รีวิว T-Force VulcanZ DDR4-3200CL16-18-18-38 16GB-Kit

      TeamGroup เปิดตัวแรม Vulcan Series รุ่นใหม่ล่าสุดในรุ่น “VulcanZ” ซึ่งเป็นแรมรุ่นล่างของตระกูล T-Force เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแรม DDR4 ในราคาประหยัดที่มี Heatspreader ระบายความร้อนให้กับแรม โดยความเร็วของ VulcanZ นั้นจะเริ่มตั้งแต่ที่ DDR4-2666, DDR4-3000 และ DDR4-3200Mhz  และสำหรับรุ่นที่เราได้มาทำการทดสอบในครั้งนี้ก็จะเป็น T-Force VulcanZ DDR4-3200 (1600Mhz) CCL16-18-18-38 1.35V คู่ละ 16GB (8GBx2) รองรับ XMP Profile 2.0 โดยแรมรุ่นนี้จะมี Heatspreader ระบายความร้อนให้เลือกซื้ออยู่ 2 สีด้วยกันคือสีแดง “Red” และสีเทา “Gray

 

และสำหรับแรม VulcanZ DDR4-3200Mhz คู่นี้เราได้เป็น Heatspreader ระบายความร้อนสีแดงมาทำการรีวิวครับ ซึ่งสีสันก็สดดีมากเลยครับ

 

สำหรับตัว Package นั้นเป็นกล่องพลาสติกใส และแถมสติ๊กเกอร์ T-Force มาด้วย 1 ชิ้น

 

Tech Spec.

สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของแรมรุ่นนี้ก็คือแรม DDR4 ความเร็ว 3200 (1600Mhz) มีค่าหน่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ CL16-18-18-38 ใช้ไฟเลี้ยงต่ำเพียง 1.35V เท่านั้น และแรมคู่นี้มาในขนาด 16GB หรือแผงละ 8GB จำนวน 2 แผงนั่นเอง

 

การออกแบบโดยรวมของแรมรุ่นนี้ก็ทำออกมาได้ค่อนข้างเรียบๆ ดีนะครับ และยังคงเอกลักษณ์ของรุ่น Vulcan Series อยู่ไว้เหมือนเดิมก็คือทรงรูปปีก และการใช้ Heatspreader ระบายความร้อนสีแดงสด

 

       ภาพของ Heatspreader แต่ละด้านของแรมรุ่นนี้ครับ โดยจะมีอยู่หนึ่งด้านที่แปะฉลากแดงรุ่นของแรมเอาไว้คือ รหัส TLZRD48G3200HC16CBK ขนาดความจุแถวละ 8GB เป็นแรมชนิด DDR4 ความเร็ว 3200 ค่าหน่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล CL16-18-18-38 ใช้ไฟเลี้ยง 1.35V  ส่วน Heatspreader อีกด้านจะไม่ได้แปะอะไรไว้ มีเพียงแต่ T-Forcce และ VulcanZ Logo (ถ้าตัวขายจริงน่าจะมี S/N ของผู้นำเข้าแปะไว้)

 

แรมนุ่นนี้เป็น PCB แบบใหม่นะครับ หรือแบบ A2 รุ่นเอง คือเม็ดแรมจะแบ่งแยกด้านซ้ายและด้านขวาของ PCB อย่างละ 4 เม็ด รวม 8 เม็ดทั้งหมด

 

ส่วนเม็ดแแรมด้านในทาง TeamGroup ได้ทำการ Screen Label ของตัวเองทับลงไปครับ แต่ผมได้สอบถามไปทางผลิตแล้ว เขาได้แจ้งไว้ว่าเป็นเม็ดแรมจากค่าย Hynix CJR หรัส C-DIE ครับ

 

เทียบกันให้ดูระหน่างรุ่นก่อนหน้านี้ของแรมรุ่น T-Force Vulcan DARK และ VulcanZ ครับ

 

จากการเลือกใช้ Heatspreader แบบอลูมิเนียม 2 ชิ้นประกอบกันของ Vulcan DARK ก็ได้กลับมาใช้แบบ Heatspreader ที่ทำจากอลูมิเนียมชิ้นเดียวแทน และความสูงก็ต่ำลงด้วย…. ผมว่าก็ดีนะครับ แบบทรงต่ำๆ เวลาใส่กับ CPU Cooler ที่มีขนาดใหญ่ๆ มันจะได้ไม่ติดกันครับ ^^”

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบ…

Hardware Spec.

CPU
Intel Core i9-9900K 8C/16T Coffeelake 14nm. (Gen.9)
CPU Cooler
Motherboard
ASUS ROG MAXIMUS XI APEX [Intel Z390 Chipset]
Memory
T-Force VulcanZ DDR4-3200 CL16-18-18-38 16GB-Kit [8GBx2] 1.35V
VGA MSI GTX1080 Ti GAMING X
Hard Drive
-WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB with Heatsink x1 (DATA)
PSU CoolerMaster V1200 Platinum
OS Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

Thaiphoon Burner Info

     สำหรับรายละเอียดของชิปแรมจากโปรแกรม Thaiphoon Burner 1.6 นั้นตรวจสอบได้ว่าเป็นแรม DDR4 จากค่าย Hynix AFR “A-Die” แต่ข้อมูลไม่น่าจะตรงนะครับ เพราะทางผลิตบอกผมมาว่ามันคือ CJR “C-Die” แน่นนอน  เพราะจากที่ผมได้ลอง Overclock เล่นดูแล้วมันทำได้ถึงระดับ DDR4-4000Mhz+ ได้แบบนิ่มๆ เลย ดังนั้น A-Die ไม่น่าจะมาถึงตรงนี้ได้แน่นอนครับ  ผมเดาว่าเอาจจะเอาข้อมูลของ A-Die มา Flash ทับไว้เสียมมากกว่าครับ แต่จริงๆ แล้วคือ Hynix C-DIE นะครับ

 

System Config By XMP2.0 Profile

: RunMemTestPro @ 100%+

ผลการทดสอบแบบเสถียรภาพจากการเปิด XMP Profile ให้ BIOS ตั้งค่าแรมตาม Spec ที่ให้มาก็พบว่าเสถียรภาพดีตาม Spec ที่ความเร็ว DDR4-3200 CL16-18-18-38 1.35V

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

     และทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการทดสอบแบบเสถียรภาพจากค่า XMP Profile ของตัวแรมที่ทำงานร่วมกับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX กับ CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ครับ ส่วนผลการทดสอบแบบ Overclock เพิ่มความเร็วของแรมรุ่นนี้ก็สามารถทำได้อย่างมีเสถียรภาพกันที่ระดับ DDR4-4000Mhz CL18-22-22-42 ใช้ไฟเลี้ยงเพียง 1.45V และยังสามารถปรับแต่ง Sub-Timing ได้แน่นดีระดับหนึ่งอีกด้วย ไปชมกันต่อในหน้าถัดไปเลยครับ ^^”

 

UEFI BIOS Overclock Config

รายละเอียดของหน้าจอ BIOS สำหรับค่าการ Overclock แรมรุ่นนี้ที่ความเร็ว DDR4-4000 CL18-22-22-42 1.45V + Sub-Timing ที่แน่นดีระดับหนึ่งครับ ลองดูเป็นแนวทางการปรับแต่งดูกัรได้เลย…

 

Overclock Result
:  DDR4-4000Mhz CL18-22-22-42 1.45V

       และด้านล่างนี้ก็คือผลการทดสอบของแรม T-Force VulcanZ DDR4-3200MhzCL16 คู่นี้ที่สามารถ Overclock เพิ่มความเร็วขึ้นไปได้อีกอย่างน่าตกใจ ในระดับ DDR4-4000Mhz CL18-22-22-42 2T ด้วยไฟเลี้ยง 1.45V เท่านั้นเอง และยังสามารถปรับแต่ง Sub-Timing ให้กระชับขึ้นได้ดีอีกระดับหนึ่งได้อีกด้วยครับ จึงทำให้แรมคู่นี้น่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว สำหรับการเลือกใช้ชิปจาก Hynix CJR C-DIE ที่มักนิยมเอามาใส่กับแรมรุ่นล่างๆ ตั้งแต่ความเร็ว 2666Mhz ไปจนถึงระดับ 3200Mhz+ เพราะว่าชิป Hynix นั้นมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่าชิปจาก Samsung B-Die อย่างมาก  ดังนั้นชิป B-Die ต่อไปนี้เราคงจะได้เห็นบนแรมระดับ Hi-END เท่านั้น  และผมยังได้ข่าวมาอีกว่า Samsung จะเลิกผลิต B-Die แล้วด้วยนะครับ ดังนั้นชิป B-Die คงจะมีไว้เป็นแรม Hi-END ระดับ DDR4-4800Mhz+ กันแล้วจริงๆ….

 

System Config

 

RunMemTestPro @ 200%

อัด Memtest เล่นกันดูถึงระดับ 200% ก็ถือว่านิ่งดีระดับหนึ่งเลยล่ะครับ และน่าจะเป็น Hynix C-Die ตัวที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยจบมา เพราะรุ่นอื่นๆ ผมลองแล้ว Memtest ได้ยากมากๆ

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 4

 

PCMARK 10

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Port Royal

     และทั้งหมดนี้ก็เป็นความเสถียรภาพของการทดสอบของแรมคู่นี้ที่มีความสามารถในการ Overclock ได้ดีอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว กับความสามารถในการ Overclock จากความเร็วเดิมๆ ที่ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 ขึ้นมาได้ถึงระดับ DDR4-4000Mhz CL18-22-22-42 ด้วยไฟเลี้ยงเพียง 1.45V เท่านั้นเอง ถือว่าคุ้มค่ามากๆ เลยทีเดียว  เหมือนซื้อแรมบัส 4000 ในราคาบัส 3200 เลยล่ะครับ หุหุ…

 

Max Overclocking

     ต่อกันอีกสักนิดครับ ผมได้ลอง Overclock ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งที่ DDR4-4133Mhz ด้วยค่า CL ชุดเดิมที่ 18-22-22-42 และไฟเลี้ยง 1.45V ก็พบว่าสามารถบูทติดและเข้า OS ได้แบบนิ่มๆ เลยครับ เพียงแต่ว่าทดสอบหาความเสถียรภาพนั้นทำได้ยาก ไม่ว่าจะปลด CL หรืออัดไฟเลี้ยงแรมไปในระดับ 1.5-1.55V หรือแม้แต่การปรับแต่งไฟเลี้ยง VCCIO และ VCCSA เข้าช่วยก็ไม่สามารถทำให้มันเสถียรได้ง่ายๆ ดังนั้นเราจึงเก็บผลการทดสอบของ AIDA64 Memory Bandwidth มาให้ชมกันที่ความเร็ว 4133Mhz…

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

ก็ถือว่าแรงใช้ได้เลยบย Scale ของแรม DDR4-4133Mhz CL18-22-22-42 เพราะถ้าอากได้แรงกว่านี้ คงต้องหนไปชิป B-Die แทนเพราะชิป Hynix มีข้อเสียคือกด CL ชุดกลางไม่ลง อย่าง Samsung สามารถกด CL 18-18-18-38 หรือต่ำกว่านี้ได้แบบนิ่มๆ เลยเป็นต้น…

 

Conclusion.

     ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับความแรงแบบคุ้มค่าของเจ้า T-Force VulcanZ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1.35V คู่ละ 16GB (8GBx2) คู่นี้ที่สามารถ Overclock เพิ่มความเร็วไปได้ถึงระดับ DDR4-4000Mhz CL18-22-22-42 ด้วยไฟเลี้ยง 1.45V เท่านั้นเอง เหมือนได้แรมบัส 4000 ในราคาแรมบัส 3200 เลยก็ว่าได้ครับ (แรมแต่ละตัวมีความสามารถใน Overclock ที่มาก/น้อยต่างกัน) และนี่ก็คือความสามารถของแรมชิป Hynic CJR C-DIE ที่มีคุณภาพดี ก็มักจะ Overclock ได้ดีอย่างที่เห็นเลยล่ะครับ  เอาเป็นว่าตั้งแต่ยุคนี้ไป เราก็จะเห็นแรมชิป Hynix สามารถ Overclock ได้ดีกว่าเดิมมากขึ้นอย่างแน่นอน และในตอนนี้เท่าที่ทราบมาแรมชิป Hynix CJR C-DIE ที่คัดกันดีๆ สามารถ Overclock ไปได้ถึงระดับ DDR4-4400Mhz + CL18-22-22-42 แบบ Memtest ผ่านกันได้แบบนิ่มๆ แล้วนะครับ  และผมคิดว่าแรมชิป Hynix น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนัก Overclock ที่ต้องการซื้อแรมที่ไม่แพงมากและ Overclock ได้ดีระดับหนึ่ง และยังกินไฟเลี้ยงต่ำเพียง 1.45V ก็สามารถ Overclock ได้เกิน DDR4-4000Mhz+ ได้แบบไม่ยากอีกด้วย

     แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการ Overclock ของเมนบอร์ดชิปเซ็ต Intel Z390 ด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่ามันจะ Overclock ได้ดีทุกยี่ห้อและทุกรุ่นเสมอไป และเมนบอร์ดที่ดีมากๆ เลยสำหรับ Overclock แรมในตอนนี้ (Z390) ผมว่าน่าจะเป็น ROG MAXIMUS XI APEX และ MSI Z390I GAMING EDGE AC ตัวแรงที่น่าจับมา Overcloc kแรมคู่นี้มากๆ เพราะ BIOS รุ่นใหม่ๆ เริ่มปลดให้แรมชิป Hynix C-DIE วิ่งได้ดรขึ้นอย่างมากในระดับ DDR4-4000Mhz+ และไหนจะมีแรมชิป Micron E-Die ที่กลับมาเกิดใหม่ สามารถ Overclock แบบเสถียรภาพไปได้กว่า DDR4-4400Mhz CL18 ได้แล้วเช่นกันนะครับ  ดังนั้นแรมชิปใหม่ๆ ที่น่าจับตาเลยก็คือ Hynix CJR C-DIE และ Micron E-DIE ครับ

และสุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากแรมรุ่นใหม่ T-FORCE VulcanZ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 1.35V 16GB (8GBx2) คู่นี้ไว้พิจารณากันด้วย พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ…

Special Thanks

: TeamGroup Inc.

: B&Y Computer CO.,LTD.