รีวิว ASUS ROG MAXIMUS XI APEX เมนบอร์ดสำหรับนัก Overclocker ตัวจริง

     สวัสดีครับ หลังจากวันก่อนเราได้ทำการ Live Stream สอนการ Overclock เมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX ร่วมกับ CPU intel Core i7-8086K 6C/12T และแรม DDR4 ตัวแรงจากค่าย T-Force ในรุ่น XTREEM DDR4-4800CL19-22-22-48 XMP 1.50V ให้ชมกันไปแล้วว่าการปรับแต่งในส่วนของแรม DDR4 ในความเร็วระดับ 4800Mhz+ นั้นผู้ใช้ต้องปรับแต่งอะไรไปบ้าง ซึ่งหลายๆ ท่านน่าจะได้ความรู้และเทคนิคการ Overclock แรมจาก Live Stream อย่างมากแน่นอน และสำหรับรีวิวนี้ก็จะเป็นรีวิวของเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX (Z390) ฉบับเต็ม ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ของเมนบอร์ดและผลการทดสอบต่างๆ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามชมกันในรีวิวฉบับนี้กันเลยครับ…

 

 

ROG MAXIMUS XI APEX

    และนี่ก็คือเมนบอร์ดที่นัก Overclocker หลายคนสนใจอยู่มิใช่น้อย…. กับ ASUS ROG MAXIMUS XI APEX เมนบอร์ดที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานทางด้าน Overclock CPU และ Memory DDR4 ได้ดีเป็นพิเศษ หรือจะเอาไว้ใช้เป็นชุด Gaming แรงๆ ก็ทำได้เหมือนกัน เพราะเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ยังไม่ได้ทิ้ง Feature ที่สำคัญๆ ในการใช้งานในชีวิตประจำวันออกไป โดยยังให้ WiFi Module Dual band 2.4/5Ghz, Intel Gigabit LAN, USB 3.1 Gen2 มาให้อีกด้วย  และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรื่องของแสงสีนั้นก็ยังคงรองรับ ASUS Aura Sync RGB lighting ด้วยเช่นกัน โดยครั้งนี้ APEX มีมาให้ทั้งช่องเสียบแบบ 5V 3-Pin ADD_Header และ 12V 4-Pin RGB Header ให้อย่างละช่องด้วยนะครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่น่าสนใจนั้น เราไปชมกันต่อเลย….

 

     การมาครั้งนี้ APEX จะไม่มากับ PCB เมนบอร์ดรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ตัว X อีกต่อไปครับ โดยจะมาเป็นขนาดมาตราฐาน ATX ธรรมดาๆ เหมือนเดิม ส่วนเหตุผลนั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไมถึงไม่ทำรูปตัว X เหมือนเดิม อาจจะด้วยเรื่องของขั้นตอนการผลิตด้วยรึป่าว ไม่แน่ใจครับ ?  ส่วนเรื่องของ Socket นั้นก็ยังรองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU Intel Socket LGA-1151 ได้ทั้ง Coffee Lake 14nm. Gen8 และ Gen.9 ได้ทุกรุ่นครับ และรวมถึงในตระกุล KF Series ที่กำลังเปิดตัวด้วยเช่นกัน

 

ภาคจ่ายไฟจัดเต็มด้วย Mosfet คุณภาพสูงจากค่าย PowIRstage MOSFETs จำนวน 16 Phase แท้ ดังนั้นสามารถรองรับการ Overclock หนักๆ ร่วมกับ Intel Core i9-9900K 8C/16T ได้แบบชิวๆ เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการ Overclock แบบทั่วไปหรือการ Overclock แบบ Extreme Sub-ZERO ด้วย LN2 ก็สามารถตอบโจทย์ได้เช่นกัน

 

และที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเมนบอร์ดที่ Overclock แรมได้ดี ลายวงจรต้องออกแบบพิเศษ โดย ASUS เรียกว่า OPTIMEM II เป็นการออกแบบในส่วนของชั้นลายวงจรของแรม DDR4 ที่วิ่งเข้าหาตัว CPU นั้นจะได้รับการออกแบบพิเศษ เพื่อให้ CPU นั้นสามารถควบคุมแรม DDR4 ได้ความเร็วที่สูงมากๆ ในระดับ DDR4-4800Mhz+ (OC) กันเลยทีเดียว

 

Overclocker’s toolkit ตัวช่วยสำหรับอำนวยความสะดวกของนัก Overclock ยังคงมีเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น QLED, MEMOK II, Probelt จุดวัดไฟเลี้ยงต่างๆ, ReTry Button, Saft Boot Button, Pause Swtich, Slow Mode Switch, LN2 Mode Jumper และ BIOS Switch

 

Condensation Detection ถ้าเล่นกับของเย็นติดลบด้วย LN2/Dry Ice ก็ไม่ต้องห่วงครับ ถ้าหากชื้นมากจะมีไฟ LED แสดงสถาณะยังบริเวณจุดใกล้ๆ ของ CPU, DRAM และ PCIe ให้ครับ

 

นอกจากนี้เมนบอร์ดยังออกแบบมาให้รองรับการติดตั้งร่วมกับ Memory DDR4 Module ในชนิด Double-Capacity DIMM (DC) ที่มีความจุแถวละ 32GB รวมกัน 2 แถวก็เท่ากับว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้ ถึงจะมีช่องเสียบแรมแค่ 2 ช่อง แต่ก็ยังสามารถใช้งานขนาดความจุได้สูงสุดถึง 64GB ได้เช่นเดียวกับเมนบอร์ดที่มีช่องเสียบแรม 4 แถวครับ

 

มากูกันต่อในส่วนของ Package กันเลยครับ โดยหน้าตาของกล่องเมนบอร์ดยังคงเป็นในโทนสีดำแดง โดดเด่นด้วย ROG Logo และรุ่นของเมนบอร์ดที่ระบุชุดเจน “ROG MAXIMUS XI APEX”

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้มาพร้อมกับขนาดมาตราฐาน ATX เต็มใบ แต่รุ่นนี้จะไม่มี PCB แบบ X-shaped แล้วนะครับ แต่การออกแบบโดยรวมแล้ว ก็จะเน้นไปที่การออกแบบ Heatsink ภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ด, Cover Back I/O + Sound เสียใหม่มากกว่าครับ  แต่โครงสร้างรวมๆ แล้วยังคงคล้ายกับในรุ่น MAXIMUS X APEX ตัวเดิมอยู่ อย่างเช่นบริเวณช่องเสียบแรมที่มีเพียง 2xDIMM + DIMM.2 ยังคงวางในตำแหน่งเดิม

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงรอบรับการต่อใช้งานรุ่นกับ CPU Intel Socket LGA-1151 ในตระกูล Coffee Lake 14nm. ได้ทั้ง Gen.8 และ Gen.9 ทุกรุ่นครับ ส่วนชิปเซ็ตเมนบอร์ดนั้นคือ Intel Z390 Express

CPU Support :

  • Build in Intel® 9th / 8th Gen Intel® Core™, Pentium® Gold and Celeron® Processors
  • Supports Intel® 14 nm CPU
  • Supports Intel® Turbo Boost Technology 2.0

 

     ภาคจ่ายไฟของ CPU นั้นยังคงควบคุมด้วยระบบ DIGI+ VRM โดยจะมาพร้อมกับ Mosfet ทั้งหมดจำนวน 16 Phase กันเลยทีเดียว โดยจะเลือกใช้ Mosfet คุณภาพสูงจากค่าย PowIRstage โดยเมื่อเทียบกับ MAXIMUS X APEX ( Z370) ตัวเดิมแล้วจะมีเพียงแค่ 10 Phase เท่านั้นเองครับ  ดังนั้นการทำภาคจ่ายไฟใหม่ถึง 16 Phase ของ MAXIMUS XI APEX ( Z390) นั้นก็ทำมาเผื่อสำหรับการ Overclock ร่วมกับ CPU Intel Core i9-9900K ที่มีคอร์มากถึง 8 Cores/16Threads นั่นเองครับ

 

เอาภาพตอนเตรียมก่อนเล่น LN2 มาให้ชมยังบริเวณใต้ Heatsink Mosfet ครับ โดยผมถอดออกมาเตรียมเล่น LN2 เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าเลือกใช IR ทั้งหมดจำนวน 16 Phase

 

ส่วนด้านหลังของเมนบอร์ดนั้นมีการติดตั้ง Back Plate อลูมิเนียมสำหรับดูซับความร้อนด้านหลังของภาคจ่ายไฟให้ทั้ง 2 ฝั่งด้วยครับ

 

โดยรวมแล้วเนื้องานก็ดีเลยครับ โดยเฉพาะภาคจ่ายไฟและ Heatsink นั้นทำมาได้ดีกว่าเดิม

 

บริเวณจุดต่อไฟเลี้ยง CPU นั้นเป็นแบบ +12V 8Pin จำนวน 2 ชุด รองรับการ Overclock CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ได้แบบโหดๆ เลยครับ

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ออกแบบมาให้มีช่องเสียบแรมเพียง 2 ช่องหรือ 2xDIMM เท่านั้นเอง เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการให้ ROG MAXIMUS XI APEX นั้นเป็นเมนบอร์ดที่เน้นไปในเรื่องของการ Overclock และให้สามารถรองรับกับแรม DDR4 ในความเร็วสูงๆ ได้ในระดับ DDR4-4800Mhz+ ได้นั่นเอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกแบบเมนบอร์ดให้มีช่องเสียบแรมเพียง 2 ช่องเท่านั้น และส่วนมาก เมนบอร์ดที่ออกแบบแรมมาเพียง 2 ช่องก็จะเด่นในเรื่องของการ Overclock แรมเสมอครับ และสำหรับผู้ที่กำลังวลว่าจะใส่แรมในความจุสูงๆ ไม่ได้ เราสามารถที่จะเลือกต่อใช้งานกับแรมแบบ DC DIMM ที่เป็นแถวละ 32GB x2 เท่ากับคู่ละ 64GB ได้ครับ ซึ่งตอนนี้ก็มีออกมาจากหน่ายแล้วจากค่ายแรม ZADAK และ G.SKILL โดยเริ่มต้นที่ความเร็ว DDR4-3200, 3466 และ 3600Mhz ครับ

     ส่วนความเร็วแรมที่รองรับกับ DIMM ธรรมดานั้นก็ตั้งแต่ความเร็วมาตราฐาน DDR4-2133Mhz ไปจนถึงความเร็วแบบ Overclock ที่ DDR4-4800Mhz+ ซึ่งน่าจะมีการ Update XMP ของ Memory QVL List กันในเร็วๆ นี้ครับ ส่วนขนาดความจุสูงสุดของ DIMM ธรรมดานั้นก็จะใส่ได้สูงสุดที่ แถวละ 16GB หรือ 32GB Max แบบ Dual Channel นั่นเอง

Memory Support :

  • Socket 1151 for 9th / 8th Gen Intel® Core™, Pentium® Gold and Celeron® processors
  • 2 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 4800(O.C.)/4700(O.C)/4600(O.C)/4500(O.C)/4400(O.C)/4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2933(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2133 MHz Memory *
  • Dual Channel Memory Architecture
  • Supports Intel® Extreme Memory Profile (XMP)
  • * Double Capcity DRAM support depends on the DRAM models

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ USB3.1 Gen2 Type-C สำหรับ Front Panel หน้า Case ด้วยนะครับ ส่วน USB3.0 ธรรมดาก็มีให้เสียบอีก 2 จุดคือบริเวณกลางเมนบอร์ดและด้านล่างเมนบอร์ดอีก 1 จุดครับ

 

     มาดูกันต่อในช่องเสียบ Expansion Slot ต่างๆ นั้นเมนบอร์ดรุ่นนี้ให้ช่อง PCIe3.0 x16 มาทั้งหมด 3 ช่องครับ โดยทำงานในได้ในแบบ Single x16 และ Dual x8+x8 ดังนั้นจะรองรับระบบ Multi-GPU จากค่าย NVIDIA ได้เพียงแบบ 2-Way SLI ได้เท่านั้น ส่วนทางค่าย AMD นั้นสามารถต่อใช้งานได้ในแบบ 3-Way CrossfireX ได้สูงสุดครับ โดยจะมี Config ดังนี้ x8 +x8 +x4

Expansion Slot :

Socket 1151 for 9th / 8th Gen Intel® Core™, Pentium® Gold and Celeron® processors

  • 2 x PCIe 3.0 x16 (Single at x16, dual at x8/x8)

Intel® Z390 Chipset

  • 1 x PCIe 3.0 x4
  • 1 x PCIe 3.0 x1

Multi-GPU Support :

  • Supports NVIDIA® 2-Way SLI™ Technology
  • Supports AMD 3-Way CrossFireX™ Technology

 

ส่วนจุดนี้ก็เป็น OC ZONE สำหรับอำนวนความสะดวกด้านการ Overclock โดยเฉพาะครับ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม Power/Reset, ReTry และ Safe_Boot รวมถึง MEMOK Ii Swtich ถ้าไม่ต้องการใช้งานก็ปิดได้ โดยจะกลับมาทำงานใน MEMOK ตัวเดิม ส่วนจุดวัดไฟเลี้ยงต่างๆ ก็คงมีมาให้เหมือนเดิมครับ

 

ส่วน LN2 Jumper/RSVD/Pause/SLOW Mode/BIOS Switch นั้นจะย้ายมาบริเวณด้านล่างเมนบอร์ด ติดอยู่กับช่องเสียบ SATA 3.0 6Gb/s ที่มีมาให้ทั้งหมด 6 ช่องครับ รองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1, 5 และ 10 โดยทั้งหมดควบคุมตรงจากทางชิปเซ็ต Intel Z390 PCH

 

บริเวณจุดเสียบช่อง 12V 4-Pin RGB Header มีมาให้ 1 ช่องสำหรับต่อสาย RGB Strip

 

และมีช่องเสียบ 5V 3-Pin ADD_Header ให้อีก 1 ช่องบริเวณด้านล่างเมนบอร์ดครับ โดยใกล้ๆ กันนั้นก็จะมีจุดต่อไฟเลี้ยงเสริมให้กับช่องเสียบ PCI-e แบบ Molex 4 Pin มาให้สำหรับการต่อใช้งานแบบ Multi-GPU หรือการ Overclock VGA แบบโหดๆ ครับ

 

ระบบเสียง SupremeFX ตัวล่าสุดที่เลือกใช้ชิปเสียงรหัส S1220A codec ร่วมกับ Nichicon caps คุณภาพสูงที่ผลิตจากญี่ปุ่นให้คุณภาพเสียงที่ใสสะอาดสมจริงและมีมิติ

Audio :

ROG SupremeFX 7.1-Channel High Definition Audio CODEC

  • Impedance sense for front and rear headphone outputs
  • High quality 120 dB SNR stereo playback output and 113 dB SNR recording input
  • Supports up to 32-Bit/192kHz playback

Audio Feature :

  • SupremeFX Shielding™ Technology
  • Optical S/PDIF out port(s) at back panel
  • Premium Japan-made audio capacitors provides warm, natural, and immersive sound with exceptional clarity and fidelity

 

ช่องเสียบ PCIe3.0 x16 ในสองช่องแรกนั้นจะติดตั้งว SafeSlot ป้องกัน Slot แตกหักมาให้เรียบร้อยครับ

 

     บริเวณ Front Panel ต่างๆ และช่องเสียบ USB2.0/3.0Header และจุดเชื่อมต่อกับตัววัด W_Flow/W_IN/W_OUT สำหรับวัดแรงดันและการไหลของชุดน้ำแบบ Custom Set ครับ  ส่วนช่องเสียบพัดลมนั้น บริเวณด้านล่างตรงนี้ก็จะมีจุดสำหรับเสียบพัดลมที่เน้นกระแสสูงๆ อยู่หนึ่งช่องที่เขียนระบุไว้ว่า H_AMP หรือ High AMP นั่นเอง ช่องนี้เอาไว้โหลดกระแสจากพัดลมได้เยอะๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่นใส่พัดลมพ่วงกัน 3-4 ตัว ก็เอามาต่อช่องนี้ได้เป็นต้น

 

บริเวณด้านหลัง Back I/O มีการติดตั้ง Pre-mounted I/O Shield มาให้เรียบร้อยครับ สะดวกเวลาประกอบลอง Case

Back I/O Panel :

  • 1 x PS/2 keyboard (purple)
  • 1 x PS/2 mouse (green)
  • 1 x LAN (RJ45) port(s)
  • 3 x USB 3.1 Gen 2 (red)
  • 1 x USB 3.1 Gen 2 (black)Type-C,
  • 6 x USB 3.1 Gen 1 (blue)
  • 1 x Optical S/PDIF out
  • 1 x Clear CMOS button(s)
  • 1 x USB BIOS Flashback® Button(s)
  • 1 x ASUS Wi-Fi GO! module (Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac and Bluetooth v5.0
  • 5 x Gold-plated audio jacks

LAN :

  • Intel® I219V, 1 x Gigabit LAN Controller(s)

Wireless Data Network :

  • Intel® Wireless-AC 9560
  • Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac
  • Supports channel bandwidth: HT20/HT40/HT80/HT160. Up to 1.73Gbps transfer speed
  • Bluetooth® 5.0

USB Ports :

  • Intel® Z390 Chipset :
  • 1 x USB 3.1 Gen 2 front panel connector port(s)
  • Intel® Z390 Chipset :
  • 4 x USB 3.1 Gen 2 port(s) (4 at back panel, , Type-A + USB Type-CTM)
  • Intel® Z390 Chipset :
  • 4 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (6 at back panel, blue)
  • Intel® Z390 Chipset :
  • 2 x USB 2.0 port(s)
  • ASMedia® USB 3.1 Gen 1 controller :
  • 6 x USB 3.1 Gen 1 port(s)
  • GL852G USB Hub :
  • 2 x USB port(s)

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมาให้กับเมนบอร์ดครับ

  • 1 x Supporting DVD
  • 1 x ROG addressable LED strip (30cm)
  • 1 x SLI HB BRIDGE(2-WAY-M)
  • 1 x ROG big sticker
  • 1 x Q-Connector
  • 2 x M.2 screw kit (short screw and mount)
  • 1 x Wi-Fi Antenna(s)
  • 1 x Extension Cable for RGB strips (80 cm)
  • User manual
  • 1 x ROG coaster(s)
  • 1 x Customizable Name Plate Accessory Pack
  • 1 x ROG Thank you card
  • 1 x ROG DIMM.2 with heatsink
  • 1 x M.2 Pad for ROG DIMM.2

 

ตัวอย่างการติดตั้งแรมแบบ Double Capacity DIMM เข้ากับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX และเสียบคู่กับ DIMM.2 รุ่นใหม่มี Heatsink มาให้ M.2 ทั้ง 2 ด้านอีกด้วย สวยงามจริงๆ ครับ

 

      ดังนั้นใครที่ต้องการใช้แรมที่มีขนาดความจุ 64GB ด้วยแรมจำนวน x2 แถวกับเมนบอร์ดรุ่นนี้ ก็ต้องหา Double Capacity DIMM มาใส่แล้วล่ะครับ  และสำหรับข้อมูลของการใช้งานแรมแบบ DC Module นั้นช่วงแรกที่เปิดตัวออกมา ทาง ASUS ก็ได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า จะสามารถใช้ได้เฉพาะเมนบอร์ด ASUS ที่มี Slot แรม 2 ช่องเท่านั้นโดยจะมีการระบุ QVL List ไว้อยู่ว่าเมนบอร์ดรุ่นไหนใช้ได้บ้าง ส่วนมากก็จะเป็น Z370/390 ขึ้นไปทั้งนั้นครับ  และภายหลังต่อมาทาง ASUS ก็ได้ออกแบบ BIOS รุ่นใหม่ Update ให้กับเมนบอร์ดที่มีแรม 4xDIMM ให้สามารถใช้งานร่วมกับแรม DC Module ได้เรียบร้อยแล้วครับ ทำให้ Platform นี้สามารถใส่แรมได้สูงสุด 128GB กันเลยทีเดียว วึ่งปกติแล้ว Mainstream Platform ของ Intel นั้นจะใส่แรมได้สูงสุดแค่ 64GB Max เท่านั้น

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครับ โดยผลการทดสอบของรีวิวฉบับนี้เราจะทดสอบใน Case ในรุ่น be quiet! DARK BASE 700

 

การทดสอบนี้จะปิด Case แล้วทดสอบนะครับ

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K 6C/12T Coffeelake 14nm. (Delidded)
 CPU Cooler  Water Cooling Custom Set
 Motherboard
 ROG MAXIMUS XI APEX (Z390)
 Memory
 T-Force XTREEM DDR4-4800CL19 16GB-Kit
 VGA
 ASUS RTX 2070 DUAL 8GB
 Hard Drive
 T-FORCE DELTA S RGB TUF GAMING ALLIANCE 500GB (OS)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80 Plus Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

     สำหรับรายละเอียดของผลการทดสอบ Benchmark ต่างๆ ที่จะใช้ให้ชมเป็นชุดหลักในครั้งนี้เลยก็คือ Config การ Overclock ตามนี้เลยครับกับ CPU Intel Core i7-8086K 6C/12T @ 5.0Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.30V โดยการ Overclock ครั้งนี้จะเน้นไปทางการ Overclock แรมเป็นหลักนะครับ จะยังไม่เน้น CPU เพราะว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้ในเรื่องของการ Overclock แรมนั้นเป็นเรื่องที่ดูน่าท้าทายมากที่สุด เราจึงเริ่มกันที่ความเร็วแรม DDR4-4800Mhz CL18-19-19-39 2T + Tight Sub-Timing ด้วยไฟเลี้ยง 1.575V ซึ่งก็สามารถที่จะทดสอบ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อย่างมีเสถียรดีระดับหนึ่งเลยล่ะครับ และก็เป็นชุดเดียวกับที่เราทำการ Live Stream ไปนั่นเอง

 

UEFI BIOS Overclock Config

นี่คือภาพค่า Overclock Config ที่เราจับภาพมาให้ชมกันเป็นแนวทางครับ

 

เอาล่ะครับ ก่อนอื่นนั้นเรามีผลการทดสอบคู่กับ CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ที่สามารถทดสอบร่วมกับแรม T-Force XTREEM DDR4-4800Mhz CL19-22-22-48 1.50V ด้วยคำสั่งที่เปิดใช้งานผ่าน XMP2.0 Profile ซึ่งก็สามารถที่จะทดสอบ Memtest ผ่านได้อย่างมีเสถียรภาพดี ในระดับ 300%+ ครับ

 

RunMemtestPro
@ DDR4-4800Mhz CL19-22-22-48 1.50V


     และสำหรับผลการทดสอบด้านล่างนี้ก็คือชุด Benchmark ที่เราจะนำมาให้ชมความแรงในรีวิวฉบับนี้ครับ โดยจะเน้นไปที่การ Overclock แรมที่ความเร็ว DDR4-4800Mhz พร้อมการกด CL แบบแน่นๆ 18-19-19-39 2T และทำการปรับชุด Sub-Timing อื่นๆ ให้แน่นที่สุด ที่ระบบพอจะ Benchmark ผ่านได้ดีระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ถือว่านิ่ง 100% นะครับ เพราะจุดนี้ถือว่าแรมตึงมากแล้ว

 

RunMemtest

เราทดลองทดสอบ Memtest ดูกับค่า Config นี้ก็พบว่ายังยากที่จะสามารถรันผ่านได้แบบง่ายๆ  บอกได้เลยว่างานค่อนข้างหินมาก ไว้มีโอกาสวิจัยเพิ่ม จะรีบมารายงานครับ

 

Super Pi

สำหรับ Super Pi32MB ทั้ง 12 หัวก็สามารถรันผ่านได้แบบไม่ยากเย็นนักครับ โดยแรมจะต้องใช้ไฟประมาณ 1.575V ถึงจะนิ่งพอที่จะทดสอบ Pi32 หลายๆ หัวผ่านได้ และเวลาก็เร็วใช้ได้มากเลยล่ะครับ หุหุ…

 

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

Memory Bandwidth ก็แรงตาม Scale แรมระดับ 4800Mhz CL18 ที่กด Sub แน่นๆ เลยล่ะครับ

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 4

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Port Royal

     สำหรับผลการทดสอบโดยรวมที่ออกมานั้นก็ถือว่าการ Overclock แรมขึ้นมาในระดับ DDR4-4800Mhz CL18-19-19-39 + Tight Sub-Timing นั้นก็สามารถทดสอบบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ได้อย่างมีเสถียรภาพดีในระดับหนึ่งเลยล่ะครับ คือกดแรมนี่มาตลอดแบบง่ายๆ เลย (ถ้าแรมคุณวิ่งดีพอนะ) ส่วนผลการทดสอบอื่นๆ นั้นก็อาจจะขอนำเสนอในรีวิวฉบับต่อๆ ไปเพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และผลการทดสอบร่วมกับ 9900K นั้นก็คงต้องขอเวลาอีกสักพักนะครับ ^^”

 

Max Memory Overclock Stability Test

     และผลการทดสอบของแรมแบบเน้น Mhz สูงๆ พร้อมกับการกด CL 18 แบบใช้งานได้ในย่ายความถี่แรม DDR4-4800Mhz จนถึง DDR4-4933Mhz ร่วมกับแรม T-Force XTREEM DDR4-4800Mhz CL19 คู่นี้ก็พอที่จะทำได้ดีบนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX ตัวนี้อยู่นะครับ โดยผมได้ข้อมูลจากต้นสังกัดมาว่ากดเล่นแรม CL18 นั้นจะสามารถทดสอบ Memtest ผ่านง่ายกว่า  และลหลังจากที่ได้ลองดูแล้วก็พบว่าทดสอบ Memtest ผ่านง่ายจริงๆ แบบม้วนเดียวจบตลอดเลยตั้งแต่ DDR4-4800Mhz CL18-22-22-42 1.50V, DDR4-4900Mhz CL18-22-22-42 1.55V และ DDR4-4933Mhz CL18-22-22-42 1.55V ลองพิจารณาผลการทดสอบ Memtest ด้านล่างนี้ดูได้เลยครับ

 

 

RunMemTest

@ DDR4-4800Mhz CL18-22-22-42 1.50V 1300%+

จัดกันไปที่ DDR4-4800Mhz CL18-22-22-42 1.50V ซึ่ง Spec แรมแบบนี้กำลังจะมาแรง  จัดไปครับ 1300%+ ใช้เวลาทดสอบ 10 ชั่วโมง ไม่นิ่งก็ให้มันรู้ไป ห้องไม่ได้เปิดแอร์ด้วยนะครับ ^^”

 

RunMemTest

@ DDR4-4900Mhz CL18-22-22-42 1.55V 250%+

ลองกันต่อที่ DDR4-4900Mhz CL18-22-22-42 1.55V ก็ยังสามารถทดสอบผ่าน 250%+ ได้แบบไม่ยากเย็นเลยครับ

 

RunMemTest

@ DDR4-4933Mhz CL18-22-22-42 1.55V 100%+

     ที่สุดของที่สุด… นี่ผมว่าที่ความเร็วแรม DDR4-4933Mhz CL18-22-2242 1.55V นี่ล่ะครับ ช่วงแรกผมก็ไม่เคยคิดว่า จะมาในจุดนี้ได้ เพราะได้คำแนะนำว่าที่ CL18 มันมักจะทดสอบอะไรผ่านได้ง่ายกว่า ผมเลยไล่ทดสอบแรมตั้งแต่ความเร็ว DDR4-4800Mhz CL18 ไปจนถึง 4900 CL18 และ 4933 CL18 ก็พบว่ามันทดสอบผ่านได้แบบง่ายๆ กันเลยล่ะครับ เล่นเอางงกันไปเลย ซึ่งก่อนหน้านี้ CL19-22-22-48 ตาม Spec นั้นถ้าเกิน 4900Mhz ขึ้นไปนั้นทดสอบอะไรก็ดูจะเย็นไปหมด แต่กลับแปลกใจว่าทำไม CL18 ที่จริงแล้วต้องผ่านยากกว่า กลับผ่านได้แบบง่ายๆ เลย น่าจะเป็นบัคอะไรบางอย่างของ Platform นี้ก็เป็นได้ครับ เพื่อนๆ ลองเล่น CL18 แล้วลากบัสยาวๆ ดูกันเลยครับ เผื่อจะง่ายเหมือนที่ผมทำอยู่ ^^”

     ส่วนผลการทดสอบอื่นๆ สำหรับแบบ Extreme Overclocking นั้นที่ความเร็วแรมระดับ DDR4-4800 ถึง 4900Mhz CL14-14-14-28 นั้นผมอาจจะขอนำเสนอให้ชมกันภายหลังนะครับ หรือจะเข้าไปในได้ในเทปย้อนหลังของ Live Stream ที่ผ่านมาเลยก็ได้ครับ เพราะมีการ Overclock ลาก CPU ตัวนี้ไปได้กว่า 5.6Ghz-5.75Ghz ได้กันเลยทีเดียว ลองย้อนไปชมเทปกันที่ได้ที่ : https://youtu.be/GouD17pjeik

 

Max Overclock CPU on Water Cooling

และทิ้งท้ายความแรงด้วยความเร็ว CPU Intel Core i7-8086K ปิดหัว 3C/3T เน้นลาก Ghz ก็สามารถเห็นความเร็วระดับ 5.60Ghz ถึง 5.70Ghz ได้ไม่ยากบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ครับ อยู่ที่ว่า CPU เราวิ่งดีแค่ไหนมากกว่า ^^”

 

Windows 7-64Bit

Super Pi32MB i7-8086K @ 5.6Ghz + DDR4-4800Mhz CL14-14-14-28

 

Super Pi 1MB @ 5.7Ghz + DDR4-4800Mhz CL14-14-14-28

เพื่อนๆ หลายคนดูผลการทดสอบนี้แล้ว คงคิดว่าเหลือๆ อย่างแน่นอนสำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ ใครที่รอ ROG MAXIMUS XI APEX ตัวนี้เข้าจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคมอยู่ ห้ามพลาดเลยนะครับ ^^”

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ ROG MAXIMUS XI APEX เมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับ Gamer และนัก Overclocker โดยเฉพาะ…  ดังนั้นใครที่กำลังมองหาเมนบอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย ASUS ในชิปเซ็ต Intel Z390 ที่เน้นไปในเรื่องของการ Overclock CPU และ RAM เป็นหลักๆ เลยก็ลองพิจารณาดูเมนบอร์ดรุ่นนี้กันได้เลยครับ  ซึ่งคาดว่าจะเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ที่จะถึงนี้ ส่วนราคาค่าตัวนั้น ยังมิอาจคาดการณ์ได้ แต่เดาๆ ไว้ว่าน่าจะอยู่ในช่วง 14K-18K บาทครับ

     ส่วนจุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้เลยก็น่าจะเรื่องของการ Overclock CPU นั้นก็ทำภาคจ่ายไฟมาเผื่อสำหรับ i9-9900K เป็นที่เรียบร้อยแล้วถึงขนาด 16 Phase จากค่าย IR กันเลยทีเดียว ส่วนเรื่องของการ Overclock แรมนั้นถือว่าเป็น Highlight ของเมนบอร์ดตัวนี้เลยก็ว่าได้ครับ  ซึ่งจากรีวิวของเราก็พิสูจน์ให้เห็นกันแล้วว่าสามารถขับแรมความเร็ว DDR4-4800Mhz CL18-22-22-42 1.50V ไปจนถึงระดับ DDR4-4933Mhz CL18-22-22-42 1.55V ที่สามารถทดสอบ Memtest ผ่านได้แบบชิวๆ และน่าจะจัดได้ว่าเป็นเมนบอร์ดตัวแรกๆ เลยที่สามารถทำได้นิ่งและเนียนขนาดนี้ (อาจจะตัวแรกของโลกเลยว่ะครับ ที่ทำได้นิ่งขนาดนี้ เพราะตัวผมเองก็ไม่เห็ฯผลการทดสอบที่ไหนทำได้เท่าที่เราเห็นกันนี้เลย…)

     ข้อควรระวังสำหรับการ Overclock แรมบนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX ตัวนี้เลยก็คือ ถ้าเน้นการ Overclock แรมที่ความถี่สูงๆ เกินระดับ DDR4-4800Mhz+ ขึ้นไป อาจจะต้องแลกด้วยการปรับไฟ VCCIO และ VCCSA ที่สูงเพื่อช่วยในการขับ IMC และแรมให้วิ่งได้อย่างมีเสถียรภาพได้ และที่เน้นๆ เลยก็คือ VCCSA ที่ต้องใช้ในระดับ 1.60V แบบเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับแรมความเร็ว DDR4-4800Mhz+ ถ้าต่ำกว่านี้ จะทดสอบผ่านได้ยากมากครับ ผมเองก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมบอรืดรุ่นนี้จำเป็นต้งใช้ไฟสูงขนาดนี้  แต่ถามว่าอันตรายไหม ผมเองก็ไม่แน่ใจในระยะยาวของการใช้งานนะครับ ถ้าผมลองทดสอบในแบบที่ผมทดสอบให้ดูในเวลาต่อเนื่อง 8-10 ชั่วโมง ผมมองว่ายังไม่เห็นผลอะไรว่าไฟตรงนี้เยอะๆ จะทดให้พัง แต่ก็ต้องระวังและใช้วิจารณญาณกันด้วยนะครับ ผมทำให้ดูแค่เป็นแนวทางในการ Overclock แรมในระดับ DDR4-4800Mhz+ ให้มีความเสถียรภาพบนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX ตัวนี้เท่านั้น อย่างไรแล้วผู้ใช้ก็ลองเอาค่า Config ต่างๆ ที่ผมได้ทำการปรับแต่งไปประยุกต์ใช้งานดูก็แล้วกันครับ ^^”

     ส่วนจุดเด่นอื่นๆ นั้นนอกจากเรื่อง OC แรมแล้ว ก็น่าจะเป็นอุปกรณ์เสริมอย่าง DIMM.2 รุ่นใหม่ที่มีการติดตั้ง Heatsink ระบายความร้อน M.2 มาให้ทั้ง 2 ด้าน และการรองรับต่อใช้งานร่วมกับแรมแบบ DC MIMM ที่สามารถใส่แรมคู่ละ 64GB (32GBx2) บนเมนบอร์ดนี้ได้อีกด้วยครับ จัดว่าของเล่นเยอะจริงๆ ส่วนเรื่องของแสงสี RGB นั้นก็มีดีกว่า APEX ตัวเก่าเลยก็คือ รุ่นนี้รองรับช่องเสียบสาย RGb Strips แบบ 5V 3-Pin ADD_Header แล้วนะครับ แต่มีให้มาเพียง 1 ช่องเท่านั้น และช่องเสียบแบบ 12V 4-Pin RGB Header ก็มีมาให้อีก 1 ช่องครับ และรวมถึงWiFi+Bluetooth Module ก็มีมาให้ใช้งานบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ด้วยเช่นกัน  ดังนั้นจะเน้น Overclock หรือใช้งานจริง ก็สามารถตอบโจทย์ได้ทุกแนว…

และสุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากเจ้า ROG MAXIMUS XI APEX ไว้พิจารณาสำหรับขาโหดทั้งหลายกันด้วยนะครับ  ไว้พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team