ลากโหดๆ TT TOUGHRAM RGB @DDR4-5000Mhz CL18 รันเมมเทสผ่านได้ด้วยนะเออ…

     เมื่อพูดถึงแรม DDR4 ความเร็ว 5000Mhz แล้วนั้น เชื่อว่าหลายๆ ท่านอยากสัมผัสกันอย่างแน่นอน  แต่ด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่างทาง Hardware ในโลกปัจจุบันที่ผ่านมาก็ทำให้ความฝันของหลายๆ ท่านนั้นใกล้ความจริงขึ้น จากที่ความเร็วแรมระดับ 5K ที่เคยเป็นเพียงแค่ค่า Max Frequency หรือทำเพื่อโชว์ได้เท่านั้น !!! แต่ในวันนี้เราสามารถที่จะทำการ Overclock แรม DDR4 ให้พอที่จะสามารถใช้งานได้ในสภาวะแวดล้อมหรือ Ambient ปกติได้ โดยไม่ได้ใช้ชุดระบายความร้อนพิเศษแต่อย่างใด โดยทุกอย่างยังคงใช้ Heatspreader Stock เดิมจากโรงงาน

     องค์ประกอบของ Hardware ที่เอื้อต่อการรันแรมความเร็ว DDR4 ระดับ 5000Mhz นั้นมีอยู่ 3 อย่างที่สำคัญตามนี้เลยครับ อันดับแรก 1. คุณภาพของแรม (PCB+Chip)  2. เมนบอร์ดที่รองรับการ Overclock แรมที่ดี และสุดท้าย 3. คือความสามารถของ CPU ซึ่งบางรุ่น/บางค่าย ไม่เอื้อต่อการ Overclock แรมเท่าไรนัก ดังนั้น CPU ถือว่ามีผลต่อการ Overclock อยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพขอชิปแรมและเมนบอร์ด ซึ่งต้องเลือกให้ดีหรือให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ

 

     และในวันนี้เราก็มีแรม DDR4 จากค่าย Thermaltake ในรุ่น ToughRam RGB DDR4-4400Mhz มาทำการ Overclock ให้ชมกันในระดับ DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 ที่สามารถรัน Memtest ผ่านได้อีกด้วย… แต่ก่อนที่จะไปชมผลการทดสอบนั้นเรามาพูดถึงเรื่องความยากง่าย และการเลือก Hardware ที่เอื้อต่อการทดสอบกันก่อนครับ เพราะต้องบอกว่ามันก็ไม่ได้จะทำได้ง่ายกับเมนบอร์ดหรือแรมทั่วไปครับ

     เอาล่ะครับเริ่มกันเลยดีกว่าว่าบนโลกใบนี้มีแรม DDR4 ชิปอะไรบ้างที่เอื้อหรือมีความสามารถในการ Overclock ได้ถึงระดับ DDR4-5000Mhz ได้บ้าง ???  อันดับแรกเลยก็คือชิปแรม DDR4 จากค่าย Samsung รหัส B-Die ซึ่งพบในแรมระดับ Hi-End ทั่วไป ซึ่งสามารถไปแตะความเร็วระดับ DDR4-5000Mhz+ ได้ แต่ยังไม่สามารถที่จะนำมาจับ Burn-In หรือใช้งานได้จริงๆ ยังคงเป็นเรื่องยาก หรือบางทีทำงานได้ แต่ต้องคลาย CL ค่อนข้างเยอะ…. และในตอนนี้ชิป B-Die เกรดดีๆ ก็เริ่มหายากและแพงขึ้นอีกด้วย…. แต่ถามว่าพอมีให้เห็นไหม? มีครับผมพอจะเห็นเมืองนอก Post บ้าง แต่น้อยมากจริงๆ

     ต่อไปก็คือชิปแรมจากค่าย Micron ซึ่งอยู่ๆ ก็มีโผล่ออกมาในรหัส E-Die ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแรมความเร็วระดับ DDR4-5000Mhz+ ที่สามารถที่จะ Burn-In แบบใช้งานจริงได้ที่ CL 18 ด้วยไฟเลี้ยงตั้งแต่ 1.65V+ ขึ้นไปครับ โดยชิปนี้น่าจะเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่พักใหญ่เลยก็ได้ในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมาก และเริ่มมี Brand ดังหลายค่าย เริ่มจับไปทำแรมความเร็วสูงในระดับ DDR4-5000Mhz ออกจากโรงงาน แต่ส่วนตัวผมเองแล้ว ยังไม่เคยสัมผัสกับชิป Micron E-Die เลย จึงยังไม่ขอพูดถึงอารมณ์หรือผลการ OC ของแรมชิปนี้ละกันครับ

     และล่าสุดเลยกับแรมชิป Hynix ซึ่งก่อนหน้านี้จะดังในรหัส CJR หรือ C-Die โดยมีบางตัวที่คัดมาดีๆ สามารถ OC ได้ถึง 4400Mhz+++ ได้ไม่ยากเย็นเลย และแบบ Single Channel นั้นก็พอที่จะไปได้ถึง DDR4-4800Mhz+ ได้ด้วยเช่นกันครับ และมีบางรายงาน มันสามารถไปได้ถึง DDR4-5000Mhz+ ได้ด้วยเช่นกันแต่คงต้องเล่น LN2 ด้วย และสำหรับชิปล่าสุดที่ทาง Hynix พัฒณาออกมาก็คือรหัส DJR หรือ D-Die นั่นเอง โดยชิปตัวนี้จะลดกระบวนการผลิตลงมาเหลือเพียง 17nm. รหัส Codename “Davinci”  ส่วนชิปก่อนหน้านี้ที่เป็นรหัส CJR C-Die จะผลิตขึ้นที่กระบวนการ 18nm. หรัส Code Name “Alius” ซึ่งใหญ่กว่ากัน 1nm. เท่านั้นเอง

     ข้อดี/จุดเด่นของชิป Hynix DJR ตัวใหม่ก็คือ สามารถที่จะนำมาคัดทำแรมความเร็ว DDR4-4000Mhz+ ได้จากโรงงาน ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะเห็นแรมชิป Hynix C-Die มากจะมีให้เลือกซื้อกันสูงสุดที่ความเร็ว DDR4-3600-3800Mhz+ ก็เต็มที่แล้ว เพราะมันยังถือว่าเป็นจุดที่ยากสำหรับ C-Die ในยุคนั้น  ส่วนเจ้า D-Die หรือ DJR นั้นสามารถที่จะรันบนความเร็ว DDR-4000Mhz ถึง DDR4-4400Mhz แบบ XMP จากโรงงานได้เลย โดยใช้ไฟเลี้ยงต่ำในช่วง 1.35-1.45V ก็เสถียรภาพแล้ว ซึ่งจุดนี้จะต่างกับชิป C-Die CJR อย่างชัดเจน

     และสำหรับแรม Hynix DJR D-Die นั้นหาจับได้ยากไหม บอกเลยว่า ตอนนี้ผมเห็นทาง Thermaltake เริ่มนำมาใส่แรมและจำหน่ายในบ้านเราเป็นจ้าวแรกๆ เลย โดยจะพบในแรมตระกูล ToughRam RGB ในรุ่นที่มีความเร็วตั้งแต่ DDR4-4000Mhz ขึ้นไปจะเป็นชิป DJR ทั้งหมดครับ โดยเพื่อนๆ สามารถความสามารถในการ Overclock ได้ในรีวิวของ TT ToughRam RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 16GB-Kit ที่เรารีวิวไปก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถรันบน Intel Z390 Platform ได้ถึงความเร็วระดับ DDR4-4800Mhz CL19-26-26-46 ด้วยไฟเลี้ยงแรม 1.65V โดยสามารถรัน Memtest ผ่านได้ถึง 1600%+ กับระยะเวลาในการ Burn-In 4 ชั่วโมงกว่าผ่านได้แบบไม่มีปัญหาใดๆ  ซึ่งก็ถือว่าแปลกดีนะครับ ที่มันยังสามารถัน Memtest ผ่านได้ด้วยไฟเลี้ยงระดับ 1.65V ในห้องไม่แอร์ 28-30c ผ่านได้แบบหน้าตาเฉย ซึ่งแรมค่ายอื่น ไม่น่าจะทนอยู่ได้ อันนี้ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของชิปแรม Hynix รหัส DJR ตัวใหม่ (แต่เรื่องความทนทาน ยังคงต้องวัดใจกันในระยะยาวครับ ซึ่งตอนที่ผมทดลองอยู่ ยังไม่เจอปัญหาใดๆ ว่าแรมจะเอ๋อ หรืองอแงจากการอัดไฟสูงเกิน 1.55V  แต่ถ้าถามว่าควรระวังไหม บอกเลยว่า ยังคงต้องระวังครับ)

 

     มาพูดถึงเมนบอร์ดกันต่อบ้างครับ โดยบทความนี้เราจะขอเน้นไปที่ทาง AMD Ryzen Platform เป็นหลักก่อนนะครับ เพราะมีโอกาสที่จะ Overclock แรมในความถี่สูงๆ ได้เกินระดับ DDR4-4933 ถึง 5000Mhz ได้ง่ายกว่า ด้วยระบบ Fclk/Mclk 2:1 (สายท่อ) ให้สามารถ Overclock แรม DDR4 เกินระดับความเร็ว 4000Mhz+ ได้ง่ายขึ้น  และสำหรับเมนบอร์ดที่เราเลือกใช้ในครั้งนี้ก็เป็นตัวแรงจากสำนัก ROG ในรุ่น CROSSHAIR VIII IMPACT (AMD X570 Chipset) ซึ่งมีการพัฒนาให้สามารถ Overclock แรมได้ดีเป็นพิเศษ และหลายๆ ท่านอาจจะเห็นเมืองนอกโชว์กันมาบ้างแล้วว่าสามารถรันแรม DDR4-5000Mhz แบบเผ่าด้วย Memtest ผ่านได้หลายร้อย % แต่ก็ไม่มีใครโชว์ Performance อื่นๆ หรือตัวเล็กของ Sub-Timing ให้เราเห็นมากนัก

     และสำหรับตัวผู้เขียนเองก็ได้ทดลอง Overclock แรมชิป Hynix DJR กับเมนบอร์ดตัวนี้มาอยู่พักใหญ่ครับ ตั้งแต่ปลายที่แล้วตั้งแต่มีการเปิดตัวมาในช่วงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา โดยพยายาม OC ให้ได้ระดับ DDR4-5000Mhz ให้บูทได้ แต่ก็ยากมากครับในตอนช่วงนั้น โดยบูทกี่ครั้งก็ไม่เคยติดเลย ฮ่าๆ…..   และหลังจากนั้นอีกไม่นานมาก ผมก็เห็นเมนบอร์ดรุ่นนี้ออก BIOS ใหม่เป็น Rev. 1201 จึงได้ทดลอง Overclock ร่วมกับแรม DJR คู่เดิมที่เรามีอยู่ก็พบว่าสามารถบูทแรมในระดับ DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 ได้แบบนิ่มๆ เลย โดยปรับยังไงก็บูทแน่นอน แต่แรมของเราที่มีอยู่ใช้ไฟค่อนข้างเยอะครับ คือต้องใช้ไฟเลี้ยงถึงระดับ 1.75V+ ถึงพอจะบูทติดได้ และถ้าต้องการความเสถียรภาพในการทำงานหรือจับ Burn Memtest ต้องใช้ไฟเลี้ยงมหาโหดถึง 1.85V กันเลยทีเดียว ถึงจะนิ่ง….  โอ้ว์… แม่จ้าวไฟแรม 1.85V ใครเห็นก็คิดว่าบ้าแน่นอน…. มันไม่พังหรืออย่างไร ???   ซึ่งตรงนี้ผมบอกไว้ก่อนเลยว่าผมก็แค่ทดลอง และวิจัยไปเรื่อยของผมเอง ว่าชิปแรม DJR นั้นมีอารมณ์แบบไหน ชอบไฟเลี้ยงเยอะๆ หรือชอบอุณหภูมิเย็นๆ และเล่นยาก/ง่ายอย่างไร จนสุดท้ายก็มาพบว่า มันชอบไฟเลี้ยงสูงๆ นั่นเอง… แต่ก็มีเรื่องที่แปลกอยู่ว่าไฟเยอะขนาดนี้ ทำไมมันถึงยังทนให้เรา Burn เมมเทสผ่านได้เป็นชั่วโมงเลยนะเออ….

     สรุปง่ายๆ เลยก็คือแรมชิป Hynix DJR รุ่นใหม่ เป็นโครงสร้างของชิปแรมที่มีแนวโม้นว่าจะใช้ไฟเลี้ยงสูงๆ ได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือยิ่งอัดไฟ ยิ่งทำให้รันแรมความเร็วสูงๆ ได้นั่นเอง  และข้อดีอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือชิป Hynix DJR ควบคุมเรื่อง Ambient Room หรืออุณหภูมิห้องได้ไม่ยากเลย…  คือห้องธรรมดาไม่เปิดแอร์ 30-32c มันก็พอจะ Burn-In ได้ครับ ไม่จุกจิก และไม่ค่อยงอแงเวลามีความร้อนสูงๆ โดยหาพัดลมมาพัดให้มี Air-Flow ผ่านก็ ok แล้ว

 

     มาต่อกันเลยครับกับผลการทดสอบด้วยการ Overclock แรม ToughRam RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V 16GB-Kit คู่นี้ขึ้นไปในความเร็วระดับ DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 1T 1.85V + Tight Sub-Timing ที่พอที่จะทดสอบ Memtest ผ่านได้ในระดับ 300%+ กับระยะเวลาในการเผาแรมประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ ซึ่งทำให้ผมตกใจอย่างมากที่การใช้ไฟเลี้ยงแรมระดับ 1.85V ในการ Burn-In ได้โดยที่มันแทบจะไม่ออกอาการใดๆ ให้เห็นเลย  โดยการทดสอบนี้ถือว่าเป็นการเสี่ยงตายเลยก็ว่าได้ครับ ว่าแรมกับเมนบอร์ด อันไหนจะไปก่อนกัน !!!  แต่สุดท้ายจากการทดลองเล่นของผมก็พบว่าไม่มีอะไรเสียหายในระยะเวลาที่เราทำการทดสอบอยู่ 1-3 วัน   ซึ่งเอาเป็นว่า… แค่เอาให้มันบูท DDR4-5000Mhz บูทถึง OS ได้ก็หรูมากแล้ว… ยิ่งบน AMD Platform ทำได้ก็โคตรโหดเลยล่ะ…  และยิ่งเห็นผลการทดสอบแบบรัน Memtest และ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อีกผมถือว่า Amazing มากๆ ที่เห็นแรม DDR4-5000Mhz รันใช้งานได้จริงในบ้านเรา…. ^O^  (เหมาะสมรึป่าวก็อีกเรื่อง กึกึ…)

ไฟเลี้ยงที่สำคัญสำหรับการเล่นแรมความเร็วสูงๆ บน ROG CROSSHAIR VII IMPACT

  • CPU SOC : 1.25V
  • VDDG CCD : 1.15V
  • VDDG IDC : 0.9V
  • CLDO VDDP : 1.10V
  • DRAM Voltage :  1.85V

Hardware Spec.

 CPU
 AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T 7nm.
 CPU Cooler  AMD Block REV 3 + Water Cooler Custom Set
 Motherboard
 Memory
 TOUGHRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19 16GB-Kit (Hynix DJR 17nm.)
 VGA  AMD RADEON RX 5700XT 8GB GDDR6
 Hard Drive
 CORSAIR MP600 M.2 PCIe4.0 NVMe 2TB (OS)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80 PLUS Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

Memtest 300% Run Time 1Hr. +

     ในตอนแรกผมเองไม่ได้คาดหวังอะไรเลยว่ามันจะสามารถรัน Memtest ผ่านได้ง่ายๆ แบบนี้  ซึ่งหวังแค่มันบูทแรมบัส 5000Mhz ให้เห็นและเข้า OS ได้ก็หรูแล้ว….. แต่ที่ไหนได้นี่มันเผาแรมกันเป็นชั่วโมงๆ ได้เลยนะเออ…. แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแรมชิป Hynix DJR + PCB 10-Layer ของทาง TT นั้นมีโครงสร้างที่ชอบไฟเลี้ยงสูงๆ นั่นเอง  และถามว่าน่ากลัวไหม ผมบอกเลยว่าน่ากลัวครับ แต่ก็เสี่ยงทำให้ดูว่ามันทำได้…. และหลังเสร็จกิจผมก็เลิกเล่น  เพราะไฟเลี้ยงระดับ 1.85V มันไม่ใช่เรื่อง…. ที่จะแนะนำให้ใครที่ไหน นำไปใช้งานจริง… แต่ Clock’EM UP ทำให้ดูเป็นเป็นวิทยาทานเฉยๆ นะครับว่ามันทำได้…. ส่วนใครจะเสี่ยงใช้งานแบบนี้จริงก็ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วยนะครับว่าคุ้มเสี่ยงไหม ??? ^^”

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

     ที่ผมแปลกใจมากกว่าการบูทแรม DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 เข้า OS มาได้แล้วก็คือมันยังคงสามารถที่จะกด Sub-Timing แน่นๆ ได้เหมือนเดิมนั่นเอง จึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ Latency นั้นไม่ได้อ่อนแอร์มากจนเกินไป  (แต่ถ้าถามว่าแรงไหม่ บอกว่าสูงโหมด Fclk/Mclk 1:1 ไม่ได้หรอกครับ  แต่เรารันให้ดูเฉยๆ ว่าทำได้ และก็ไม่ใช่เรื่องๆ ง่ายๆ แน่นอนที่จะรันแรม DDR4-5000Mhz CL18 + กด Sub-Timing ให้ใช้งานได้แบบนี้… ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เชื่อลองทำดูได่ครับ ฮ่าๆ…)

 

Super Pi

 

Cinebench R20

 

Realbench V2.45

 

Geekbench 3

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

     OK ครับโดยรวมแล้วหลังจากทดสอบ Memtest ผ่าน 300%+ ได้นี่มันก็ควรจะทดสอบ Benchmark ผ่านได้ทั้ง 2D และ 3D Benchmark แบบม้วนเดียวจบ ไม่มีอาการงอแงดใดๆ ให้เห็นเลย ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทาง ROG ที่ยอมปล่อย BIOS รุ่นล่าสุดออกมาให้เราได้เล่นแรม DJR ทะละ 5000Mhz+ ได้แบบนิ่มๆ เช่นนี้ และขอบคุณ TT ที่หาแรมชิป Hynix DJR คุณภาพสูงมาให้พวกเราได้สัมผัสกันครับ ^^”

 

Conclusion.

     DDR4-5000Mhz ไม่ใช้เรื่องที่เพ้อฝันอีกต่อไป วันนี้ทาง Clock’EM UP ก็ทำให้เห็นแล้วว่าการ Overclock เพิ่มความเร็วแรมขึ้นไปในระดับ 5000Mhz ให้พอจะสามารถใช้งานจริงได้นั้น ทำได้จริงๆ แล้วด้วยการใช้แรมชิป Hynix DJR หรือ D-Die คัดเกรดพิเศษ วางบน PCB 10-Layer คุณภาพจากทาง TT ในรุ่น ToughRam RGB DDR4-4400Mhz CL19 16GB-Kit ซึ่งหากว่า PCB และชิปแรมไม่ดีจริง ผมมองว่าไฟเลี้ยง 1.85V + Memtest ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายอย่างแน่นอน…  ซึ่งวันนี้ทางเราก็เสี่ยงตายทำให้ดู ทำให้รู้ว่ามันทำได้แล้วจริงๆ และน่าจะเป็นครั้งแรกในบ้านเราที่เห็นแรมระดับ DDR4-5000Mhz ที่สามารถทดสอบ Benchmark หนักๆ ผ่านได้ ไม่ใช่แค่บูทโชว์เฉยๆ  แบบที่ผ่านมานั่นเอง….

     เอาล่ะครับ วันนี้ผมเองก็คงไม่ขอสรุปและพูดถึงอะไรเกี่ยวกับบทความนี้มาก ซึ่งรายละเอียดหลักๆ ได้กล่าวไว้ช่วงต้นบทความแล้วว่ามีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้างที่จะทำให้เราสำเร็จในการ Overclock แรมในความเร็ว DDR4-5000Mhz+ แบบนี้ได้… หากใครสนใจแนวทางในการ OC แรม DDR4 ให้ถึงระดับ 5K แบบเราเล่นดูก็สามารถไปทักทายในกลุ่มของ Clock’EM UP กันได้ครับว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง….  และสำหรับวันนี้ผมเองและหลายๆ ท่านก็น่าจะตายกันตาหลับแล้วกับแรมความเร็ว DDR4-5000Mhz ที่สามารถทดสอบได้จริง ไม่ใช่แค่บูทโชว์พาวอีกต่อไป…..

     และในอนาคต หากเราได้มีโอากาสหาแรม Hynix DJR เกรดดีๆ คัดมาด้วยไฟเลี้ยงต่ำกว่านี้ เราจะแวะมาบอกกันแน่นอน…. เพราะจากเท่าที่ทราบการคัดชิปแรมให้รันได้ในความเร็วระดับ DDR4-4800Mhz ถึง 5000Mhz+ ด้วยไฟเลี้ยงต่ำๆ นั้นยังคัดหาได้ยาก ซึ่งอาจจะหาได้เพียง 5-10% เท่านั้นจากการซื้อแรมมาหนึ่ง Lot ใหญ่ๆ  และเหตุนี้เองจึงทำให้เราเห็นแรมความเร็วระดับ DDR4-4800 ถึง 5000Mhz จากโรงงานออกมาจำหน่ายที่น้อยมาก แถมราคายังสูงลิ่วอีกด้วย…. และที่สำคัญเมนบอร์ดที่รองรับ ก็ค่อนข้างจำกัดมากอีกด้วย… ผมนับเล่นๆ ดูมีในหัวผมมีรุ่นบอร์ดไม่น่าเกิน 3-4 รุ่น ครับลองเดากันเล่นๆ ดูฮ่าๆ… สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

Thermaltake Thailand