รีวิวเทพลม CORSAIR A500 High Performance Dual Fan CPU Cooler

     เมื่อ CORSAIR ทำ Heatsink CPU Cooler เป็นตัวแรก !!! ในรุ่น A500 มันจะอลังการแค่ไหน เรามาชมกันเลยครับ โดยปกติแล้วเราจะเห็นค่ายนี้ทำพวกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ อย่างเช่นแรม Memory Module, Storage, AIO Cooler, Fans, Custom Water Cooling, PC Case, PSU และ Gaming Gear อยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เราพึ่งเห็น CORSAIR มาทำ Heatsink เป็นครั้งแรก ด้วยรุ่น A500 “High Performance Dual Fan CPU Air Cooler” ส่วนจะทำออกมาได้ดีแค่ไหนนั้น รีวิวนี้มีคำตอบให้อย่างแน่นอนครับ

 

Tech Spec.

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา แกะกล่อง Unboxing ดูกันเลยดีกว่าครับ โดยตัวกล่อง Package ของ A500 ตัวนี้ทำออกมาได้ค่อนข้างสวยงามและแน่นหนาดีมากเลยทีเดียว

 

ตัว Heatsink นั้นมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มาพร้อมกับพัดลมระบายความร้อนในรุ่น ML120 จำนวน 2 ตัว สามารถเร่งรอบได้สูงสุดที่ 2400rpm.

 

ใหญ่แค่ไหนก็ลองดูเทียบกับขนาดเมนบอร์ด mini-ITX ก็แล้วกันครับ ^^”

 

ขนาดของตัว Heatsink รวมทั้งตัวพัดลมแล้วอยู่ที่ขนาด 144mm x 169mm x 171mm และเฉพาะตัว Heatsink ป่าวๆ จะอยู่ที่ขนาด 137mm x 169mm x 103mm และนำหนักรวม 14.6kg

CPU Socket Support :

  • Intel 1150/1151/1155/1156
  • Intel 2011/2011-3/2066
  • AMD AM4
  • AMD AM3/AM2

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมว่ามันอลังการงานสร้างเหมือนกันนะเออ…  เนื้องานโดยรวมนี่ดีเลยครับ การขึ้นรูปของกรอบพัดลมและตัว Heatsink ทั้งหมดทำออกมาได้ค่อนข้าง Premium มากๆ

 

ฝาด้านบนก็ทำออกมาได้อย่างหรูหราเช่นกัน

 

 

มันสามารถเปิดออกมาได้เพื่อที่ให้ได้ขันน็อตประกอบตอนติดตั้ง

 

ซิลิโคนรุ่นใหม่อย่าง XTM50 ถูกฉาบเป็นตารางเล็กๆ มาให้พร้อมใช้งาน และยังแถมมาให้ในกล่องอีก 1 หลอด ขนาด 1g

 

ตัว Heatsink เลือกใช้ท่อ Heatpipe ขนาดใหญ่จำนวน 4 เส้น และครีบ fin ระบายความร้อนที่ทำจากอลูมิเนียมเคลือบผิดออกโทนสีดำเงามาให้เรียบร้อย

 

ครีบระบายความร้อนทำเป็นซี่เล็กๆ เหมือนฟันประฉลาม ช่วยให้การถ่ายเทความร้อนออกจาก fin ได้รวดเร็วขึ้น

 

กรอบพัดลมสามารถถอดออกและปรับระดับได้นะครับ

 

การเลื่อนกรอบพัดลมขึ้น/ลง หรือถอดออกนั้นทำได้อย่างสะดวก มีแรงจับตอนปรับระดับค่อนข้างดี ถอดใส่ง่ายมาก ทำกลไกออกมาได้ค่อนข้างดีในประกอบและ Slide ขึ้น/ลง

 

คราวนี้ใครต่อใช้งานกับแรมที่มี Heatspreader สูงๆ ก็ไม่ต้องกังวัลอีกต่อไป เพราะตัวพัดลมทั้ง 2 ตัว สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ตามความต้องการ

 

พัดลมที่ให้มาคือรุ่น ML120 Fans จำนวน 2 ตัวเป็นพัดลมขนาด 120mm รอบการทำงานสูงสุด 2400rpm. และเป็นขั่วเสียบแบบ PWM 4-Pin

 

ตัวกรอบพัดลมมีร่องปรับประดับความสูงมาให้เรียบร้อยครับ

 

ตัวพัดลมสามารถถอดออกมาจากกรอบเฟรมชุดนี้ได้นะครับ โดยสามารถหาพัดลมขนาด 120mm. มาเปลี่ยนได้ เช่นหาพัดลมที่มีไฟ RGB มาใส่เป็นต้น…

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมาให้ครับ โดยมีไขควงแฉกยาวมาให้ด้วยนะเออ…

 

Installation

สำหรับการติดตั้งในครั้งนี้ เราจะทำการประกอบเข้ากับเมนบอร์ด ROG RAMPAGE VI EXTREME ENCORE และ CPU Intel Core i9-10940X 14C/28T ซึ่งเป็น Socket LGA-2066 นั่นเอง ขั่นตอนการประกอบก็แสนง่ายดาย  ขันน็อตลงที่ฐานยึดของ Socket จากนั้นก็ติดตั้งคานยึด Heatsink ทั้ง 2 ด้านก็เป็นอันเสร็จพิธี

 

ซิลิโคนฉาบมาให้พร้อมใช้งาน สะดวกมากจริงๆ ครับ ^^”

 

จากนั้นก็ประกอบ Heatsink เข้ากับฐานยึด ขันน็อตสองด้านให้แน่น ก็เรียบร้อยแล้ว…

 

เอาพัดลม ML120 ทั้งสองตัวมาประกอบ โดยการ Slide ลงมาจากด้านบน

 

ปรับประดับความสูงของพัดลมตามความต้องการ จากนั้นก็นำฝาครอบ Cover ด้านบนมาปิดให้เรียบร้อย

 

เรียบร้อยแล้วครับสำหรับการประกอบเจ้า CORSAIR A500 CPU Cooler ตัวนี้ ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย และตัวกรอบพัดลมก็สามารถถอดใส่ได้อย่างง่ายดาย

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ โดยเราจะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบ โดยจะมีคู่แข่งอย่าง Noctua NH-D15 เข้ามาทดสอบเปรียบเทียบให้ชมกันด้วยครับ

 

ขออนุญาตเปรียบมวยกับ NH-D15 ที่ผมมีอยู่เลยละกันนะครับ เพื่อจะได้สมศักดิ์ศรี Heatsink เทพที่ชนกันในครั้งนี้หน่อย ^^”

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-10940X 14C/28T + Kingpin KPx
CPU Cooler  –CORSAIR A500
– Noctua NH-D15
Motherboard  ROG RAMPAGE VI EXTREME ENCORE (X299)
Memory
 CORSAIR DOMINATOR PLATINUM RGB DDR4-3200Mhz CL14-14-14-34 1.35V 32GB (8GBx4)
VGA  ASUS RTX 2060 Super DUAL
Hard Drive  WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB (OS)
PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80PLUS Platinum
Base Test
 “DEFAULT” Beta
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

System Config

รายละเอียดของชุด System ที่เราจะใช้รีดความร้อนของตัว Heatsink ในครั้งนี้ก็ใช้รุ่นใหญ่อย่าง HEDT Platform จากทาง Intel ในรุ่น Core i9-10940X 14C/28T ความเร็ว 4.1Ghz All Core แล้วจับ Burn-In ดูความร้อนกันสักนิดว่าจะเอาพี่ใหญ่ตัวนี้อยู่หรือไม่ !!!

 

Check contact between CPU and Heatsink

เช็คหน้าสัมผัสกันสักนิดครับ  บอกได้เลยว่าซิลิโคนที่ฉาบมาให้นั้นใส่มาได้พอดี และแนบทั่วกระดองและหน้าสัมผัสของ Heatsink เลยล่ะครับ

 

นี่คือหน้าตาของฐาน Base ที่เป็นท่อทองแดงแบบสัมผัสตรง หรือที่มักนิยมเรียกกันว่า Direct Pipe นั่นเอง โดยจะใช้ท่อทองแดงขนาดใหญ่สำหรับ 2 ท่อกลาง และท่อที่มีขนาดเล็กสำหรับคู่นอก


NOCTUA NH-D15

นี่คือโฉมหน้าผู้ท้าชิงสำหรับเทพลม Noctua NH-D15 ที่มาพร้อมกับพัดลมคู่ด้วยเช่นกัน

 

เลือกใช้ซิลิโคนระบายความร้อนของทาง CORSAIR ที่แถมมา XTM50

 

Noctua NH-D15 นั้นมีตัวค่อนข้างใหญ่ครับ จะสังเกตุได้ว่าตัว Heatsink แทบจะเบียดด้านหลังของการ์ดจอแล้วนะเออ… แต่ของทาง CORSAIR A500 ยังพอจะมีช่องว่าที่กว้างกว่าครับ

 

Check contact between CPU and Heatsink

: Noctua NH-D15

หน้าสัมผัสซิลิโคนของ NH-D15 ก็สามารถรีดซิลิโคนได้ดีไม่แพ้กันครับ ส่วนใครจะเย็นกว่านั้นไปติดตามต่อได้ในช่วงของการทดสอบเรื่องความร้อนกันต่อเลย >>>

 

Temperature Test

     ผลการทดสอบทดสอบ Burn-in CPU ด้วย PowerMAX : AVX เป็นเวลา 10 นาที 3 รอบ แล้วเฉลี่ยผลค่า Min/Max ของ CPU ทั้ง 14 Core แล้วพบว่า CORSAIR A500 และ Noctua NH-D15 นั้นมีผลการทดสอบที่ใกล้เคียงกันมากครับ โดยทาง CORSAIR นั้นร้อนกว่าประมาณ 1.02c องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง หรือแทบจะพอๆ กันเลยก็ว่าได้   แต่ถ้าเทียบประสิทธิภาพกันจริงๆ แล้วทาง Noctua จะได้เปรียบในเรื่องของท่อ Heatpipe ที่มีมากกว่า และใช้พัดลม 14cm ที่มีรอบการทำงานเพียง 1500rpm. เท่านั้น จึงทำให้เงียบกว่าของ A500 ที่เลือกใช้พัดลมขนาด 120mm ที่มีรอบการทำงานสูงสุดถึง 2400rpm. จึงทำให้ได้ยินเสียงรบกวนที่ชัดเจนกว่ามาก เรื่องเงียบเนี่ย… คงต้องยกให้ Noctua ครับ  แต่เรื่องความยืดหยุ่นในการปรับพัดลมขึ้นลง และรูปลักษณ์หน้าตานั้นดูเหมือนว่าทาง CORSAIR น่าจะทำออกมาได้หล่อเหลา โดนใจวันรุ่นมากกว่า ^^”

 

Result

 

Temperature Test Detail

ถ้าไม่ได้ซีเรียสเรื่องความร้อนอะไรมาก ก็คิดว่ามันเย็นพอๆ กัน ใครชอบแนวไหนก็พิจาณาดูกันได้ครับ

 


Temperature Results (HWMonitor 14 Cores)

 Round 1 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 29c
  • Max Temp : 99c

 

 Round 2 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 30c
  • Max Temp : 97c

 

 Round 3 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 30c
  • Max Temp : 100c


Noctua NH-D15

Noctua NH-D15 จะได้เปรียบเรื่องความเงียบต่อประสิทธิภาพค่อนข้างมาก อันนี้คงต้องยอมเขาครับ แต่รูปลักษณ์และขนาดตัวที่ใหญ่โดย ก็อาจจะทำให้ไปติดกับอุปกรณ์รอบๆ ได้ง่ายอย่างกราฟิกการ์ดเป็นต้น (ขึ้นอยู่กับ Layout เมนบอร์ดแต่ละรุ่นด้วย)

Temperature Results (HWMonitor 14 Cores)

 Round 1 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 29c
  • Max Temp : 93c

 

 Round 2 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 29c
  • Max Temp : 99c

 

 Round 3 : i9-10940X 14C/28T 4.1Ghz All Core

  • Min Temp : 31c
  • Max Temp : 97c

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ CORSAIR A500 CPU Cooler ตัวล่าสุดจากค่ายเรือใบที่มีการออกแบบค่อนข้างดี มีความยืดหยุ่นต่อการปรับระดับพัดลมให้ยกพ้นขึ้นหลบแรมที่มี Heatspreader ที่สูงได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และที่ผมชอบเลยก็คือการออกแบบหน้าตาของตัว Heatsink นั้นทาง CORSAIR ได้ Design ออกมาได้อย่างสวยหรูมากจริงๆ อันนี้ต้องยอมรีบเลยว่างานดีมากจริงๆ  ส่วนเรื่องประสิทธิภาพที่จับมาระบายความร้อน CPU Intel Core i9-1940X 14C/28T ในครั้งนี้ก็พบว่า มีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับคู่แค่อย่าง NH-D15 อยู่ไม่มากครับเพียง 1.02c เท่านั้นจากการทดสอบของเรา หรือจะบอกได้ว่าสู้กัน/อยู่ในระดับเดียวกันได้เลย… เพราะผลการทดสอบมันไม่ได้ต่างกันมากจนเป็นนัยสำคัญ  แต่เรื่องที่ต้องยอมรับเลยก็คือความเงียบของ NH-D15 นั้นทำได้ดีกว่า CORSAIR A500 มาก เพราะพี่แกเลือกใช้พัดลม 2400rpm. ยังไงก็ทำให้เงียบยากครับ…

     เอาล่ะครับ นี่ก็คือ Heatsink รุ่นแรกจากทางค่าย CORSAIR ที่ได้ทำออกมาในช่วงต้นปี 2020 นี้ซึ่งราคาขายนั้นทางเมืองนอกตั้งไว้เองที่ราวๆ 99.99USD หรือประมาณ 3,xxx.- บาท  จุดเด่นของ Heatsin kตัวนี้ก็คือสามารถปรับระดับพัดลมทั้ง 2 ตัวด้านหน้าและหลังให้สูงต่ำตามต้องการได้อย่างสะดวก เพื่อหลบความสูงของ Heatspreader แรมในแต่ละรุ่น ซึ่งจะไม่เท่ากันอยู่แล้ว ตรงนี้ล่ะครับที่ดูน่าสนใจอย่างมาก…  การติดตั้งนั้นก็ทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก และซิลิโคนก็ฉาบมาให้พร้อมใช้งาน + แถม XTM50 ขนาด 1g มาให้อีกหนึ่งหลอด เผื่อใช้งานในครั้งหน้าได้อีก….

     สุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากสาวกเรือใบพิจารณา CORSAIR A500 CPU Cooler รุ่นนี้ดูกันด้วยว่าคุ้มค่า “น่าสนใจหรือไม่”  วันนี้ผมนาย Audigy ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ

 

Special Thank