รีวิวกราฟิกการ์ดตัวจิ๋ว ASUS PHOENIX GTX1660 OC 6GB

      สวัสดีครับ วันนี้ทาง Clock’EM UP.COM ก็มีกราฟิกการ์ดตัวเล็กน่ารักจากทาง ASUS มาแนะนำกันอีกหนึ่งรุ่น นั่นคือ ASUS PHOENIX Gefroce GTX 1660 OC EDITION 6GB GDDR5 ซึ่งจัดว่าเป็นกราฟิกการ์ดระดับกลาง-ล่าง  ในช่วงราคาประมาณ 7,xxx.- บาทเท่านั้นนั่นเอง  แต่ประสิทธิภาพนั้นบอกได้เลยว่า ถ้าเพื่อนๆ เล่นเกมแค่ระดับหน้าจอ 1080p เหลือเฟือมาก… แถมยังใช้พลังงานที่ต่ำมากอีกด้วยเพราะเจ้า GTX 1660 ตัวนี้ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการ 12nm. ภายใต้สถาปัตยกรรม “TU116”  ส่วนโครงสร้างการ์ดหลักของตัว GPU นั้นมันก็คือ NVIDIA Turing GPU ที่ผลิตออกมาลดต้นทุนเพื่อแข่งขันในตลาดกลาง-ล่าง… โดยการตัด Ray Tracing ทาง Hardware ออกไป… จุดนี้เองที่ทางกราฟิกการ์ดตระกูล GTX 16 Series นั้นเป็นรองให้กับการ์ดรุ่นใหญ่อย่างตระกูล RTX 20 Series ถึงแม้จะใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันก็ตาม….

Feature :

  • GeForce® 1660 Series graphics cards are built with the breakthrough graphics performance of the award-winning NVIDIA Turing™ architecture.
  • Broadcast your Gameplay: Get great performance and image quality while livestreaming to Twitch or YouTube. The GTX 1660 Series dedicated hardware encoder delivers 15% improved efficiency over prior generation graphics cards and is optimized for Open Broadcaster Software (OBS).
  • GeForce Experience: Capture and share videos, screenshots, and livestreams with friends. Keep your drivers up to date and optimize your game settings. GeForce Experience lets you do it all, making it the essential companion to your GeForce graphics card.
  • Wing-blade fan design incorporates drooped tips on each blade to reduce drag.
  • IP5X dust resistance offers protection from particle ingress for better durability.
  • Dual ball fan bearings can last up to twice as long as sleeve bearing designs.
  • Auto-Extreme Technology uses automation to enhance reliability.
  • GPU Tweak II provides intuitive performance tweaking, thermal controls, and system monitoring.

 

     สำหรับรายละเอียดทางด้านเทคนิคนั้นเจ้า ASUS PHOENIX Geforce GTX1660 OC 6GB GDDR5 ตัวนี้ก็จะมาพร้อมกับชิป GPU จากค่าย NVIDIA Geforce GTX 1660 ผลิตขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม Turing รหัส “TU116” ที่กระบวนการผลิต 12nm. โดยพวกเอาชุด CUDA ในกระประมสลผลทางด้าร 3D มาทั้งหมด 1408 Units ความเร็วในการทำงาน GPU Clock/Boost @1500/1800Mhz (Gaming Mode) และทำงานร่วมกับแรม GDDR5 ขนาดความจุ 6GB ที่มี Interface 192-Bit ความเร็ว 8,000Mhz และรองัรบ API DirectX12 และ OpenGL 4.6 พร้อมกับการเชื่อมต่อผ่านทาง Interface PCIe3.0 x16

Engine Clock :

  • OC Mode – GPU Boost Clock : 1830 MHz , GPU Base Clock : 1530 MHz
  • Gaming Mode (Default) – GPU Boost Clock : 1800 MHz , GPU Base Clock : 1500 MHz

NVIDIA Card Reference Spec.

     ส่วนภาพด้านบนนี้ก็จะเป็นคุณสมบัติเปรียบเทียบกันของ NVIDIA Geforce GTX 1660 Ti และ GTX 1660 ซึ่งหลักๆ เลยนั้นทั้งสองรุ่นจะต่างกันที่จำนวนของ  CUDA Core ที่ทางรุ่น GTX 1660 Ti จะมีเยอะกว่าที่ 1536 ตัวและในรุ่น GTX 1660 นั้นจะมีอยู่ 1408 ตัว หรือต่างกันเพียง 128 ตัวเท่านั้นเอง….  ส่วนเรื่องแรมนั้นก็ต่างกันที่ GTX 1660 Ti เลือกใช้แรมรุ่นใหม่กว่าคือ GDDR6/12Gbps/192-Bit ส่วนในรุ่น GTX 1660 นั้นจะใช้กับแรม GDDR5/8Gbps/192-Bit ส่วนเรื่องอัตราการใช้พลังงานนั้นการืดทั้งสองรุ่นอยู่เท่ากันเลยครับที่ TDP 120W  และกราฟิกการ์ดรุ่นเล็กรุ่นน้อยของ nVIDIA ในยุคหลังๆ นี้จะไม่รองรับเทคโนโลยี NVIDIA SLI Multi-GPU แล้วนะครับ  อาจจะเป็นเพราะต้องการเลี่ยงปัญหาการออกแบบ Driver และกราฟิกกาณืดในยุคปัจุบัน ก็พัฒนาในแรกพอที่จะขับการเล่นเกมในระดับ 1080 และ 2K Gaming ได้แบบชิวๆ ด้วยการ์ดใบเดียวได้แล้วนั่นเอง…

 

     สำหรับเข้า GTX 1660 รุ่นนี้จากค่าย ASUS ก็จะออกแบบมาด้วย PCB ขนาดเล็กมาก โดยขนาดของการืดอยู่ที่เพียง 17.4 x 12.1 x3.9cm. เท่านั้นเอง หรือใหญ่กว่าฝ่ามือของเราไปนิดเดียวเองฮ่าๆ…. แบบนี้เอาไปประกอบเป็นเครื่องเล่นเกมขนาดจิ๋วคู่กับเมนบอร์ด Mini-ITX กำลังเหมาะเลยนะผมว่า…  เพราะมีความหนาของการ์ดเพียง 2-Slot PCI เท่านั้น และการต่อไฟเลี้ยงเสริมของการ์ดก็เป็นแบบ 12V 8-Pin เพียงชุดเดียว (TDP 120W)

 

พัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่ 1 ตัวที่เป็นแกนแบบ Dual Ball-Bearing และยังได้รับมาตราฐาน  IP5X Dust Resistance ป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในแกนพัดลมได้อีกด้วยนะเออ… ไม่ทนให้รู้ไปครับ ^^”

 

บริเวณด้านล่างของตัว Heatsink นั้นถ้าเรามองเข้าไป จะเห็นว่าทาง ASUS ได้ติดตั้ง Thermal Pad ซับความร้อนให้กับเม็ดแรม GDDR5 ขึ้นไปยังครีบระบายความร้อนของ Heatsink หลักด้วยนะครับ… ก็ดูแปลกๆ ดี ไม่แน่ใจเหมือนกันนะว่ามันจะช่วยดึงความร้อนออกจากเม็ดแรมได้ดีสักแค่ไหน ???

 

สังเกตุได้ว่าเม็ดแรมทุกเม็ดจะมี Thermal Pad ซับความร้อนขึ้นสู่ตัวครีบระบายความร้อนทุกจุด….

     ส่วนทางด้านช่องเสียบ Display Output นั้นเราก็สามารถที่จะต่อผ่านออกไปยังจอแสดงผลได้ทั้งในรูปแบบสายสัญญาณ DVI-D, HDMI 2.0b และ DP Port 1.4 ได้อย่างละ 1 ช่อง พร้อมกับการรองรับต่อใช้งานแบบ Multi-Monitor 3 จอได้อีกด้วย….  และยังรองรับการต่อใช้งานร่วมกับจอ Monitor Gaming ที่มี NVIDIA G-Sync HDR ได้ด้วยนะเออ….

Display Output :

  • DVI Output : Yes x 1 (Native) (DVI-D)
  • HDMI Output : Yes x 1 (Native) (HDMI 2.0b)
  • Display Port : Yes x 1 (Native) (DisplayPort 1.4)
  • HDCP Support : Yes (2.2)
  • Digital Max Resolution:7680×4320

 

กราฟิกการ์ดรุ่นนี้เชื่อมต่อผ่านทาง PCIe3.0 x16 ครับ

 

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่แถมมากับตัวการ์ดนั้นก็จะมีเพียงแค่คู่มือและ DVD Driver ให้อย่างละชุดเท่านั้นครับ…