Review T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 16GB-Kit (New PCB Rev.2018)

รีวิว T-Force XTREEM DDR4-4500Mhz CL15 [Quick Page Link]

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy มีแรม DDR4 แรงๆ จากค่าย Teamgroup มานำเสนอให้เพื่อนๆ ชาว Overclocker ได้รู้จักกันอีกหนึ่งรุ่น นั่นคือ T-FORCE XTREEM DDR4-4500Mhz CL18-20-20-44 XMP 1.45V จากโรงงาน แรงตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้ ซึ่งการมาในครั้งนี้ทาง Teamgroup ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง PCB ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังประสบปัญหาในรุ่นก่อนที่ XMP 4500 ไม่ค่อยนิ่ง  และสำหรับเจ้า PCB ใหม่โฉมปี 2018 นี้ผมบอกได้เลยว่า หลังจากที่ได้สัมผัสดูแล้วมีความสามารถในการ Overclock ได้ดีขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อ และยังช่วยให้ XMP DDR4-4500Mhz เปิดติดง่ายขึ้นมากๆ เมื่อเทียบกับ PCB รุ่นเก่าก่อนหน้านี้  และยังสามารถสามารถ Overclock และกด CL ได้แบบเต็มสูบ แน่นเอียดๆ กันเลยทีเดียว โดยใช้ไฟเลี้ยงไม่สูงมาก… เช่นที่ความเร็ว DDR4-4500Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V + การปรับแต่ง Sub-timing แน่นๆ แล้วทดสอบ memtest 420%+ ผ่านพร้อมใช้งานได้เลยแบบชิวๆ นี่ล่ะครับคือนิยามของ PCB ใหม่ + ชิป Samsung B-die เกรดเทพๆ….

 

     สำหรับท่านผู้ชมมือใหม่หรือผู้ที่พึ่งเคยเห็นแรม Series นี้จากค่าย TeamGroup นั้นผมขอกล่าวตรงนี้เลยว่าแรม DDR4 ในตระกูล XTREEM Series นั้นถูกจัดให้แยกจากแรมปกติของ TeamGroup ให้มาอยู่บนกลุ่ม Gaming + Overclock Series ในนามของ “T-FORCE”  และสำหรับเจ้า T-Force XTREEM นั้นก็จะเป็นตัวแทนของแรมสำหรับการ Overclock โดยเฉพาะ ส่วนพวกแรมแสงสี RGB Color นั้นก็จะเป็นในรุ่น T-Force Night Hark RGB/LED และ T-Force Xcalibur RGB เป็นต้น  ดังนั้นถ้านึกถึงแรมตัวแรงสำหรับการ Overclock ให้นึกถึง T-Force XTREEM Series

 

      และก็ต้องขอขอบคุณทาง Team Group Inc. และ B&Y Computer CO., LTD. กันอีกครั้งที่ช่วยให้เราทำการ Overclock เพื่อพิสูจน์ว่าแรมจากค่ายนี้ก็มีของดี แรงในระดับโลกมาแล้ว ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 กระผมนาย Audigy ก็สามารถพาแรม T-FORCE XTREEM ไปแตะที่เพดานความเร็วระดับโลกที่ DDR4-5280Mhz ระบายความร้อนด้วย LN2 (Liqiud Nitrogen) รวมกับเมนบอร์ด ASROCK Z170M OC FORMULA ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนใจดีทุกท่านที่เป็นแรงพลักดันให้เราสามารถมาถึงจุดนั้นได้ และเราจะพยายามต่อไปครับ ^^”

 

Package     เอาล่ะครับเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาชมสินค้าตัวจริงกันเลยดีกว่า กับเจ้า T-Force XTREEM DDR4-4500Mhz CL18-20-20-44 XMP 1.45V เดิมๆ จากโรงงาน แรงตั้งแต่เกิด ที่มาพร้อมกับ PCB Rev. ใหม่ช่วยให้เสถียรภาพในการทำงานและการเปิด XMP แรมในระดับ DDR4-4500Mhz+ นั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้น  ส่วนหน้าตาของกล่อง Package นั้นก็ยังคงใช้ในรูปแบบเดิม คือมากับกล่องกระดาษไม่หนามาก และด้านในมีกล่องพลาสติกใส่แรมไว้อีก 1 ชั้น

 

สำหรับแรม T-FORCE XTREEM DDR4-4500 นั้นสังเกตุได้ไม่ยากครับ เพราะจะมาพร้อมกับ Heatspreader สีดำ  และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ 2 ที่ได้นำแรมรุ่นนี้เข้ามาจำหน่าย ซึ่งรุ่นก่อนหน้านี้เราน่าจะเคยเห็นใน Model ของ 8Pack ไปแล้วบ้าง

 

จริงๆ แล้ว T-FORCE XTREEM นั้นมีทั้งหมด 3 สีด้วยกันคือ Heatspreader สีดำ สีทอง และสีเงิน

 

      เทียบกันให้ดูระหว่าง T-FORCE XTREEM DDR4-4000CL18 (สีทอง) และ T-FORCE XTREEM DDR4-4500 ซึ่งจะมากับ Heatspreader ระบายความร้อนสีดำทั้งตัว และสำหรับแรมชุดนี้ก็จะมาในแบบ Dual Channel จำนวน 2 แถว แถวละ 8GB x2 เท่ากับว่ารวมกันแล้วคู่แรมคู่ละ 16GB นั่นเอง  และขอย้ำก่อนเลยว่า ใครก็ตามที่คิดจะซื้อแรมรุ่นนี้ไปเล่นที่บัส 4500 ได้นั้น คุณควรมีเมนบอร์ดที่รับรองได้ด้วย ผมแนะนำเลยคือ ROG MAXIMUS X APEX (Z370) เท่านั้น และเมนบอร์ดรุ่นที่ผมลองเล่นแล้ว และพอไปได้เกิน 4500+ ได้แต่ ROG RAMPAGE VI APEX +Kabylake-X และ ASROCK X299 OC FORMULA ครับ แต่ถ้าให้ชมผม Recommended เฉพาะในรุ่น ROG MASXIMUS X APEX เท่านั้น ถ้าต้องการใช้งานได้จริงๆ ที่ความเร็ว DDR4-4500CL18-20-20-44 2T ตามสเปคของ XMP ที่ให้มาบนตัวแรม   ย้ำอีกครั้งนะครับว่าหาเมนบอร์ดที่รับได้ ก่อนที่จะซื้อแรม !!! หรือจะซื้อไปแค่เน้นคัดหาแรมที่วิ่ง CL ต่ำๆ แบบ Extreme Benching ที่ DDR4-4133Mhz+ CL12-11-11-28 1T ไรงี้ก็สามารถตอบสนองได้ดีครับ (ขึ้นอยู่กับความสามารถของแรมแต่ละคู่ด้วย)

แรม DDR4 รุ่นนี้คือรหัส “TXKD48G4500HC18EBK” ขนาดความจุแถวละ 8GB ตวามเร็ว DDR4 4500 และค่าห่วงเวลาอยู่ที่ CL 18-20-20-44 ใช้ไฟเลี้ยง 1.45V นำเข้าโดย B&Y Computer CO., LTD.

 

ส่วนอีกด้านหนึ่งของ Heatspreader นั้นก็จะมี SN จากทาง B&Y แปะไว้ “BY18330S0017”

 

Heatspreader ด้านหน้าจะมี Logo ของ XTREEM และ T-FORCE แสดงไว้แบบชัดเจน

 

 

และบริเวณสันด้านบนของ Heatspreader แรมนั้นก็จะมี Logo ของ T-Force แสดงไว้ด้วย

 

เมื่อเทียบบริเวณมุมเดียวกันของ PCB รุ่นก่อนหน้านี้เทียบกับ PCB ใหม่ของปี 2018 ที่ทาง TeamGroup เปลี่ยนมาใช้ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีลายวงจรบางอย่างเพิ่มเข้ามา ต่างไปจากเดิมอย่างแน่นอน

 

พื้นฐานการออกแบบของ PCB Rev. นี้คือยืนพื้นแบบ PCB แบบเก่าที่เน้นกด CL ไม่นเน้นลากบัสสูง เพียงเอามาแก้เรื่องการนำสัญญาณและออกแบบวงจรเผื่อไว้สำหรับใส่ LED ในอนาคต เพื่อป้องกันไม่ให้ตอนอัดไฟแรมหนักๆ แล้วจะไปกระทบกับไฟ LED นั่นเอง…. เอ๊ะ !!!  แบบนี้อีกไม่นาน เราคงจะได้เห็นแรม RGB สามารถ Overclock และกด CL ได้แบบแน่นๆ แล้วซินะ !!!

 

System Pic

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ โดยเราจะทดสอบร่วมกับเมนบอร์ด 2 Platform จากค่าย Intel นั่นคือชิปเซ็ต Z370 และ X299 ในรุ่น ROG MAXIMUS X APEX, ROG RAMPAGE VI APEX และ ASROCK X299 OC FORMULA ให้รู้ไปเลยว่าเข้ากันได้ทุกบอร์ดจริงๆ !!!

 

System Spec.
 CPU
 -Intel Core i7-8700K 6C/12T (Coffeelake 14nm.)
-Intel Core i5-7640X 4C/4T (Kabylake-X 14nm.)
 CPU Cooler  Water Cooling Custom Set
– Kyros HF Copper
– Radiator : XSPC RX480 480mm.
– Radiator Fan : Nactua NF-F12 IPPC 3,000rpm x4
– Pump : XSPC DDC MCP355 + Laing
– Fitting & Tube Size : 1/2″
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard
 -ASUS ROG MAXIMUS X APEX
-ASUS ROG RAMPAGE VI APEX
 Memory
 T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 16GB-KIT 1.45V
 VGA
 MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB
 Hard Drive
 -Apacer Panther AS340 240GB (OS) x1
 -WD Blue 1TB HDD (Game Drive) x1
 PSU  Antec HCP1300 Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit Last Update (1803)

 

Thaiphoon Burner

ก่อนอื่น เรามาตรวจเช็ครายละเอียดของชิปแรมด้านในกันก่อนดีกว่าเป็นอย่างไรบ้าง  และสำหรับเจ้า T-FORCE XTREEM DDR4-4500Mhz CL18 ตัวนี้เลือกใช้ชิป Samsung ตัวแรงรหัส B-Die แบบไม่ต้องสงสัย โดยถูกโปรแกรม XMP มาที่ความเร็ว 2252Mhz (DDR4-4500) CL 18-20-20-44-136 1.45V

 

Benchmark

By XMP DDR4-4500C18 1.45V Profile

 

System Config

เอาล่ะครับ ผลทดสอบชุดแรก เน้นทดสอบที่ Spec เดิมๆ จากโรงงาน โดยการเปิด XMP Profile ใน BIOS ของเมนบอร์ด ROG MAXIMUS X APEX ที่ความเร็ว DDR4-4500CL18-20-20-44 2T 1.45V ซึ่งตัวแรมก็อ่านค่าและปรับความเร็วได้ตรงตาม Spec พร้อมกับความชัวในการบูท XMP 4500 กี่รอบก็ติดชัวๆ บนเมนบอร์ดรุ่นนี้ ซึ่งผมลองหลายครั้งแล้ว พบว่าบูทได้ทุกครั้ง

 

Memtest 120%+

ทดสอบ Memetest ก่อนเลยครับ พบว่า XMP 4500C18 นั้่นผ่านชิวๆ 120%+ คงไม่ต้องพูดอะไรมากแล้ว ส่วนผลการทดสอบอื่นๆ นั้นผมมีประกอบให้ด้านล่างนี้เลยครับ ส่วนช่วงต่อไปนั้น เราจะทดสอบกด CL ที่ต่ำลงที่ความเร็ว DDR4-4500 CL17-18-18-38 2T 1.45V ไฟเดิม พร้อมกับการกด Sub-Timing แบบแน้นๆ ใช้งานได้จริง ไปชมกันในหน้าถัดไปเลยครับ >>>

 

Super Pi

 

AIDA64

 

X264 FHD Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DAMR Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Overclock Results

DDR4-4500 CL17-18-18-38 2T 1.45V + Tight Sub-Timing

     ต่อกันเลยครับกับค่า Config ตรงนี้ที่ผมมองว่า น่าจูนไว้เพื่อใช้งานจริงแบบ 24/7 ที่ความเร็วแรม DDR4-4500CL17-18-18-38 2T 1.45V โดยใช้ไฟเลี้ยงเดิมจากโรงงาน ไม่อันตรายชัวร์ๆ ครับ โดยแรมคู่นี้ผมลองแล้ว สามารถกด Sub-Timing ได้ค่อนข้างแน่นมากๆ และยังใช้ไฟเลี้ยงเดิมจาก Spec ได้อีกด้วย ลองชมผลการทดสอบด้านล่างนี้ดูกันครับว่าเสถียรพอหรือไม่ ? กับ Memtest 420%+ !!!

 

System Config

 

Memtest 420%+

 

Super Pi

 

 

AIDA64

 

x264 FHD Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

ต่อกันเลยครับกับการ Overclock เพิ่มความเร็วแรมขึ้นมาอีกหนึ่งอัตราทดที่ DDR4-4533Mhz CL17-18-18-38 2T 1.50V กด Sub-Timing แบบเดิมๆ ซึ่งจากที่ผมลองเล่นดูแล้วที่ไฟเลี้ยง 1.50V เป็นจุดที่แรมของผมชุดนี้ชอบที่สุดและยังสามารถ Burn Memtest ได้ถึง 200%+ ผ่านได้แบบชิวๆ อีกด้วย ไปชมกันเลยครับ….

 

Overclock Results

DDR4-4533 CL17-18-18-38 2T 1.50V + Tight Sub-Timing

 

Memtest 200%+

 

Super Pi

 

AIDA64

 

x264 FHD Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Overclock Results

with ASROCK X299 OC FORMULA

  • @ DDR4-4700CL19-19-19-39 2T + Tight Sub 1.55V
  • * Boot from BIOS @DDR4-4670MHz CL19

      หลังจากชมความสามารถบน Z370 Platform กันไปแล้ว เรากลับมาเล่นบนพี่ใหญ่อย่าง ASROCK X299 OC FORMULA ดูกันบ้างครับ ซึ่งบอกเลยว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ Overclock แรมได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะกับ PCB แบบเก่าบอร์ดนี้ชอบมากๆ และสำหรับเจ้าแรม T-FORCE XTREEM 4500 ที่เลือกใช้ PCB Rev. ใหม่นั้นก็เข้ากันได้ดีบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ โดยสามารถ Overclock แรมขึ้นได้ที่ระดับ DDR4-4670Mhz CL19-19-19-39 2T + Tight Sub-Timing ด้วยformไฟเลี้ยง 1.55V บูทได้สบายๆ ครับ แล้วผมก็ลากต่อบน OS เพื่อจบที่ความเร็ว DDR4-4700CL19-19-19-39 2T 1.575V เพื่อเช็คความเสถียรภาพดูกันสักนิด จัดว่าไม่ธรรมดาเลยที่ได้เห็นตัวเลข DDR4-4700 ได้บนเมนบอร์ดรุ่นนี้….

 

เอาล่ะครับไปชมผลการ Overclock ที่ความเร้วแร มDDR4-4700Mhz CL19 บนเมนบอร์ดรุ่นนี้ดูกันแบบขำๆ ไม่ได้นิ่งอะไรมาก แต่อยากให้ชม….

 

System Config

 

Super Pi

 

AIDA64

 

x264 FHD Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Overclock Results

  • with ROG RAMPAGE VI APEX @ DDR4-4544Mhz CL18 1.45V

     มาต่อกันอีกหนึ่งบอร์ดเลยนะครับสำหรับพี่ใหญ่ ROG RAMPAGE VI APEX (X299) ต่อใช้งานร่วมกับ CPU Intel Core i7-7640X @ 5.5Ghz/Cache 5.16Ghz + DDR4-4544Mhz CL18-18-18-39 2T 1.45V  + Tight Sub-Timing แบบเกือบแน่น ก็พอที่จะทดสอบ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อย่างมีเสถียรภาพดีบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ ซึ่งปกติแล้วหาคู่จับได้ยากครับ และที่สำคัญผมปรับ XMP 4500 บูทติดทีเดียวได้เลย จัดว่าแรมคู่นี้ไปได้ทุกบอร์ดจริงๆ ครับ ไม่เลือกบอร์ดมากเหมือนแรม PCB แบบเก่า…

 

System Config

 

Super Pi

 

AIDA64

 

x264 FHD Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Max Overclocking On Air

     ส่งความแรงทิ้งท้าย ให้สมกับคำว่า XTREEM ของจริง !!! ด้วยความสามารถในการ Overclock แรมที่นัก Overclock ทุกคนต้องไฝ่ฝันกับการคัดเลือกหาแรมที่สามารถวิ่งที่ความเร็ว DDR4-4133Mhz CL12-11-11-28 1T ผ่านได้ เพื่อเอาไปรีดพลังของ Benchmark ต่างๆ ให้แรงถึงขีดสุด และเจ้า T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 คู่นี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ สามารถบูทกันแบบนิ่มๆ ที่ DDR4-4133Mhz CL12-11-11-28 1T ด้วยไฟเลี้ยง 2.045V ถึง 2.065V และยังมีลูกบ้าดันขึ้นไปได้อีกในระดับ DDR4-4166Mhz CL12-11-11-28 1T และ DDR4-4200CL12-12-12-28 1T ได้อีกด้วย ไปชมผลการทดสอบกันเลยครับ ^^”

 

RAMPAGE VI APEX (X299)

  • DDR4-4133Mhz CL12-11-11-28 1T 2.06v
  • Super Pi32MB @ 6m.04338s (5G/5G)

ผลงานชัดแรกเลยกับเมนบอร์ด ROG RAMPAGE VI APEX + i5-7640X ทดสอบ Pi32MB ที่ Scale ความเร็ว 5.0Ghz/Cache 5.0Ghz ด้วยแรม DDR4-4133CL12-11-11-28 1T ผ่านได้ฉลุยครับ เวลาจบที่ 6m04.338s (non waza) Win7-64bit จัดว่าเด็ดครัช….

 


     มาต่อกันเลยกับน้องเล็ก ROG MAXIMUS X APEX ตัวจิ๊ดกับ CPU Intel Core i7-8700K ชุดนี้บอกได้เลยว่าบันเทิงมากๆ กับความสามารถในการ OC แรมแบบโหดๆ DDR4-4133Mhz ถึง DDR4-4166Mhz CL12-11-11-28 1T ผ่านได้แบบชิวๆ และที่เด็ดกว่านั้นก็คือไปได้ถึง DDR4-4200CL12-12-12-28 1T นี่ล่ะครับ Direct Boot ได้ตลอดทุกครั้ง จัดว่าน่าสนใจมากๆ หากเจอ LN2 วิ่งสัก 4300C12 ได้อะไรงี้ ผมว่าน่าจะมันส์แน่ๆ

 

MAXIMUS X APEX (Z370)

  • DDR4-4200Mhz CL12-12-12-28 1T 2.065V
  • Super Pi32 @ 5m57.022s (5G/5G)

     ผลการทดสดสอบแรก CPU Intel Core i7-8700K ความเร็ว Scale @ 5Ghz/Cache 5Ghz ส่วนแรมบูทตรงจาก BIOS ที่อัตราทด DDR4-4200CL12-12-12-28 1T ใช้ไฟเลี้ยงราวๆ 2.065V ถึงจะทดสอบผ่านได้ครับ แต่ก็ไม่ได้ง่ายๆ นะครับ ผมก็ทดสอบอยู่หลายสิบรอบอยู่กว่าจะรัน Pi 32MB จบได้ ฮ่าๆ แต่ผ่านได้นี่ก็จัดว่าเด็ดแล้วล่ะครับ กราบ…… ^O^

 

Geekbench 4

  • DDR4-4200Mhz CL12-12-12-28 1T 2.065V

ส่วน Geekbench 4 นั้นก็สามารถทดสอบผ่านได้สบายๆ กับความเร็วแรม DDR4-4200CL12 แต่ถามว่าแรงไหม ยังต้องตอบว่าแรงสู้พวก DDR4-4133Mhz CL12 ถึง DDR4-4166Mhz CL12-11-11-28 1T ไม่ได้ครับ แต่ก็ตามๆ กันอยู่ไม่ไกลมาก ^^”

 

Super Pi 32MB : 6m01.281s

  • DDR4-4166Mhz CL12-11-11-28 1T 2.065V

มาดูกันต่อที่ DDR4-4166Mhz CL12-11-11-28 1T 2.065V ก็ดัน Pi 32MB ให้ผ่านได้แบบไม่ง่าย และก็ไม่ยาก ฮ่าๆ….

 

Super Pi 1MB

  • DDR4-4186Mhz CL12-11-11-28 1T 2.09V

และอัดดันสุดๆ เลยที่ DDR4-4186 (2093Mhz) CL12-11-11-28 1T ด้วยไฟเลี้ยงที่ต้องการถึง 2.09V ถึงจะยอมให้ Super Pi 1MB ผ่านได้ เอิ๊กๆ… จะสูบไฟไปไหน ผมนี้กลัวแรมบินจริงๆ ^O^

 

Super Pi 32MB : 5m53.715s

  • CPU : 5.05Ghz/Cache 5.05Ghz
  • DDR4-4176Mhz CL12-12-12-28 1T 2.06V

ทิ้งท้ายกันกับ Sacle CPU 5.05Ghz/Cache 5.05Ghz + DDR4-4176CL12-12-12-28 1T 2.06v ด้วยเวลาในการทดสอบ Super Pi 32MB ที่เร้าใจ 5m53.715s วินาทีเท่านั้น !!!! แรงงงงงส์ศาสตร์ ^O^

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความแรงของเจ้า T-FORCE DDR4-4500Mhz CL18-20-20-44 1.45V XMP จากโรงงานชุดนี้ ที่มาพร้อมกับ PCB Rev. ใหม่ปรับปรุงมาพิเศษจากค่าย Teamgroup ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเข้ากันได้กับเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ ได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว จะเล่นเมนบอร์ดไหนก็แรงได้ทั้งนั้น โดยพื้ฐานแล้ว ได้ถูกปรับปรุงมาจาก PCB แบบเก่าที่เม็ดแรมเรียงกระจายทั่ว PCB ดังนั้นข้อด้อยของมันก็คือ จะสามารถ Overclock ให้ความถี่สูงๆ ในระดับ 47xxMhz+ นั้นทำได้ยาก ซึ่งหากต้องการความเร็วแรมในระดับ DDR4-4800 ถึง 5000Mhz+ นั้นก็จำเป็นต้องใช้ PCB ใหม่ที่เป็นแบบเม็ดแรมเรียงแยกห่วงกันได้ซ้ายและด้านขวา น่าจะนึกภาพออกนะครับ ลองย้อนไปดูรูป PCB เทียบกันได้ที่รีวิว Ultimate Samsung B-Die DDR4 @ 4800CL17-17-17-39 ฉบับนี้ครับ

     จุดเด่นของแรมรุ่นนี้เลยก็คือการปรับปรุง PCB Rev. ใหม่ที่ช่วยให้การรันแบบ XMP Profile DDR4-4500C18 นั้นบูทติดง่ายมากๆ กับเมนบอร์ด MAXIMUS X APEX และยังสามารถ XMP ติดบน RAMPAGE VI APEX ได้อีกด้วย ส่วน ASROCK X299 OCF นั้นผมจำไม่ได้ว่า XMP ติดหรือไม่ เพราะตอนทดสอบผม Manual ตั้งบูทกันที่ DDR4-4670CL19 กันเลย และจบด้วยการลากต่อบน OS ที่ DDR4-4700CL19 ด้วยไฟเลี้ยง 1.575V ก็พอจะทดสอบ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อย่างมีเสถียรภาพดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว  ดังนั้นสรุปตรงนี้ได้เลยว่า T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 1.45V ตัวนี้เล่นมันส์ และเข้ากับเมนบอร์ดรุ่นใหญ่ๆ ได้หลายรุ่นเลยล่ะครับ น่าสนใจมาก

     ส่วนข้อเสียคือ PCB Rev. นี้ได้เอาแรม PCB เก่าที่เม็ดแรมเรียงกระจายกัน มาปรับปรุงใหม่ให้ทำงานได้เสถียรภาพขึ้น และช่วยให้การ Overclock ได้เสถียรภาพดีกว่า PCB แบบเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น PCB แนวนี้จะไม่สามารถ Overclock เน้นความเร็วสูงๆ เกิน DDR4-4700-4800Mhz+ ได้แบบ PCB รุ่นใหม่แบบ RGB และ NON RGB ที่มีการวางเม็ดแรมแบบชิดด้านซ้าย และด้านขวา  ดังนั้นสาย Performance ที่ชอบแรมที่กด CL ต่ำๆ อย่าง DDR4-4133Mhz CL12-11-11-28 1T+++ และที่ความเร็ว DDR4-4500 ถึง 4533Mhz CL17-18-18-38 2T + Tight Sub Timing แน่นๆ เพื่อใช้งานจริงได้นั้นน่าสนใจมากๆ และที่ต้องย้ำกันอีกครั้งเลยก็คือ ควรหาเมนบอร์ดที่รองรับ DDR4-4500Mhz ไว้ก่อนที่จะซื้อแรมด้วย ผมเองแนะนำเมนบอร์ดในรุ่น ROG MAXIMUS X APEX (Z370) แบบ Recommended เป็นอันดับต้นๆ…

     อย่างไรแล้วก็ต้องขอฝาก T-FORCE XTREEM DDR4-4500CL18 16GB-Kit คู่นี้ไว้พิจารณากันด้วยสำหรับขาโหดทั้งหลาย กับการเลือกใช้ PCB พิเศษจากทาง TeamGroup ช่วยให้เราสามารถ Overclock และปรับแต่ง CL ต่ำๆ ได้เต็มที่มากขึ้น ส่วนราคาจำหน่ายนั้นก็อยู่ที่คู่ละไม่เกิน 15K บาท ถือไม่แพงแล้ว กับแรมความเร็ว DDR4-4500C18 XMP 1.45V จากโรงงาน และที่สำคัญเลยแรมชุดนี้ที่ผมได้มารีวิวก็เป็นชุดเดียวกับของ retail ที่วางขายจริง ไม่ได้คัดมาพิเศษให้ผมได้รีวิวแต่อย่างใดครับ และก็มรเพื่อนๆ ในกลุ่มจัดไปเล่นแล้วเหมือนกัน พบว่าสามารถ Overclock ไปได้ในระดับที่ผมทำไว้ได้จริง  และสำหรับวันนี้ผมเองก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks
B&Y Computer CO.,LTD.