รีวิว CPU AMD RYZEN 7 3700X 8Core 16Thread 7nm Processor

Conclusion.

     มาสรุปกันเลยดีกว่าครับ สำหรับรีวิว CPU AMD RYZEN 7 3700X 8C/16T 7nm. Processor ตัวนี้จากค่าย AMD ที่เปิดตัวเป็น Ryzen Gen ที่ 3 แล้วนะครับ ซึ่งล่าสุดในสถาปัตยกรรม “ZEN2” ที่ทาง AMD ได้ปล่อยออกมาบน Ryzen 3000 Series นั้นก็มี IPC เฉลี่ยที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับของ Ryzen Gen.2 นั้นจะได้เพิ่มขึ้นมาอีกราวๆ 15% ครับ ดังนั้นจึงทำให้ CPU AMD Ryzen 3000 Series นั้นมี IPC ที่แรงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งที่แรงพอจะต่อกรกับ CPU Intel Coffee Lake 14nm.+ ได้แบบไม่ยากนัก ซึ่งวันนี้เราก็ได้เห็นถึงประสิทธิภาพโดยรวมที่ออกมาแล้วระหว่าง CPU AMD Ryzen 7 3700X และ Intel Core i9-9900K ที่เป็น CPU 8C/16T เหมือนกันทั้งสองรุ่น และเป็นมวยคู่เอกเลยที่หลายสื่อจับมาชนกัน…

     เรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้้านงาน Multi Thread ทั้งหลายแหล่นั้นจากภาพรวมแล้ว เราเห็นได้ชัดเจนว่า Ryzen 7 3700X นั้นมีประสิทธิภาพที่น่าสนใจมากๆ สามารถสู้กับ i9-9900K ได้สบายๆ เลย ส่วนเรื่องที่ไม่น่าประทับใจมากนักเลยก็ดูเหมือนจะเป็นในส่วนของประสิทธิภาพในการเล่นเกม 3D นั้นแทบจะแพ้ทางให้กับ 9900K อยู่มากเลยก็ว่าได้  อันนี้ก็คงต้องยอมรับว่าทาง Intel ยังแข็งเรื่องนี้อยู่เหมือนเดิม…. ก็คงเพราะเรื่อง Latency ภายในตัว CPU ที่ทาง Intel ยังได้เรียบ AMD อยู่มากเหมือนเดิม…

     ดังนั้นถ้าเรื่องงาน Multi Thread นั้น AMD ไล่ขึ้นมาได้แล้ว และแรงมากๆ ด้วยนะครับ Intel ต้องระวังเลย ยิ่งผลการทดสอบเรื่อง IPC ที่ 4.0Ghz เท่ากันแล้ว ทาง Intel โดยสวนแบบทิ้งห่างเลย น่ากลัวเหมือนกันนะเออ…. เพราะอย่าลืมนะว่า 3700X นั้นราคาถูกกว่ามาก… และยังสามารถเอาไปใส่กับเมนบอร์ดรุ่นเก่า Socket AM4 ได้อยู่หลายรุ่น เพียง Update BIOS เป็นตัวล่าสุดที่รองรับ Ryzen 3000Series เท่านั้นเอง ซึ่งปัจจุบันสามารถรองรับได้กับเมนบอร์ดชิปเซต X370/X470 และ B450 ได้แล้วเลยนะครับ ตรงนี้เองถือว่ายังเป็นจุดแข็งของ AMD ที่ค่อนข้างมีความยึดหยุ่น ไม่บังคับให้ผู้ใช้ต้องซื้อ CPU คู่เมนบอร์ดใหม่บ่อยๆ… ช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการ Upgrade แก่สาวก AMD ได้อย่างมาก…

     ส่วนเรื่องการ Overclock แรมนั้น ถ้าจะเอาประสิทธิภาพสูงสุดก็ทำตามที่ AMD แนะนำไว้เลยครับ คือช่วง DDR4-3733Mhz – 3800Mhz CL16-16-16-36 1T หาแรมแรงๆ มาเสียบรับรองได้ว่า แรงสุดสถาปัตยกรรมนี้เลยล่ะครับ  ส่วนใครที่บ้า Mhz แรมก็ลองเปลี่ยนไปใช้อัตราทด Fclk/Mclk 2:1 ดูครับ คุณก็จะเห็นแรมวิ่งเกิน 4400Mhz + ได้แบบง่ายๆ เลย ยิ่งใครมีแรม Micron E-Die รุ่นใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงนี้ที่เริ่มเห็น DDR4-5000Mhz CL18 สามารถใช้งานได้จริงแล้วนะครับ….. แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น…. ถ้าจะเอา Performance ในเรื่องของการ Overclock แรมจริงๆ ควรใช้อัตราทด 1:1 ระหว่าง Fabric Clock กับ DRAM จะดีที่สุด เพราะทาง AMD บอกไว้ชัดเจนว่าตอนนี้ Fabric Clock จะตันหรือถึงสุด Limit ที่ราวๆ 1866Mhz ถึง 1900Mhz สูงสุด หรือสามารถทำงานกับแรม DDR4-3733Mhz ถึง DDR4-3800Mhz ได้สูงสุด ถ้าต้องการประสิทธิภาพจากการใช้งานจริงๆ…  หากใครยังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านหน้าแรกได้ครับ… ผมไม่อยากมาสรุปให้มันยึดยาว…. ^^”

     สุดท้ายนี้ก็คงเป็นเรื่องของอุณหภูมิการใช้งานนั้นบอกได้เลยว่า ถ้าใช้งานเดิมๆ ไม่ร้อนแน่นอนครับ 60-70c เต็มที่แล้ว และขึ้นอยู่กับ CPU Cooler ของเรามากกว่าว่าจะเย็นแค่ไหน  ส่วนเรื่องอัตราการบริโภคพลังงานั้นก็ทำได้ยอดเยี่ยมมาก เพราะผลิตด้วยกระบวนการ 7nm. เท่านั้นเอง จึงไม่แปลกใจที่จะกินไฟน้อยลง โดยช่วง CPU Cull Load อย่างเดียวนั้นกินไฟแค่ 150 Watt เองนะครับ ส่วนทางด้าน 9900K นั้น CPU Full Load จะใช้ไฟอยู่ที่ 265Watt เพราะมี Ghz ที่ค่อนข้างสูง…

อย่างไรแล้วก็ขอฝากรีวิวฉบับนี้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของสาวก AMD ทุกท่านด้วยนะครับว่าการกลับมาของ Ryzen 3000 Series ครั้งนี้ว่าน่าโดนหรือไม่ ?  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

AMD THAILAND