ลากโหดๆ TT TOUGHRAM RGB @DDR4-5000Mhz CL18 รันเมมเทสผ่านได้ด้วยนะเออ…

     มาต่อกันเลยครับกับผลการทดสอบด้วยการ Overclock แรม ToughRam RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V 16GB-Kit คู่นี้ขึ้นไปในความเร็วระดับ DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 1T 1.85V + Tight Sub-Timing ที่พอที่จะทดสอบ Memtest ผ่านได้ในระดับ 300%+ กับระยะเวลาในการเผาแรมประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ ซึ่งทำให้ผมตกใจอย่างมากที่การใช้ไฟเลี้ยงแรมระดับ 1.85V ในการ Burn-In ได้โดยที่มันแทบจะไม่ออกอาการใดๆ ให้เห็นเลย  โดยการทดสอบนี้ถือว่าเป็นการเสี่ยงตายเลยก็ว่าได้ครับ ว่าแรมกับเมนบอร์ด อันไหนจะไปก่อนกัน !!!  แต่สุดท้ายจากการทดลองเล่นของผมก็พบว่าไม่มีอะไรเสียหายในระยะเวลาที่เราทำการทดสอบอยู่ 1-3 วัน   ซึ่งเอาเป็นว่า… แค่เอาให้มันบูท DDR4-5000Mhz บูทถึง OS ได้ก็หรูมากแล้ว… ยิ่งบน AMD Platform ทำได้ก็โคตรโหดเลยล่ะ…  และยิ่งเห็นผลการทดสอบแบบรัน Memtest และ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อีกผมถือว่า Amazing มากๆ ที่เห็นแรม DDR4-5000Mhz รันใช้งานได้จริงในบ้านเรา…. ^O^  (เหมาะสมรึป่าวก็อีกเรื่อง กึกึ…)

ไฟเลี้ยงที่สำคัญสำหรับการเล่นแรมความเร็วสูงๆ บน ROG CROSSHAIR VII IMPACT

  • CPU SOC : 1.25V
  • VDDG CCD : 1.15V
  • VDDG IDC : 0.9V
  • CLDO VDDP : 1.10V
  • DRAM Voltage :  1.85V

Hardware Spec.

 CPU
 AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T 7nm.
 CPU Cooler  AMD Block REV 3 + Water Cooler Custom Set
 Motherboard
 Memory
 TOUGHRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19 16GB-Kit (Hynix DJR 17nm.)
 VGA  AMD RADEON RX 5700XT 8GB GDDR6
 Hard Drive
 CORSAIR MP600 M.2 PCIe4.0 NVMe 2TB (OS)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80 PLUS Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

Memtest 300% Run Time 1Hr. +

     ในตอนแรกผมเองไม่ได้คาดหวังอะไรเลยว่ามันจะสามารถรัน Memtest ผ่านได้ง่ายๆ แบบนี้  ซึ่งหวังแค่มันบูทแรมบัส 5000Mhz ให้เห็นและเข้า OS ได้ก็หรูแล้ว….. แต่ที่ไหนได้นี่มันเผาแรมกันเป็นชั่วโมงๆ ได้เลยนะเออ…. แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแรมชิป Hynix DJR + PCB 10-Layer ของทาง TT นั้นมีโครงสร้างที่ชอบไฟเลี้ยงสูงๆ นั่นเอง  และถามว่าน่ากลัวไหม ผมบอกเลยว่าน่ากลัวครับ แต่ก็เสี่ยงทำให้ดูว่ามันทำได้…. และหลังเสร็จกิจผมก็เลิกเล่น  เพราะไฟเลี้ยงระดับ 1.85V มันไม่ใช่เรื่อง…. ที่จะแนะนำให้ใครที่ไหน นำไปใช้งานจริง… แต่ Clock’EM UP ทำให้ดูเป็นเป็นวิทยาทานเฉยๆ นะครับว่ามันทำได้…. ส่วนใครจะเสี่ยงใช้งานแบบนี้จริงก็ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วยนะครับว่าคุ้มเสี่ยงไหม ??? ^^”

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

     ที่ผมแปลกใจมากกว่าการบูทแรม DDR4-5000Mhz CL18-26-26-46 เข้า OS มาได้แล้วก็คือมันยังคงสามารถที่จะกด Sub-Timing แน่นๆ ได้เหมือนเดิมนั่นเอง จึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ Latency นั้นไม่ได้อ่อนแอร์มากจนเกินไป  (แต่ถ้าถามว่าแรงไหม่ บอกว่าสูงโหมด Fclk/Mclk 1:1 ไม่ได้หรอกครับ  แต่เรารันให้ดูเฉยๆ ว่าทำได้ และก็ไม่ใช่เรื่องๆ ง่ายๆ แน่นอนที่จะรันแรม DDR4-5000Mhz CL18 + กด Sub-Timing ให้ใช้งานได้แบบนี้… ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เชื่อลองทำดูได่ครับ ฮ่าๆ…)

 

Super Pi

 

Cinebench R20

 

Realbench V2.45

 

Geekbench 3

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

     OK ครับโดยรวมแล้วหลังจากทดสอบ Memtest ผ่าน 300%+ ได้นี่มันก็ควรจะทดสอบ Benchmark ผ่านได้ทั้ง 2D และ 3D Benchmark แบบม้วนเดียวจบ ไม่มีอาการงอแงดใดๆ ให้เห็นเลย ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทาง ROG ที่ยอมปล่อย BIOS รุ่นล่าสุดออกมาให้เราได้เล่นแรม DJR ทะละ 5000Mhz+ ได้แบบนิ่มๆ เช่นนี้ และขอบคุณ TT ที่หาแรมชิป Hynix DJR คุณภาพสูงมาให้พวกเราได้สัมผัสกันครับ ^^”