มาเป็นครอบครัว TUF GAMING ALLIANCE กันเถอะครับ

      สวัสดีชาว Clock’EM UP ทุกท่านครับ วันนี้เรามีชุด TUF GAMING ALLIANCE ที่มาพร้อมกับชุดพันธมิตร T-Force DELTA RGB DDR4-3200 และ T-Force DELTA S RGB 500GB ที่เป็นในกลุ่ม TUF GAMING ALLIANCE มารีวิวคู่กับชุดเมนบอร์ด ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi) ที่ต้องบอกได้เลยว่าลวดลายของเมนบอร์ด แรมและเอสเอสดีนั้นเข้ากันได้อย่างลงตัวเลยทีเดียวดังนั้นใครเ็น #TeamTUF ห้ามพลาดเด็ดขาด !!!    และสำหรับสินค้าจากทาง T-Froce ทั้งในส่วน DDR4 และ SSD นั้นจะเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศทยในวันที่ 10 มกราคม 2019 ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางตัวแทนร้านค้าก็ต่างรับ Pre-Order กันแล้วในช่วงนี้ และผมต้องกล่าวไว้ตรงนี้ก่อนเลยนะครับ

     สินค้า “TUF GAMING ALLIANCE” จากทาง T-Force ชุดนี้จะออกมาจำหน่ายแบบจำจัด ไม่ได้มีออกมาจำหน่ายตลอด เพราะทาง ASUS เป็นผู้ควบคุมและทำสัญญาเรื่องลิขสิทธิในเรื่องลวดลายของกลุ่มผลิตภัณฑ์ TUF จากทาง Brand ที่เข้าร่วมและจำนวนในการสั่งการผลิตด้วย และแน่นอนว่าครั้งนี้เข้าไทยมาแค่ 50 ชุดเท่านั้น  และทั่วโลกผมได้ยินว่า Lot แรกมาทั้งโลกราวๆ 500 ชุดเท่านั้น และไทยได้มา 50 ชุด และหมดแล้วก็ไม่รู้ว่าทาง ASUS จะให้ผลิตเพิ่มอีกเมื่อไร…  ดังนั้นใครสนใจรีบจับจองเป็นเข้าของให้ไว #TeamTUF

 

เรามาเป็นทีม “TUF GAMING ALLIANCE”  และรายการ Hardware ที่เราจะมาทำการแนะนำจากค่าย T-Force ในวันนี้ก็ได้แก่ T-Force DELTA RGB DDR4-3200CL16-18-18-38 16GB-Kit (8GBx2) และ T-Force DELTA S RGB SSD 500GB 12V RGB Header (ตัวที่จำหน่ายในไทย จะขายเพียงรุ่น 250GB เท่านั้น)

 

ตัว Product ทั้งหมดสามารถต่อ ASUS AURA Sync ร่วมกันได้ทั้ง Motherboard, Memory Module และ SSD

 

     สำหรับ TUF ตอนนี้ทาง ASUS ได้พลักดันให้มันบอร์ดที่ขึ้นชื่อเรื่องความ ถึก-ทน-ทาน นั้นในหลายมาเป็นเมนบอร์ด TUF-GAMING แทนเสียนแล้ว จากเดิมแล้วจะมีในรุ่น Sabertooth ที่มีการรับประกันที่ยาวนานกว่า 5 ปี แต่ตอนนี้ TUF ยังคงหลงเหลือความเป็น TUF อยู่ให้เห็นบ้าง หลักๆ ก็คงเน้นความทนทานเหมือนเดิม เช่นยังคงเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำภาคจ่ายไฟที่เป็น “Military-grade TUF Components” ไม่ว่าจะเป็น TUF LANGuard, TUF chokes, TUF capacitors, และ TUF MOSFETs  สรุปกันสั้นๆ ตรงนี้เลยคือ TUF เมนบอร์ดนั้นกลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเมนบอร์ด Gaming จากทาง ASUS ไปแล้ว โดยจะเป็นความทนทานเป็นพิเศษ ไม่เน้นการ Overclock มากแบบในจระกูล ROG  แต่ถ้าถามว่า TUF สามารถ Overclock ได้ไหม จริงๆ มันก็ทำได้ดีระดับหนึ่งครับ เพียงแค่ไม่ได้เน้นอะไรมาก  ดังนั้นหากยังต้องการ Overclock เป็นหลัก ยังไงเราก็แนะนำให้ไปเล่นในกลุ่มเมนบอร์ด ROG MAXIMUS Series หรือ ROG STRIX Series แทนครับ ^^”

 

ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi)

เอาล่ะครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มทำความรู้จักกับ Hardware ทั้ง 3 ชิ้นนี้กันเลยดีกว่า เริ่มจากทางเมนบอร์ดตัวหลักก่อนเลยกับ ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi) โดยเราจะถือโอกาสรีวิวตัวเมนบอร์ดพร้อมกับชุด TUF GAMING ALLIANCE ไปในรีวิวฉบับนี้พร้อมกันเลย….

 

     สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้คือ ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi) เป็นรุ่นมี WiFi ติดมาด้วยโดยเป็น WiFI คุณภาพสุงจากค่าย Intel Wireless-AC 9560 + Bluetooth 5.0 กันเลยนะครับ หุหุ  ส่วนการออกแบบของเมนบอร์ดนั้นก็จะมาพร้อมขนาด ATX เต็มใบ PCB มีรอยเว้าเล็กน้อยบริเวณช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s บริเวณกลางเมนบอร์ด  ส่วนสีสันที่ใช้งานการออกแบบนั้น TUF จะออกไปทางโทนสีเทา คาดด้วยลายสีเหลืองเป็นแถบๆ กระจายทั่วเมบอร์ดพร้อมกับลายพลางทั่วเมนบอร์ดด้วยเช่นกัน

 

     ภาคจ่ายไฟเป็นของ TUF COMPONENTS เน้นความถนทานเป็นพิเศษประกอบไปด้วย TUF LANGuard, TUF chokes, TUF capacitors, และ TUF MOSFETs ซึ่งทั้งหมดเป็นอุปกรณ์คุณภาพสูงใน Military-grade แบบเดียวกับที่ทางการทหารเลือกใช้…  การออกแบบภาคจ่ายไฟนั้นมีทั้งหมด 9 Phase ด้วยกันแบบ Mosfet แบบ Low-RDS และในส่วนของ Socket CPU นั้นเป็นของ Intel LGA-1151 สามารถติดตั้งได้ทั้ง CPU Gen8 และ Gen9

CPU Support :

  • Intel® Socket 1151 9th / 8th Gen Intel® Core™, Pentium® Gold and Celeron® Processors
  • Supports Intel® 14 nm CPU
  • Supports Intel® Turbo Boost Technology 3.0

 

และจุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้อีกอย่างหนึ่งเลยก็คือมีการเพิ่มความหนาของ Pin นำไฟเลี้ยงให้กับชุด +12V 8Pin ให้หนาขึ้นกว่าเดิม และให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 25% หรือสามารถทนกับโหลดหนักๆ ได้ถึง 432-480Watt กันเลยทีเดียว

 

     มาดูกันต่อถึงเรื่อง Slot แรมกันบ้างครับ แน่นอนว่าคงต้องต่อใช้งานกับแรม DDR4 เท่านั้น โดยจะรองรับการต่อใช้งานในรูปแบบของ Dual Channel จำนวน 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็วพื้นฐาน DDR4-4133 ไปจนถึง DDR4-4266Mhz แบบ OC Module ดังนั้นเรื่องของแรมที่รองรับในความเร็วแบบ OC ทุกรุ่น กรุณาเช็ค QVL List รายชื่อแรมก่อนที่จะหาแรมมาติดตั้งก่อนนะครับ โดยเฉพาะรุ่นที่มีความเร็วเกิน DDR4-4000Mhz+ มักจะพบปัญหาบ่อยสุด ที่เปิด XMP ไม่ติดหรืออะไรแบบนั้น…. ส่วนความจุสูงสุดนั้นติดตั้งได้ทั้งหมด รวม 4 แถว 64GB Max และรองรับ Intel XMP 2.0 Profile

Memory Support :

  • 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory
  • Dual Channel Memory Architecture
  • Supports Intel® Extreme Memory Profile (XMP)
  • Refer to www.asus.com for the Memory QVL (Qualified Vendors Lists).
  • The maximum memory frequency supported varies by processor.

 

ชุด Heatsink ระบายความร้อนของชิปเซ็ต Intel Z390 PCH นั้นทำออกมาให้มีชุด Cover ปิดทำอีกชั้นหนึ่ง และต่อด้วยกับชุด M.2 Heatsink ด้านล่างที่ออกแบบมาให้เข้ากันได้อย่างลงตัว และสำหรับช่องเสียบ PCIe3.0 x16 นั้นมีทั้งหมด 2 ช่องด้วยกัน ทำงานแบบ 16x +8x และเมื่อต่อใช้งานแบบ Multi-GPU จะทำงานที่ Config 8x + 8x โดยจะรับแค่ AMD CrossfireX 2-Way เท่านั้น และช่องเสียบ PCIe3.0 x1 นั้นจะมีทั้งหมด 4 ช่อง

Expansion Slot :

  • 1 x PCIe 3.0/2.0 x16 (x16 or x8+x4+x4)
  • 1 x PCIe 3.0/2.0 x16 (max at x4 mode)
  • 4 x PCIe 3.0/2.0 x1
  • *For 3 SSD on CPU support, install a Hyper M.2 X16 card (sold separately) into the PCIeX16_1 slot, enable this card under BIOS settings.

Multi-GPU Support :

  • Supports AMD CrossFireX™ Technology

 

ช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s นั้นมีทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน สามารถต่อใช้งาน RAID 0, 1, 5 และ 10 ได้ครับ ส่วนช่องเสียบ USB3.0 Front Panel นั้นมีทั้งหมด 2 ช่อง อยู่ตรงบริเวณกลางเมนบอร์ดแลบะด้านล่างอย่างละ 1 ชุด

Storage :

Intel® Z390 Chipset :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 6 x SATA 6Gb/s port(s), gray,
  • Support Raid 0, 1, 5, 10
  • Intel® Rapid Storage Technology supports
  • Intel® Optane™ Memory Ready

Intel® CPU with Intel® Rapid Storage Technology support (RAID 0 & RAID 1)

  • PCIEX16_1 slot supports up to 3 Intel® PCIe NVME SSDs via a Hyper M.2 X16 series Card

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ RGB Header แบบ +12V 4 Pin ทั้งหมด 2 จุดด้วยกันครับ สามารถเอาสาย Strip RGB มาต่อใช้งานได้ทันที

 

     บริเวณจุดเสียบ M.2 Socket PCIe3.0 x4 32Gb/s ช่องบนสุดนั้นจะรองรับได้สูงสุดแบบ Type-2280 โดยช่องนี้จะรับได้ทั้ง M.2 SATA และ M.2 PCIe3.0 x4 นะครับ แต่ถ้าต่อใช้งานแบบ M.2 SATA เช็คคู่มือก่อนนะครับเพราะจะมีการแชร์ Bandwidth ของ SATA3.0 Port นั้นๆ ซึ่งจะทำให้มันใช้งานไม่ได้เมื่อติดตั้ง M.2 SSD  และในส่วน M.2 Socket อีกช่องด้านล่างที่มีก็รองรับได้ทั้ง M.2 SSD และ M.2 PCIe3.0 x4 ได้ด้วยเช่นกันครับ เพียงแต่ช่องล่างสุดที่มี Heatsink M.2 นั้นจะสามารถติดตั้งได้ยาวสุดใน Type-22110

 

ระบบเสียงที่ให้มานั้นก็ดีระดับหนึ่งเลยทีเดียวกับชิป Audio Codec จากค่าย Realtek ALC S1200A 8-CH HD Audio

Sound :

  • Realtek® ALC S1200A 8-Channel High Definition Audio CODEC
  • Supports : Jack-detection, Front Panel Jack-retasking

Audio Feature :

  • Exclusive DTS Custom for GAMING Headsets.
  • Audio Shielding: Ensures precision analog/digital separation and greatly reduced multi-lateral interference
  • Dedicated audio PCB layers: Separate layers for left and right channels to guard the quality of the sensitive audio signals
  • Premium Japanese audio capacitors: Provide warm, natural and immersive sound with exceptional clarity and fidelity
  • Choose the chassis with HD audio module in front panel to support 8-channel audio output.

 

บริเวณช่องเสียบ Back I/O Panel นั้นจะมีชุด Cover ติดตั้งอยู่ด้านบนด้วย โดยช่องเสียบ Gigabit LAN นั้นมีให้ 1 ช่องเป็นของ Intel I219V และระบบไร้สายเป็นของ Intel Wireless-AC 9560 Dual Band 2.4/5Ghz

Back I/O Panel :

  • 1 x PS/2 keyboard (purple)
  • 1 x PS/2 mouse (green)
  • 1 x DisplayPort
  • 1 x HDMI
  • 1 x LAN (RJ45) port(s)
  • 2 x USB 3.1 Gen 2 Type-A,
  • 4 x USB 3.1 Gen 1 Type-A
  • 2 x Wi-Fi antenna port(s)
  • 3 x 8-channel Audio I/O

USB Port :

  • Intel® Z390 Chipset :
  • 2 x USB 3.1 Gen 2 port(s) (2 at back panel, , Type-A)
  • Intel® Z390 Chipset :
  • 8 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (4 at back panel, , Type-A, 4 at mid-board)
  • Intel® Z390 Chipset :
  • 3 x USB 2.0/1.1 port(s) (3 at mid-board)

LAN :

  • Intel® I219V, featuring Turbo LAN
  • TUF LANGuard
  • Dual interconnect between the integrated Media Access Controller (MAC) and physical layer (PHY)

Wireless Module :

  • Intel® Wireless-AC 9560
  • Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac
  • Supports dual band frequency 2.4/5 GHz
  • Supports MU-MIMO
  • Supports channel bandwidth: HT20/HT40/HT80/HT160

บริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดมาพร้อมกับลวดลายของ TUF สไตล์

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมากับตัวเมนบอร์ดครับ

  • User’s manual
  • I/O Shield
  • 2 x SATA 6Gb/s cable(s)
  • 1 x M.2 Screw Package
  • 1 x ASUS 2T2R dual band Wi-Fi moving antennas (Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac compliant)
  • 1 x TUF Gaming Sticker
  • 1 x TUF Certification card(s)
  • 1 x SCD (by region)

 

     เอาล่ะครับหลังจากที่ได้ชมหน้าตาและรายละเอียดของตัวเมนบอร์ด ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi) กันไปแล้ว เดี๋ยวเราจะให้ชมถึงรายละเอียดของการทดสอบตัวเมนบอร์ดรุ่นนี้ด้วย CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T @ 5.0Ghz/Cache 4.5Ghz + DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 จากทางค่าย T-Force ในรุ่น DELTA RGB DDR4-3200C16 16GB-Kit และตัว SSD DELTA S RGB 500GB ต่อใช้งานร่วมกันให้ชมกันด้วยครับ  จะงดงามแค่ไหนนั้นรอชมกันได้เลย….

 

System Spec.
 CPU
 Intel Core i9-9900K 8C/16T Coffeelake 14nm. Refresh
 CPU Cooler Water Cooling Custom Set
– Kyros HF Copper
– Radiator : XSPC RX480 480mm.
– Radiator Fan : Nactua NF-F12 IPPC 3,000rpm x4
– Pump : XSPC DDC MCP355 + Laing
– Fitting & Tube Size : 1/2″
 Motherboard
 ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi)
 Memory
 T-FORCE DELTA TUF RGB DDR4-3200C16 16GB-Kit
 VGA
 ASUS RTX 2070 DUAL 8GB
 Hard Drive
T-FORCE DELTA S TUF RGB SSD 500GB x1 (OS)
-WD Blue 1TB (Game Drive)
 PSU  Antec HCP 1300Watt Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

     รายละเอียดของการ Overclock Config ในการรีวิวครั้งนี้ เราก็จะทำการ Overclock CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ร่วมกับเมนบอร์ด ASUS TUF Z390-PLUS GAMING (WiFi) ตัวนี้ดูกันว่าทำได้ดีแค่ไหน ซึ่งจากที่ลองดูแล้ว ที่ความเร็ว CPU ระดับ 5Ghz/Cache 4.5Ghz นั้นไม่ได้ยากเย็นเกินไปสำหรับ TUF ตัวนี้ โดยใช้่ไฟเลี้ยงจะอยู่ที่ราวๆ 1.26-1.28V สำหรับ Vcore CPU ที่เราทำการปรับแต่งไว้  ส่วนความเร็ว CPU ที่สูงกกว่านี้ ผมสังเกตุดูหลัลายครั้งแล้วคือ เล่นได้ยากและภาคจ่ายไฟค่อนข้างร้อนเอาเรื่องอยู่นะ ยิ่งเล่น Cache สูงๆ เกินระดับ 4.7Ghz ถึง 4.8Ghz มักจะพบกับอาการเล่นๆ อยู่แล้วค้างบ่อยๆ ผมจึงยอมลด Cache เหลือ 4.5Ghz แทน และพบว่าให้ความเสถียรภาพดีระดับหนึ่งเลยล่ะครับ

     ส่วนของเรื่องการ Overclock แรม DDR4 รุ่นนี้ร่วมกับตัวเมนบอร์ดนั้น ก็ทำได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้นครับ เพราะตัวแรมเป็นชิป Hynix และบวกกับแรม PCB RGB จากทาง TeamGroup นั้นยังคว Lock ไม่ให้ทำการ Overclock ได้มากนัก  ดังนั้นรีวิวฉบับนี้ผมจึงเล่นแรมที่ความเร็วจากโรงงานที่ DDR4-3200Mhz CL 16-18-18-38 1.35V เดิมๆ จากโรงงาน แต่ตั้งค่า 1T + กับการปรับแต่งชุด Sub-Timing เท่าที่จะกดได้บนเมนบอร์ดรุ่นนี้ให้ชมกัน ซึ่งก็ถือว่า OK แล้วล่ะครับสำหรับเมนบอร์ด TUF Gaming ซึ่งจะเน้นในเรื่องของความทนทานและเรื่องของ Gaming + RGB เป็นหลัก  ทำได้แค่นี้ผมก็มองว่าหรูแล้วล่ะ…. ถ้าอยากแรงกว่านี้ ก็แนะนำไป ROG Series เลยดีกว่าครับ ^^”

 

AURA Sync Support

     มาชมจุดที่เป็นทีเด็ด Highlight ของชุด TUF GAMING ALLIANCE  กันก่อนเลยดีกว่าครับ โดยนอกจากตัว Products ทั้งหมดจะมีลวดลายที่สอดคล้องกันแล้ว แน่นอนว่าลูกเล่นเรื่องของแสงสีแบบ RGB Color 16.8 ล้านสีนั้น ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน โดยทั้งตัว Motherboard, Memory DDR4 Module และ SSD นั้นต่างรองรับการปรับแต่งสีสันผ่านทาง ASUS AURA Sync โดยภาพด้านล่างนี้เราได้จับภาพการ Sync ของแสงสีในโหมดต่างๆ มาให้ชมกันครับว่าสวยงามแค่ไหน….

 

RGB Sync Time….

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับลูกเล่นเรื่องแสงสีแบบ RGB Color ที่สามารถเชื่อมต่อกันผ่านทาง ASUS AURA Sync ได้ทันที เพราะทั้งหมดนี้เป็นชุด TUF GAMING ALLIANCE ที่พัฒนาร่วมกันนั่นเอง ^^”

 

T-FORCE DELTA S RGB SSD TUF GAMING ALLIANCE

: 500GB SSD + 12V RGB Header

     เอาล่ะครับ มาถึงคิวรีวิวของชุด T-Force SSD Gaming ในรุ่น DELTA S RGB กันต่อเลยดีกว่าครับ โดยรุ่นที่ผมได้มารีวิวนี้เป็นในรุ่นขนาดความจุ 500GB และเป็นรุ่นที่เชื่อมต่อ RGB เข้ากับเมนบอร์ดผ่านทางช่องเสีบบ +12V RGB Header และผลิตออกมาเพียงรุ่นแบบเดียวเท่านั้นคือ 12V RGB Header ส่วนขนาดความจุที่จะเข้ามาจำหน่ายจริงๆ ในประเทศไทย ผมต้องแจ้งก่อนเลยว่า จะมีมาแค่ขนาด 250GB เท่านั้น โดยราคาจะจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 2xxx.- บาทเท่านั้น !!!!

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ คงไม่มีอะไรต่างไปจาก T-Force DELTA RGB SSD รุ่นอื่นๆ ซึ่งประกอบไปกด้วยตัว SSD, 12V 5-Pin RGB Cable (ใช้งานจริงมีเพียง 4-Pin เท่านั้น โดยจะไม่ได้ติดตั้งขั่วเสียบของสายไฟสีขาวมาให้ “W”) และชุดสติ๊กเกอร์ T-Force

 

จุดเด่นของ SSD รุ่นนี้เลยก็คือลวดลายของ TUF GAMING ALLIANCE X DELTA S นั่นเองครับ และพื้นที่ในการแสดงผล RGB บน SSD ตัวนี้มีเยอะมากในอัตราส่วน 5:3 ของพื้นที่ SSD และสีพื้นของ SSD นั้นจะมีออกมาเพียงสีเดียวเท่านั้นคือเป็นพื้นหลังสีดำ…

 

รุ่นนี้เป็นขั่วเสียบแบบ 12V 5-Pin RGB Header นะครับ แต่จริงๆ แล้วจะใช้แค่ 4-Pin เท่านั้น โดยไม่ได้ต่อสายไฟสีขาวมาให้

 

มาดูกันต่อในส่วนของรายละเอียดทางเทคนิคของ SSD รั่นนี้กันต่อเลยครับ โดยความเร็วของรุ่นนี้ 500GB จะอยู่ที่ Seq Read/Write @ 560/500MB/s เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดผ่านทาง SATA3.0 6Gb/s Interface การรับประกันนั้นอยยู่ที่ 3 ปีเต็มจากทางผู้ผลิต

 

และด้านล่างนี้ก็จะเป็นผลการทดสอบต่างๆ ของตัว T-Force DELTA S RGB 500GB SSD นะครับว่าหลังจาก Benchmark แล้วจะออกมาแรงสักแค่ไหน โดย SSD รุ่นนี้ก็ยังคงใช้ 3D NAND Flash เช่นเดียวกับรุ่นอื่นๆ ดังนั้นเรื่องของประสิทธิภาพของ Seq Read/Write และรวมถึง 4K Read นั้นก็จะอยู่ในระดับเดียวกับ DELTA SSD Series ที่เราเคยทดสอบไปก่อนหน้านี้… ไปชมกันเลยครับ

 

Benchmark :

AS SSD Benchmark

 

CrystalDiskMark

 

Anvil’s

 

ATTO 3.05

โดยภาพรวมแล้วของ Benchmark ต่างๆ ผมมองดูแล้วก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน ไม่ถึงกับหวือหวา หรือห่วยแตกอะไรนะ ก็ถือว่าเป็น SSD คุณภาพมาตราฐานรุ่นหนึ่ง  อย่างไรแล้วก็ลองพิจารณาดูได้จาก Benchmark หลายๆ ตัวที่เราทดสอบไปครับ…

 

T-FORCE DELTA RGB TUF GAMING ALLIANCE
: DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1.35V 16GB-Kit (8GBx2)

ต่อกันเลยครับที่ตัวแรมในรุ่น T-Force DELTA RGB DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 16GB-Kit (8GBx2) XMP เดิมๆ จากโรงงาน และน่าจะเป็นรุ่นสูงสุดแล้วสำหรับในตระกูล TUF GAMING ALLIANCE ของทาง T-Force ในตอนนี้ และในประเทศไทยน่าจะจำหน่ายเพียงรุ่นนี้รุ่นเดียวด้วยครับ ^^”

วางเทียบกันดูสักหน่อยสำหรับ DDR4 DELTA RGB + SSD DELTA S RGB ในรุ่น TUF GAMING ALLIANCE

 

T-Force DELTA RGB DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 16GB-Lit 1.35V รุ่นนี้โครงสร้างเดิมของชุด Heatspreader นั้นยังคงเป็นแบบเดิมของแรมในรุ่น DELTA RGB Series เพียงแค่มีความพิเศษในเรื่องของลวดลาย TUF GAMING ALLIANCE

 

ส่วนเรื่องของ Spec แรมนั้นก็อย่างที่บอกเลยครับรุ่นนี้เป็นแรม DDR4-3200 CL16-18-18-38 1.35V เป็นค่า XMP ที่ติดมาจากโรงงงาน คู่ละ 16GB หรือแถวละ 8GB x2 นั่นเอง

 

ตัว PCB แรมนั้นเป็นแบบมาตราฐาน RGB รุ่นใหม่ JEDEC RC 2.0 PCB

 

แกะให้ดูกันเลยครับว่าเป็น PCB แบบไหนและชิปแรมอะไร ???

 

แรมรุ่นนี้เลือกใช้เม็ดแรม DDR4 จากค่าย SK Hynix MFR-TFC นั่นเองครับ ไม่ได้เลือกใช้ของ Samsung B-Die แต่อย่างใด…. ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพต่างๆ นั้นผมจะรีวิวให้ชมใน Part ต่อไปรวมกับตัวเมนบอร์ดเลยครับ ^^”

 

UEFI BIOS Overclock Config

รายละเอียดของค่า Overclock Config จากทางหน้า BIOS ที่เราจับภาพมาให้ดูเป็นแนวทางการปรับแต่งของผู้ที่สนใจครับ

 

Benchmark

     มาถึงช่วงของการทดสอบประสิทธิภาพของชุด System นี้แล้วกับ TUF GAMING ALLIANCE ชุดนี้ที่นอกจากจะมีความเข้ากันได้ดีกับการออกแบบร่วมกับของเหล่าพันธมิตรแล้ว เรื่องการเข้ากันได้ของ Hardware ก็สามารถทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว อย่างวันนี้ผลการทดสอบของเรานั้นจะต่อร่วมกับ CPU รุ่นใหญ่สุดบน Socket นี้อย่าง Intel Core i9-9900K 8C/16T ที่ทำการ Overclock ความเร็วทิ้งไว้ที่ 5Ghz/ Cache 4.5Ghz All Cores ด้วยไฟเลี้ยงที่ตั้งไว้ 1.26v ซึ่งภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ดก็สามารถเอาอยู่ได้สบายๆ สำหรับ 9900K 5Ghz All Core

     ส่วนเรื่องของการ Overclock แรมนั้นบอกก่อนเลยว่า DDR4 ที่มีไฟ RGB ของ T-Force ในช่วงนี้ก็ยังคง Lock ไม่ให้ทำการ Overclock ได้เยอะเหมือนเดิมครับ ไม่ได้ต่างไปจาก T-Force Night Hawk หรือรุ่นอื่นๆ เลย ดังนั้นไม่ต้องถามย้ำมานะครับว่าลากไม่ได้เหรอ ?  จริงๆ แล้วลากพอได้ครับเปิดติด ไปจนถึง 3733Mhz+ แต่ก็ทำได้เพียงบางครั้งและไม่ได้มีความเสถียรภาพอะไรเลย พอกด Benchmark ก็จอฟ้า อารมณ์เดียวกับ Night Hawk RGB ดังนั้นรีวิวฉบับนี้ผมจึงยืนพื้นที่ความเร็วตาม Spec ก่อนที่ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T 1.35V และทำการกด Sub-Timing หลายๆ จุดเท่าที่ระบบจะ Boot และสามารถทดสอบ Memtest และ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อย่างมีเสถียรภาพครับ ไปชม Benchmark ต่างๆ กันเลย…..

     ปล. ความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว  ผมมองว่าหากเป็นแค่ User หรือ Gamer ทั่วไปที่ไม่ได้เน้นการ Overclock อะไรมาก แค่นี้ก็เหลือๆ แล้วล่ะครับสำหรับการเล่นเกมและทำงานทั่วไปสรำหรับคนชอบ TUF GAMING !!!  อยากแรงกว่านี้หนีไป ROG เถอะครับ ฮ่าๆ….

 

Memtest 200%+

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความลงตัวของชุด TUF GAMING ALLIANCE ชุดนี้ที่ทาง ASUS ได้ทำร่วมกับ T-Force ทั้งในส่วนของ SSD และแรม DDR4 ในตระกูล DELTA RGB โดยภาพรวมแล้ว ถ้ามองถึงการออกแบบและความเข้ากันของ Hardware นั้นทำได้ค่อนข้างดีมาก ลวดลายสอดคล้องกับต้นฉบับ  เพราะทาง ASUS เองก็เป็นผู้ควบคุมเรื่องของการออกแบบร่วมกับเหล่าพันธมิตรด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นหากว่าไม่มีความลงตัวทาง ASUS ก็ไม่น่าจะให้ผ่านตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ฮ่าๆ….  และในส่วนเรื่องของแสงสี RGB นั้นบอกได้เลยว่างามจริงๆ ครับ และยังสามารถ Sync กันได้ผ่านทาง ASUS AURA Sync ซึ่งจัดว่าเป็นจุดแข็งของทาง ASUS เลยก็ว่าได้ เพราะตัว Software น่าจะใช้งานง่ายและเสถียรสุดแล้ว เมื่อเทียบกับค่ายอื่นๆ ณ เวลานี้….

     มาดูกันต่อในเรื่องของประสิทธิภาพ โดยตรงนี้ผมขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของการ Overclock ร่วมกับ CPU รุ่นใหญ่สุดอย่าง Intel Core i9-9900K 8C/16T เป็นตัวอ้างอิงสำหรับรีวิวฉบับนี้ก่อนนะครับ เท่าที่ลองแล้วความเร็วของ CPU ที่ผม Fix ตัวคูณเอาไว้ที่ 5Ghz ทุกคอร์และ Cache 4.5Ghz นั้นเป็นจุดที่เหมือนจะดูนิ่งที่สุด เมื่อเจอ Benchmark ตัวโหดๆ แล้วไม่งอแง  แต่ถามว่า Overclock ไปได้ไกลกว่านี้ไหม ตอบได้เลยว่าทำได้ครับ ผมลองไปที่ 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz ตั้งแต่แรกๆ เลย พบว่าบูทได้สบายๆ ครับแต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าจะให้นิ่งเหมือนดูยากๆ ค้างบ่อย ไม่ว่าจะอัดไฟเลี้ยง CPU มากเท่าไร หรือระบายความร้อนให้เย็นเท่าไรก็ไม่ดีขึ้น ต่างกับเมนบอร์ดตระกุล ROG แบบชัดเจน ดังนั้นผมจึงสรุปคร่าวๆ ได้ว่า เรื่องลาก Ghz สูงๆ สำหรับ CPU หลายๆ คอร์อาจจะไม่สู้ดีนักบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ และภาคจ่ายไฟก็ร้อนเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ถ้าเล่นเกิน 5.1Ghz+  ดังนั้นจุดที่เหมาะใช้งานจริงๆ ของเมนบอร์ดรุ่นนี้ สำหรับคนที่คิดจะใช้ร่วมกับ CPU i9-9900K ผมแนะนำว่า 5Ghz/Cache 4.5Ghz นั้นทำได้ดีมาก ณ จุดนี้… แนะนำเลย (แต่อยากลืมหาชุด CPU Cooler ที่รับกับความร้อน i9-9900K ที่ความเร็วระดับ 5Ghz ให้อยู่ด้วยนะครับ ^^”)

     ส่วนเรื่องของการ Overclock แรมนั้นก็คงสรุปได้เพียงแค่ในชุด TUF GAMING ALLIANCE ชุดนี้ก่อนเลยนะครับ ถึงแม้เมนบอร์ดจะบอกว่ารับได้ถึง DDR4-4266Mhz+ แบบ OC ก็ตามแต่….  ผมก็ยังไม่ได้ลองเอาแรมอื่นๆ มาเสียบดูเลย อาจจะขอเป็นรีวิวแยกอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะมาพร้อมกับชุด Overclocking Guide ให้ชมกันเหมือนเดิมนะครับ ดังนั้น รีวิวฉบับนี้สรุปแค่เฉพาะเรื่องแรม T-Force DELTA RGB DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1T 1.35V คู่นี้ก่อนเท่านั้น โดยตัวแรมก็ถูก Lock ไม่ให้ OC ได้ง่ายๆ…   ดังนั้นผมจึงทำได้แค่กด Sub-Timing ให้แน่นและเสถียรพอที่จะ Memtest ผ่านได้ระดับ 200%+ ก็จัดว่ามีความเข้ากันได้ดีมากแล้วสำหรับชุด TUF GAMING ALLAINCE ชุดนี้

     สรุปแล้ว ใครชอบชุด TUF GAMING ALLIANCE หรือมีความอยากได้ Hardware ที่มีสีสันที่เข้ากันเป็นชุดแบบนี้ก็จัดไป อย่าให้เสียครับ ความงามตามท้องเรื่องอยู่แล้ว ส่วนความแรงก็ตามมาตราฐานเลย และยังรวมถึงตัว SSD ที่ทำออกมาได้ค่อนข้างสวย และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานอีกด้วย หากใครสนใจชุด TUF GAMING ALLIANCE จากทาง ASUS และ T-Force ชุดนี้ก็สั่ง Pre-Order จากตัวแทนจำหน่ายได้แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยของจะเข้าอย่างเป็นทางการในประเทศไทยคือวันที่ 10 มกราคม 2562 ที่จะถึงนี้ครับ  (ตัว SSD DELTA S 12V RGB Header ที่จะเข้ามาจำหน่อยมีเพียงขนาด 250GB เท่านั้น)

อย่างไรแล้วก็ต้องขอฝากเจ้าเมนบอร์ด ASUS TUF Z390-PLUS GAMING WiFi รุ่นนี้ไวเพิจารณาดูกันด้วย สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks