รีวิว ROG STRIX GTX1660 Ti OC EDITION 6GB GDDR6

     สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Clock’EM UP ทุกท่านกันอีกครั้ง วันนี้เรามีกราฟิกการ์ดระดับกลางคุณภาพสูงจากทางค่าย ASUS ROG Geforce GTX1660 Ti OC EDITION 6GB GDDR6 มาแนะนำกันอีกหนึ่งรุ่น ซึ่งต้องบอกเลยว่าการ์ด STRIX ตัวนี้เป็นโฉมใหม่แล้วนะครับที่ทำการเปลี่ยนพัดลมแบบใหม่ที่เรียกว่า Axial-tech Fan จำนวน 3 ตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและความทนทานของตัวพัดลมให้มีมากยิ่งขึ้น และยังรวมถึงความสามารถในการแสดงผลทางด้านสีสันแบบ RGB Color ด้วย ASUS AURA Sync ได้อีกด้วยครับ

มาดูรายละเอียดของตัวการ์ดและอุปกรณ์ Bundle ที่แถมมาเลยดีกว่าครับ โดยเจ้ากราฟิกการ์ด ROG STRIX GTX1660 Ti OC 6GB ตัวนี้จะมาพร้อมกับแผ่น DVD Drive + คู่มือและสายรัดสายไฟให้เราอีก 2 เส้นครับ

 

     นี่คือโฉมหน้าของเต้า ROG STRIX GTX1660 Ti OC 6GB GDDR6 ที่มาพร้อมกับ Heatsink ระบายความร้อนขนาดใหญ่ตอบโจทย์เรื่องการระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี และตัวการ์ดยังผลิตขึ้นมาด้วยกระบวนการ Auto-Extreme Technology ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ 100% จึงให้คุณภาพในการผลิตนั้นมีคุณภาพมากขึ้น  และในส่วนของรายละเอียดทางเทคนิคของกราฟิกการ์ดรุ่นนี้ก็จะขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง NVIDIA Geforce GTX1660 Ti หรือเจ้า GPU รหัส “TU116” Turing 12nm. โดยได้พกเอา CUDA Core มาทั้งหมดจำนวน 1536 ตัวและทำงานที่ความเร็ว GPU Base/Boost @1,530/1,890Mhz (OC Mode)  และทำงานร่วมกับแรมชนิด GDDR6 แบบ 192-Bit ความจุ 6GB ทำงานที่ความเร็ว 12,002Mhz และสำหรับข้อแตกต่างกันของการ์ด GTX16 Series กับรุ่นพี่อย่าง RTX 20 Series นั้นก็คือมันจะถูกตัดการทำงานของ Real-Time Ray Tracing ทาง Hardware ออกไปนั่นเอง… ถึงแม้ว่ามันจะผลิตขึ้นมาด้วยสถาปัตยกรรม Turing 12nm. เช่นเดียวกับ RTX 20 Series ก็ตาม…  ส่วนเรื่อง API นั้นก็รองรับพื้นฐานได้ทั้ง DirectX12 และ OpenGL 4.6

Clock Engine :

  • OC Mode – GPU Boost Clock : 1890 MHz , GPU Base Clock : 1530 MHz
  • Gaming Mode (Default) – GPU Boost Clock : 1860 MHz , GPU Base Clock : 1500 MHz

NVIDIA Card Reference Spec.

     สำหรับจุดเด่นของ ROG STRIX Geforce GTX1660 Ti OC Edition 6GB GDDR6 ตัวนี้น่าจะเป็นการออกแบบชุดระบายความร้อนที่มีคุณภาพสูง ที่เลือกใช้หน้าสัมผัสทองแดงขนาดใหญ่ชิปนิคเกิลมาอย่างดี โดยทาง ASUS เรียกว่า MaxContact Technology, ส่วนตัวพัดลมนั้นจะมีทั้งหมด 3 ตัวด้วยกันออกแบบมาด้วยเทคโนโลยี Axial-Tech Fans ให้อัตรา Air-Flow ที่ยอดเยี่ยมและเพิ่มความทนทานมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังเสริมความแข็งแรงด้วยโครงสร้างเหล็กเป็น Frame ขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวประคองการ์ดไม่ให้บิดงอและยังเป็นตัดช่วยดูดซับความร้อนออกจากเม็ดแรม GDDR6 และบริเวณภาคจ่ายไฟได้อีกด้วยครับ  และด้านหลังการ์ดนั้นก็ยังเสริมความแข็งแรงด้วยชุด Backplate ขนาดใหญ่ให้อีกหนึ่งชั้น จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ

 

ลองดูทิศทางการดูดของ Air-Flow จากตัวพัดลมรุ่นใหม่ Axial-tech fans รุ่นนี้กันครับ ซึ่งมันสามารถบังคับทิศทางการดูดของขมที่เข้ามาเป็นทิษทางที่ค่อนข้างตรงมากเลยทีเดียว ดังนั้นลมเย็นที่ดูดมาจะเข้าสู่ตัว Heatsink ด้านล่างเต็มๆ เลยล่ะครับ…

 

และบริเวณด้านหลังการ์ดก็จะมีจุดต่อพัดลมเสริมแบบ 4-Pin PWM ได้อีกจำนวน 2 ตัว โดยมันจะถูกควบคุมให้สอดคล้องกับอุณหภูมิการทำงานของตัวการ์ดเป็นหลัก ดังนั้นตัวพัดลมที่นำมาต่อร่วมกันในจุดนี้ ควรจะมีทิศทางลมเข้าสู่ตัวการ์ดโดยเฉพาะครับ ถึงจะทำงานได้สมบูรณ์แบบที่สุด

 

 

การ์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบไฟเลี้ยง +12V 8Pin เพียงชุดเดียวครับ  ส่วน TDP ของตัวการ์ดถ้าอ้างอิงจากทาง NVIDIA แล้วการืด Ref. จะอยู่ที่ TDP 120watt ครับ

 

บริเวณ BIOS Switch มีให้เลือกใช้งาน 2 ตัวต่างกันที่การทำงานแบบเงียบและแบบทำงานแบบเต็มประสิทธิภาพเช่นการปรับแต่ง Power Target ที่สูงขึ้นได้เป็นต้น และปุ่ม LED On/Off เอาำว้ปิดไฟ LED ของตัวการ์ดได้ทันที โดยไม่ต้องพึ่ง Software อีกต่อไป…

 

ตัวการ์ดมีความนาเพียง 2 Slot เท่านั้น และสำหรับเรื่องของเทคโนโลยี NVIDIA SLI Multi-GPU นั้นจะไท่สามารถใช้งานกับการ์ดรุ่นนี้ได้ครับ และหลังๆ มาทาง NVIDIA ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้มากสักเท่าไรนัก ซึ่งตอนนี้ก็ปล่อยให้ SLI ผ่าน NV-Link Bridge ได้เฉพราะกราฟิกการ์ดรุ่นใหญ่ๆ อย่าง RTX 2080/2080Ti ขึ้นไปเท่านั้น…

 

กราฟิกการ์ดรุ่นนี้เชื่อมต่อผ่านทาง Interface PCIe3.0 x16

 

ถ้ามองจากมุมนี้เราจะเห็นได้ว่ามีการซับความร้อนจากเม็ดแรม GDDR6 ขึ้นมาด้วย Thermal pad ด้วยครับ

 

บริเวณด้านหลังของจุดแสดง Display Output นั้นมีทั้งหมด 4 ช่องด้วยกัน ประกอบไปด้วย HDMI 2.0b จำนวน 2 ช่องและ DP Port 1.4 อีก 2 ช่องครับ

Display Output :

  • HDMI Output : Yes x 2 (Native) (HDMI 2.0b)
  • Display Port : Yes x 2 (Native) (DisplayPort 1.4)
  • HDCP Support : Yes (2.2)
  • Digital Max Resolution:7680×4320

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ ซึ่งเราก็จะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบเช่นเดิม

 

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K @5.0Ghz/4.8Ghz (Coffee Lake 14nm.)
 CPU Cooler  Tt Water3.0 360 ARGB Sync
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard
 ASUS ROG MAXIMUS X APEX ( Z370)
 Memory
 T-FORCE Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18 16GB-Kit By XMP
 VGA  ROG STRIX GTX1660 Ti OC EDITION 6GB GDDR6
 Hard Drive
 -XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 NVMe SSD 480GB (OS) x1
 -WD Blue 1TB HDD (Game Drive) x1
 PSU  Thermaltake iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit (1903) Last Update

 

System Config

รายละเอียดของชุด System ในการทดสอบครั้งนี้ก็ยังคงใช้เป็นชุด Base เดิมที่เคยทดสอบกราฟิกการ์ดเป็นประจำใน Lab ของเราครับ  ส่วนทางด้าน OS ก็เป็นตัวล่าสุดแล้ว WIndows 10 Pro 64-Bit 1903

 

LED ON/OFF Switch

สำหรับใครที่ไม่ชอบแสงสี RGB บนตัวการ์ดก็สามารถกดปิด Swtich LED ได้แบบ real time ไม่จำเป็นต้องปิดเครื่องแต่อย่างใด  จะเปิดหรือปิดก็สั่งกดได้ตลอดเวลา

 

ตัวอย่างหลังการปิดไฟ LED ของตัวการ์ดแล้วก็จะมืดสนิดเลยครับ ^^”

 

VGA Temperature & Power Consumption.

     ก่อนที่จะไปชมเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของตัวการ์ดนั้น เรามาดูถึงเรื่องการระบายความร้อนของตัวการ์ด ROG STRIX GTX1660 Ti OC 6GB ตัวนี้กันก่อนเลยดีกว่าว่าน่าสนใจแค่ไหน… และจากการทดสอบของเรานั้นพบว่าการทำงานของพัดลมในช่วง 2D หรือการทำงานที่ไม่หนักมาก ตัวพัดลมจะหยุดหมุนเองอัตโนมัติ เพื่อลดเสียงรบกวนลงได้แบบ 0dBA. และเมื่อมีโหลดหรือความร้อนมากขึ้นตามที่กำหนดไว้มันก็จะทำงานเองอัตโนมัติ และจากการทดสอบของเราก็พบว่า ช่วง GPU : Idle นั้นอุณหภูมิอยู่ที่ 37c และเมื่อสั่ง Full Load ด้วย Furmark GPU Stress Test 1080p + MSAA x8 +Extreme Burn-in พบว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวการ์ดอยู่ที่ 66c องศาเซลเซียสเท่านั้นเองครับ ถือว่าเป็นการ์ดที่เย็นมากเลยทีเดียว โดยรอบการทำงานของพัดลมทั้ง 2 ชุดอยู่ที่ 31% หรือประมาณ 1070rpm. เท่านั้นเอง เงียบแน่นอนครับ ^O^

 

GPU : Idle

 

GPU : Full Load

เมื่อดูจากกราฟเทียบกับอุณหภูมิกับ GPU รุ่นอื่นๆ แล้วเจ้า ROG STRIX GTX1660 Ti OC 6GB ตัวนี้มีอุณหภูมิในการทำงานที่ค่อนข้างต่ำมากเลยทีเดียวครับ โดยตัว GPU Full Load เพียง 66c เท่านั้นเองนะเออ…

 


Power Consumption.

: Idle

 

: Full Load

และในส่วนของเรื่องอัตราการใช้พลังงานนั้นช่วง Idle กินไฟอยู่ราวๆ 76.6Watt และช่วง Full Load กินไฟอยู่เพียง 225Watt เท่านั้นเอง

 

Benchmark

ผลการทดสอบแรกนั้นเราไปชมถึงประสิทธิภาพจากโปรแกรม 3DMARK รุ่นต่างๆ กันก่อนเลยครับ

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

3DMARK Port Royal

 

3D Gaming Performance

      จากนั้นมาชมประสิทธิภาพจากการเล่นเกม 3D และ Benchmark ต่างๆ ในตัวเกมกันต่อเลยดีกว่าครับ ซึ่งจากผลการทดสอบของเรานั้นพบว่าเฟรมเรทเฉลี่ยในแต่ละเกมที่ในความละเอียดหน้าจอ 1920x1080p กับการปรับแต่งรายละเอียดภายในเกมแบบ Custom ที่หนักไปทาง Max/Ultra Preset เป็นหลักนั้นจะอยู่ที่ประมาณ Average @52-98fps. เฉลี่ยในกลายๆ เกมที่เราทดสอบครับ โดยจะแรงกว่า RX 590 อยู่ราวๆ 9-25fps เฟรมเฉลี่ยในหลายๆ เกมทดสอบก็ถือว่าแรงคนละชั้นกันเลยดีทีเดียว แต่ถ้ามว่าแรงกว่า RX 5700 รุ่นใหม่ไหมนั้น บอกเลยว่าสู้ไม่ได้ครับ เพราะเฟรมเฉลี่ยเทียบกับ GTX1660Ti และ RX 5700 นั้นบางเกมต่างกัย 20-30fps เฉลี่ยเลยนะเออ…. ดังนั้นประสิทธิภาพของกราฟิกการ์ดรุ่นนี้น่าจะไล่ๆ กับทาง RTX 2060 และแรงกว่า GTX 1060 รุ่นเดิมอยู่ในระดับ 15-30fps+ เฉลี่ยได้เลยนะเออ…. หรือสรุปสั้นๆ เลยก็คือถ้าใครงบไม่ถึง RTX 2060 และไม่ได้มองเรื่อง Ray Tracing เป็นหลัก… ผมมองว่าเจ้า Gefroce GTX 1660 Ti ก็คงเพียงพอแล้วล่ะครับ หรืออีกกรณีหนึ่งคือผู้ที่ใช้ GTX 1060 รุ่นเก่าอยู่ก็ลองขยับมาเล่นดูได้เลยครับ ^^”

 

Battlefield 1

 

Battlefield V

 

Crysis 3

 

DEUS EX Benchmark

 

The Division Benchmark

 

The Division Benchmark

 

Ghost Recon Wildlands

 

Far Cry 5 Benchmark

 

Rise of the Tomb Raider Benchmark

 

Shadow of the Tomb Raider Benchmark

 

Overclock Performance

     ทิ้งท้ายด้วยความสามารถในการ Overclock กราฟิกการ์ดรุ่นนี้ดูกันสักนิดครับกับ ROG STRIX GTX1660Ti OC Edition ตัวนี้ที่สามารถ Overclock ต่อไปอีกที่ GPU Boost/Mem @ 2115/1800Mhz ได้แบบไม่ยากเย็นนัก ซึ่งช่วยให้ผลการทดวอบ Benchmark ต่างๆ แรงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งกันเลยทีเดียว ส่วนการเล่นเกมนั้นผมเก็บผลมาให้ 2 เกมด้วยกันคือ Shadow of the Tomb Raider และ The Division 2 พบว่าได้เฟรมเรทเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอีกราวๆ 7fps เฉลี่ยครับ

 

OC Setup :

  • GPU : 2,115Mhz
  • Mem : 1,800.2Mhz

ตอนเราทำการ OC ได้ลองเล่นรอบพัดลมทั้ง 2 ชุดที่ 100% พบว่าอุณหภูมิช่วงที่เราทดสอบ Benchmark ต่างๆ นั้นมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 50-51c เท่านั้นเองนะครับ ถือว่าเย็นมากๆ….

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme


Gaming Performance Boost

 

The Division 2 Benchmark (OC)

 

Shadow of the Tomb Raider Benchmark (OC)

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ…ความแรงของเจ้า ROG STRIX GTX1660 Ti OC EDITION 6GB GDDR6 ตัวนี้ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการระบายความร้อนของตัว GPU ที่ช่วยให้เราเล่นเกมได้โดยอุณหภูมิ GPU อยู่ในระดับ 55-66c องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง ถือว่าเย็นมากๆ เลยทีเดียว และเสียงรบกวนของการ์ดนั้นก็ต่ำมากๆ เลยหรือแทบไม่ได้ยินด้วยซ้ำ (Fan Auto) นั่นบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าชุดระบายความร้อยของเจ้า STRIX ชุดนี้มีประสิทธิภาพสูงมากจริงๆ ครับและยังช่วยให้การ Overclock GPU ขึ้นไปได้ถึงระดับ GPU Boost/Mem ได้ถึงระดับ 2,110/1,800Mhz ได้แบบไม่ยากเย็นเลยอีกด้วย…   สรุปเรื่องของ Cooling = เย็น + เงียบ จริงๆ ครับ ^O^

     ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานทางด้าน 3D Gaming นั้นถ้าเทียบกับการ์ดย่านเดียวกันกับ GTX 1660Ti ค่ายอื่นนั้นก็ดูเหมือนว่าเจ้า STRIX GTX1660 Ti  ตัวนี้จะแรงว่าราวๆ 2-4fps. เฉลี่ยด้วยเพราะ Clock Speed ในการทำงานที่เหนือกว่านั่นเองครับ  และสำหรับประสิทธิภาพตอนเล่นเกมในความละเอียด 1080p + Max Setting นั้นพบว่าเฟรมเรทเฉลี่ยออกมาอยู่ราวๆ 52-98fps. เฉลี่ยรวมหลายๆ เกมเลยครับ….  ถ้าใครพอใจเฟรมเรทเฉลี่ยในระดับนี้ก็คงจบที่เจ้า GTX1660Ti ได้อย่างแน่นอน…  ส่วนใครที่มองเฟรมเรทเฉลี่ยที่มากกว่าระดับ 100fps+ คงต้องขยับไปเล่นรุ่นใหญ่อย่าง RTX 2070+++ เป็นอย่างน้อยเลยครับ ฮ่าๆ…

     เอาล่ะครับใครที่กำลังมองหากราฟิกการ์ด Geforce GTX1660 Ti เย็นๆ แรงๆ ไว้ครอบครองสักตัวก็ขอฝากพิจารณาเจ้า ROG STRIX GTX1660 Ti OC 6GB ตัวนี้กันด้วย  พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ

 

 

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team