รีวิวซิลิโคนนำความร้อนจาก CORSAIR TM30 Performance Thermal Paste

     สวัสดีครับ วันนี้ Clock’EM UP มีซิลิโคนนำความร้อนคุณภาพสูงจากค่าย Corsair มาแนะนำให้รู้จักกันอีกหนึ่งรุ่นครับ และก็เป็นซิลิโคนตัวแรกเลยก็ว่าได้ที่ทาง Corsair ได้ผลิตออกมาจำหน่ายเป็นของตัวเอง โดยมีชื่อรุ่นว่า CORSAIR TM30 Performance Thermal Paste โดยบรรจุมาในสลิ้ง “Syringe” ขนาด 3g ซึ่งสามารถนำไปทาบนหน้าสัมผัสของตัว CPU และ GPU เพื่อเป็นตัวนำความร้อนที่ดีสู่ชุด Cooling ได้เลยครับ โดยทั้งนี้เขายังออกแบบมาให้มันทาง่ายด้วยวัสดุ Premium zinc oxide ไม่เหนียวจนเกินไป และไม่เกิดการแข็งตัวง่าย จึงทำให้ตัวเนื้อซิลิโคนนั้นไม่แห้งง่ายจนเกินไป โดยมีความยืดหยุ่นเป็นอย่างดีครับ

 

     สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคนั้นก็มีค่าการนำความร้อนอยู่ที่ Thermal Conductivity อยู่ที่ 3.8 W/mK ถ้าดูจาก Spec ตังนี้แล้วก็ไม่ได้สูงมากครับ เพราะซิลิโคนเทพในท้องตลาดอยู่ในระดับ 10-12W/mK + กันหมดเลย ดังนั้นถ้าเราต้องการทราบว่ามันจะนำความร้อนได้ดีและเย็นสักแค่ไหนนั้น? ก็คงต้องลองพิสูจน์ดูกันครับ   ส่วนเนื้อของซิลิโคนนั้นก็เป็นสีมาตราฐานที่เราเห็นกันทั่วไปคือสีเทาเข้ม เนื้อครีมของซิลิโคนนั้นค่อนข้างเหลวมาก เพราะต้องการให้เราทาซิลิโคน และการกระจายของเนื้อซิลิโคนหลังการติดตั้งกับ Cooling แล้วทำได้ดีขึ้น  และที่สำคัญเนื้อซิลิโคนนั้นไม่มีการนำไฟฟ้า ดังนั้นหากทำเลอะบนเมนบอร์ดก็ไม่ต้องกลัวว่าจะพังนะครับ

Tech Spec

  • Thermal Conductivity : 3.8 W/mK
  • Thermal Impedance : 0.01°C -in2/W
  • Viscosity : 2300K cPs
  • Specific Gravity : 2.5g/cm3

นี่คือตัวซิลิโคนนำความร้อนจากค่าย Corsair TM30 ซึ่งหนึ่งหลอดจะถูกบรรจุมาในขนาด 3g กรัมครับ ราคาจำหน่ายอยู่ที่หลอดประมาณละ 3xx.- บาท ครับ

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้เราก็จะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบครับ (25c +/- ไม่เกิน 1c)

Hardware Spec.

CPU
Intel Core i7-8086K 6C/12T Coffeelake 14nm. (Delidded with Liquid Gallium)
CPU Cooler Tt Water 3.0 360 ARGB TT Premium Edition
Motherboard
ASROCK Z370 Taichi [Intel Z370]
Memory
Corsair Dominator Platinum RGB DDR4-3000CL15 16GB-Kit
VGA ASROCK Phantom Gaming Radeon RX590 8GB OC
Hard Drive
PSU CoolerMaster V1200 Platinum
OS Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

สำหรับชุดการทดสอบนั้นเราจะใช้ CPU Intel Core i7-8086K 6C/12T ผ่ากระดองแล้วด้วย Liquid Gallium ทำการ Overclock ไปที่ความเร็ว 5.0Ghz/ Cache 4.8Ghz Vcore 1.30V (BIOS Fix) ส่วนแรมนั้นปล่อยทำงานตามความเร็วของ XMP Profile ที่ DDR4-3000CL15-17-17-35 1.35V 16GB (8GBx2) ครับ

 

Performance Test

สำหรับรายละเอียดการทดสอบนั้นเราจะใช้โปรแกรม AIDA CPU System Stability Test (CPU+FPU+Cache) ทำการ Stress Test เป็นเวลา 30 นาทีแล้วจับความร้อนมาเทียบกราฟให้ชมกันครับ โดยจะอ้างอิง Temp ทั้ง 6 Cores ของ CPU จากโปรแกรม CPUID HWMonitor มาเฉลี่ยให้ชมกันครับ

 

       และสำหรับผลการทดสอบแรกนั้นเราจะทดสอบเทียบกับซิลิโคนขาวที่จัดว่าเป็นเกรดที่ดีระดับหนึ่งครับจากค่าย Arctic Sillver ในรุ่น Ceramique 2 ตัวอ้างอิง หรือตัวแทนของซิลิโคนขาวธรรมดาทั่วไป เทียบกับซิลิโคนคุณภาพจากค่าย Corsair TM30 ว่าจะมีผลการทดสอบออกมาได้เย็นต่างกันเท่าไร โดยชุดระบายความร้อนที่ใช้ในวันนี้ก็คือ Tt Water 3.0 360 ARGB TT Premium Edition AIO ครับ  และผลการทดสอบที่ออกมานั้นก็คือ Corsair TM30 นั้นมีประสิทธิภาพในการนำความร้อนได้ดีกว่าซิลิโคนขาว Ceramique 2 อยู่ที่ประมาณ 3.83c องศาเซลเซียส ก็ถือว่าใช้ได้เลยนะครับการสูตรแรกที่ทาง Corsair ได้ปล่อยออกมาและในอนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะทำรุ่นที่ดีกว่านี้ออกมาจำหน่ายอีกหรือไม่ ? และสำหรับตัวผมเองมองว่าถ้าผลการทดสอบไม่ออกมาด้อยกว่าซิลิโคนขาวตัวนี้ ผมก็ ok ในระดับหนึ่งแล้วล่ะครับ เพราะอย่าลืมว่า Ceramique 2 ก็ยังถือว่าเป็นซิลิโคนขาวเกรดดีระดับหนึ่งเลยนะครับ ไม่ใช่ของกะโหลกกะลาแน่นอน…

 

More Compare Results

     และเมื่อเทียบกับซิลิโคนชั้นนำในท้องตลาดแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง มาชมผลการทดสอบกันเลยครับ ซึ่งเราก็ขอนำ Kingpin KPx และ Gelid GC-EXTREME ตัวตลาดมาเทียบให้ชมกันไปเลยว่า CORSAIR TM30 รุ่นนี้จะมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับไหนกัน และจากผลการทดสอบของเราก็พบว่า TM30 นั้นร้อนกว่า GC-EXTREME อยู่ประมาณ 2c องศาเซลเซียส และร้อนกว่า Kingpin KPx ที่ 2.84c องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนตัวแล้วผมมองว่าตามอยู่ไม่มากครับ คือไม่เกิน 3c ผมว่าเกรดของซิลิโคนที่ทาง Corsair ให้มาในรุ่น TM30 นั้นทำออกมาได้ค่อนข้างดีแล้ว เหลือเพียงแค่ว่าในอนาคตจะมีรุ่นที่ดีกว่านี้ออกมาหรือไม่ ต้องติดตามชมกันต่อไป…


Temperature Results (HW Monitor 6 Cores)

CORSAIR TM30 Peformance Thermal Paste

: i7-8086K OC 5.0/Cache 4.8Ghz Vcore 1.30v All Cores (Stable)

  • Min Temp : 26c
  • Max Temp : 72c

 

Arctic Sillver Ceramique 2

: i7-8086K OC 5.0/Cache 4.8Ghz Vcore 1.30v All Cores (Stable)

  • Min Temp : 27c
  • Max Temp : 76c

 

Check contact between CPU and Heatsink

     มาดูหน้าสัมผัสของซิลิโคนหลังจากติดตั้งกันดีกว่าครับ จากที่ลองใช้งานดูแล้วผมดูว่าเนื้อของซิลิโคนนั้นค่อนข้างเหลวมากจริงๆ เหลวจนเนื้อซิลิโคนและนำมันที่ผสมกันมากแยกออกจากกันเลยครับ ผมเลยตัดปัญหาด้วยการบีบในส่วนที่มันมีสาร 2 ชนิดแยกกันออกแล้วใช้เนื้อซิลิโคนที่เข้ากันได้ดีเป็นตัวทดสอบครับ  อันนี้ผมงงมาก ว่าทำไมเนื้อซิลิโคนแยกออกจากสารละลาย ซึ่งไม่แน่ใจคืออะไร มันมีลักษณะเป็นน้ำมันใสๆ แยกจากเนื้อซิลิโคนสีเทา  เอาล่ะครับ ภาพด้านล่างนี้คือเนื้อซิลิโคนที่ถูกรีดหลังจากการติดตั้ง CPU Cooling ครับ มาดูกันเลย

 

เนื้อซิลิโคนออกแบบมาให้ค่อนข้างเหลว เพื่อการเซ็ตตัวและการทาซิลิโคนนั้นทำได้ง่ายขึ้น จึงสังเกตุได้ว่ามันกระจายทั่วกระดองได้ดีเลยครับ

 

บริเวณเนื้อซิลิโคนที่ตัว Block ครับ ดูแล้วก็ค่อนข้างเหลวมากจริงๆ…


Arctic Sillver Ceramique 2

     และตรงนี้ก็จะเป็นในส่วนของซิลิโคนจากค่าย Arctic Sillver Ceramique 2 ซึ่งจะเป็นเนื้อครีมสีขาว เนื้อค่อนข้างหนึดมากเลยทีเดียวครับ ในยุคสมัยนั้น นิยมใช้สำหรับการระบายความร้อน CPU ด้วย Single State Phase Change และ Dry Ice ได้อีกด้วย โดยเนื้อครีมรุ่นนี้เหมือนว่าจะทนอุณหภูมิได้ราวๆ -50c ลงไปเนี่ยล่ะครับ จำไม่ได้ละ ส่วนถ้าเป็นซิลิโคนเกรดเทพๆ ก็จะติดลบได้หลัก -190c ถึง -200c + กันเลยทีเดียว ส่วนของทาง Corsair นั้นไม่ได้แจ้งรายละเอียดทางด้านเทคนิคเอาไว้ว่าสามารถนำความร้อนได้ในย่านอุณหภูมิใช้งานเท่าใดบ้าง?

 

เนื้อซิลิโคนของ Ceramique 2 นั้นค่อนข้างเนียวเลยทีเดียวครับ เช็ดออกก็ค่อนข้างยากมาก…

 

แต่เมื่อเทียบดูการกระจายของเนื้อซิลิโคนแล้วก็ทำได้ดีอยู่นะครับ ถึงแม้จะเหนียวมากๆ…

 

Conclusion.

     ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับซิลิโคนนำความร้อนคุณภาพสูงจากค่าย Corsair ในรุ่น TM30 ซึ่งเป็นสูตรแรกจากทาง Corsair ที่ได้เคยผลิตซิลิโคนนำความร้อนออกมาจำหน่าย ซึ่งผลการทดสอบก็ถือว่าจัดในอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ครับ… เพราะผลที่ได้ออกมานั้นก็เป็นไปตามความคาดหมาย โดยเย็นกว่าซิลิโคนขาวเกรดดีๆ อยู่ประมาณ 3.83c องศาเซลเซียส และตามหลังซิลิโคนระดับ High-END อยู่ประมาณ 2-2.85c องศาเซลเซียสเท่านั้น ถือว่ารับได้กับ Spec ที่ให้มาของค่าการนำความร้อนที่ Thermal Conductivity อยู่ที่ 3.8 W/mK  โดยผมมองว่าซิลิโคนรุ่นนี้ก็ทำหน้าที่ได้สมกับ Spec ที่ให้มาแล้วล่ะครับ

     ส่วนข้อดีอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือเนื้อซิลิโคนค่อนข้างเหลว ทาง่าย และทำความสะอาดได้ง่าย/เช็ดออกง่ายมากครับ  ส่วนข้อเสียก็คือ เนื้อซิลิโคนที่เก็บไว้ในหลอดนานๆ อาจจะมีการแยกตัวของสารที่ผสมกันมา ผมแนะนำว่าลองบีบในส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ออกให้หมดก่อน พอเนื้อซิลิโคนเป็นสีเทาทั้งหมดค่อยนำไปใส่บนกระดอง CPU/GPU นะครับ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นแบบนี้ทุกหลอดหรือไม่

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากซิลิโคน CORSAIR TM30 ขนาด 3g รุ่นนี้ไว้พิจารณากันด้วย สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

CORSAIR THAILAND