Thermaltake TH240 ARGB Sync AIO CPU Cooler

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy ก็มีรีวิวชุดระบายความร้อนคุณภาพดีราคาไม่แรงมาก รุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย Thermaltake มาแนะนำเพื่อนๆ กันอีกหนึ่งรุ่น นั่นคือ TT TH240 ARGB Sync หรือชุดน้ำสำเร็จรูป AIO ขนาด 2 ตอน (240mm Radiator) โดยทั้งตัว CPU Block และพัดลม120mm ทั้ง 2 ตัวเป็นไฟแบบ ARGB ที่สามารถสั่ง Sync กับเมนบอร์ดชั้นนำที่รองรับได้อีกด้วย จัดว่ารุ่นนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากได้ชุดน้ำ ARGB Sync ในราคาที่ไม่สูงเกินไป  โดยเท่าที่ผมทราบมานั้น ราคาอยู่ตัวละ 2,xxx.- ปลายๆ เท่านั้นเองสำหรับรุ่นนี้…  ส่วนประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรนั้น  และในวันนี้ผมจับต่อเข้ากับ CPU Intel i9-9900K (ผ่ากระดองแล้ว) ว่าต่อใช้งานจริงจะเอาอยู่หรือไม่ !!!

 

TH240 ARGB Sync AIO CPU Cooler

ใครที่กำลังมองหาชุดน้ำสองตอนมีไฟ ARGB Sync ได้นี่ผมว่ารุ่นนี้น่าสนใจอยู่มิใช่น้อย และยังมีสายแปลง ARGB เข้ากับเมนบอร์ดมาให้เรียบร้อยครับ… (Addressable RGB 5V 3-Pin)

Specification

     รายละเอียดทางด้านเทคนิคนั้นเจ้า TH240 ARGB Sync ตัวนี้ก็คือชุดน้ำปิด แบบสำเร็จรูป AIO (All-In-One) ที่เน้นการประกอบติดตั้งที่สะดวกรวดเร็ว  ตัวปั้มน้ำใช้ไฟเลี้ยง 12V รอบการทำงานอยู่ที่ 3300rpm. สูงสุด และตัวหม้อน้ำ (Radiator) เป็นขนาด 240mm. ที่มาพร้อมกับพัดลมไฟ ARGB ขนาด 120mm. จำนวน 2 ตัวออกแบบมาเน้นเพิ่มแรงอัดเพื่อระบายหม้อน้ำโดยเฉพาะ (High-Static Pressure) รอบการทำงานอยู่ที่ 1500rpm. | Air-Flow 59.28CFM | เสียงรบกวน Noise 28.2 dBA

CPU Socket Support :

  • Intel LGA 1156/1155/1151/1150
  • AMD FM2/FM1/AM4/AM3+/AM3/AM2+/AM2

 

Unboxing

แกะกล่องดูกันเลยดีกว่าครับสำหรับเจ้า TH240 ARGB Sync ชุดน้ำ AIO รุ่นใหม่ล่าสุดจากทาง Thermaltake เอาในสาย ARGB ในราคาไม่แรงมาก  โดยตัว Package ต่างๆ ด้านในนั้นก็เหมือนรุ่นก่อนหน้านี้ล่ะครับ

 

สิ่งที่ต่างไปจากตระกูล Water3.0 หรือตระกูล Floe Series ที่ผมสังเกตุได้นั้นคือตัว Block + Pump AIO ของรุ่นนี้คือไม่เหมือนกับรุ่นที่ผ่านๆ มาเลย โดยครั้งนี้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมต่างจากรุ่นก่อนๆ ที่มักจะเป็นทรงกลมมาโดยตลอด

 

ตัวหม้อน้ำก็น่าจะใช้แบบเดิมคือเป็นแบบสองตอนแบบบาง พ่อสีดำมาทั้งตัว

 

ครีบฟินระบายความร้อนของหม้อน้ำนั้นเป็นแบบครีบละเอียด หรือที่เรียกกันว่าฟินละเอียดนั่นเอง ดังนั้นพัดลมที่ออกแบบมาให้มีแรงอัดเยอะๆ หรือพวกรอบสูงๆ จะดีต่อพวกหม้อน้ำฟินละเอียด เนื่องด้วยว่าลมมันผ่านยาก ดังนั้นพัดลมหม้อน้ำต้องออกแบบมาให้สัมพันธ์กันกับตัวหม้อน้ำ

 

ชุดน้ำรุ่นนี้เลือกสายยางยาว 400mm. หุ้มด้วย Cable Sleeve สีดำมาทั้งเส้นอย่างสวยงาม

 

ตัวปั้มแบบมาในรูปทรงสีเหลี่ยมพร้อม TT ARGB Logo ด้านใน โดยรอบการทำงานของปั้ม AIO ตัวนี้อยู่ที่ 3300rpm. ออกแบบมาให้รองรับการทำงานได้กับไฟ 12V|0.37A และ 5.0V|0.12A

 

ตัว Block ติดตั้งขาใช้งานสำหรับ CPU Intel มาให้พร้อมใช้งานครับ ส่วนของทาง AMD นั้นสามารถเปลี่ยนใส่ได้ (ยกเว้นของ TR4 ไม่มีขามาให้นะครับ)

 

ฐานหน้าสัมผัสเป็นทองแดง ไม่มีการเคลือบผิวมา ซึ่ง Block แบบนี้ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่าทำมาจาก OEM ใด

 

สายไฟเลี้ยงตัว Block เป็นแบบ 12V 3-Pin ที่มาพร้อมกับสายไฟ ARGฺ Sync

 

ตัวพัดลมนั้นเป็นขนาด 120mm จำนวน 2 ตัว ใบพัดลมมีทั้งหมด 9 ใบ สีขาวขุ่น ไฟ ARGB จะอยู่บริเวณแกนของพัดลม   ออกแบบมาเน้นเพิ่มแรงอัดเพื่อระบายหม้อน้ำโดยเฉพาะ (High-Static Pressure) รอบการทำงานอยู่ที่ 1500rpm. | Air-Flow 59.28CFM | เสียงรบกวน Noise 28.2 dBA

 

พัดลมใช้ไฟเลี้ยง DC 12V|0.30A รอบการทำงานสูงสุด 1500rpm.

 

สายไฟเลี้ยงพัดลมนั้นก็เป็นแบบ +12V 3-Pin ที่มาพร้อมกับสาย ARGB Sync อีกหนึ่งชุด

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมากับตัวชุดน้ำครับ

 

Installtaion

การติดตั้งนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากครับ ใครที่เคยประกอบชุดน้ำแบบ AIO มาบ้างแล้วก็คงใช้หลักการเดียวกัน คือถ้าเราต้องการติดตั้งเข้ากับ CPU Socket ไหน เราก็จับเอาชุด Mounting ของมันมาเปลี่ยน ซึ่งข้อคู่มือก็บอกวิธีประกอบไว้อย่างชัดเจน… ว่า AMD Socket AM2/3/4 และ Intel LGA-115x/20xx นั้นประกอบอย่างไร

 

และสำหรับครั้งนี้เราจะสาธิตกระกอบประใช้งานกับเมนบอร์ด Intel Socket LGA-1151 ซึ่งก็ต้องเตรียมชุด Back plate ประกอบเตรียมไว้ให้พร้อมตามรูปเลยครับ

 

ประกอบชุด Back plate เข้าด้านหลังเมนบอร์ด

 

ใส่หมุดพลาสติกรองฐานทั้ง 4 มุมให้เรียบร้อย

 

อย่างลืมลอกแผ่นพลาสติกกันรอยออกก่อนใช้งานนะครับ (มือใหม่พลาดมาเยอะ ไม่ยอมลอกออก แล้วบอกว่า CPU ร้อน… ซึ่งยุคนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่  ดังนั้นอย่าลืมลอกออกก่อนใช้งานด้วย)

 

ทาซิลิโคนพร้อมประกอบใช้ Block เพื่อใช้งาน โดยครั้งนี้เราเลือกใช้ Kingpin KPx เป็นตัวนำความร้อน

 

Noctua NH-U12A

     มาถึงช่วงทดสอบของเรา โดยครั้งนี้ด็จะมี Heatsink CPU Cooler จากค่าย Noctua NH-U12A มาทำการเปรียบเทียบให้ชมกันกับ TT TH240 ARGB Sync ร่วมกับ CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ผ่ากระดองแล้ว  ส่วนชุด CPU Cooler Test Base เดิมของเรานั้น CPU 8086K ในช่วงเวลานั้นพังเคลมอยู่ครับ เลยต้องขออุณญาตทดสอบใหม่เทียบกับ NH-U12A ให้ชมกันไปก่อน…  (Ambient Room 24-25c)

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-9900K 8C/16T (Delidded)
CPU Cooler
Motherboard  ROG MAXIMUS XI APEX (Z390)
Memory
 G.SKILL TridentZ DDR4-3200CL14-14-14-34 16GB-Kit (8GBx2)
VGA  MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB
Hard Drive  WD_BLACK SN750 M.2 PCIe3.0 x4 NVMe 1TB (OS)
PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80PLUS Platinum
Base Test
 “DEFAULT” Beta
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

System Config

รายละเอียดของชุดสอบของเราในครั้งนี้ ก็จะจับ Burn-In เรื่องความร้อนคู่กับ CPU intel Core i9-9900K ผ่ากระดองแล้วด้วย Liquid Gallium ความเร็ว CPU ตั้งไว้ที่ 4.7Ghz All Core /Cache 4.5Ghz Vcore ตั้งไว้ 1.15V ส่วนแรมนั้นปล่อยตาม XMP DDR4-3200Mhz CL14-14-14-34 1.35V  (IO 1.15V/SA 1.20V Fix)

 

การทดสอบของเราจะเน้นคุมห้องให้อยู่ในระดับ 24-25c ได้ตลอดการทดสอบ และเน้นที่พัดลมขาเข้าหม้อน้ำ ให้อยู่ในระดับ 25c มาที่สุดด้วยเช่นกัน

 

ตัวปั้มน้ำและพัดลม สามารถสั่ง Sync ผ่านโปรแกรม ASUS AURA Sync ได้เลยนะครับ  หรือถ้าเมนบอร์ดของใครไม่มีช่องเสียบ ARGB 5V 3-Pin ก็ให้ต่อเข้ากับชุด Controller ที่แถมมา เพื่อควบคุมเรื่องการแสดงผลของไฟในรูปแบบต่างๆ แทนได้ครับ

 

Check contact between CPU and Heatsink

      นี่คือภาพหลังจากการทดสอบนะครับ เราแกะมาดูว่าซิลิโคนแนบทุกจุดหรือไม่ และดูการออกแบบในจับยึดว่า มีการรีดซิลิโคนได้ดีพอหรือไม่  จากภาพจะเห็นได้ว่า AIO ชุดนี้ก็ทำการรีดซิลิโคนได้ทั่วกระดองดีนะครับ  แต่มีเอียงไปทางขวานิดๆ  ผมเดาว่าเนื่องจากเสาทั้ง 4 มุมยังโยกไปมาได้นิดหนึ่ง ดังนั้นก่อนประกอบลองเล็งให้ตรงๆ ก่อนประกอบดูครับ

 

สรุปแล้วการรีดซิลิโคนที่หน้ากระดอง CPU ก็ทำได้ค่อยข้างดีเลยทีเดียว

 

Temperature Test

     เอาล่ะครับมาชมผลการทดสอบกันเลยดีกว่าตัวเ TH240 ARGฺ SYNC ตัวนี้ ซึ่งหลักจากที่ได้ลองดูกับ 9900K (ผ่ากระดองแล้ว) ตัวร้อนแรงแล้วก็พบว่า สามารถดับร้อน CPU แบบ 4.7Ghz/Cache 4.5Ghz All Core ด้วยไฟเลี้ยง 1.15V ผ่านได้แบบชิวๆ เลยครับ (ซึ่งต้องบอกเลยว่า 9900K นั้นจะดับร้อนมันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าต้องการ Fix แบบ All Core ในระดับความเร็วเกิน 4.7Ghz+) และเมื่อเทียบกับ Heatsink ระดับ Hi-END จากค่าย Noctua NH-U12A ที่มาพร้อมกับพัดลมคู่รุ่นใหม่แล้ว พบว่าเจ้า TH240 ARGB SYNC ตัวนี้สามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ย 8 คอร์ได้ดีกว่าถถึง 3.99c องศาเซลเซียสเลยนะครับ ดังนั้นหากใครต้องการ AIO คุณภาพ ราคาไม่แพงมีไฟ ARGB สามารถ Sync กับเมนบอร์ดได้ ก็ลองพิจารณาดูผลการทดสอบด้านล่างนี้ดูกันเลยครับ…

 

Overclock Result

: 4.70Ghz/Cache 4.5Ghz Vcore 1.15V


Temperature Results (CoreTemp 6 Cores)

 Round 1 : i9-9900K 4.7Ghz All Cores 1.15V

  • Min Temp : 28c
  • Max Temp : 74c

 

 

 Round 2 : i9-9900K 4.7Ghz All Cores 1.15V

  • Min Temp : 28c
  • Max Temp : 74c

 

 Round 3 : i9-9900K 4.7Ghz All Cores 1.15V

  • Min Temp : 28c
  • Max Temp : 74c


OC : i9-9900K 5.0Ghz/Cache 4.8Ghz All Cores 1.25V

  • Min Temp : 31c
  • Max Temp : 93c

     ทิ้งท้ายด้วยผลการทดสอบที่ความเร็วระดับ 5Ghz/Cache 4.8Ghz 1.25V นั้นทำได้ไหม ตอบเลยว่าพอเอาอยู่นะครับ แต่ผมทดสอบได้แค่รอบเดียวเท่านั้นสำหรับ PowerMAX : AVX 10 นาที โดยรอบต่อไปจอฟ้าไม่สามารถทดสอบต่อได้ เนื่องจากความร้อนสะสมเริ่มเยอะ อาจจะต้องรอน้ำเย็นตัวลงอีกสักพัก  สรุปแล้วถ้าเล่นแค่ 4.7Ghz ผมมองว่าเอาอยู่สบาย  และยิ่งใครใช้แค่เดิมๆ ไม่ได้ OC อะไรนี่เย็นเหลือๆ เลยครับ ^^”

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับผลการทดสอบชุด AIO CPU Cooler รุ่นใหม่จากค่าย Thermaltake ในรุ่น TT TH240 ARGB Sync ตัวนี้ซึ่งตอนแรก ผมเองมองว่า…. ไม่น่าจะเย็นและเอา 9900K อยู่นะเออ…. เพราะดูจากหน้าตาและรูปทรง + กับการออกแบบตัว AIO CPU Block แล้วไม่เคยเห็นมาก่อน   เลยเดาว่าถ้าทำมาไม่ดีเหมือนกับในตระกุล Water 3.0 และ Floe แล้วอาจจะไม่เย็นแน่ๆ แต่หลังจากได้ลองทดสอบเทียบกับ NH-U12A ดูแล้วได้ผลการทดสอบที่ออกมาที่เย็นกว่า 4 องศาเซลเซียสแล้วก็ค่อนข้าง มั่นใจว่าตัว Block ยังออกแบบมาได้ค่อนข้างดีอยู่  ซึ่งปกติถ้าชุดน้ำ AIO รุ่นไหนทำออกมาได้ไม่ค่อยดี มักจะเย็นเทียบกับกับ NH-U12A ที่เป็น Heatsink ระดับ High-END หรือถ้าแย่ๆ เลย AIO บางตัวอาจจะแพ้ Heatsink ดีๆ ได้เลยนะเออ…   และในส่วนของเรื่องเสียงรบกวนนั้นก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะรอบการทำงานของพัดลมทั้งสองตัวนั้นอยู่ที่เพียง 1500rpm. เท่านั้นเอง ถ้าอยู่ใน Case ก็ไม่น่าจะได้ยินเสียงอะไรมากนัก…

     สรุปแล้วเมื่อเทียบกับราคาค่าตัวที่อยู่ประมาณ 2,xxx.- ปลายๆ กับความสามารถที่ทำได้ +กับไฟ ARGB Sync ได้กับเมนบอร์ดชั้นนำต่างได้ ผมมองว่าราคาต่อประสิทธิภาพทำได้แค่นี้ก็หรือว่าดีมากเลยทีเดียว และแถมยังมีหน้าตาที่ค่อนข้างเรียบหรู โดยเฉพาะสายยางที่หุ้มสาย Cable Sleeve มาให้ดูหรูไม่แพ้รุ่นพี่อย่างในตระกูล Floe เลยล่ะครับ  และสำหรับเมนบอร์ดที่ไม่มีช่องเสียบสาย ARGB 5V 3-Pin Header ก็ไม่ต้องกัวงล เพราะทาง TT ได้แถมตัว ARGB Controller มาให้ต่อใช้งานแยกอีก 1 ชุด

     ข้อเสียที่ผมเจอมาก็คือ ช่วงขั่วต่อสายยางที่ออกจากมาตัว CPU Block ค่อนข้างใช้พื้นที่เยอะ จึงอาจจะทำให้การติดตั้งกับเมนบอร์ดบางรุ่นนั้นพบว่าสายยางติดกับ Heatsink VRM อย่างเช่น ROG MAXIMUS XI APEX ตัวนี้ ก็ต้องหมุนหลบได้ภาพที่เรารีวิวเลยครับ โดยไม่สามารถติดตั้งให้ TT Logo หันขึ้นด้านบนตามแนวของเมนบอร์ดได้  แต่ถ้าเมนบอร์ดที่ไม่มี Heatsink VRM ที่ใหญ่มาก ก็ไม่น่าจะติดอะไรครับ ดังนั้นก็เช็คข้อมูลกันสักนิดก่อนที่จะประกอบใช้งาน   สำปรับวันนี้ ผมเองก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ

 

Special Thank

Thermaltake Thailand