Review T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 16GB-Kit (New PCB Rev.2018)

รีวิว T-Force XTREEM DDR4-4500Mhz CL15 [Quick Page Link]

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy มีแรม DDR4 แรงๆ จากค่าย Teamgroup มานำเสนอให้เพื่อนๆ ชาว Overclocker ได้รู้จักกันอีกหนึ่งรุ่น นั่นคือ T-FORCE XTREEM DDR4-4500Mhz CL18-20-20-44 XMP 1.45V จากโรงงาน แรงตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้ ซึ่งการมาในครั้งนี้ทาง Teamgroup ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง PCB ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังประสบปัญหาในรุ่นก่อนที่ XMP 4500 ไม่ค่อยนิ่ง  และสำหรับเจ้า PCB ใหม่โฉมปี 2018 นี้ผมบอกได้เลยว่า หลังจากที่ได้สัมผัสดูแล้วมีความสามารถในการ Overclock ได้ดีขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อ และยังช่วยให้ XMP DDR4-4500Mhz เปิดติดง่ายขึ้นมากๆ เมื่อเทียบกับ PCB รุ่นเก่าก่อนหน้านี้  และยังสามารถสามารถ Overclock และกด CL ได้แบบเต็มสูบ แน่นเอียดๆ กันเลยทีเดียว โดยใช้ไฟเลี้ยงไม่สูงมาก… เช่นที่ความเร็ว DDR4-4500Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V + การปรับแต่ง Sub-timing แน่นๆ แล้วทดสอบ memtest 420%+ ผ่านพร้อมใช้งานได้เลยแบบชิวๆ นี่ล่ะครับคือนิยามของ PCB ใหม่ + ชิป Samsung B-die เกรดเทพๆ….

 

     สำหรับท่านผู้ชมมือใหม่หรือผู้ที่พึ่งเคยเห็นแรม Series นี้จากค่าย TeamGroup นั้นผมขอกล่าวตรงนี้เลยว่าแรม DDR4 ในตระกูล XTREEM Series นั้นถูกจัดให้แยกจากแรมปกติของ TeamGroup ให้มาอยู่บนกลุ่ม Gaming + Overclock Series ในนามของ “T-FORCE”  และสำหรับเจ้า T-Force XTREEM นั้นก็จะเป็นตัวแทนของแรมสำหรับการ Overclock โดยเฉพาะ ส่วนพวกแรมแสงสี RGB Color นั้นก็จะเป็นในรุ่น T-Force Night Hark RGB/LED และ T-Force Xcalibur RGB เป็นต้น  ดังนั้นถ้านึกถึงแรมตัวแรงสำหรับการ Overclock ให้นึกถึง T-Force XTREEM Series

 

      และก็ต้องขอขอบคุณทาง Team Group Inc. และ B&Y Computer CO., LTD. กันอีกครั้งที่ช่วยให้เราทำการ Overclock เพื่อพิสูจน์ว่าแรมจากค่ายนี้ก็มีของดี แรงในระดับโลกมาแล้ว ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 กระผมนาย Audigy ก็สามารถพาแรม T-FORCE XTREEM ไปแตะที่เพดานความเร็วระดับโลกที่ DDR4-5280Mhz ระบายความร้อนด้วย LN2 (Liqiud Nitrogen) รวมกับเมนบอร์ด ASROCK Z170M OC FORMULA ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดีทุกท่านที่เป็นแรงพลักดันให้เราสามารถมาถึงจุดนั้นได้ และเราจะพยายามต่อไปครับ ^^”

 

Package     เอาล่ะครับเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาชมสินค้าตัวจริงกันเลยดีกว่า กับเจ้า T-Force XTREEM DDR4-4500Mhz CL18-20-20-44 XMP 1.45V เดิมๆ จากโรงงาน แรงตั้งแต่เกิด ที่มาพร้อมกับ PCB Rev. ใหม่ช่วยให้เสถียรภาพในการทำงานและการเปิด XMP แรมในระดับ DDR4-4500Mhz+ นั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้น  ส่วนหน้าตาของกล่อง Package นั้นก็ยังคงใช้ในรูปแบบเดิม คือมากับกล่องกระดาษไม่หนามาก และด้านในมีกล่องพลาสติกใส่แรมไว้อีก 1 ชั้น

 

สำหรับแรม T-FORCE XTREEM DDR4-4500 นั้นสังเกตุได้ไม่ยากครับ เพราะจะมาพร้อมกับ Heatspreader สีดำ  และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ 2 ที่ได้นำแรมรุ่นนี้เข้ามาจำหน่าย ซึ่งรุ่นก่อนหน้านี้เราน่าจะเคยเห็นใน Model ของ 8Pack ไปแล้วบ้าง

 

จริงๆ แล้ว T-FORCE XTREEM นั้นมีทั้งหมด 3 สีด้วยกันคือ Heatspreader สีดำ สีทอง และสีเงิน

 

      เทียบกันให้ดูระหว่าง T-FORCE XTREEM DDR4-4000CL18 (สีทอง) และ T-FORCE XTREEM DDR4-4500 ซึ่งจะมากับ Heatspreader ระบายความร้อนสีดำทั้งตัว และสำหรับแรมชุดนี้ก็จะมาในแบบ Dual Channel จำนวน 2 แถว แถวละ 8GB x2 เท่ากับว่ารวมกันแล้วคู่แรมคู่ละ 16GB นั่นเอง  และขอย้ำก่อนเลยว่า ใครก็ตามที่คิดจะซื้อแรมรุ่นนี้ไปเล่นที่บัส 4500 ได้นั้น คุณควรมีเมนบอร์ดที่รับรองได้ด้วย ผมแนะนำเลยคือ ROG MAXIMUS X APEX (Z370) เท่านั้น และเมนบอร์ดรุ่นที่ผมลองเล่นแล้ว และพอไปได้เกิน 4500+ ได้แต่ ROG RAMPAGE VI APEX +Kabylake-X และ ASROCK X299 OC FORMULA ครับ แต่ถ้าให้ชมผม Recommended เฉพาะในรุ่น ROG MASXIMUS X APEX เท่านั้น ถ้าต้องการใช้งานได้จริงๆ ที่ความเร็ว DDR4-4500CL18-20-20-44 2T ตามสเปคของ XMP ที่ให้มาบนตัวแรม   ย้ำอีกครั้งนะครับว่าหาเมนบอร์ดที่รับได้ ก่อนที่จะซื้อแรม !!! หรือจะซื้อไปแค่เน้นคัดหาแรมที่วิ่ง CL ต่ำๆ แบบ Extreme Benching ที่ DDR4-4133Mhz+ CL12-11-11-28 1T ไรงี้ก็สามารถตอบสนองได้ดีครับ (ขึ้นอยู่กับความสามารถของแรมแต่ละคู่ด้วย)

แรม DDR4 รุ่นนี้คือรหัส “TXKD48G4500HC18EBK” ขนาดความจุแถวละ 8GB ตวามเร็ว DDR4 4500 และค่าห่วงเวลาอยู่ที่ CL 18-20-20-44 ใช้ไฟเลี้ยง 1.45V นำเข้าโดย B&Y Computer CO., LTD.

 

ส่วนอีกด้านหนึ่งของ Heatspreader นั้นก็จะมี SN จากทาง B&Y แปะไว้ “BY18330S0017”

 

Heatspreader ด้านหน้าจะมี Logo ของ XTREEM และ T-FORCE แสดงไว้แบบชัดเจน

 

 

และบริเวณสันด้านบนของ Heatspreader แรมนั้นก็จะมี Logo ของ T-Force แสดงไว้ด้วย

 

เมื่อเทียบบริเวณมุมเดียวกันของ PCB รุ่นก่อนหน้านี้เทียบกับ PCB ใหม่ของปี 2018 ที่ทาง TeamGroup เปลี่ยนมาใช้ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีลายวงจรบางอย่างเพิ่มเข้ามา ต่างไปจากเดิมอย่างแน่นอน

 

พื้นฐานการออกแบบของ PCB Rev. นี้คือยืนพื้นแบบ PCB แบบเก่าที่เน้นกด CL ไม่นเน้นลากบัสสูง เพียงเอามาแก้เรื่องการนำสัญญาณและออกแบบวงจรเผื่อไว้สำหรับใส่ LED ในอนาคต เพื่อป้องกันไม่ให้ตอนอัดไฟแรมหนักๆ แล้วจะไปกระทบกับไฟ LED นั่นเอง…. เอ๊ะ !!!  แบบนี้อีกไม่นาน เราคงจะได้เห็นแรม RGB สามารถ Overclock และกด CL ได้แบบแน่นๆ แล้วซินะ !!!