รีวิว AMD RADEON RX 5700 XT

     สวัสดีครับ วันนี้ก็มาถึงคิวรีวิวและผลการทดสอบของเจ้ากราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังเป็นกระแสของทาง AMD ในช่วงนี้ ซึ่งก็คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเจ้า RADEON RX 5700 XT ตัวนี้ซึ่งจัดว่าเป็นการ์ด Ref. เดิมๆ จากทาง AMD ที่มำออกมาสวยที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา…  มองในแวบแรก อาจจะดูเฉยๆ แต่พอสัมผัสดูการ์ดตัวจริงแล้วพบว่ามันมีเสน่ห์ในตัวของมันเองอย่างบอกไม่ถูก…. ^^”

     เอาล่ะครับก่อนหน้านี้เราก็ได้ทำการรีวิวกราฟิกการ์ดในรุ่น RADEON RX 5700 กันไปแล้ว  ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะได้เห็นหลังของเจ้า “GPU Navi 10” ที่ผลิตมาด้วยกระบวนการ 7nm. นั้นประสิทธิภาพต่อการใช้พลังงานที่ทำได้นั้นค่อนข้างดีเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับการ์ดเจนเก่าๆ  ซึ่งให้ความแตกต่างแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้….  และต้องยอมรับว่าทาง AMD ทำการบ้านมาดีมากในครั้งนี้ “กล่าวคือ” แรงขึ้นโดยไม่ได้กินไฟมากแบบเมื่อก่อนแล้ว…  และในส่วนของรีวิวฉบับนี้เราก็จะทดสอบใช้งานและเล่นเกมต่างๆ กับเจ้า AMD RADEON RX 5700 XT 8GB GDDR6 รุ่นนี้ดูกันว่าจะแรงสักแค่ไหนเชียว !!!

และนี่คือหน้าตาของตัว GPU AMD Radeon RX 5700 XT หรือเจ้า “Navi 10” 7nm. GPU นั่นเองครับ

AMD RADEON RX 5700 XT “Navi 10”

สำหรับเรื่องของสถาปัตยกรรมผมขอเอามาจากรีวิวฉบับของ Radeon RX 5700 อันเก่ามาแปะให้ชมก็แล้วกันนะครับ เพราะการ์ดทั้ง 2 ตัวนี้ต่างกันไม่มากนัก โดยหลักๆ เลยก็เครื่องของจำนวน Stream Processors/Compute Units และเรื่องความเร็วของสัญญาณนาฬิกาบนตัว GPU เป็นหลัก…

     กราฟิกการ์ดรุ่นนี้มาพร้อมกับสถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า RDNA และถือว่าผ่านมาถึง 5 เจนแล้วสำหรับเจ้า RADEON ซึ่งก็ได้ทำการปรับปรุงโคตรสร้างด้านใน GPU ใหม่ทั้งหมดต่างไปจาก GCN รุ่นเก่าแบบยกเครื่องใหม่เลยก็ว่าได้ครับ โดยหลักๆ เลยก็คือ GPU Navi 10 รุ่นนี้จะผลิตที่กระบวนการที่เล็กลง เหลือเพียง 7nm. เท่านั้นเอง และก็เริ่มขยับมาใช้แรม GDDR6 ขนาดความจุ 8GB และเชื่อมต่อผ่าน Interface PCIe4.0 เป็นตัวแรกของโลกอีกด้วย จัดว่าเทคโนโลยีล้ำอนาคตไปกันเลยทีเดียว หุหุ…

 

       AMD RADEON RX 5700 XT ตัวนี้จะมาพร้อมกับชุด Compute Units ทั้งหมด 40 ชุด และจำนวนของ Stream Processors ทั้งหมดจะมีอยู่ 2,560 ตัว  ซึ่งรุ่นน้องอย่าง RX 5700 นั้นจะมีอยู่ทั้งหมด 36 Compute Units/2,304 Stream Processors ส่วนแรมนั้นขยับมาใช้แบบ GDDR6 ขนาด 8GB โดยเป็นแรม 256-bit ความเร็วในการทำงานอยู่ที่ 1,750Mhz (14,000Mhz GDDR6) และในส่วนของความเร็วในการทำงานของ GPU นั้นจะแบ่งเป็นการทำงานที่ 3 ระดับ กล่าวคือ Boost Clock 1,905Mhz, Game Clock 1,755Mhz และ Base Clock จริงๆ 1,605Mhz (การทำงานของ GPU ในช่วง 3D Gaming นั้นจะพยายามประครองความเร็วให้อยู่ในระดับ  Game Mode มราความเร็ว 1755Mhz และจะสามารถบูสขึ้นสูงสุดได้ในบางช่วงที่ 1905Mhz ขึ้นอยู่กับอัตราการใช้พลังงาน/อุณหภูมิ และลักษณะของ Load)  ซึ่งต้องถือว่าในส่วนของ Clock Speed ของตัว GPU ในรุ่น RX 5700 XT นั้นแรงกว่าเจ้า RX 5700 น้องเล็กอยู่พอสมควรเลยล่ะ…  และในส่วนของ API พื้นฐานที่รองรับหลักๆ ก็คือ DirextX 12, OpenCL และ Vulcan ครับ

 

     เทียบให้ชมกันสำหรับรุ่นใหญ่ AMD RADEON RX 5700 XT และ RX 5700 โดยทั้งสองรุ่นนี้จะต่างกันที่จำนวน Stream Processors ด้วยครับ คือตัว RX 5700 XT จะมีทั้งหมด 2,560 Units (40 Compute Units) และการทำงานของ Base Clock/Game Clock/Boost Clock @1605/1755/1905Mhz และแรมจะทำงานเท่ากันที่ 1750Mhz (GDDR6 14Gbps) ขนาดความจุ 8GB/256-bit  และในส่วนของชุด Texture Units นั้นก็จะต่างกันด้วยเช่นกัน โดยเจ้า RX 5700 XT จะอยู่ที่ 160 ชุด ส่วนในรุ่น RX 5700 จะมีอยู่ที่ 144 ชุดครับ

 

      เทียบรุ่นกันกับ Vega64 GPU รุ่นเดิม เราจะเห็นได้ว่าเจ้า Navi GPU นั้นจะให้ประสิทธิภาพ Performance/Watt หรืออัตราการใช้พลังงานต่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิมถึง 1.5x เท่าตัวกันเลยทีเดียว โดยจะแรงขึ้นประมาณ +14% และกินไฟลดลง -23% เมื่อเทียบกับของเดิม และยังใช้พื้นที่ในการออกแบบตัว GPU ที่เล็กลงมากอีกด้วยครับ เพราะมันถูกผลิตด้วยกระบนการ 7nm. เท่านั้นเอง

 

     และสำหรับในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็เตรียมพร้อมที่จะปล่อยกราฟิกการ์ดรุ่นใหญ่กว่าเดิมในโครงสร้าง RDNA 2 ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 7nm.+ โดยค่าว่าน่าจะเสร็จในช่วงปี 2020-2021 ที่จะถึงนี้ครับ (เพราะ RX 5700 Series นั้นยังไม่ใช่ตัวแรงสุดในสายพันธุ์ของตระกูล Navi ) ส่วนในเรื่องของ Raytracing นั้นยังไม่มีการพูดถึงแต่อย่างใด… คาดว่าน่าจะมีใช้งานการ์ดเจนหรือ หรือรอความพร้อมอะไรบางอย่างก็เป็นได้ ^^”

 

      AMD FidelityFX  เทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยให้ภาพในเกม 3D ที่สวยงามลบคมและเหลี่ยมออกไปได้แบบหมดจดที่เรียกว่า Contrast Adaptive Sharpening (CAS) และนอกจากนี้ยังช่วยให้นักพัฒนาเกมเอาไปพัฒนาเกมให้มีภาพดูมีรายละเอียดที่แน่นขึ้น โดยไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งเลยก็จะไม่หนักไปทาง Hardware แต่จะเอื้อไปทาง Engine ของนักพัฒนาเกมเสียมากกว่า โดยทาง AMD ได้ทำเป็นแบบ Open Source Impage Quality Toolkit ดังนั้นสาย dev. เกมน่าจะชิวมากขึ้นครับ ^^”

 

     และสำหรับ RADEON Media Engine นั้นก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของเหล่า Streamer ด้วยขุมพลังใหม่ที่สามารถ Decode H.264 ได้ถึงระดับ 4K150/8K30 กันเลยทีเดียวนะเออ… ส่วนทางด้าน Encode ก็สามารถใช้เป็นตัวปล่อย 4K90 ได้เลยนะครับ หุหุ… จะโหดไปไหน ส่วนทางด้าน H.265 ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ทางด้าน Decode ทำได้ 4K60 และทางด้าน  Encode ก็สามารถทำได้ที่ 4K90 กันเลยทีเดียว… ส่วน VP9 ยอดฮิตสำหรับการปล่อยใน Youtube ก็สามารถปล่อยได้ถึง 4K60 กันเลยทีเดียวครับ ^^”

 

รายละเอียดของการ Streaming ที่รองรับ HDR/WCG (HEVC) ยกระดับคุณภาพได้ถึง 8K (HEVC/VP) โดยทาง AMD กล่าวว่าได้เพิ่มประสิทธิภาพในการ Encoder ที่เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 40% กันเลยทีเดียว

 

     ส่วนทางด้าน Display Engine นั้นก็ยังคงรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง Freesync 2 HDR, HDMI 2.0b & Display Port 1.4HDR, Dolby Vision HDR10, Display Stream Compression 1.2a หรือที่เรียกว่า DSC เทคโนโลยี จุดเด่นของมันเลยก็คือ ถ้าต่อใช้งานร่วมกับ Monitor ที่รองรับด้วยแล้ว จะสามารถต่อสาย DP1.4 แบบ DSC ได้เพียงสาย 1 เส้นพร้อมกับคุณภาพในระดับ 4K 144Hz กันเลยทีเดียว ซึ่งปกติแล้วจอทั่วไปจะต้องใช้ DP 1.4 ถึง 2 เส้นครับ โดยทาง AMD เคลมว่าคุณภาพที่บีบอัดในสาย DP1.4 เพียงเส้นเดียวด้วย DSC นั้นจะยังคงให้คุณภาพที่ดีเหมือนเดิมครับ และในสตอนนี้จอภาพ Monitor ที่รองรับตัวแรกของโลกน่าจะเป็น Gaming Monitor จากค่าย ROG ที่ออกมารองรับเทคโนโลยี DSC แล้วเป็นที่เรียบร้อย….

 

     เอาล่ะครับมาดูตัวการ์ดกันเลยดีกว่ากับเจ้า AMD RADEON RX 5700 XT ที่มาพร้อมกับขนาดความจุ 8GB ด้วยแรมชนิด GDDR6 แบบ 256-Bit ส่วนรูปล่างภายนอกนั้นบอกได้เลยว่าสวยงามมากๆ  และเมื่อได้ลองจับดูตัวจริงแล้วก็พบว่ามันดูขลังมากๆ เลยครับ ผมเชื่อว่าสาวก AMD หลายๆ ท่านที่ครอบครองเจ้าการ์ดตัวนี้อยู่น่าจะหลงรักมันอยู่มิใช่น้อยเลย….

 

ส่วนเรื่องของ Spec ตัวการ์ดนั้นก็คือ

 

     ด้านหลังของตัวการ์ดนั้นมีการติดตั้ง Back Plate คลุมตลอดทั้งบริเวณของ PCB แบบ เกือบ 100% เต็มเลยก็ว่าได้  เว้นไว้แค่ช่วงด้านหลังของตัวชิป GPU ที่มีพวก Cap และตัว Clip ยึดตัว Heatsink ไว้เท่านั้น  ส่วนตัวลายเส้นของตัวการ์ดและทำออกมาเข้ากันได้ดีทั้งในตัว Cover พัดลมด้านหน้าและตัว Back Plate ด้านหลัง โดยจะมีการคาดด้วยลายเส้นดีแดง พร้อมกับการสกรีน RADEON LOGO ทั้ง 3 ด้านของตัวการ์ด

 

ตัวการ์ดมีความหนาเพียง 2 Slot PCI เท่านั้นเองครับ ไม่ได้หนาอะไรมาก

 

ด้านท้ายการ์ดนี่ผมบอกเลยว่า ชอบการออกแบบดีไซน์มากๆ ครับซึ่งจะมีช่องระบายอากาศด้านหลังตัวพัดลม Blower Fan ด้วย

 

 

และนี่ก็เป็นภาพเรนเดอร์ของ AMD RADEON RX 5700 XT สำหรับโครงสร้างภายของตัว Cooler และตัว PCB ของตัวการ์ดว่าประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง…

 

บริเวณสันของการ์ดด้านข้าง นี้จะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของตัวการ์ดมากที่สุด ด้วยรูปทรงที่บิดงอ โดยเขาให้การว่าจะช่วยให้ดูลมเข้าการ์ดได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่อยู่ในพื้นที่แคบ

 

มุมนี้จะมองเห็นได้ชัดเจนว่ามันการออกแบบการ์ดให้บิดเว้าอย่างชัดเจน… ผมมองว่าทำให้การ์ดเป็นที่น่าจดจำดีครับ ^^”

 

การ์ดรุ่นนี้เชื่อมต่อ Interface PCIe4.0 x16  ซึ่งก็ยังคงนำกลับไปต่อใช้งานร่วมกับ PCIe3.0 x16 ได้เหมือนเดิมนะครับ ไม่ต้องซีเรียส…. เพราะ Bandwidth ของ PCIe4.0 ถ้าจะเอาตามตรงก็กว้างมากๆ เกินตัวการ์ดจะส่งไปแล้วด้วยซ้ำ ฮ่าๆ….

 

เอาล่ะครับหลังจากที่รับชมการออกแบบของตัวการ์ดในหลายๆ มุมกันแล้ว เราก็ไปชมถึงประสิทธิภาพกันต่อกันเลยดีกว่าว่าเจ้า RADEON RX 5700 XT นั้นออกจะทำการบ้านออกมาได้ดีแค่ไหนกัน…

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ…

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K @5.0Ghz/4.8Ghz (Coffee Lake 14nm.)
 CPU Cooler  Tt Water3.0 360 ARGB Sync
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard
 ASUS ROG MAXIMUS X APEX ( Z370)
 Memory
 T-FORCE Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18 16GB-Kit By XMP
 VGA  AMD RADEON RX 5700 XT 8GB GDDR6 (Ref.)
 Hard Drive
 -XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 NVMe SSD 480GB (OS) x1
 -WD Blue 1TB HDD (Game Drive) x1
 PSU  Thermaltake iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit (1903) Last Update

 

System Config

      สำหรับชุดการทดสอบของเราในครั้งนี้ก็ยังคงเป็นชุด Base Test เดิม ที่มีการปรับปรุง OS ใหม่ให้เป็น Windows 10 Pro 1903 ตัวล่าสุดที่ทาง AMD แนะนำให้ติดตั้งไว้ก่อนที่จะทดสอบใดๆ เพื่อประสิทธิภาพในการทดสอบของ RADEON RX 5700 XT ตัวนี้ให้ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุดครับ   ส่วนชุด Hardware หลักของเราก็ยังคงต้องเป็นชุดเดิม ทุกอย่างคือ CPU Intel Core i7-8086K @ 5.0Ghz/4.8Ghz + T-Force Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18-20-20-44 2T (By XMP Profile)  จากนั้นก็เก็บผลการทดสอบต่างๆ และเทียบกราฟผลการทดสอบต่างๆ ว่าออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ไปชมกันเลยครับ…

 

ต้องบอกเลยว่าเป็น RADEON Series ที่สวยที่สุด เท่าที่ผมเคยเห็น AMD ทำมาครับ  กราบ….. ^O^

 

VGA Temperature & Power Consumption.

เริ่มกันที่ผลการทดสอบในเรื่องของอุณหภูมิการทำงานและอัตราการใช้พลังงานกันก่อนเลยนะครับ โดยเราก็จะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบเหมือนทุกๆ ครั้งที่ทำการเก็บ Base test การ์ดรุ่นอื่นๆ…

 

GPU : Idle

 

GPU : Full Load

อุณหภูมิโดยรวมแล้วถือว่าช่วง Full Load นั้นยังถือว่าค่อนข้างสูงอยู่นะครับสำหรับการ์ด Ref. รุ่นนี้ โดยช่วง Idle ที่การ์ดอยู่เฉยๆ Temp จะนิ่งแถวๆ 35c องศาเซลเซียส และในช่วง Full Load ด้วยการใช้ Furmark GPU Burn-In อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 83c สูงสุดครับ

 


Power Consumption.

: Idle

 

: Full Load

     ส่วนในเรื่องของการใช้พลังงานนั้นถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างดีมากครับ โดยช่วง Idle อยู่ที่ประมาณ 76.9 Watt และช่วง Full Load อยู่ที่ 307Watt Peak เท่านั้นเองครับ ถือว่าใช้พลังงานต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับการ์ดเจนเก่าอย่าง RX590 นั้นกินไฟเยอะกว่าราวๆ 35Watt ส่วนการ์ดรุ่นพี่อย่าง Radeon VII ที่ใช้ 7nm. เป็นตัวแรกนั้น ดูดไฟเยอะจัด395Watt เยอะสุดในกลุ่มกันเลนทีเดียว ฮ๋าๆ….  เอาล่ะครับ เมื่อกินไฟน้อยลงแล้วประสิทธิภาพล่ะ….???  เป็นอย่างไรกันบ้าง….???  ผมบอกก่อนเลยว่า ทำการบ้านมาดีมากสำหรับเจ้า “Navi 10″ !!!  ไปชมผลการทดสอบอื่นๆ ต่อเลยครับ ^^”

 

Benchmark

ผลการทดสอบ 3DMARK Version ต่างๆ ของกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 XT ตัวนี้ครับ ลองดูกันว่าความแรงอยู่ในระดับไหนกัน  (ปล. ผมก็ไม่ได้ทำกราฟเทียบของ 3DMARk สักที อาจจะเทียบกับรุ่นอื่นๆ ยากสักนิด เดี๋ยวจะหาเวลาทำ ช่วงนี้คิวแน่นนิดหนึ่ง ฮ่าๆ….)

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

3D Gaming Performance

     มาถึงช่วงของการทดสอบเกมจริงๆ กันเลยดีกว่าครับกับ Base ทดสอบของเราที่ 1920x1080p เป็นพื้นฐานหลักในการทดสอบ  โดยแต่ละเกมจะเน้นปรับตั้งค่า Setting ในตัวเกมให้เป็นแบบ Ultra Preset และบางเกมก็มี Custom ให้สุดทั้งหมด ยกเว้นการลบรอยหยักจะยังคงใช้ที่ FXAA เป็นหลักตามที่เกมต่างๆ ให้มาเป็นค่ารเิ่มต้นตั้งแต่แรก  เอาล่ะครับไปชมประสิทธิภาพของกราฟิกการ์ดที่ความละเอียด 1080p กันเลยดีกว่า ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง…

 

Battlefield 1

สำหรับ Battlefield 1 นั้นก็บอกได้เลยว่า สูสีกับทาง RADEON VII 16GB HBM2 และ GTX1080 Ti 11GB มากๆ ด้วยเฟรมเฉลี่ยประมาณ 174fps.  ส่วนเจ้าน้องเล้ก RX 5700 นั้นจะทำเฟรมเฉลี่ยออกมาได้เพียง 155.64fps เท่านั้น แต่ก็ยังแรงกว่า RTX 2070 อยู่เล็กน้อยครับ

 

Battlefield V

มาต่อกันที่ BF5 นั้นก็ยังถือว่าเฟรมเฉลี่ยของเกมนี้ยังถือว่ายังคงสูสีกันมากระกว่าง GTX1080Ti และ RX 5700XT ที่ประมาณ 143.96fps เฉลี่ย  ส่วนทางด้าน RX 5700 น้องเล้กทำได้ที่ 123.87fps ถือว่าหากกับ RX 5700XT ถึง 19.31fps เฉลี่ยกันเลยดีเดียวครับ

 

Crysis 3

     มาดูสุดยอดแห่ง Legacy เกมอย่าง Crysis3 เกมที่เปลี่ยนโฉมวงการเกม 3D ไปตลอดกาลในยุคของ DirectX 9.0 เกมนี้ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง CryEngine  ซึ่งในยุคนั้นบอกได้เลยว่ามันเขียนมาค่อนข้างหนักหน่วง PC ทั้งระบบเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM และหลักๆ เลยก็คือตัว Graphics Card นี่เลยครับที่เป็นพระเอกของเกม Crysis 3 ในยุคนั้น และปัจจุบันยังถือว่าเป็นเกมที่ให้ภาพที่สวยงามมากๆ เกมหนึ่งในส่วนของ Texture พื้นผิว แสงและเงายังถือว่าดูค่อนข้างสมจริง ล้ำสมัยมากๆ (ในยุคนั้นถือว่าโคตรหรู ทุกคนต้องได้สัมผัสเกมนี้อย่างแน่นอน และมีหลายๆ คนยอม Upgrade PC ชุดใหญ่เพื่เกมนี้…. ^O^)

    และสำหรับเกมนี้ผมต้องเดินเล่นเก็บเฟรมเอง โดยพยายามเดินวนให้เหมือนเดิม และใช้ฉากเดิมตลอด กล่าวคือฉากแรกเริ่มต้นของเกมเลย ที่มีฝนตกหนักบนท่าเรือ… (คือตอนเกมเปิดตัวมา เหมือพยายามฆ่ากันเลยในยุคนั้น เข้าเกมมาเจอฉากพายุฝนเข้าไป กราฟิกการ์ดยุคนั้นเหลือเฟรม 25-30fps เอง อิอิ กรรม บอกเลยว่าร้องจ๊าก…..)  และสำหรับผลการทดสอบของเจ้า RX 5700 XT และ RX 5700 สามารถทำปั่นเหรมเรทเฉลี่ยในการเล่นเกม ได้ราวๆ 110-124fps. โดยเฉลี่ย ถือว่าหรูมากแล้วสำหรับเกมนี้…. (สมัยนั้นขอแค่เห็น 45-60fps ก็โคตรหรูแล้วครับ)

 

DEUS EX Benchmark

มาดูกันต่อกับเกม DX12 ที่มี Benchmark ในตัวอย่าง DEUS EX และทำออกมาได้ค่อนข้างนิ่งมาก เฟรมน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง เพราะมันแกว่งน้อยมาก…  โดยเจ้า RX 5700 XT และ RX 5700 นั้นทำเฟรมเรทต่างกันอยู่ราวๆ 10fps. เฉลี่ย @89-99fps

 

The Division Benchmark

ต่อกันเลยกับ Benchmark สุดนิ่งที่สุดยอง่า Division ภาคแรก เฟรมเฉลี่ยที่ RX 5700 XT ทำออกมาได้นั้นคือยู่ที่ 128.2fps  ส่วนน้องเล็ก RX 5700 นั้นทำได้ที่ราวๆ 110.3fps เฉลี่ยครับ การ์ดทั้ง 2 รุ่นจะมีเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ราวๆ 10-15fps เสมอครับ ซึ่งเป็นการบ่องบอกระดับของกราฟิกการ์ดอย่างชัดเจน…

 

The Division 2 Benchmark

     ส่วนเกมนี้ Division 2 Benchamrk DX12 อันนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าเฟรมนิ่งรึป่าว… แต่ก็พยายามเก็บผลการทดสอบมาทำการ Compare ให้เพื่อนๆ ได้พิจารณาดูกันครับ และดูเหมือนว่าเจ้า RX 5700 XT นั้นจะดูโดดเด่นมากเลย แรงกว่ารุ่นพี่ RADEON VII เสียอีก ฮ่าๆ… ส่วน GTX 1080 Ti และ RTX รุ่นอื่นๆ ผมยังไม่ได้เก็บผลทิ้งไว้นะครับ เพราะเกมนี้มันออกมาทีหลังในช่วงที่เรามีการเก็บ Base ทดสอบในช่วงปีที่ผ่านมา ไว้มีโอกาส จะลองหาการ์ดเก่าๆ มาเก็บ Base เพิ่มสำหรับเกมนี้…

 

Ghost Recon Wildlands

Ghost Recon Wildlands เกมนี้ก็มี Benchmark ในตัวเหรมก็ค่อนข้างนิ่งระดับหนึ่งครับ และเจ้า RX 5700XT ก็ทำเฟรมเรทเฉลี่ยออกมาได้ราวๆ 71.41fps ไล่ๆ กับทาง GTX1080Ti อยู่ราวๆ 4.64fps

 

Far Cry 5 Benchmark

และสำหรับเกม Far Cry 5 Benchmark DX11 นั้นเจ้า RX 5700 XT ทำเฟรมเฉลี่ยอยู่ได้ที่ 125fps และน้องเล้ก RX 5700 นั้นทำเฟรมเฉลี่ยได้ที่ 116fps ซึ่ง Scale ความห่างของเรื่องประสิทธิภาพในการเล่นเกมของการ์ดทั้ง 2 รุ่นจะอยู่ราวๆ นี้ตลอดครับ

 

Rise of The Tomb Raider Benchmark

มาดูกันที่ Rise of The Tomb Raider Benchgmark DX12 กันต่อครับ เฟรมเฉลี่ยที่ RX 5700 XT ทำได้นั้นอยู่ที่ 135.09fps ซึ่งตามหลังการ์ดรุ่นพี่อย่าง Radeon VII อยู่ 2.97fps เฉลี่ยเท่านั้นเอง เฮ่อ….

 

Shadow of The Tomb Raider Benchmark

     และเกมสุดท้ายกับ Shadow of The Tomb Raider Benchmark DX12 นั้นเจ้า RX 5700 XT ก็ทำเฟรมเฉลี่ยได้ไล่ๆ กับการ์ดรุ่นพี่อยู่ไม่มากนัก ที่เฟรมเรทเฉลี่ยในเกมทดสอบระดับ 110-111fps. และสำหรับการืด RX 5700 น้องเล็กก็มีผลการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 99.4fps ก็ถือว่า OC นะเกือบแตะ 100fps กันเลยทีเดียว… คุณลองย้อนลงไปดู RX590 8GB ตัว OC สิครับ ทำได้เพียง 64fps เฉลี่ยเท่านั้นเอง….  ต่างกันกับ RX 5700 อยู่ถึง 35.4fps และต่างกับการ์ด RX 5700 XT อยู่ถึง 46fps. เฉลี่ยกันเลยนะครับ ไม่ธรรมดาแน่นอน….. ดังนั้นคนที่กำลังมีโครงการคิดจะ Upgrade จาก RX580/590 ขึ้นมาเป็น RX 5700 Series ผมมองว่า… กระโดดขึ้นมาเถอะครับ… เพราะเทคโนโลยีใหม่ไฉไลกว่าเดิมมากๆ…  แถมยังกินไฟน้อยกว่า และแรงกว่ามากอีกด้วย ก็ลองพิจารณาดูกันครับ ^^”

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการมาของ AMD RADEON RX 5700 XT และ RX 5700 ในครั้งนี้ที่เป็นการรือสถาปัตยกรรมทำใหม่ยกแผงจาก GCN มาสู่ RDNA ที่ช้วยให้ตัว GPU นั้นมีประสิทธิภาพในการประมวลผลเพิ่มขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว และยังลดกระบวนการผลิต GPU ลงเหลือเพียง 7nm. และความพร้อมในส่วนของ PCIe4.0 จ้าวแรกของโลกอีกด้วย  จึงทำให้มันเป็นกราฟิกการ์ดรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามองมากที่สุดในปี 2019 นี้…

     โดยภาพรวมแล้ว ประสิทธิภาพของ RX 5700XT ผมดูแล้วพี่แกะออกมาปั่น RTX 2070 โดยเฉพาะเลยครับ ซึ่งจากผลการทดสอบของเราก็ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่าสามารถต่อกรกับ RTX 2070 ได้แบบสบายจริงๆ  ส่วนในรุ่น RX 5700 นั้นจะถูกนำมาต่อสู้กับ RTX 2060 นั่นเอง และก็ทำได้ดีเสียด้วยครับ….. และก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลเลยที่ทาง NVIDIA ได้รีบส่ง RTX 20 ในตระกูล Super ออกมาสกัดนั่นเอง ซึ่งแก้เกมโดยการอัด Shader Unit เพิ่มเข้าไปสู้นั่นเอง..  โดยยังคงใช้สถาปัตยกรรมเดิมทุกประการ

     และสิ่งที่น่าสนใจในอนาคตเลยของ GPU ” Navi 10″  7nm. คือถ้ามีรุ่นในออกมาที่ให้ Shader Processors/ Compute Units เบอร์ใหญ่กว่านี้ออกมาต่อสู้กับทาง NVIDIA ในกราฟิกการ์ดระดับ Hi-End อย่างพวกตระกูล RTX 2080Ti +++ ขึ้นไปแล้วผมมองว่า สถาปัตยกรรม RDNA ทำออกมาได้ค่อนข้างแรงมากแล้ว  และถ้าหากมีรุ่นที่ใช้ Shader Processors ในระดับ 3xxx หรือ 4xxx ตัวออกมา… ผมว่าน่าจะเป็นอะไรที่น่าสนใจและทรงพลังอย่างมากแน่นอน…  แต่ก็ไม่รู้นะว่าเขาจะส่งมันลงมายังโลกมนุษย์เมื่อไร…. โปรดติดตาม…. ^^”  สำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจอีกก็น่าจะเป็น AMD FidelityFX ปรัภาพให้คมชัดกว่าเดิมโดยแทบจะไม่รบกวนประสิทธิภาพของตัว GPU เลยแม้แต่น้อยและ AMD Radeon Anti-Lag ที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของเราตอนใช้ Mouse/Keyboard นั้นตอบสนองได้ไวมากขึ้น หรือช่วยให้ Input Lag น้อยที่สุดนั่นเอง…

     สิ่งที่ไม่พูดดถึงไม่ได้เลยก็คือ อัตราการบริโภคพลังงานของ RX 5700 Series นั้นทำออกมาได้ดีมากจริงๆ ครับ กล่าวคือกินไฟน้อยลง และให้ประสิทธิภาพการประมวลผลที่มากขึ้นจริงๆ  ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่ได้มีรุ่นใหญ่ๆ ออกมาให้เราได้เห็นก็ตาม….  แต่ก็ทำให้เห็นแล้วว่า “Navi 10” นั้นค่อนข้างทรงพลังมากเลยทีเดียว และในเรื่องความร้อนของตัวการ์ดนั้นหากเป็นรุ่น RX 5700 XT ผมมองว่ายังดูค่อนข้างสูงในระดับ 75-85c สำหรับการ์ด Reference (แต่ถ้าเร่งรอบพัดลมเองก็ช่วยให้เย็นและเพิ่ม Boost Clock ตอนเล่นเกมไดเยอะครับ ลองปรับแต่งเล่นกันดูได้ เพียงแต่ในรีวิวฉบับนี้ ผมไม่ได้เก็บผลเกี่ยวกับการ Overclock มาให้ชม ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย… หรือถ้าใครอยากหารุ่นเย็นๆ แรงๆ ก็คงต้องรอการ์ด Non-Ref. เท่านั้น วึ่งก็เริ่มทยอยออกมาให้เห็นบ้างแล้ว)  แต่ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานนั้นเขามีระบบการทำงานที่ดีอยู่แล้ว… ในส่วนของ Base/Game/Boost Frequency Mode ที่ทำงานแปรผันเองอัตโนมัติ ด้วยการปรับแต่งแรงดันไฟเลี้ยง, อุณหภูมิการทำงาน, การใช้พลังงาน และสภาวะของ Load ต่างมาให้เราอย่างชาญฉลาดให้เหมาะสมกับสถาณะการต่างๆ

     และสำหรับเรื่องของระบบการทำงานแบบ Multi-GPU CrossfireX นั้นดูเหมือนจะเป็นฝันร้ายของใครหลายๆ คน  เมื่อป้าออกมาประกาศแล้วว่า จะไม่ทำระบบ Multi-GPU บนการ์ดรุ่นนี้แล้ว เพราะน่าจะลดความยุ่งยากในการออกแบบ Driver และความเข้ากันได้กับเกมและ App ต่างๆ  และเช่นเดียวกับทางคู่แข่งอย่าง NVIDIA ที่ก็ไม่ได้ค่อยให้ความสนใจกับระบบ Multi-GPU SLI ของตนเองแล้วเหมือนกัน… คือเต็มที่ก็ให้แค่ 2-Way และจะรองรับเพียงการ์ดรุ่นใหญ่ๆ เท่านั้น…

     ส่วนข้อเสียและข้อสังเกตุนั้น… ผมคงมองไปที่เรื่องของอุณหภูมิการทำงานของกราฟิกการ์ดที่ใช้ Heatsink ทรง Ref. จากทางผู้ผลิต ที่ถึงแม้จะทำออกมาได้อย่างสวยหรู แต่เรื่องการระบายความร้อนนั้นอาจจะไม่ได้ทำได้ดีสักเท่าไรนัก และเจ้าตัวพัด Blower เมื่อเราเร่งรอบสูงขึ้น เสียงรบกวนก็ค่อนข้างสนั่นกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะรอบการทำงานตั้งแต่ 75-90%+ ก็เริ่มมาแล้ว ฮ่าๆ….  “หรือคุณจะมองเป็นเอกลักษณ์ของการ์ด Ref. ก็แล้วแต่เลย…”  และถ้าต้องการความเงียบและแรงในการทำงานจริงๆ แนะนำว่าคุณต้องหันไปใช้การ์ดแบบ Non-Ref. น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าครับ  แต่ถ้าต้องการความ Classic ก็คงหลีกเลี่ยงการ์ด Ref. ไปไม่ได้!!!   และในส่วนของประสิทธิภาพแบบรวมๆ แล้วผมมองว่ามันก็ทำได้ตามเป้าที่ทาง AMD ได้วางตำแหน่งเอาไว้คือแรงกว่า RTX2070 ซึ่งก็ทำได้จริงครับ ^^”

     อย่างไรแล้วก็ต้องขอฝากสาวก AMD ที่ชื่นชอบกราฟิกการ์ด RADEON Series ของทาง AMD มาโดยตลอด ลองพิจารณาดูจากผลการทดสอบของเราครั้งนี้ดูได้เลยครับว่า ต่างกับการ์ดรุ่นเก่าอย่าง RX 580/590 อยู่มากเพียงใด….. จากการทดสอบของเราก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและอัตราการบริโภคพลังงานที่ทำออกมาได้ดีมากจริงๆ  สำหรับวันนี้ผมเองก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

AMD THAILAND