 ไปจนถึง DDR4-4400  เอ้า…. มันเกิดอะไรขึ้น !!! ลากแรมแล้ว ทำไม Latency มันเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีก x_x…

     ก็เป็นเพราะอัตราทดที่ทาง AMD ให้มาอย่างที่บอกว่า 2:1 DRAM/Fabric clock ก็เท่ากับว่าที่แรม DDR4-4400Mhz (2:1) เจ้า Fabric clock จะถูกลดลงไปเท่าหนึ่งตามอัตราทดนั่นเอง ดังนั้น Fabric clock ที่แท้จริงจะวิ่งที่ 1100Mhz เท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับความเร็วแรม 2200Mhz (DDR4-4400)  เพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้การ Overclock ด้วยอัตราทด 1:1 DRAM/Fabric clock จึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า (Latency ต่ำกว่า) อย่างที่ AMD แนะนำช่วงที่แรมทำงานได้ดีที่สุดกับ Fabric @ DDR4-3733Mhz (ในอัตราทด 1:1 @ DRAM-1866Mhz/Fabric-1866Mhz)  จึงทำให้เป็นจุดที่ทาง AMD แนะนไว้ว่าดี่ที่สุดนั่นเอง

     แล้วแบบนี้มันตันที่ Fabric clock ใช่ไหม ?  คำตอบคือ = ใช่เลยครับ คือเจ้า Fabric clock ณ ตอนนี้ตันอยู่ที่ราวๆ 1866-1900Mhz หรือเราจะเล่นแรมได้นิ่งสุดและไกลสุดที่ราวๆ DDR4-3800 (1900Mhz) เพราะว่าเจ้า Fabric clock มันตันที่นี่นั่นเอง  โดยถ้าเราปรับความเร็วแรมเกิน 3900-4000Mhz+ ขึ้นไป เมนบอร์ดจะบังคับให้ Fabric ทดลงในอัตรา 2:1 ทันที…  ดังนั้นถ้าคุณจะเล่นในอัตรา 2:1 ได้ดีที่สุด เช่นจะเอา Fabric ขึ้นไปที่ระดับ 1866-1900Mhz ให้ได้… คุณก็ต้องหาแรมที่มีความเร็วถึง DDR-7600 (3800Mhz) กันเลยทีเดียว เพื่อให้ได้ความเร็วของ Fabric clock กลับมาที่ 1866-1900Mhz ด้วยอัตราทด 2:1  สรุปคือ… แรมไปไม่ไหวหรอกครับ… แค่ DDR4-5000-5200Mhz ที่เราเห็นเขาโชว์กัน ณ เวลานี้ก็ถือว่าหรูมากแล้ว…  สมมุติที่ความเร็วแรม DDR4-5200Mhz เจ้า Fabric clock จะอยู่ที่ 1300Mhz เท่านั้นเองนะเอ่อ….  หรือถ้า AMD ในอัตราทดแปลกๆ เช่น 3:4 เพิ่มขึ้นมาในทำนองนี้ เพื่อให้ความเร็วแรมไม่สูงเกินไป แต่ได้ Fabric clock ที่เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง… ผมมองว่าการจูน DRAM/ Fabric น่าจะสนุกขึ้นอย่างแน่นอน… เพราะมันจะได้ไม่หนักไปที่แรมมากเกินไป….

     สรุปแล้ว เรื่อง Fclk/Mclk ถามว่าอันไหนแรงสุด… ณ ชั่วโมงนี้ก็ตอบได้เต็มปากเต็มคำเลยก็คือแบบ 1:1 นะครับ…!!!  โดยเราแนะนำว่าลองลากแรมไปให้ไกลที่สุดเช่นที่ DDR4-3733 หรือ 3800Mhz จากนั้นก็กด CL แรมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น DDR4-3800 CL16-16-16-36 หรือ DDR4-3800 CL14-14-14-34 อะไรทำนองนี้เป็นต้นครับ… แรงส์แน่นอนจ้า…  ^^”

 

ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยว่าทำไม AMD Ryzen 3000 Series อยู่กๆ ก็มีความสามารถในการ Overclock แรมความถี่สูงๆ ได้แบบกว้ากระโดดเลย ฮ่าๆ…. (หมายถึงมีเฉพาะความถี่นะครับ ไม่ได้หมายถึงความแรง)

 

     เปิดตัวมามีกี่รุ่นเอ่ย..? และวันนี้เราจะรีวิวรุ่นไหน ?  ตอบเลยครับว่ามี RYZEN 3000 Series ออกมาจำหน่าย ณ เวลานี้ถึง 7 โมเดลด้วยกัน โดยจะเป็นรุ่นที่มีมี GPU ใสตัวทั้งหมด 5 รุ่น และแบบมาพร้อมกับ GPU ในตัวร่วมกับ Radeon RX Vega 8 และ 11 อีก 2 รุ่นนั่นคือ Ryzen 5 3400G และ Ryzen 3 3200G นั่นเอง  ส่วนรุ่นที่เหลือคือแบบไม่มี GPU ติดมา คือเป็น CPU ล้วนๆ ได้เแก่รุ่นใหญ่สุดคือ Ryzen 9 3900X 12C/24T, Ryzen 7 3800X 3.9/4.5Ghz 8C/16T, Ryzen 7 3700X 3.6/4.4Ghz 8C/16T, Ryzen 5 3600X 3.8/4.4Ghz 6C/12T และ Ryzen 5 3600 3.6/4.2Ghz 6C/12T นั่นเองครับ  และรุ่นพิเศษอีกหนึ่งรุ่นที่บอกได้เลยว่าเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่านี้มาก จะเปิดตัวในช่วงเดือน กันยายน 2019 ที่จะถึงนี้ก็คือ Ryzen 9 3950X 16C/32T กันเลยทีเดียวครับ โอว์แม้จ้าว…. จะโหดไปไหน….   ส่วนภาพด้านบนนี้ก็จะเปรับเรื่องราคา กับรุ่นของคู่แข่งว่า AMD นั้นออกมาชนกับรุ่นไหนบ้าง ลองพิจารณาดูกันเองครับ… คร่าวๆ ก็คือถูกกว่าและได้จำนวนหัว/เทรดใช้งานที่มากกว่า…

     และสำหรับวันนี้เราจะรีวิวในรุ่น  RYZEN 7 3700X 8C/16T ความเร็ว Base 3.6Ghz และ Boost XFR ได้สูงสุดที่ 4.4Ghz สูงสุดครับ ส่วนขนาด Cache L3 นั้นมีมากถึง 36MB กันเลยทีเดียว…. และราคาขายก็เร้าใจมากๆ เพียง 329USD เท่านั้นเอง ^^” (คือราคานี้ อีกค่ายจะได้แค่ CPU 6C/12T เท่านั้นเอง)

 

ลองมาดูประสิทธิภาพของ Ryzen 3000 Series แบบ Single Thread ที่ทดสอบร่วมกับ Cinebench R20 เมื่อเทียบกับ Ryzen 7 2700X แล้วจะพบว่า Ryzen 7 3700X นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 15% กันเลยทีเดียว และสำหรับ Ryzen 9 3900X แล้วจะเพิ่มขึ้นมากถึง 21% จัดว่าเป็นประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นดีมากแบบ Single Thread เมื่อเทียบกับของเก่า

 

     AMD แนะนำแบบ Recommaded เลยนะครับว่า CPU ตัวใหม่ของตนนั้น จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็เมื่อใช้งานร่วมกับ Windows 10 รุ่นใหม่ล่าสุด Ver. 1903 เท่านั้นนะครับ ดังนั้นใครซื้อ Ryzen 3000 Series ไปโปรดลง OS รุ่นใหม่ล่าสุด Windows 10 1903 เท่านั้น…. และได้เพิ่มขนาดของ Cache ระดับ L3 ที่ใหญ่ถึงกว่าเดิม 2 เท่า เมื่อเทียบกันระหว่างสถาปัตยกรรม ZEN และ ZEN+

 

        ส่วนในเรื่องของชิปด้านในตัว CPU นั้นทำได้แยกเป็น 2 ส่วนด้วยกันนะครับ กล่าวคือจะเป็นในส่วนของ CCD Module ที่ด้านในประกอบไปด้วย CCX จำนวน 2 ชุดต่อหนึ่ง CCD โดยชิ้นนี้จะผลิตขึ้นมาที่กระบวนการ 7nm. สำหรับ CCD  และในส่วนของชิป cIOD นั้นจะเป็นชิปที่ทำแยกออกมาอีกหนึ่งชิปที่ผลิตด้วยกระบวนการ 12nm. โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมแรม โดยมีจุดเชื่อมต่อกันด้วยชุด Unifield Memory Controller หรือเรียกสั้นๆ ว่า Uclk ที่ทำการติดต่อกับแรม DRAM (memclk) เพื่อติดต่อส่งข้อมูลกับทาง Infinity Fabric (fclk) ด้วย 32K/cycle และหน้าที่อีกอย่างของเจ้าชิป IOD ก็คือเป็นตัว IO Hub Controller เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ความเร็วสูงภายนอกอย่างเช่น PCIe4.0, USB3.1 และชิปเซท AMD X570 เป็นต้น…

 

และสำหรับชั้นของลายวงจรของ Ryzen 3000 Series นั้นมีมากถึง 12-Layer กันเลยทีเดียว

 

     และข้อมูลที่น่าสนใจได้เราทราบมาว่าการทำงานระกว่าง CCD และ CCX นั้นมันเชื่อมต่อผ่าน Fabric อย่างไรบ้าง ?  เอาล่ะครับ หลายๆ ท่านที่ดูผล Benchmark ในส่วนของ Memory Bandwidth ของ Ryzen 3000 series มากันบ้างแล้ว จะพบว่าถ้าเราทดสอบด้วย AIDA64 Cache & Memory Benchmark นั้นเราจะสังเกจุได้ชัดเจนว่า CPU ที่มีเพียง 1CCD หรือในรุ่น Ryzen 7 3800X/3700X และ Ryzen 5 3600X/3600 นั้นค่า Memory Write หรือการเขียนนั้น จะน้อยแปลกๆ ซึ่งจากข้อมูลที่เราได้หาๆ ดูแล้วพบว่าการทดสอบด้วย CPU AMD Ryzen 9 3900X ที่มีจำนวน 2x CCD นั้นมีผลการทดสอบที่ดีปกติ ตามที่ควรจะเป็น  แต่ทำไม Ryzen 7 และ Ryzen 5 ถึงได้มีประสิทธิภาพในเรื่องของ Memory Bandwidth ในส่วนของ Write หายไปครึ่งหนึ่ง ของ Ryzen 9 3900X

     จากภาพด้านบนนี้ ทำให้เราถึงกับบางอ้อกันเลยทีเดียว ซึ่งการทำงานจริงๆ แล้วที่ Fabric ติดต่อกับ CCD นั้นพี่แกส่งข้อมูลตามรอบนั้นอยู่ที่ Read 32B/cycle และค่า Write มีเพียง 16B/cycle เท่านั้นเอง ถึงว่าทำไมค่า Write ของ CPU ที่มีเพียง 1 CCD นั้นหายไปประมาณครึ่งหนึ่งของค่า Read ซึ่งผิดปกติมาก  และเมื่อไปดู CPU รุ่น Ryzen 9 3900X นั้นมันมีอยู่ 2 CCD มันจึงทำให้ค่า Memory Bandwidth ในส่วนของ Write นั้นเพิ่มมาอีก 16B/cycle จึงทำให้ปรัสิทธิภาพโดยรวมแล้วมีค่า Write มากกว่า CPU ที่มีเพียง 1 CCD ครับ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจนะครับว่า Ryzen 7 และ Ryzen 5 นั้นจะมีค่า Write ที่น้อยกว่า Ryzen 9 3900X อยู่ประมาณ เท่าตัว  ส่วนทาง AMD ก็ให้เหตุผลว่าที่ออกแบบมาเช่นนี้ก็เพราะห่วงเรื่องอัตราการใช้พลังงานของ CPU ว่ากลัวมันจะกินไฟเยอะขึ้นนั่นเอง… (ไม่รู้จริงป่าวนะ หรือกั๊กเอาไว้ปล่อยใน Gen หน้า… หรือไม่ก็ตันแล้วจริงๆ ฮ๋าๆ…)

 

AMD X570 Platform

     มาดูต่อในส่วนของชิปเซตคู่หูของทาง AMD Ryzen 3000 Series กันดีกว่าครับ ซึ่งครั้งนี้พี่แกก็ถือโอกาสเปิดตัวเมนบอร์ด AMD ชิปเซท X570 Chipset ออกมาพร้อมกับ CPU ด้วย โดยจุดเด่นหลักๆ เลยก็คือเป็นเมนบอร์ด Desktop ตัวแรกเลยที่ออกมารองรับการต่อใช้งานผ่าน PCIe4.0 เป็นครั้งแรกของโลก ร่วมกับกราฟิกการ์ดของตนเองที่เปิดตัวไปพร้อมกันในรุ่น Radeon RX 5700/5700XT  และสำหรับตัว CPU นั้นจะเชื่อมกันกับชิปเซท AMD X570 ผ่าน Interface PCIe4.0 x4 ซึ่งมี Bandwith เหลือเฟือกันเลยทีเดียวที่ 16GT/s เมื่อทำงานเต็ม x16 จะสามารถส่งข้อมูลได้ราวๆ 31.508 GB/s และที่ x4 จะส่งข้อมูลได้ราวๆ 7.877 GB/s ครับ

     ส่วนข้อดีของ AMD เลยก็คือ ถ้าหากคุณยังมีเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ อย่าง AMD ชิปเซท X370/X470/B450 อะไรพวกนี้อยู่ สามารถดูรายการ BIOS รุ่นใหม่จากทางผู้ผลิตเมนบอร์ดได้ว่า รุ่นไหนยังรองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen 3000 Series ได้บ้าง?  เพราะมันยังคงใช้ร่วมกับ Socket AM4 เหมือนเดิมนั่นเอง… แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่งเลยก็คือ เมนบอร์ด X570 จะไม่สามารถเปิดใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen Gen1 ได้นะครับ… เสียใจด้วย ^^”

     และสำหรับข้อดีของเมนบอร์ดที่มี PCIe4.0 เลยก็คือผู้ที่ต้องการความเร็วในส่วนโอนถ่ายข้อมูลสูงๆ ณ เวลานี้ก็มี M.2 NVme PCIe SSD ที่เป็น PCIe 4.0 ออกมาจำหน่ายบ้างแล้วนะครับ โดยความเร็วผ่าน M.2 NVMe PCIe4.0 เพียงตัวเดียวนั้นก็สามารถให้ความเร็วในการอ่าน/เขียน Seq Read/Write ได้ในระดับ 5000/4000MB/s กันเลยทีเดียว… แล้วถ้าต่อ RAID 0 NVMe นี่คงได้เห็นความเร็วระดับ 1x,xxxMB/s กันเป็นเรื่องธรรมดาเลยล่ะครับ หุหุ…

 

มาดูต่อกันในส่วนของกล่อง Package ของ AMD Ryzen 7 3700X ตัวนี้กันเลยดีกว่าครับ ซึ่งกล่องนั้นก็น่าจะมีขนาดพอๆ กับรุ่นก่อนหน้านี้และก็ยังใช้โทนสีเดียวกัน โดยจะต่างที่ลวดลายของกล่องที่จะมี Texture แตกต่างกันเล็กน้อย

 

และด้านในกล่องนั้นก็จะมีกล่องเล็กๆ สำหรับบรรจุตัว CPU AMD Ryzen 7 3700X และสติ๊กเกอร์ Ryzen มาให้ และกล่องใหญ่นั้นจะเป็นในส่วนของ Heatsink ระบายความร้อนในรุ่น AMD Wraith Prism Thermal Solution

 

     นี่คือหน้าตาของตัว CPU AMD Ryzen 7 3700X ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 7nm. ที่ยังคงเป็น CPU ที่ต่อใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด Socket AM4 และสำหรับจำนวนคอร์ประมวลผลของ Ryzen 7 3700X นั้นอยู่ที่ 8 คอร์ที่มาพร้อมกับคอร์เสมือนด้วยเทคโนโลยี SMT (Simultaneous Multi-Threading) จึงทำให้ CPU รุ่นนี้ทำงานได้ในแบบ 8 Core/16Thread กันเลยทีเดียว ส่วนความเร็วของมันนั้น Base Clock เดิมๆ อยู่ที่ 3.6Ghz และ Boost ได้สูงสุดที่ 4.4Ghz และสำหรับ Total Cache รวมแล้วอยู่ที่ 36MB กันเลยทีเดียว (รวมมาจาก L2 Cache ที่มีคอร์ละ 512KB รวมกัน 8 คอร์ = 4MB และนำมารวมกับ L3 Cache แบบแชร์ร่วมกันต่อหนึ่ง CCX ที่ 16MB รวมกัน 2 CCX ก็เท่ากับ (16MBx2) 32MB + L2 Cache 4MB = 36MB Total Cache นั่นเอง)

 

AMD Wraith Prism CPU Cooler

ส่วนชุดระบายความร้อนที่ทาง AMD ให้มากับ Ryzen 7 3700X นั้นก็คือรุ่นใหญ่ AMD Wraith Prism ที่มีจัดเด่นในเรื่องของไฟ RGB ที่สามารถ Sync ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับได้แล้วนั่นเอง…

 

Heatsink รุ่นนี้มาพร้อมกับ Heatpipe ระบายความร้อนแบบ Direct Pipe หรือท่อทองแดงสัมผัสตรงกับหน้ากระดองของ CPU โดยมีท่อทองแดงทั้งหมด 4 เส้นในการดึงนำความร้อน และมีการติดตั้ง Thermal Pad นำความร้อนมาให้พร้อมใช้งานเลยครับ

 

จุดปรับรอบพัดลมแบบเบาและเงียบ (High / Low) โดยจะติดตั้ง Switch มาให้ผู้ใช้เลือกปรับรอบพัดลมได้ครับ

 

บริเวณจุดเชื่อมต่อสาย Strip RGB LED แบบ 12V 4-Pin และสายแปลงไปเป็น USB Header สำหรับเมนบอร์ดที่ไม่มีช่องเสียบแบบ RGB 12V 4-Pin ครับ ^^”

 

พร้อมแล้วก็เตรียม CPU ติดตั้งลงเมนบอร์ดกันเลยครับ โดยวันนี้เรามีเมนบอร์ด GIGABYTE X570 AORUS MASTER มาต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen 7 3700X ตัวนี้…

 

GIGABYTE X570 AORUS MASTER Motherboard

เอาล่ะครับก่อนที่จะไปชมรีวิวของ CPU AMD Ryzen 7 3700X นั้นเรามาชมเมนบอร์ดที่ทาง AMD ส่งมาพร้อมกันกับชุดทดสอบของเราในครั้งนี้กันสักนิดกับ GIGABYTE X570 AORUS MASTER ตัวแรง  ซึ่งรุ่นนี้ก็ออกมาเน้นในเรื่องของการ Overclock ทั้ง CPU และตัว RAM เป็นพิเศษด้วยเช่นกัน

 

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มาพร้อมกับขนาดมาตราฐาน ATX เต็มใบ โดดเด่นด้วยชุด Cover ที่สวยงาม ดูดุดันมากๆ เลยครับ หุหุ…

 

มีการติดตั้ง M.2 Heatsink มาให้ทั้ง 3 ช่องเลยนะครับ ไม่ธรรมดาจริงๆ

 

บริเวณ Heatsink ระบายความร้อนของ ภาคจ่ายไฟนั้นโดดเด่นด้วยระบบ Direct Touch ที่ออกแบบให้ท่อ Heatpipe ต่อตรงถึงตัว Mosfet จ่ายไฟโดยตรง ช่วยให้การดึงนำความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง…

 

     บริเวณ Heatsink ระบายความร้อนของชิปเซต AMD X570 Chipset นั้นจะมาพร้อมกับ Heatsink + พัดลมระบายความร้อนขนาดเล็กอยู่ด้านใน และมีตะแกรงรูป AORUS Logo ครอบไว้อีกหนึ่งชั้น  ซึ่งผมก็สังเกตุเห็นอย่างหนึ่งเลยนะ ว่าทำไมเมนบอร์ด X570 ต้องมีพัดลมระบายความร้อนอยู่ทุกรุ่นเลย  มันร้อน ? หรืออะไรยังไง ?  ที่ผ่านมามันหมดยุคที่ชิป SB ร้อนแล้วนะเออ…  หรือเวลาต่อใช้งาน M.2 PCIe 4.0 หลายๆ ตัวแล้วชิปทำงานหนักเลยร้อน ? อะไรอย่างไร ไว้รอพิสูจน์ครับ ^^”

 

     ภาคจ่ายไฟออกแบบมาทั้งหมด 14-Phase และ Socket CPU นั้นก็คือ AM4 ที่ยังสามารถเอา CPU Ryzen Gen2 และ Gen3 ตัวใหม่มาต่อใช้งานร่วมกันได้บนเมนบอร์ด X570  แต่มีข้อแม้ว่า Ryzen Gen1 จะไม่สามารถนำมาเปิดร่วมกับ X570 ได้นะครับ ^^”  ส่วนแรมนั้นก็รองรับการต่อใช้งานร่วมกับ DDR4 แบบ Dual Channel ทั้งหมด 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็วพื้นฐาน DDR4-2133Mhz ไปจนถึง DDR4-4400Mhz (OC Module) และติดตั้งแรมได้สูงสุดถึง 128GB Max โดยสามารถทำงานร่วมกับยแรมแถวละ 32GBx4 ได้นั่นเอง สุดยอดไปเลยครับ ^^”

 

บริเวณด้านหลังของ Back I/O Panel ครับ  เท่าที่ทราบเรื่องของ WiFi นั้นน่าจะเป็นย่าย AX แล้วนะครับหรือ WiFi 6 แบบ Dual-Band 2.4/5Ghz มาให้เห็นที่เรียบร้อย ส่วน LAN นั้นก็มีมาให้ทั้ง 2.5G และ 1G ครับ

 

กราฟิกการ์ดคู่บุญ AMD RADEON RX 5700 8GB GDDR6 ที่ต่อผ่าน PCIe4.0 x16 ใส่คู่กันแล้ว หล่อมากๆ เลยทีเดียว หุหุ…

 

รีวิวฉบับเต็มของ AMD RADEON RX 5700 นั้นคลอดแล้วนะครับสนใจกดดูได้ที่นี่ >>Click<<

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้…

Hardware Spec.

 CPU
AMD Ryzen 7 3700X 8C/16T 7nm.
-Intel Core i9-9900K 8C/16T 14nm.
 CPU Cooler  Noctua NH-U12A
 Motherboard
GIGABYTE X570 AORUS MASTER (X570)
ASUS ROG MAXIMUS XI APEX (Z390)
 Memory
 T-Force VulcanZ DDR4-3200CL16-18-18-38 16GB-Kit (8GBx2)
 VGA  MSI GTX 1080 Ti GAMING X 11GB
 Hard Drive
  : T-Force DELTA RGB x1 (OS Drive)
  : WD Blue 1TB x1 (Game Drive)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200W 80PLUS Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1903

 

 

AMD Ryzen 7 3700X System Config

รายละเอียดของชุดทดสอบ CPU AMD Ryzen 7 3700X ครับ ซึ่งเราจะเปิด XMP DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T ของแรม T-Force VulcanZ DDR4-3200 คู่นี้แล้วเก็บผลการทดสอบเทียบกับ Intel Core i9-9900K

 

Intel Core i9-9900K System Config

ส่วนทางด้านชุดทดสอบเปรียบเทียบกันในครั้งนี้ก็คือชุด CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ก็ทำงานร่วมกับแรม DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T เช่นเดียวกับชุด AMD Ryzen 7 3700X 8C/16T เหมือนกันครับ ส่วนจะแรงกว่ากันแค่ไหนนั้น เราไปชมผลการทดสอบในช่วงถัดไปกันได้เลย ^^”

 

CPU Power Consumption & Temperature Test

เอาล่ะครับมาชมผลการทดสอบแรกกันเลยกับเรื่องของอัตราการใช้พลังงานและความร้อนของ CPU AMD Ryzen 7 3700X 8C/16T 7nm. ตัวนี้กันเลยดีกว่าครับว่าเมื่อลดกระบวนการผลิตแล้ว เย็นลงและกินไฟน้อยลงอย่างที่ทาง AMD ได้กล่าวไว้หรือไม่นั้น ไปชมกันเลยครับ ^^”

 

CPU+ VGA Stress Test

รายละเอียดการทดสอบของเรานั้นจะใช้โปรแกรม PowerMAX AVX + VGA เป็นตัว Burn-In เป็นระยะเวลา 5 นาที แล้วเก็บผลในเรื่องของอุณหภ฿มิสูงสุดของ CPU และอัตราการใช้พลังงานครับ

 

CPU temperature Test

     เรื่องความร้อนนั้นบอกได้เลยว่า ชิลมากๆ เราเลือกใช้ชุด Cooling เดียวกันคือ Noctua NH-U12A + ซิลิโคน NT-H1 ทั้งหมดทดสอบให้ห้องอุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบ พบว่า ช่วง Idle ของ Ryzen 7 3700X นั้นมีอุณหภูมิอยู่ที่ 30c และช่วง Full Load ด้วย (AVX) พบว่าอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 69c เท่านั้นเองครับ ส่วน i9-9900K Full Load สูงสุดอยู่ที่ 80.5c กันเลยทีเดียว  โดยทั้งหมดเป็นความเร็วเดิมๆ ของ CPU ที่ปล่อยให้มันทำงานด้วย Turbo boost ของตัวมันเองทั้งคู่…

 

Power Consumption Test

     และในส่วนของอัตราการใช้พลังงานนั้นค่อนข้างน่าประทับใจอยู่นะครับ โดยช่วงที่ CPU Full Load อย่างเดียวกินไฟ 150.2Watt เท่านั้นเอง และช่วงที่ CPU+VGA Load พร้อมๆ กันกินไฟเพียง 438Watt เท่านั้นเอง แต่ทาง 9900K ล่อไปที่ 552Watt กันเลยทีเดียว (9900K น่าจะ 4.7Ghz All Core ในช่วง Full Load)

 

: CPU Idle

 

: CPU Full Load

 

: VGA Full Load

 

: CPU + VGA Full Load

 

 

Benchmark Results

และนี่ก็คือผลการ Benchmark ของ AMD Ryzen 7 3700X 8C/16T แบบไฟล์ดิบๆ บางส่วนมาให้ชมกันครับ ส่วนในเรื่องของ Charts สำหรับ Compare กับ 9900K นั้นชมกันต่อได้ในหน้าถัดไป ==>

 

CPU-Z Benchmark

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

Cinebench R20

 

Geekbench 4

 

Super Pi

 

3DMARK PCIE Feature Test (4.0)

 

3DMARK Time Spy

 

เอาล่ะครับคราวนี้มาดูศึกช้างชนช้างกันเลยดีกว่าครับ… กับ CPU 8C/16T เหมือนกันทั้งคู่ระหว่าง AMD RYZEN 7 3700X (Matisse 7nm.) VS. Intel Core i9-9900K ( Coffee Lake14nm+.)

 

Super Pi 32MB

โปรแกรมแรกกับ Super Pi32MB  นั้นยังแพ้ให้กับ i9-9900K แบบราบคาบ…. คงขอผ่าน… ฮ่าๆ

 

AIDA64 Memory Bandwidth (MB/s)

     และสำหรับ Memory Bandwidth จากโปรแกรม AIDA64 นั้น ถ้าเอาจริงๆ มันก็จะไล่ๆ กันเลยคู่ระหว่าง Ryzen 7 3700X และ i9-9900K ที่ความเร็วแรมเท่ากัน DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T ทั้งคู่  แต่ทาง AMD ดันไปเสียเรื่องของค่า Write ที่หายไปเยอะมากๆ เกือบ 50% เลยก็ว่าได้ ก็เนื่องด้วยเรื่องที่ผมได้กล่าวไว้ตั้งแต่ข้างต้นบนความเลยก็คือ ช่วงที่ IOD วิ่งหา CCD นั้นค่า Read ส่งข้อมูลได้ที่ 32K/cycle แต่ช่วง Write นั้นดันส่งแบบ 16K/cycle เลยทำให้ Memory Bandwidth ของค่า Write ของ CPU ที่มีเพียง 1 CCD อย่างใน Ryzen 7 3800X/3700X และ Ryzen 5 3600X/3600 จะพบกับค่า Write ที่หายไปแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ เพราะเขาออกแบบมาอย่างนี้ ส่วน CPU รุ่นที่ดูแล้วผลการทดสอบน่าจะปกติดี ก็คือ Ryzen 9 3900X เพราะมี 2 CCD ดังนั้นค่า Write วิ่ง 2 ช่องทาง จึงทำให้ค่า Write กลับมาได้ในช่วงที่ 40-50K+++

 

AIDA64 latency (ns.)

ส่วนในเรื่องของ Latency นั้นก็คงพ่ายแพ้ให้ Intel อยู่มากเหมือนเดิมครับ อันนี้ก็ไม่รู้จะแก้กันยังไง ฮ๋าๆ…

 

CPU-Z  Benchmark

มาดูกันต่อกับ CPU-Z Benchmark กันบ้างครับ ในส่วนของผลการทดสอบแบบ Multi Thread นั้น AMD Ryzen 7 3700X เริ่มแผลงฤทธิ์ให้เห็นกันแล้วนะครับ ด้วยคะแนน ที่ทำได้ถึง 5679.4 กันเลยทีเดียว โดยที่ 9900K นั้นทำได้เพียง 5500.3 แต้มเท่านั้น  แต่ในเรื่องของ Single Thread ทาง 9900K ยังคงได้เปรียบ เพราะมี Ghz ที่สูงกว่ามาก

 

Cinebench R15

ต่อกันเลยที่ Cinebench R15 ยอดฮิตของเด็กยุคนี้… AMD Ryzen 7 3700X ก็ยังคงมีผลงานด้าน Multi-Thread ได้ดีกว่าทาง 9900K อีกแล้วครับท่าน…. ^O^

 

Cinebench R20

ส่วนผลการทดสอบของ Cinebench R20 นั้นผลการทดสอบนั้นไล่ๆ กับทาง Intel i9-9900K มากเลยครับทั้ง Single Core และ Multi Core สูสีกันมาก…

 

x264 FHD Benchmark

X264 FHD นั้นทาง Intel ได้เปรียบครับ ช่วง Encoded นั้นทำ fps. เฉลี่ยได้ดีกว่า

 

FryRender x64

และ FryRender x64 นั้นทาง Intel ก็ยัง Render เสร็จไวกว่าประมาณ 9 วินาทีครับ

 

Vray Benchmark 1.0.8

สำหรับ Vray Benchmark 1.0.8 นั้นเวลาใกล้ๆ กันมากเลยทีเดียว โดย CPU ทั้ง 2 ตัวใช้เวลาในการ Render ห่างกันเพียง 1 วินาทีเท่านั้น

 

Vray benchmark 4.10.03

และสำหรับ Vray Benchmark ตัวใหม่นั้นทาง Intel ก็ยังคงได้เปรียบอยู่ระดับหนึ่งด้วยการปั่นค่า ksamples ได้เยอะกว่า

 

Realbench V2.56

ดูกันต่อในส่วนของโปรแกรม Realbench V2.56 นั้นถือว่าทาง AMD ทำประสิทธิภาพออกมาได้ดีขึ้นจากเจนก่อนหน้านี้มากๆ เพราะปกติแล้ว Realbench กับ CPU AMD นั้นจะปั่นคะแนนไม่ค่อยออก  แต่ใน Ryzen 3000 Series นั้นทำคะแนนออกมาไล่ๆ กับ 9900K ได้แค่นี้ถือว่าหรูมากแล้วครับ…

 

PCMARK 10

นี่คือผลการทดสอบของ PCMARK 10 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ทาง Ryzen 7 3700X นั้นก็มีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ 9900K มากเลยทีเดียว

 

Aquamark 3 (ตู้ปลา)

โปรแกรมโบราณๆ Aquamark 3D ตู้ปลาในตำนาน ทาง Intel ดูเหมือนจะกินขาดอยู่นะครับ…

 

3DMARK Night Raid

3DMARK Night Raid ก็ถือว่าไล่ๆ กับ 9900K นะครับ พอจะไล่ได้

 

3DMARK Fire Strike

ส่วน Fire Strike นั้นดูเหมือนทาง 3700X จะปั่นคะแนนโดยรวมได้ดีกว่า 9900K แล้วนะครับ โดยเฉพาะหัวข้อ Physics และ Combined นั้นเด่นมาก…

 

3DMARK Time Spy

ส่วน 3DMARK Time Spy และตัว Extreme นั้นก็มีผลการทดสอบที่ออกมาอยู่ใน Scale เดิมครับ คือไล่ๆ กับ 9900K ได้แต่ก็ไม่ได้ชนะ…

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

3DMARK Port Royal

และสำหรับ 3DMARK ตัวใหม่ล่าสุดกับ Port Royal นั้นคะแนนที่ออกมาโดยรวมแล้วก็ทำได้ไล่ๆ กันอยู่ไม่กี่แต้มครับ  และสรุป Benchmark ทั้งหมดโดยรวมแล้วทาง AMD ถือว่าพัฒนามาไล่ๆ กับ Intel ได้มากแล้วนะครับ  และอย่าลืมว่า Ryzen 7 3700X นั้นราคาถูกกว่า i9-9900K อยู่มากเลยนะครับ ทำได้แค่นี้ก็หรูมากแล้ว หุหุ…

 

Gaming Performance

เอาล่ะครับมาดูกันต่อในเรื่องของ Games Test ต่างๆ ที่เราได้สดสอบไว้ดูกันบ้างครับว่าการเล่นเกมจริงๆ แล้ว CPU ทั้ง 2 รุ่นนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง ?

 

Battlefield 1

เกมแรกกับ Battlefield 1 นั้นดูเหมือนว่า 9900K จะแรงกว่า 3700X ราวๆ 9.75 fps เฉลี่ย ถือว่าห่างกันเกือบ 10 fps เลยนะเออ…

 

Battlefield V

ส่วนทาด้าน BF5 นั้นก็ให้ผลการทดสอบที่ค่าเฉลี่ยในเกมที่ดูค่อนข้างห่างกันมากครับที่ 32.88fps เฉลี่ยกันเลยทีเดียว

 

Crysis 3

Crysis 3 ดูกันสักนิดครับเกมโบราณจริง แต่ก็วัดใจ CPU ได้นะเออ…. ผลการทดสอบที่ออกมานั้น 3700X ตามอยู่ราวๆ 12.03fps เฉลี่ยครับ

 

DEUS EX

ดูกันต่อที่ DEUS EX Benchmark นั้นทาง 3700X ก็ตามอยู่ราวๆ 5.2fps เฉลี่ยครับ

 

Ghost Recon Wildlands Benchmark

ส่วนทาง Ghost Recon Wildlands Benchmark นั้นก็ตามอยู่ 5.23fps เฉลี่ย เป็น Scale คล้ายๆ กันแบบในในหลายๆ เกมครับ ^^”

 

The Division Benchmark

ส่วนเกมที่เขียนมาดีๆ เน้นการืดเป็นหลัก ก็ดูเหมือน 3700X และ 9900K จะมีผลการทดสอบที่ออกมาได้เท่ากันพอดีเลยครับที่ 137.8fps เฉลี่ย…

 

The Division 2 Benchmark

และ Division 2 Benchmark ก็ถือว่าห่างกันไม่เยอะมาก…

 

Far Cry Primal Benchmark

เกม Far Cry Primal นั้นเฟรมเฉลี่ยนั้นตาม 9900K อยู่ราวๆ 12fps เฉลี่ยครับ

 

Far Cry 5 Benchmark

ส่วนเกม FC5 ตัวใหม่ก็ดูเหมือนจะโดน 9900K ทิ้งห่างถึง 20fps. เฉลี่ยเลยนะครับ แปลกดี อิอิ…

 

PUBG : SANHOK MAP

PUBG นี้บอกเลยว่าสาวก AMD อาจจะไม่ถูกใจสิ่งนี้อย่างแน่นอนกับเฟรมเฉลี่ยต่างกันมากถึง 61.86fps เฉลี่ย  x_x….

 

Rise of the Tomb Raider Benchmark

เกม Rise of the Tomb Raider Benchmark ก็ยังคงตาม 9900K อยู่ราวๆ 11.72fps เฉลี่ย

 

Shadow of the Tomb Raider Benchmark

     และสุดท้ายกับ Shadow of the Tomb Raider นั้นก็ห่างกันราวๆ 10fps เฉลี่ยใน Scale คล้ายๆ กันเหมือนเดิมครับกับทุกๆ เกม คือ 3700X จะตาม 9900K อยู่ราวๆ 5-15fps. เฉลี่ยเสียส่วนใหญ่… ส่วนบางเกมที่เขียนมาไม่เอื้ออำนวยตัว Ryzen 3000 Series เท่าไรก็เฟรมเรทในเกมก็น่าเกลียดมากทีเดียว และถ้าเกมไหนเขียนมาได้ดี เอื้อต่อ 3700X ก็สามารถปั่นเฟรม fps เฉลี่ยออกมาได้ในระดับเดียวกับ 9900K เลยล่ะครับ

 

CPU IPC @4Ghz Test

     เอาล่ะครับหลายๆ คนสนใจเรื่อง IPC ของ CPU AMD Ryzen 3000Series กันอย่างมาก ดังนั้นถ้า CPU ความเร็วเท่ากัน 4.0Ghz และแรมก็เท่ากัน DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T และเป็น CPU แบบ 8 Core / 16Thread เหมือนกัน ถ้าจับวิ่ง 4Ghz เท่าๆ กันน่าจะแฟร์เลยนะเออ… ดังนั้นไปชมการทดสอบ IPC @4.0Ghz เท่ากันดูซิ… ว่าจะเป็นอย่างไร ^^”

 

CPU IPC Performance Test @ 4.0Ghz

Super Pi 32MB

นั่นไง…. Super Pi 32MB ยังช้ากว่ามาก ขอผ่านจ้า……. x_x (โปรแกรมนี้ เน้นเรื่องระบบ Cache+Ram Latency ล้วนๆ)

 

CPU-Z benchmark

อ่าวยังไงๆ พี่ทิดอิน เจอเของดีเข้าไป จุกเลยทีนี้ 4.0Ghz เท่าๆ กับ 3700X ขึ้นนำทั้ง Single Thread และ Multi Thread เลยนะเออ…

 

Geekbench 4.3.4

ส่วน Geekbench 4 นั้นดูเหมือนทาง Multi Thread ทาง AMD จะเด่นจริงๆ ครับ ส่วน Single Thread ยังตามนิดๆ

 

x264 FHD Benchmark

ส่วน x264 FHD นั้นที่ Ghz เท่ากันนั้นทาง AMD สามารถทำเฟรมเฉลี่ยตอน Encoded ได้ดีกว่า Intel แล้วนะเออ… แปลกดีๆ

 

FryRender x64

นั่นไง… FryRender x64 ก็เกมพลิกอีกแล้ว โดยทาง 3700X นั้นกลับทำเวลาเรนเดอร์ได้ไวกว่าประมาณ 1 วินาที หรือทำได้เท่าๆ กันเลย  นับว่า IPC นั้นสูสีกันมากในเรื่องของการทดสอบแบบ Multi Thread

 

Cinebench R15

ต่อกันเลยครับกับ Cinebench R15 ก็เป็นฝั่ง 3700X ที่อยู่ๆ ก็นำขึ้นมาแบบทิ้งห่างเลย…

 

Cinebench R20

และ Cinebench R20 ก็เช่นกันครับ 3700X กินเรียบทั้ง Single Core และ Multi Core ^O^

 

Vray Benchmark 1.0.8

ต่อกันที่ Vray Benchmark 1.0.8 กันครับก็พบว่าที่ 4.0Ghz เท่ากัน 3700X ทำหน้าที่ Render ได้เร็วกว่าถึง 9 วินาทีเลยนะเออ…. แบบนี้ถ้าในอนาคต AMD สามารถวิ่ง 5.0Ghz+ ได้แบบ Intel นี่สนุกแน่นอนครัช… ^O^

 

Vray Benchmark 4.10.03

และสุดท้ายกับ Vray Benchmark ตัวใหม่ 4.10.03 ก็พบว่าทาง 3700X นั้นพลิกเกมชนะได้แทบทุก Benchmark ที่เป็น Multi Thread…. กราบงามๆ

 


CPU IPC Gaming Performance Test @ 4.0Ghz

DEUS EX

     มาดูกันต่อในส่วนของ IPC 4.0Ghz เท่ากันบ้าง และเป็นที่คาใจผมอยู่มิใช่น้อยเลยว่า ทำไมตอนเล่นเกม มันดูง่อยๆ แปลกๆ สำหรับเจ้า 3700X  และผลการทดสอบที่ออกมานั้นก็แทบไม่มีอะไรต่างไปจากการทดสอบแบบเดิมๆ ที่เล่นเกมยังไงก็แพ้ทาง 9900K แบบยับเลย x_x….. แต่ทำไมช่วง Multi Thread Benchmark นายทำได้ยอดเยี่ยมากๆ  นี่คงเพราะเรื่อง Latency ภายในตัว CPU ที่ยังคงแก้เกมไม่ได้ใช่ไหมครับป้า x_x….

 

The Division 2 Benchmark

เกมนี้พอรับได้ครับ ต่างกันไม่เยอะ…

 

Far Cry 5 Benchmark

เกนนี้โดนทิ้งห่างค่อนข้างเยอะเลยนะครับ เอิ๊กๆ…

 

Tomb Raider 2012 Benchmark

เกมนี้เหมือนดูดีนะต่างกัน 2.2fps เฉลี่ยเท่านั้นเอง

 

Rise of the Tomb Raider Benchmark

เกมนี้ต่างกันราวๆ 7.53fps เฉลี่ยครับ

 

Shadow of the Tomb Raider Benchmark

     และเกมทดสอบสุดท้ายของเรา Shadow of the Tomb Raider Benchmark ก็พบว่าเฟรมเรทเฉลี่ยที่ออกมานั้น 3700X ยังตาม 9900K อยู่ที่ระดับ 13fps เฉลี่ยเลยนะครับ ยังไงเรื่องเกมนี้ผมก็ช่วยอะไรไม่ได้นะครับ 4.0Ghz เท่ากัน แต่ก็ยังหนีไม่ออกเลย  ส่วนเรื่องแปลกเลยก็คือ ทำไมผลทดสอบ Benchmark เกี่ยวกับงาน Multi Thread นั้นมีผลการทดสอบที่ดีกว่า 9900K ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ…. ดังนั้นผมมองว่า สายทำงาน Render/Encoded ที่ต้องการ CPU 8C/16T ที่มีประสิทธิภาพที่คุ้มกับเงินที่จ่ายออกไปนั้น Ryzen 7 3700X นั้นได้ความคุ้มค่ากว่า 9900K ได้แบบชัดเจน เพราะจ่ายน้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเคียงกันได้แล้ว…. ส่วนเรื่องเกม ก็ตามนั้นครับ ^^”

 

Overclock Results

     พักเรื่องของ IPC แล้วมาลากเจ้า 3700X ดูกันดีกว่าครับ จากที่ผมลองเล่นแบบคร่าวๆ บนลม Air-Cooling พบว่าถ้าจะเล่น 4.3Ghz All Core ให้ได้นั้นผมมองว่ามีโอากาสเป็นไปได้ แต่ก็คงต้องหา Cooling ที่เย็นกว่านี้มาดับร้อนครับ เพราะความร้อนค่อนข้างสูงมาก ทะลุ 93c+ เลยสำหรับ NH-U12A ในช่วงทดสอบ Cinebench R15 เท่านั้นเอง  ถ้าเจอพวก AVX คงไม่รอดแน่นอนครับ  ดังนั้นความเร็วในการ Overclock ที่ผมคิดว่าทำได้ไม่ยาก น่าจะ 4.1-4.25Ghz All Core น่าจะทำได้แบบชิวๆ ง่ายๆ ไม่ต้องหา Cooling แพงๆ มาระบายความร้อน  ส่วนความเร็วเกินนี้ ผมมองว่าน่าจะยากครับ….. (CPU แต่ละตัวมีความสามารถในการ Overclock ที่ต่างกัน)

 

Cinebench R15 @ 4.3Ghz

 

Cinebench R20 @4.275Ghz

 

Realbench V2.56 @4.275Ghz

 

Geekbench 4 @4.275Ghz

 

Aquamark 3D @4.275Ghz

รวมๆ แล้วถ้าจะเค้าเรื่อง Full bench ผมว่าแถวๆ ความเร็วๆ 4.725Ghz นั้นเค้นไม่ยากนัก  แต่ถ้าเกินนี้จะดูยากๆ แล้วล่ะครับ คงต้องหาอะไรเย็นๆ มาระบาย….

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark
: CPU 4.3Ghz + DDR4-4466Mhz CL18-20-20-44 1T

AIDA64 ที่ความเร็วแรม DDR4-4466Mhz CL18-20-20-44 1T บนเมนบอร์ด GIGABYTE X570 AORUS MASTER ครับแรงพอได้ๆ… แต่ถ้าอยากดันบัสไปไกลๆ แบบที่เขาทำกันคงต้องหาแรม Micron E-Die มาลองเล่นดูครับ ผมเห็นเขาไปกันได้ DDR4-5000Mhz CL18 สามารถ Burn Memtest ผ่านได้แบบชิวๆ…

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark
: CPU 4.3Ghz + DDR4-4400Mhz CL16-16-16-36 1T

     และที่ DDR4-4400Mhz CL16-16-16-36 1T ก็ดูโหดๆ ดีนะเออ… Latency เหลือแค่ 69.4ns. เท่านั้นเองสำหรับสายเน้น Mhz เพราะ Fabric กับแรมโดนทดเหลือ 2:1 เลยทำให้ไปอั้นที่ Fabric clock ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นไปหามาก ในเรื่องการหาแรมบัสสูงๆ มาเล่น เพราะราคาค่อนข้างสูง  ผมแนะนำว่าลองหาแรม Samsung B-Die เกรดดีๆ มาวิ่งที่ DDR4-3600-3800Mhz CL16-16-16-36 1T กำลังดีเลยครับ ถ้าจะลองขยี้ CL ลงเหลือที่ 3600-3800Mhz CL14-14-14-34 1T ผมว่าโคตรแรงเลยสำหรับ Platform นี้….

 

Conclusion.

     มาสรุปกันเลยดีกว่าครับ สำหรับรีวิว CPU AMD RYZEN 7 3700X 8C/16T 7nm. Processor ตัวนี้จากค่าย AMD ที่เปิดตัวเป็น Ryzen Gen ที่ 3 แล้วนะครับ ซึ่งล่าสุดในสถาปัตยกรรม “ZEN2” ที่ทาง AMD ได้ปล่อยออกมาบน Ryzen 3000 Series นั้นก็มี IPC เฉลี่ยที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับของ Ryzen Gen.2 นั้นจะได้เพิ่มขึ้นมาอีกราวๆ 15% ครับ ดังนั้นจึงทำให้ CPU AMD Ryzen 3000 Series นั้นมี IPC ที่แรงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งที่แรงพอจะต่อกรกับ CPU Intel Coffee Lake 14nm.+ ได้แบบไม่ยากนัก ซึ่งวันนี้เราก็ได้เห็นถึงประสิทธิภาพโดยรวมที่ออกมาแล้วระหว่าง CPU AMD Ryzen 7 3700X และ Intel Core i9-9900K ที่เป็น CPU 8C/16T เหมือนกันทั้งสองรุ่น และเป็นมวยคู่เอกเลยที่หลายสื่อจับมาชนกัน…

     เรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้้านงาน Multi Thread ทั้งหลายแหล่นั้นจากภาพรวมแล้ว เราเห็นได้ชัดเจนว่า Ryzen 7 3700X นั้นมีประสิทธิภาพที่น่าสนใจมากๆ สามารถสู้กับ i9-9900K ได้สบายๆ เลย ส่วนเรื่องที่ไม่น่าประทับใจมากนักเลยก็ดูเหมือนจะเป็นในส่วนของประสิทธิภาพในการเล่นเกม 3D นั้นแทบจะแพ้ทางให้กับ 9900K อยู่มากเลยก็ว่าได้  อันนี้ก็คงต้องยอมรับว่าทาง Intel ยังแข็งเรื่องนี้อยู่เหมือนเดิม…. ก็คงเพราะเรื่อง Latency ภายในตัว CPU ที่ทาง Intel ยังได้เรียบ AMD อยู่มากเหมือนเดิม…

     ดังนั้นถ้าเรื่องงาน Multi Thread นั้น AMD ไล่ขึ้นมาได้แล้ว และแรงมากๆ ด้วยนะครับ Intel ต้องระวังเลย ยิ่งผลการทดสอบเรื่อง IPC ที่ 4.0Ghz เท่ากันแล้ว ทาง Intel โดยสวนแบบทิ้งห่างเลย น่ากลัวเหมือนกันนะเออ…. เพราะอย่าลืมนะว่า 3700X นั้นราคาถูกกว่ามาก… และยังสามารถเอาไปใส่กับเมนบอร์ดรุ่นเก่า Socket AM4 ได้อยู่หลายรุ่น เพียง Update BIOS เป็นตัวล่าสุดที่รองรับ Ryzen 3000Series เท่านั้นเอง ซึ่งปัจจุบันสามารถรองรับได้กับเมนบอร์ดชิปเซต X370/X470 และ B450 ได้แล้วเลยนะครับ ตรงนี้เองถือว่ายังเป็นจุดแข็งของ AMD ที่ค่อนข้างมีความยึดหยุ่น ไม่บังคับให้ผู้ใช้ต้องซื้อ CPU คู่เมนบอร์ดใหม่บ่อยๆ… ช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการ Upgrade แก่สาวก AMD ได้อย่างมาก…

     ส่วนเรื่องการ Overclock แรมนั้น ถ้าจะเอาประสิทธิภาพสูงสุดก็ทำตามที่ AMD แนะนำไว้เลยครับ คือช่วง DDR4-3733Mhz – 3800Mhz CL16-16-16-36 1T หาแรมแรงๆ มาเสียบรับรองได้ว่า แรงสุดสถาปัตยกรรมนี้เลยล่ะครับ  ส่วนใครที่บ้า Mhz แรมก็ลองเปลี่ยนไปใช้อัตราทด Fclk/Mclk 2:1 ดูครับ คุณก็จะเห็นแรมวิ่งเกิน 4400Mhz + ได้แบบง่ายๆ เลย ยิ่งใครมีแรม Micron E-Die รุ่นใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงนี้ที่เริ่มเห็น DDR4-5000Mhz CL18 สามารถใช้งานได้จริงแล้วนะครับ….. แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น…. ถ้าจะเอา Performance ในเรื่องของการ Overclock แรมจริงๆ ควรใช้อัตราทด 1:1 ระหว่าง Fabric Clock กับ DRAM จะดีที่สุด เพราะทาง AMD บอกไว้ชัดเจนว่าตอนนี้ Fabric Clock จะตันหรือถึงสุด Limit ที่ราวๆ 1866Mhz ถึง 1900Mhz สูงสุด หรือสามารถทำงานกับแรม DDR4-3733Mhz ถึง DDR4-3800Mhz ได้สูงสุด ถ้าต้องการประสิทธิภาพจากการใช้งานจริงๆ…  หากใครยังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านหน้าแรกได้ครับ… ผมไม่อยากมาสรุปให้มันยึดยาว…. ^^”

     สุดท้ายนี้ก็คงเป็นเรื่องของอุณหภูมิการใช้งานนั้นบอกได้เลยว่า ถ้าใช้งานเดิมๆ ไม่ร้อนแน่นอนครับ 60-70c เต็มที่แล้ว และขึ้นอยู่กับ CPU Cooler ของเรามากกว่าว่าจะเย็นแค่ไหน  ส่วนเรื่องอัตราการบริโภคพลังงานั้นก็ทำได้ยอดเยี่ยมมาก เพราะผลิตด้วยกระบวนการ 7nm. เท่านั้นเอง จึงไม่แปลกใจที่จะกินไฟน้อยลง โดยช่วง CPU Cull Load อย่างเดียวนั้นกินไฟแค่ 150 Watt เองนะครับ ส่วนทางด้าน 9900K นั้น CPU Full Load จะใช้ไฟอยู่ที่ 265Watt เพราะมี Ghz ที่ค่อนข้างสูง…

อย่างไรแล้วก็ขอฝากรีวิวฉบับนี้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของสาวก AMD ทุกท่านด้วยนะครับว่าการกลับมาของ Ryzen 3000 Series ครั้งนี้ว่าน่าโดนหรือไม่ ?  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

AMD THAILAND