รีวิวเคส Antec DARK AVENGER DA601

     Antec Dark Avenger DA601 เป็น Gaming Case คอมพิวเตอร์ในขนาดมาตราฐาน Mid-Tower หรือเป็น Case ขนาดกลางนั่นเอง แต่ออกมาพิเศษสำหรับ Gamer ที่ต้องการ PC ขนาดกลางที่สามารถใส่อุปกรณ์ระบายความร้อนอย่างเช่นพวกหม้อน้ำ AIO หรือพัดลมระบายความร้อนได้แบบจัดเต็มทั้งด้านหน้าและด้านบนเคส และนอกจากนนี้ยังออกแบบ Design ออกมาได้อย่างสวยงามดูร่วมสมัยอย่างมาก โดยมันจะมาพร้อมกับลายไฟ ARGB ด้านหน้า Case รวมถึงตัวพัดลม ARGB และกล่อง LED Controller ที่แถมมาให้ใน Case ด้วยเช่นกัน จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ  ส่วนฝาข้างก็เป็นกระจกนิรภัย Tempered Glass อีกจัดว่าครบเลยในราคาไม่ถึง 3,000 บาท… โอ้ว์ แม่จ้าว…. ^O^

 

ด้านหน้า Case ออกแบบมาได้อย่างโฉบเฉี่ยวด้วยกระจังหน้า Case ที่ไม่เหมือนใคร

 

ฝาด้านข้างจะเป็นกระจกนิรภัย Tempered Glass สีออกชาๆ นิดๆ ครับ

 

บริเวณด้านหลัง Case ครับ

 

และฝาด้านหลังจะเป็นฝาถึบสีดำ โดยครงสร้างทั้งหมดทำจากเล็กเป็นหลัก ฝาด้านหน้าเป็นพลาสติก

 

ช่องระบายอากาศด้านบน Case นั้นออกแบบมาให้สามารถใส่พัดลมขนาด 120mm. ได้ 3 ตัวหรือใส่หม้นน้ำแบบ 360mm. ได้สบายๆ และยังรองรับการติดตั้งพัดลมขนาด 140mm. ได้อีก 2 ตัว หรือใส่หม้อน้ำขนาด 280mm. ได้นั่นเอง ซึ่งใครต้องการใส่อะไรแบบไหนก็เลือกของมาประกอบกันได้เลยครับ

 

นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีผ่านกรองฝุ่นด้านบน Case ที่เป็นแถบแม่เหล็กที่สามารถถอดออกไปทำความสะอาดได้อย่างสะดวก

 

ด้านล่าง Case มีการยกสูงจากพื้นด้วย Foot Case ที่มาความสูงระดับหนึ่ง เพื่อให้มีพื้นที่ดูดอากาศเย็นเข้าสู่ PSU ด้านล่าง Case และยังมาพร้อมกับแผ่นกรองฝุ่นให้กับ PSU ที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เช่นกัน

 

ตัวอย่างการถอดตะแกรงดักฝุ่นของตัว PSU ครับ

 

บริเวณด้าน Front Panel ด้านหน้า Case ครับประกอบไปด้วยปุ่มกดเปลี่ยน Mode การทำงานของ LED Control, ช่องเสียบ USB3.0 มี 2 ช่องม ปุ่มกด Power Switch มีไฟ Logo ของ Antec, ช่องเสียบไมค์และหูฟัง และปุ่มกด Reset เครื่อง

 

 

ถอดกระจก Temperaed Glass ออกแล้วดูโครงสร้างด้านใน Case กันต่อเลยครับ [ โปรดระวังกระจกแตก!!! ]

 

ในตอนแรกผมก็แค่มองว่ามันเป็น Case ขนาด Mid-Tower ทั่วๆ ไปแต่ที่ไหนได้ เมื่อลองแกะดูด้านในแล้ว ความคิดเปลี่ยนทันที เพราะมันกว้างและโล่งมาก ลองคิดดูว่ามันสามารถใส่เมนบอร์ดขนาด E-ATX ได้สบายๆ เลยนะ ส่วนบริเวณด้านล้าง ก็มีการติดตั้ง PSU Cover มาให้เรียบร้อย สามารถที่จะเก็บซ่อนสายไฟได้สบายๆ อีกเช่นกัน

 

บริเวณด้านหลังสามารถติดตั้ง SSD 2.5″ ได้อีก 2 ตัวบริเวณด้านหลังเมนบอร์ด และอีก 2 ตัวบริเวณฝาด้านหลัง Case ทางด้านซ้ายมือ และอีก 2 ตัวบริเวณ SSD/HDD Bay

 

นี่คือตัว LED Controller ที่รองรับพัดลมที่เป็น ARGB LED + Fan Hub ได้สูงสุด 4 ชุด

 

ตัวอย่างการถอด 2.5″ SSD Bay ด้านหลังเมนบอร์ดครับ ดันขึ้นแล้วก็ดึงออกมาติดตั้ง SSD ได้ทันที

 

ตัวอย่างการติดตั้ง SSD ครับ ดูเหมือนว่าจะมีการติดตั้งยางกันสั่นมาให้ด้วยนะครับ อาจจะเผื่อไว้ใส่ HDD 2.5″ ก็เป็นได้

 

ส่วนการติดตั้งนั้นเขาก็ระบุในคู่มือมาว่า ต้องหันส่วนที่ต่อ Connector Cable ลงด้านล่างตามภาพเลยนะครับ เพื่อจะได้เก็บ/เดินสายไฟได้สะดวก…

 

บริเวณ PSU Cover นั้นจะมีการเจาะรูเอาไว้ให้เห็น PSU ด้วยนะครับ เผื่อใครอยากจะโชว์รุ่น PSU

 

กล่องเก็บอุปกรณ์ Accessories Box จะติดตั้งมาให้ในช่องเสียบ Bay HDD/SSD นะครับ

 

มาดูตัวอย่างการติดตั้ง HDD/SSD เข้าสู่ Bay กันครับ ก็จะใช้กรอบ Bay พลาสติกที่มีความยึดหยุ่น โดยถ้าติดตั้งกับ HDD 3.5″ เราไม่จำเป็นต้องขันน๊อตเลยก็ได้ ส่วนการติดตั้ง SSD 2.5″ จำเป็นต้องขันน๊อตยึดจากด้านล่างของ Bay ครับ

 

การติดตั้ง SSD/HDD นั้นให้หันบริเวณจุดเสียบ Connector ต่างๆ ออกมาทางจุดดึงตัว Bay ออกนะครับ ถ้าใส่กลับด้านจะไม่สามารถใส่ Bay เข้าไปได้สุดได้นะครับ

 

การติดตั้ง SSD/HDD Bay ที่ถูกต้อง ปล. ถ้าหากต้องติดตั้ง PSU ที่มีขนาดความยาวมากเป็นพิเศษ เราจำเป็นต้องถอดชุด Bay SSD/HDD ชุดนี้ออก ทำได้โดยขันน๊อตยึดบริเวณด้านล่าง Case จำนวน 4 ตัวและด้านในอีกจำนวน 4 ตัวครับ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถติดตั้ง PSU ที่มีขนาดยาวๆ ได้ครับ