รีวิวเคส Antec DARK AVENGER DA601

     สวัสดีครับ วันนี้เรามี Gaming Case ราคาไม่แรงมาก เอาใจวัยรุ่นงบน้อยแต่อยากได้ Case สวยๆ พร้อมไฟ ARGB + กระจกนิรภัย Tempered Glass จากค่าย Antec ราคาไม่แรงมากตัวละ 2,7xx.- บาทเท่านั้นเองนะเออ……  และสำหรับเจ้า Case ขนาด Mid-Tower ที่เราจะมารีวิวให้ชมกันในวันนี้ก็คือ Antec The Prime Dark Avenger รหัส DA601 ที่ออกแบบมาให้มีไฟ ARGB ที่รองรับการ Sync เข้ากับเมนบอร์ดชั้นนำได้แทบทุกค่ายเลยล่ะครับ ดังนั้นหากใครสนใจก็อ่านรีวิวต่อกันเลย ^^”

Feature.

เอาใจสายลมและชุดน้ำด้วยความสามารถในการติดตั้งพัดลมขนาด 120mm. ด้านหน้าได้ถึง 3 ตัวและด้านบนอีก 3 ตัว พร้อมกับ Controller ไฟ ARGB และ Fan Controller Hub มาให้ใน Case

 

    การที่มีกล่องควบคุม LED Controller + Fan Hub มาใน Case นั้นจะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้นในเวลาที่เราต้องการเปลี่ยนการทำานของไฟ LED ของพัดลมให้เป็นในรูปแบบเดียวกัน ด้วยปุ่มกดด้านหน้า Case หรือจะสั่ง Sync ARGB กับเมนบอร์ดที่รองรับก็ทำได้เช่นกัน  โดยเจ้ากล่อง LED Controller ชุดนี้จะรองรับพัดลมแบบ ARGB ได้ถึง 4 ตัวกันเลยทีเดียว

 

และนี่ก็คือขนาด Dimensions ของตัว Case รุ่นนี้ครับ = 480 x 220 x 500 mm (DWH)

 

     เห็นว่าเป็น Case ขนาดไม่ใหญ่มาก Mid-Tower Case แต่ด้านในใส่อะไรได้เยอะแยะเลยนะครับ อย่างน้อยๆ ก็มีพื้นที่รองรับกราฟิกการ์ดที่ได้ยาวสุดถึง 400mm. เลยนะเออ… ส่วนพวก Hard Drive ต่างๆแล้ว ถ้าเป็น SSD 2.5″ ใส่ได้ทั้งหมด 6 ตัวและ HDD 3.5″ ในได้ 2 ตัว  ส่วนขนาดเมนบอร์ดนั้นสามารถใส่ได้ถึงขนาด E-ATX เลยนะครับ บอกแล้วไม่ธรรมดาจริงๆ…

 

     Antec Dark Avenger DA601 เป็น Gaming Case คอมพิวเตอร์ในขนาดมาตราฐาน Mid-Tower หรือเป็น Case ขนาดกลางนั่นเอง แต่ออกมาพิเศษสำหรับ Gamer ที่ต้องการ PC ขนาดกลางที่สามารถใส่อุปกรณ์ระบายความร้อนอย่างเช่นพวกหม้อน้ำ AIO หรือพัดลมระบายความร้อนได้แบบจัดเต็มทั้งด้านหน้าและด้านบนเคส และนอกจากนนี้ยังออกแบบ Design ออกมาได้อย่างสวยงามดูร่วมสมัยอย่างมาก โดยมันจะมาพร้อมกับลายไฟ ARGB ด้านหน้า Case รวมถึงตัวพัดลม ARGB และกล่อง LED Controller ที่แถมมาให้ใน Case ด้วยเช่นกัน จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ  ส่วนฝาข้างก็เป็นกระจกนิรภัย Tempered Glass อีกจัดว่าครบเลยในราคาไม่ถึง 3,000 บาท… โอ้ว์ แม่จ้าว…. ^O^

 

ด้านหน้า Case ออกแบบมาได้อย่างโฉบเฉี่ยวด้วยกระจังหน้า Case ที่ไม่เหมือนใคร

 

ฝาด้านข้างจะเป็นกระจกนิรภัย Tempered Glass สีออกชาๆ นิดๆ ครับ

 

บริเวณด้านหลัง Case ครับ

 

และฝาด้านหลังจะเป็นฝาถึบสีดำ โดยครงสร้างทั้งหมดทำจากเล็กเป็นหลัก ฝาด้านหน้าเป็นพลาสติก

 

ช่องระบายอากาศด้านบน Case นั้นออกแบบมาให้สามารถใส่พัดลมขนาด 120mm. ได้ 3 ตัวหรือใส่หม้นน้ำแบบ 360mm. ได้สบายๆ และยังรองรับการติดตั้งพัดลมขนาด 140mm. ได้อีก 2 ตัว หรือใส่หม้อน้ำขนาด 280mm. ได้นั่นเอง ซึ่งใครต้องการใส่อะไรแบบไหนก็เลือกของมาประกอบกันได้เลยครับ

 

นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีผ่านกรองฝุ่นด้านบน Case ที่เป็นแถบแม่เหล็กที่สามารถถอดออกไปทำความสะอาดได้อย่างสะดวก

 

ด้านล่าง Case มีการยกสูงจากพื้นด้วย Foot Case ที่มาความสูงระดับหนึ่ง เพื่อให้มีพื้นที่ดูดอากาศเย็นเข้าสู่ PSU ด้านล่าง Case และยังมาพร้อมกับแผ่นกรองฝุ่นให้กับ PSU ที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เช่นกัน

 

ตัวอย่างการถอดตะแกรงดักฝุ่นของตัว PSU ครับ

 

บริเวณด้าน Front Panel ด้านหน้า Case ครับประกอบไปด้วยปุ่มกดเปลี่ยน Mode การทำงานของ LED Control, ช่องเสียบ USB3.0 มี 2 ช่องม ปุ่มกด Power Switch มีไฟ Logo ของ Antec, ช่องเสียบไมค์และหูฟัง และปุ่มกด Reset เครื่อง

 

 

ถอดกระจก Temperaed Glass ออกแล้วดูโครงสร้างด้านใน Case กันต่อเลยครับ [ โปรดระวังกระจกแตก!!! ]

 

ในตอนแรกผมก็แค่มองว่ามันเป็น Case ขนาด Mid-Tower ทั่วๆ ไปแต่ที่ไหนได้ เมื่อลองแกะดูด้านในแล้ว ความคิดเปลี่ยนทันที เพราะมันกว้างและโล่งมาก ลองคิดดูว่ามันสามารถใส่เมนบอร์ดขนาด E-ATX ได้สบายๆ เลยนะ ส่วนบริเวณด้านล้าง ก็มีการติดตั้ง PSU Cover มาให้เรียบร้อย สามารถที่จะเก็บซ่อนสายไฟได้สบายๆ อีกเช่นกัน

 

บริเวณด้านหลังสามารถติดตั้ง SSD 2.5″ ได้อีก 2 ตัวบริเวณด้านหลังเมนบอร์ด และอีก 2 ตัวบริเวณฝาด้านหลัง Case ทางด้านซ้ายมือ และอีก 2 ตัวบริเวณ SSD/HDD Bay

 

นี่คือตัว LED Controller ที่รองรับพัดลมที่เป็น ARGB LED + Fan Hub ได้สูงสุด 4 ชุด

 

ตัวอย่างการถอด 2.5″ SSD Bay ด้านหลังเมนบอร์ดครับ ดันขึ้นแล้วก็ดึงออกมาติดตั้ง SSD ได้ทันที

 

ตัวอย่างการติดตั้ง SSD ครับ ดูเหมือนว่าจะมีการติดตั้งยางกันสั่นมาให้ด้วยนะครับ อาจจะเผื่อไว้ใส่ HDD 2.5″ ก็เป็นได้

 

ส่วนการติดตั้งนั้นเขาก็ระบุในคู่มือมาว่า ต้องหันส่วนที่ต่อ Connector Cable ลงด้านล่างตามภาพเลยนะครับ เพื่อจะได้เก็บ/เดินสายไฟได้สะดวก…

 

บริเวณ PSU Cover นั้นจะมีการเจาะรูเอาไว้ให้เห็น PSU ด้วยนะครับ เผื่อใครอยากจะโชว์รุ่น PSU

 

กล่องเก็บอุปกรณ์ Accessories Box จะติดตั้งมาให้ในช่องเสียบ Bay HDD/SSD นะครับ

 

มาดูตัวอย่างการติดตั้ง HDD/SSD เข้าสู่ Bay กันครับ ก็จะใช้กรอบ Bay พลาสติกที่มีความยึดหยุ่น โดยถ้าติดตั้งกับ HDD 3.5″ เราไม่จำเป็นต้องขันน๊อตเลยก็ได้ ส่วนการติดตั้ง SSD 2.5″ จำเป็นต้องขันน๊อตยึดจากด้านล่างของ Bay ครับ

 

การติดตั้ง SSD/HDD นั้นให้หันบริเวณจุดเสียบ Connector ต่างๆ ออกมาทางจุดดึงตัว Bay ออกนะครับ ถ้าใส่กลับด้านจะไม่สามารถใส่ Bay เข้าไปได้สุดได้นะครับ

 

การติดตั้ง SSD/HDD Bay ที่ถูกต้อง ปล. ถ้าหากต้องติดตั้ง PSU ที่มีขนาดความยาวมากเป็นพิเศษ เราจำเป็นต้องถอดชุด Bay SSD/HDD ชุดนี้ออก ทำได้โดยขันน๊อตยึดบริเวณด้านล่าง Case จำนวน 4 ตัวและด้านในอีกจำนวน 4 ตัวครับ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถติดตั้ง PSU ที่มีขนาดยาวๆ ได้ครับ

 

ฝาด้านหน้าสามารถถอดได้ด้วยการดึงออก ด้วยการงัดจากทางด้านล่างของตัว Case อยากพยายามดึงบริเวณกระจังตรงกลาง Case เพราะอาจจะทำให้หน้ากากกระจัง Case แตกหักได้ครับ

 

ตะแกรงดักฝุ่นนั้นจะมี 2 ชั้น โดยจะติดตั้งมาให้ด้านหน้าบริเวณหน้ากากกระจัง Case แบบแข็งมาให้ 1 ชั้น

 

พัดลมระบายความร้อนขนาด 120mm. ในรุ่น PRIZM 120 ARGB ติดตั้งมาให้ 1 ตัวครับ

 

ส่วนตะแกรงดักฝุ่นอีกหนึ่งชั้น จะอยู่บริเวณด้านหลังของพัดลม โดยชุดนี้เป็นแถบแม่เหล็ก สามารถถอดออกไปทำความสะอาดได้ครับ

 

อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ด้านในกล่อง Accessories Box ครับ หลักๆ แล้วก็จะประกอบไปด้วยชุดน๊อตต่างๆ, หนวดกุ้ง Cable tie สำหรับเก็บสายไฟจำนวน 5 เส้น, สายไฟแปลงสัญญาณไฟ ARGB เข้ากับเมนบอร์ดของ GIGABYE

 

สำหรับชุดแปลงสาย ARGB หรือ Addressable RGB แบบ 3-Pin นั้นก็จะระบุมาชัดเจนว่าใส่ได้แค่ของทาง GIGABYTE เท่านั้น

 

ส่วนพัดลมด้านหลัง Case จะติดตั้งมาให้อีก 1 ตัว แต่จะไม่เป็นแบบ ARGB

 

บริเวณช่องเสียบ PCI-E ต่างๆ ด้านหลัง Case ครับ โดยจะมีทั้งหมด 7 ช่อง โดยฝาปิดด้านหลัง PCI มีการออกแบบให้เป็นช่องระบายความร้อนแบบรังผึ้ง ช่วยให้ความร้อนใน Case ถูกระบายออกจากช่องพวกนี้ได้

 

ชุดสายไฟต่างๆ ของตัว Case ที่ประกอบไปด้วยสายไฟเลี้ยงของชุด LED Controller แบบ SATA Molex, สาย Front Panel Case, สายสัญญาณ ARGB 3-Pin + 4-Pin PWM, สาย Audio Front Panel และสาย USB3.0 Front Panel

 

     ลองประกอบ PC ลงไปใน Case รุ่นนี้ดูกันเลยดีกว่าครับว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง โดย Hardware หลักๆ ที่เราประกอบลงไปในครั้งนี้ได้แก่ CPU Intel Core i9-9900K, CPU Cooler Noctua NH-U12A, เมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX, แรม DDR4 จากค่าย Corsair Dominator Platinum RGB DDR4-3000CL15 16GB-Kit, VGA ROG GTX1660 Ti OC 6GB, WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB, PSU Antec HCP 1300 Watt Platinum

 

การติดตั้งนั้นไม่ยากเลยครับสำหรับ Case รุ่นนี้เพราะมันออกแบบมาแบบโล่งๆ ยัดเมนบอร์ดเข้าไปแบบง่ายๆ เลยครับ

 

ผมชอบตรงช่องว่างด้านบน Case กับตัวเมนบอร์ดที่ค่อนข้างห่างและกว่างมากๆ น่าจะใส่หม้อน้ำ 3 ตอน + พัดลมได้สบายๆ โดยไม่ติดกับเมนบอร์ด

 

และด้านหลังของตัว Case ก็เจาะรูไว้กว้างมากๆ สามารถ Service ได้สบายๆ เวลาถอดเปลี่ยน CPU Cooler

 

หลังจากติดตั้ง Hardware หลักเรียบร้อยแล้วได้แก่ CPU, Mobo, VGA เข้าไปแล้วก็ทำการติดตั้ง PSU แล้วเสียบสายไฟ Connector ต่างๆ ให้พร้อมใช้งาน

 

     ภาพบริเวณด้านหลังของตัว Case นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่ามีพื้นที่เก็บสายได้ค่อนข้างเยอะอยู่นะครับ โดยจะเก็บตาม Bar ต่างๆ หรือจะซ่อนไว้ด้านใต้ PSU Cover ก็ทำได้ครับ  และสำหรับการติดตั้ง pSU ที่มีความยาวเป็นพิเศษอย่าง Antec HCP 1300 Watt Platinum รุ่นนี้จำเป็นต้องถอดชุด SSD/HDD Bay ออกก่อนนะครับ ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถติดตั้ง PSU เข้าไปได้

 

ประกอบเสร็จก็ปิดฝาด้านหลัง Case

 

บริเวณด้านล่างของ PSU Cover จะมีการเจาะรูให้เราเห็นรุ่นของ PSU ได้ครับ

 

ด้านล่าง Case ก็ยังมีช่องเสียบที่เจาะไว้บริเวณด้านบนของ PSU Cover ให้เราสามารถสอดสายไฟต่างๆ เข้ามาเสียบบริเวณนี้ได้อย่างสะดวก

 

บริเวณด้านหลังของ PSU

 

    ช่องเสียบ PCIE ด้านหลัง Case จะมีกลไกในการยึดกราฟิกการ์ด 2 ชั้นคือต้องขยับชุด Cover ออกก่อนแล้วจะสามารถขันน๊อตยึดการ์ดได้ครับ การออกแบบเช่นนี้ผมว่าทำให้ติดตั้งกราฟิกการ์ดดูเหมือนยากๆ นะ…. โดยเฉพาะตอนถอดการ์ด หรือถ้าลืมใส่แผง Cover นี้ก่อนที่จะติดตั้งการ์ด นี่จำเป็นต้องถอดการ์ดออกมาอีกรอบครับ จริงๆ แล้วแค่ขันน๊อตยึดตามปกติก็แน่นพอแล้ว

 

บริเวณจุดติดตั้งพัดลมด้านหลังขนาด 120mm. นั้นสามารถขยับขึ้นลงได้ทั้งหมด 5 ระดับกันเลยทีเดียว

 

เปิดเครื่องพร้อมทดสอบใช้งานจริงดูครับ

 

การประกอบก็เรียบร้อยไปด้วยดีครับ และสำหรับผลการทดสอบเรื่องของอุณหภูมิของ Hardware ต่างๆ ที่ติดตั้งภายใน Case รุ่นนี้เราก็มีผลเก็บมาฝากด้วยเช่นกัน ไปชมกันเลยครับ ^^”

 

Temperature Test

ภาพบรรยากาศในการทดสอบเรื่องความร้อนของ Case รุ่น Antec Dark Avenger DA601 ในครั้งนี้ครับ

 

เราจะทดสอบในห้องแอร์ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26-27c องศาเซลเซียสตลอดการทดสอบครับ

Hardware Spec.

CPU
Intel Core i9-9900K 8C/16T Coffeelake 14nm.
CPU Cooler Noctua NH-U12A
Motherboard
Memory
Corsair Dominator Platinum RGB DDR4-3000CL15 16GB-Kit
VGA ROG STRIX GTX 1660 Ti OC 6GB
Hard Drive WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB x1 (OS Drive)
Case Antec DARK AVENGER DA601
PSU Antec HCP1300 Platinum
OS Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config.

ทางด้าน Hardware ที่ใช้ประกอบในครั้งนี้ก็จะประกอบไปด้วย CPU Intel Core i9-9900K, MOBO ROG MAXIMUS XI APEX, Corsair Dominator Platinum RGB DDR4-3000CL15-17-17-35 16GB-Kit เปิดใช้งานแรมด้วยระบบ XMP Profile ส่วน CPU นั้นเราก็ปล่อยทำงานตาม Spec ของมันเอง แล้วทดสอบเรื่องความร้อนด้วยโปรแกรม AIDA64 System Stability Test เป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อเนื่อง

 

AIDA64 System Stability Test

Stress : CPU, FPU, Cache และ System Memory

ภาพการทดสอบเป็นระยะเวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมงแล้วเก็บผลการทดสอบเรื่องของอุณหภูมิการทำงานของ CPU และแรม DDR4 มาให้ชมกันครับ

 

     จากการทดสอบก็พบว่าในส่วนของ CPU นั้นก็ Idle อยู่ที่ 29.5c และช่วง Full Load ก็พุ่งไปในระดับ 96.5c โดยมีบางคอร์ยังคงทะลุ 100c ไปได้เลยทีเดียว ก็ถือว่าเป็นอะไรที่ยากมากที่จะคุม i9-9900K อยู่ได้ แต่เจ้า Noctua NH-U12A ก็ทำหน้าที่ของมันได้เต็มที่แล้วล่ะครับ และใน Case ก็มี Air-Flow ด้วยพัดลมระบายความร้อนเพรียง 2 ตัวเท่านั้นเอง คือด้านหน้า 1 ตัวและด้านหลังอีก 1 ตัว แต่ก็ยังสามาารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพดีเป็นระยะเวลาตลอด 1 ชั่วโมงโดยไม่มีดับหรือวูบแต่อย่างใด ดังนั้นผมแนะนำว่าใครจะเล่น 9900K ให้ไปหา AIO 2-3 ตอนขึ้นไปเป็นอย่างน้อยจะดีมากครับ

     ส่วนแรม DDR4 ของ Corsair Dominator Platinum RGB DDR4-3000Mhz CL15-17-17-35 16GB-Kit ชุดนี้ช่วง Stress test ก็ร้อนสุดๆเพียง 44-45c องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง  ดังนั้นสรุปแบบคร่าวๆ ถ้าเพิ่มพัดลมระบายความร้อนเข้าไปอีก 3-4 ตัว ก็น่าจะช่วยให้ระบบ Air-Flow ภายใน Case ดันลมร้อนได้ดีมากขึ้น และน่าจะส่งผลให้ CPU ในช่วง Full Load เย็นลงอีก 2-3c ได้อยู่นะครับ…

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับรีวิวเจ้า Case ขนาด Mid-Tower จากค่าย Antec Dark Avenger DA601 ตัวนี้ ที่มาพร้อมกับไฟ ARGB ด้านหน้า Case อย่างสวยงามพร้อมกับกล่อง LED Controller ด้านใน Case ที่รองรับการต่อพัดลม ARGB ได้สูงสุดถึง 4 ตัวมาให้เรียบร้อยครับ  ส่วนจุดเด่นเลยก็คือความง่ายในการติดตั้ง Hardware ต่างๆ ลงไปด้านใน Case ครับซึ่งบอกได้เลยว่าทำได้ง่ายมากๆ และยังมีพื้นที่กว้างขวาง ทำให้ตอนใส่เมนบอร์ดและกราฟิกการ์ดนั้นทำได้สะดวกมาก ส่วนจุดซ่อยสายไฟก็มีให้มากพอสมควร โดยเฉพาะบริเวณด้านล่างของ PSU Cover นั้นเป็นที่เก็บซ่อนสายไฟได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญอย่าลืมว่า Case รุ่นนี้สามารถใส่เมนบอร์ดขนาก E-ATX ได้ด้วยนะเออ…

     ตัว Case ยังออกแบบมาให้ติดตั้งพัดลมระบายความร้อนขนาดทั้งด้านบนและด้านหน้า Case ได้ในแบบ 120mm จำนวนได้ 3 ตัว หรือหม้อน้ำขนาด 360mm. หรือด้านบนจะใส่เป็นพัดลม 140mm. จำนวน 2 ตัว/หม้อน้ำ 280mm. ก็ทำได้เช่นกัน และยังมีแผ่นดักฝุ่นมาให้ทั้งด้านบน ด้านหน้า และด้านล่างบริเวณ PSU ให้อีกด้วย จัดว่าครบเครื่องเลยทีเดียวสำหรับ Case รุ่นนี้ หากเหล่าเกมเมอร์ท่านใดมองหา Case ราคาไม่แพงพร้อมฝาด้านข้างเป็นกระจกนิรภัย Tempered Glass ในราคาไม่ถึง 3,000.- บาทผมมองว่าเจ้า Antec Dark Avenger DA601 น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดูคุ้มค่ามากครับ…

     ส่วนเรื่องการรพบายความร้อนภายใน Case นั้นจากการทดสอบของเรามีพัดลมระบายความร้อนเพียง 2 ตัวเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถ Stress test CPU ตัวร้อนแรงอย่าง i9-9900K 8C/16T อยู่ที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 96.5c องศาเซลเซียส ได้อย่างมีเสถียรภาพดีตลอด 1 ชั่วโมงที่ทำการ Stress Test ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วล่ะครับ เพราะด้วยตัว CPU Intel Core i9-9900K ก็มีความร้อนที่ค่อนข้างสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าใช้แค่ CPU Cooler ระบายความร้อนในรูปแบบของ Heatsink เป็นตัวทำความเย็น มันทำได้แค่นี้ก็หรือว่าหรูมากแล้ว และถ้าหากต้องการเย็นว่านี้เห็นทีว่าคงต้องติดตั้งพัดลมระบายความร้อนช่วงดูดเข้าและระบายออกด้านบน Case เพิ่มขึ้น น่าจะช่วยให้อุณหภูมิของ CPU ลดได้อย่าง 2-3c เป็นอย่างน้อย หรือถ้าจะให้เย็นจริงๆ ผมแนะนำว่าเจ้า 9900K ควรจะลงชุดน้ำ AIO 2 ตอนหรือ 3 ตอนไปเลยเป็นอย่างน้อยครับ

สุดท้ายนี้ก็ต้องฝากพิจารณา Antec Dark Avenger DA601 ขนาด Mid-Tower Case รุ่นนี้ไว้ด้วยนะครับ สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

 

 

 

 

  • Ascenti Resources Co., Ltd | ARC
  • Website: www.ascenti.co.th
  • Head office: 0-2961-7297