รีวิว CPU AMD RYZEN 7 3700X 8Core 16Thread 7nm Processor

     สวัสดีครับ… วันนี้นาย Audigy มีข้อมูลและรีวิว CPU รุ่นใหม่จากค่าย AMD รุ่นใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 7/7/2019 ผ่านมานี้เองในสถาปัตยกรรม ZEN2 Microarchitecture และสำหรับ CPU ที่เราได้รับมาทำการรีวิวเป็นตัวแรกเลยนั้นก็คือ AMD RYZEN 7 3700X 8C/16T ที่ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการ 7nm. ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าการมาของ AMD ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการต่อยอดของสถาปัตยกรรมเก่าอย่าง ZEN ตัวแรก มาปรุงแต่ใหม่แบบแถบยกเครื่องทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของประสิทธิภาพต่อพลังงาน (Perf/Watt), การปรับปรุง Infinity Fabric Gen.2 ทำใหม่ใหม่ที่แยกส่วนของ Flck และ Ulck ให้ปรับแต่งอัตราทด เพื่อช่วยการ Overclock แรมได้ดีขึ้น และสถาปัตยกรรม ZEN 2 ก็ให้ประสิทธิภาพของ IPC แรงขึ้นจากของเดิมได้อีก 15% กันเลยทีเดียว ดังนั้นแรงแน่นอนสำหรับ RYZEN 3000 Series !!!

แรงขึ้นแน่นอน เพราะเขาทำปรับปรุงใหม่เกือบทั้งยวง ช่วยพยุง IPC เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้านี้ได้อีกถึง 15% กันเลยทีเดียวสำหรับเจ้า RYZEN GEN3 ส่วนในเรื่องของ Infinity Fabric นั้นก็ได้รัยการพัฒนาเป็น GEN.2 ด้วยเช่นกัน

DRAM Overclocking

     ผมขอเริ่มที่เรื่องของแรม DDR4 บน AMD RYZEN 3000 Series Platform กันก่อนเลยนะครับ เพราะเป็นที่พูดถึงกันมากในวงการ Overclock ในกลุ่มผู้เล่น AMD ในบ้านเราและต่างประเทศ ว่าเรื่องที่ทาง AMD ได้เปิดให้มีอัตราทดแรมใหม่ระหว่าง Fabric กับ DRAM Clock ได้ในแบบ 1:1 คือความเร็ว Fclk เท่ากับ Mclk และแบบทดตัว Fabric ลงไปในอัตราทด 2:1 DRAM/Fabric clock โดยอนุญาตให้ผู้ใช้ สามารถ Overclock แรมขึ้นไปได้ในความถี่ที่สูงมากๆ เช่นระดับ DDR4-4400Mhz ไปจนถึง DDR4-5000Mhz+ ได้กันเลยทีเดียว… หลายคนเห็นตรงนี้แล้วเฮ…..กันใหญ่เลย ฮ่าๆ…

     เดี๋ยวก่อนครับ มาดูที่ป้าแนะนำเรา จริงๆ แล้ว OC Sweet sport หรือความเร็วของแรมในการ Overclock ที่ทาง AMD แนะนำเราก็คือที่อัตราทด 1:1 สำหรับ DRAM/Fabric clock นั้นอยู่ที่ DDR4-3733 (1866Mhz) เท่านั้นเอง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าระดับ Latency นั้น DDR4-3733C17 อยู่ที่ประมาณ 67ns. จากนั้นลองไปดูในส่วนการ Overclock ด้วยอัตราทด 2:1 DRAM/Fabric clock ซิครับ… Latency เพิ่มขึ้นมาถึง 75-80ns. ที่ความเร็วแรมตั้งแต่ DDR4-3866 ไปจนถึง DDR4-4400  เอ้า…. มันเกิดอะไรขึ้น !!! ลากแรมแล้ว ทำไม Latency มันเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีก x_x…

     ก็เป็นเพราะอัตราทดที่ทาง AMD ให้มาอย่างที่บอกว่า 2:1 DRAM/Fabric clock ก็เท่ากับว่าที่แรม DDR4-4400Mhz (2:1) เจ้า Fabric clock จะถูกลดลงไปเท่าหนึ่งตามอัตราทดนั่นเอง ดังนั้น Fabric clock ที่แท้จริงจะวิ่งที่ 1100Mhz เท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับความเร็วแรม 2200Mhz (DDR4-4400)  เพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้การ Overclock ด้วยอัตราทด 1:1 DRAM/Fabric clock จึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า (Latency ต่ำกว่า) อย่างที่ AMD แนะนำช่วงที่แรมทำงานได้ดีที่สุดกับ Fabric @ DDR4-3733Mhz (ในอัตราทด 1:1 @ DRAM-1866Mhz/Fabric-1866Mhz)  จึงทำให้เป็นจุดที่ทาง AMD แนะนไว้ว่าดี่ที่สุดนั่นเอง

     แล้วแบบนี้มันตันที่ Fabric clock ใช่ไหม ?  คำตอบคือ = ใช่เลยครับ คือเจ้า Fabric clock ณ ตอนนี้ตันอยู่ที่ราวๆ 1866-1900Mhz หรือเราจะเล่นแรมได้นิ่งสุดและไกลสุดที่ราวๆ DDR4-3800 (1900Mhz) เพราะว่าเจ้า Fabric clock มันตันที่นี่นั่นเอง  โดยถ้าเราปรับความเร็วแรมเกิน 3900-4000Mhz+ ขึ้นไป เมนบอร์ดจะบังคับให้ Fabric ทดลงในอัตรา 2:1 ทันที…  ดังนั้นถ้าคุณจะเล่นในอัตรา 2:1 ได้ดีที่สุด เช่นจะเอา Fabric ขึ้นไปที่ระดับ 1866-1900Mhz ให้ได้… คุณก็ต้องหาแรมที่มีความเร็วถึง DDR-7600 (3800Mhz) กันเลยทีเดียว เพื่อให้ได้ความเร็วของ Fabric clock กลับมาที่ 1866-1900Mhz ด้วยอัตราทด 2:1  สรุปคือ… แรมไปไม่ไหวหรอกครับ… แค่ DDR4-5000-5200Mhz ที่เราเห็นเขาโชว์กัน ณ เวลานี้ก็ถือว่าหรูมากแล้ว…  สมมุติที่ความเร็วแรม DDR4-5200Mhz เจ้า Fabric clock จะอยู่ที่ 1300Mhz เท่านั้นเองนะเอ่อ….  หรือถ้า AMD ในอัตราทดแปลกๆ เช่น 3:4 เพิ่มขึ้นมาในทำนองนี้ เพื่อให้ความเร็วแรมไม่สูงเกินไป แต่ได้ Fabric clock ที่เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง… ผมมองว่าการจูน DRAM/ Fabric น่าจะสนุกขึ้นอย่างแน่นอน… เพราะมันจะได้ไม่หนักไปที่แรมมากเกินไป….

     สรุปแล้ว เรื่อง Fclk/Mclk ถามว่าอันไหนแรงสุด… ณ ชั่วโมงนี้ก็ตอบได้เต็มปากเต็มคำเลยก็คือแบบ 1:1 นะครับ…!!!  โดยเราแนะนำว่าลองลากแรมไปให้ไกลที่สุดเช่นที่ DDR4-3733 หรือ 3800Mhz จากนั้นก็กด CL แรมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น DDR4-3800 CL16-16-16-36 หรือ DDR4-3800 CL14-14-14-34 อะไรทำนองนี้เป็นต้นครับ… แรงส์แน่นอนจ้า…  ^^”

 

ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยว่าทำไม AMD Ryzen 3000 Series อยู่กๆ ก็มีความสามารถในการ Overclock แรมความถี่สูงๆ ได้แบบกว้ากระโดดเลย ฮ่าๆ…. (หมายถึงมีเฉพาะความถี่นะครับ ไม่ได้หมายถึงความแรง)

 

     เปิดตัวมามีกี่รุ่นเอ่ย..? และวันนี้เราจะรีวิวรุ่นไหน ?  ตอบเลยครับว่ามี RYZEN 3000 Series ออกมาจำหน่าย ณ เวลานี้ถึง 7 โมเดลด้วยกัน โดยจะเป็นรุ่นที่มีมี GPU ใสตัวทั้งหมด 5 รุ่น และแบบมาพร้อมกับ GPU ในตัวร่วมกับ Radeon RX Vega 8 และ 11 อีก 2 รุ่นนั่นคือ Ryzen 5 3400G และ Ryzen 3 3200G นั่นเอง  ส่วนรุ่นที่เหลือคือแบบไม่มี GPU ติดมา คือเป็น CPU ล้วนๆ ได้เแก่รุ่นใหญ่สุดคือ Ryzen 9 3900X 12C/24T, Ryzen 7 3800X 3.9/4.5Ghz 8C/16T, Ryzen 7 3700X 3.6/4.4Ghz 8C/16T, Ryzen 5 3600X 3.8/4.4Ghz 6C/12T และ Ryzen 5 3600 3.6/4.2Ghz 6C/12T นั่นเองครับ  และรุ่นพิเศษอีกหนึ่งรุ่นที่บอกได้เลยว่าเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่านี้มาก จะเปิดตัวในช่วงเดือน กันยายน 2019 ที่จะถึงนี้ก็คือ Ryzen 9 3950X 16C/32T กันเลยทีเดียวครับ โอว์แม้จ้าว…. จะโหดไปไหน….   ส่วนภาพด้านบนนี้ก็จะเปรับเรื่องราคา กับรุ่นของคู่แข่งว่า AMD นั้นออกมาชนกับรุ่นไหนบ้าง ลองพิจารณาดูกันเองครับ… คร่าวๆ ก็คือถูกกว่าและได้จำนวนหัว/เทรดใช้งานที่มากกว่า…

     และสำหรับวันนี้เราจะรีวิวในรุ่น  RYZEN 7 3700X 8C/16T ความเร็ว Base 3.6Ghz และ Boost XFR ได้สูงสุดที่ 4.4Ghz สูงสุดครับ ส่วนขนาด Cache L3 นั้นมีมากถึง 36MB กันเลยทีเดียว…. และราคาขายก็เร้าใจมากๆ เพียง 329USD เท่านั้นเอง ^^” (คือราคานี้ อีกค่ายจะได้แค่ CPU 6C/12T เท่านั้นเอง)

 

ลองมาดูประสิทธิภาพของ Ryzen 3000 Series แบบ Single Thread ที่ทดสอบร่วมกับ Cinebench R20 เมื่อเทียบกับ Ryzen 7 2700X แล้วจะพบว่า Ryzen 7 3700X นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 15% กันเลยทีเดียว และสำหรับ Ryzen 9 3900X แล้วจะเพิ่มขึ้นมากถึง 21% จัดว่าเป็นประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นดีมากแบบ Single Thread เมื่อเทียบกับของเก่า

 

     AMD แนะนำแบบ Recommaded เลยนะครับว่า CPU ตัวใหม่ของตนนั้น จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็เมื่อใช้งานร่วมกับ Windows 10 รุ่นใหม่ล่าสุด Ver. 1903 เท่านั้นนะครับ ดังนั้นใครซื้อ Ryzen 3000 Series ไปโปรดลง OS รุ่นใหม่ล่าสุด Windows 10 1903 เท่านั้น…. และได้เพิ่มขนาดของ Cache ระดับ L3 ที่ใหญ่ถึงกว่าเดิม 2 เท่า เมื่อเทียบกันระหว่างสถาปัตยกรรม ZEN และ ZEN+

 

        ส่วนในเรื่องของชิปด้านในตัว CPU นั้นทำได้แยกเป็น 2 ส่วนด้วยกันนะครับ กล่าวคือจะเป็นในส่วนของ CCD Module ที่ด้านในประกอบไปด้วย CCX จำนวน 2 ชุดต่อหนึ่ง CCD โดยชิ้นนี้จะผลิตขึ้นมาที่กระบวนการ 7nm. สำหรับ CCD  และในส่วนของชิป cIOD นั้นจะเป็นชิปที่ทำแยกออกมาอีกหนึ่งชิปที่ผลิตด้วยกระบวนการ 12nm. โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมแรม โดยมีจุดเชื่อมต่อกันด้วยชุด Unifield Memory Controller หรือเรียกสั้นๆ ว่า Uclk ที่ทำการติดต่อกับแรม DRAM (memclk) เพื่อติดต่อส่งข้อมูลกับทาง Infinity Fabric (fclk) ด้วย 32K/cycle และหน้าที่อีกอย่างของเจ้าชิป IOD ก็คือเป็นตัว IO Hub Controller เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ความเร็วสูงภายนอกอย่างเช่น PCIe4.0, USB3.1 และชิปเซท AMD X570 เป็นต้น…

 

และสำหรับชั้นของลายวงจรของ Ryzen 3000 Series นั้นมีมากถึง 12-Layer กันเลยทีเดียว

 

     และข้อมูลที่น่าสนใจได้เราทราบมาว่าการทำงานระกว่าง CCD และ CCX นั้นมันเชื่อมต่อผ่าน Fabric อย่างไรบ้าง ?  เอาล่ะครับ หลายๆ ท่านที่ดูผล Benchmark ในส่วนของ Memory Bandwidth ของ Ryzen 3000 series มากันบ้างแล้ว จะพบว่าถ้าเราทดสอบด้วย AIDA64 Cache & Memory Benchmark นั้นเราจะสังเกจุได้ชัดเจนว่า CPU ที่มีเพียง 1CCD หรือในรุ่น Ryzen 7 3800X/3700X และ Ryzen 5 3600X/3600 นั้นค่า Memory Write หรือการเขียนนั้น จะน้อยแปลกๆ ซึ่งจากข้อมูลที่เราได้หาๆ ดูแล้วพบว่าการทดสอบด้วย CPU AMD Ryzen 9 3900X ที่มีจำนวน 2x CCD นั้นมีผลการทดสอบที่ดีปกติ ตามที่ควรจะเป็น  แต่ทำไม Ryzen 7 และ Ryzen 5 ถึงได้มีประสิทธิภาพในเรื่องของ Memory Bandwidth ในส่วนของ Write หายไปครึ่งหนึ่ง ของ Ryzen 9 3900X

     จากภาพด้านบนนี้ ทำให้เราถึงกับบางอ้อกันเลยทีเดียว ซึ่งการทำงานจริงๆ แล้วที่ Fabric ติดต่อกับ CCD นั้นพี่แกส่งข้อมูลตามรอบนั้นอยู่ที่ Read 32B/cycle และค่า Write มีเพียง 16B/cycle เท่านั้นเอง ถึงว่าทำไมค่า Write ของ CPU ที่มีเพียง 1 CCD นั้นหายไปประมาณครึ่งหนึ่งของค่า Read ซึ่งผิดปกติมาก  และเมื่อไปดู CPU รุ่น Ryzen 9 3900X นั้นมันมีอยู่ 2 CCD มันจึงทำให้ค่า Memory Bandwidth ในส่วนของ Write นั้นเพิ่มมาอีก 16B/cycle จึงทำให้ปรัสิทธิภาพโดยรวมแล้วมีค่า Write มากกว่า CPU ที่มีเพียง 1 CCD ครับ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจนะครับว่า Ryzen 7 และ Ryzen 5 นั้นจะมีค่า Write ที่น้อยกว่า Ryzen 9 3900X อยู่ประมาณ เท่าตัว  ส่วนทาง AMD ก็ให้เหตุผลว่าที่ออกแบบมาเช่นนี้ก็เพราะห่วงเรื่องอัตราการใช้พลังงานของ CPU ว่ากลัวมันจะกินไฟเยอะขึ้นนั่นเอง… (ไม่รู้จริงป่าวนะ หรือกั๊กเอาไว้ปล่อยใน Gen หน้า… หรือไม่ก็ตันแล้วจริงๆ ฮ๋าๆ…)

 

AMD X570 Platform

     มาดูต่อในส่วนของชิปเซตคู่หูของทาง AMD Ryzen 3000 Series กันดีกว่าครับ ซึ่งครั้งนี้พี่แกก็ถือโอกาสเปิดตัวเมนบอร์ด AMD ชิปเซท X570 Chipset ออกมาพร้อมกับ CPU ด้วย โดยจุดเด่นหลักๆ เลยก็คือเป็นเมนบอร์ด Desktop ตัวแรกเลยที่ออกมารองรับการต่อใช้งานผ่าน PCIe4.0 เป็นครั้งแรกของโลก ร่วมกับกราฟิกการ์ดของตนเองที่เปิดตัวไปพร้อมกันในรุ่น Radeon RX 5700/5700XT  และสำหรับตัว CPU นั้นจะเชื่อมกันกับชิปเซท AMD X570 ผ่าน Interface PCIe4.0 x4 ซึ่งมี Bandwith เหลือเฟือกันเลยทีเดียวที่ 16GT/s เมื่อทำงานเต็ม x16 จะสามารถส่งข้อมูลได้ราวๆ 31.508 GB/s และที่ x4 จะส่งข้อมูลได้ราวๆ 7.877 GB/s ครับ

     ส่วนข้อดีของ AMD เลยก็คือ ถ้าหากคุณยังมีเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ อย่าง AMD ชิปเซท X370/X470/B450 อะไรพวกนี้อยู่ สามารถดูรายการ BIOS รุ่นใหม่จากทางผู้ผลิตเมนบอร์ดได้ว่า รุ่นไหนยังรองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen 3000 Series ได้บ้าง?  เพราะมันยังคงใช้ร่วมกับ Socket AM4 เหมือนเดิมนั่นเอง… แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่งเลยก็คือ เมนบอร์ด X570 จะไม่สามารถเปิดใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen Gen1 ได้นะครับ… เสียใจด้วย ^^”

     และสำหรับข้อดีของเมนบอร์ดที่มี PCIe4.0 เลยก็คือผู้ที่ต้องการความเร็วในส่วนโอนถ่ายข้อมูลสูงๆ ณ เวลานี้ก็มี M.2 NVme PCIe SSD ที่เป็น PCIe 4.0 ออกมาจำหน่ายบ้างแล้วนะครับ โดยความเร็วผ่าน M.2 NVMe PCIe4.0 เพียงตัวเดียวนั้นก็สามารถให้ความเร็วในการอ่าน/เขียน Seq Read/Write ได้ในระดับ 5000/4000MB/s กันเลยทีเดียว… แล้วถ้าต่อ RAID 0 NVMe นี่คงได้เห็นความเร็วระดับ 1x,xxxMB/s กันเป็นเรื่องธรรมดาเลยล่ะครับ หุหุ…