รีวิวเมนบอร์ด ROG STRIX X399-E GAMING

Video Overclocking Guide

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy มีเมนบอร์ด + ซีพียูรุ่นใหญ่จากค่าย AMD มาแนะนำการ Overclock และปรับแต่งกันอีกหนึ่งชุด นั่นคือเมนบอร์ด ROG STRIX X399-E GAMING กับเจ้า CPU รุ่นใหญ่ AMD RYZEN Threadripper 2970WX 24Core 48 Thread ส่วนจะทำการ Overclock ยากง่ายแค่ไหนนั้นวันนี้เราก็ได้เตรียมทั้งในส่วนของ Video สอนจูนปรับแต่งค่า Overclock Config ทั้งในส่วนของ CPU และแรม DDR4 แบบ Quad Channel บน AMD RYZEN Threadripper นั้นจะปรับแต่งยากง่ายแค่ไหนนั้น สามารถรับชมกันได้เลยครับ ส่วนรีวิวของเมนบอร์ดและผลการ Benchmark อย่างเป็นทางการก็สามารถชมกันต่อได้ในรีวิวฉบับนี้เลยครับ…

 

     เอาล่ะครับมาชมกันต่อเลยกับเมนบอร์ดในรุ่น ROG STRIX X399-E GAMING ซึ่งก็จัดว่าเป็นเมนบอร์ดสำหรับ Gaming อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อย เพราะราคาถือว่าพอรับได้ครับ โดยอยู่ที่ประมาณ 12,xxx.- เท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับรุ่นใหญ่อย่าง ROG ZENITH EXTREME แล้วราคาจะอยู่ที่ราวๆ 19,000.- กันเลยทีเดียวครับ ดังนั้นผมมองว่า STRIX X399-E GAMING รุ่นนี้ราคากำลังดีสำหรับผู้ที่มองหาเมนบอร์ดสำหรับใช้งานกับ CPU AMD รุ่นใหญ่อย่าง RYZEN Threadripper ทั้ง Gen1 และ Gen2 เพราะลูกเล่นและ Option ต่างๆ มันก็มีมาให้เพียงพอต่อการใช้งานได้อย่างครอบคลุมแล้วนะผมว่า

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มาพร้อมกับขนาดมาตราฐาน Form Factor ในระดับ E-ATX กันเลยทีเดียวครับ ดังนั้นหากดู Case ที่จะใส่มันได้ก็ต้องดูด้วยว่ารองรับเมนบอร์ดขนาด E-ATX ได้หรือไม่?  ส่วนสีของ PCB นั้นยังคงใช้สีดำด้านทั้งใบ และมาพร้อมกับลวดลายเส้นสีขาวสาดไปทั่วตัวเมนบอร์ดครับ

 

 

 

สำหรับเจ้า ROG STRIX X399-E GAMING ตัวนี้ก็จะมาพร้อมกับ Socket AMD TR4 ที่สามารถติดตั้งได้กับ CPU รุ่นใหญ่อย่าง RYZEN Threadripper ได้ทั้ง Gen1 และ Gen2 ครับ และมันยังทำงานร่วมกับแรม DDR4 แบบ Quad-Channel ได้ทั้งหมด 8xDIMM ติดตั้งแรมได้สูงสุด 128GB โดยความเร็วที่รองรับนั้นได้ต่างแต่ DDR4-2133Mhz ไปจนถึงแรมแบบ OC ที่ความเร็ว DDR4-3600Mhz กันเลยทีเดียว (อย่าลืมดูรายชื่อแรมหรือ QVL ที่รองรับก่อนที่จะซื้อแรมมาด้วยนะครับ ทั้งนี้รวมถึงการดูด้วยว่า RYZEN Threadripper Gen1 และ Gen2 นั้นรองรับไหวแค่ไหนด้วย โปรดเช็คให้ละเอียดก่อนทีจะซื้อแรม/ความเร็ว/ความจุ !!!)

 

CPU ที่เราจะนำมารีวิวทดสอบร่วมกับเมนบอร์ดในวันนี้คือรุ่น AMD RYZEN Threadripper 2970WX Socket TR4 ที่มาพร้อมกับจำนวนแกนประมวลผลมากถึง 24Core 48Thread กันเลยทีเดียว โดยความเร็ว Base อยู่ที่ 3.0Ghz และยังสามารถ Max Boost ได้มากถึง 4.2Ghz กันเลยทีเดียวครับ ส่วนค่า TDP นั้นอยู่ที่ 250W

 

ภาคจ่ายไฟออกแบบมาทั้งหมด 8 Phase มาพร้อมกับชุด Heatsink ระบายความร้อน + Heatpipe + พัดลมระบายความร้อนให้แบบจัดเต็มครับ

 

ROG STRIX X399-E GAMING

โดยท่อ Heatpipe อีกฝั่งหนึ่งจะต่อกับตัว Heatsink ขนาดเล็กที่มาพร้อมกับพัดลมระบายความร้อนให้หนึ่งตัวบริเวณ Back I/O Cover

 

บริเวณจุดเสียบไฟเลี้ยงต่างๆ ของเมนบอร์ดและ CPU ได้แก่ช่องเสียบไฟเลี้ยง CPU แบบ 12V 8+4Pin อย่างละชุด และช่องเสียบไฟเลี้ยงเมนบอร์ด ATX 24-Pin

 

บริเวณช่องเสียบ M.2 Socket PCIe3.0 x4 และแบบ SATA M.2 type 2242/2260/2280 จะเสียบแบบแนวตั้ง โดยจะมาพร้อมกับคานเหล็กยึดตัว M.2 มาให้ในกล่องของเมนบอร์ดครับ

 

ส่วนช่องเสียบ USB3.1 มีมาให้ทั้งแบบธรรมดาและแบบ USB3.1 Type-C สำหรับเสียบกับ Panel ของตัว Case ครับ

 

และยังมีช่องเสียบ USB3.1 Front Panel ให้อีกหนึ่งช่องบริเวณด้านล่างเมนบอร์ดครับ   และในส่วนของ Heatsink ระบายความร้อนของชิปเซ็ต AMD X399 Chipset นั้นยังออกแบบมาให้เป็น Heatsink ระบายความร้อนสำหรับ M.2 Socket PCIe3.0 x4/SATA M.2 Type 2242/2260/2280/22110 ได้อีกด้วยครับ

 

บริเวณช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s มีทั้งหมด 6 ช่อง โดยทั้งหมดรองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1 และ 10  ส่วนช่องเสียบแบบ U.2 นั้นมีมาให้ต่อใช้งานอีก 1 ช่องครับ

Storage Support :

AMD Ryzen™ Threadripper™ Processors :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 1 x U.2 port

AMD X399 chipset :

  • 6 x SATA 6Gb/s port(s),
  • Support Raid 0, 1, 10

 

บริเวณช่องเสียบ Expantion Slot ต่างๆ ประกอบไปด้วยช่องเสียบ PCIe2.0 x1 จำนวน 1 ช่อง และ PCIe2.0 x4 มีให้อีก 1 ช่อง ส่วน PCIe3.0 x16 มีทั้งหมด 4 ช่อง โดยจะทำงานแบบ Dual Slot ได้แบบ x16 + x16 และถ้าแบบ Tripple Slot ในแบบ x16 + x16 +x8 ครับ

Expansion Slot :

AMD Ryzen™ Threadripper™ Processors

  • 4 x PCIe 3.0 x16 (single@x16, dual@x16/x16, triple@x16/x16/x8 mode)

AMD X399 chipset

  • 1 x PCIe 2.0 x4 (max at x4 mode)
  • 1 x PCIe 2.0 x1

Multi-GPU Support :

AMD Ryzen™ 2nd Generation/Ryzen™ 1st Generation Processors

  • Supports NVIDIA® Quad-GPU SLI™ Technology
  • Supports NVIDIA® 3-Way SLI™ Technology
  • Supports NVIDIA® 2-Way SLI™ Technology
  • Supports AMD Quad-GPU CrossFireX™ Technology
  • Supports AMD 3-Way CrossFireX™ Technology
  • Supports AMD 2-Way CrossFireX Technology

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มี Debug Post ให้ดูด้วยนะครับ โดยติดตั้งมาให้อยู่บริเวณด้านล่างของเมนบอร์ด และใกล้ๆ กันนั้นก็มี Power Switch มาให้กดเปิด/ปิดเครื่องได้อีกด้วย และถัดมาอีกทางขวามือ ก็จะมีช่องเสียบสำหรับสาย Strip RGB LED มาให้ โดยประกอบไปด้วบแบบ RGB 12V 4-Pin จำนวน 1 ช่อง และ ARGB 5V 3-Pin อีก 1 ช่อง

 

และบริเวณด้านบนของเมนบอร์ดก็จะมีช่องเสียบ RGB 12V 4-Pin ให้อีก 1 ช่องครับ

 

ระบบเสียงยังคงเป็น SupremeFX ที่ได้เลือกใช้ชิปเสียงจากค่าย Realtek ALC S1220A Audio Codec ตัวพิเศษครับ

ROG SupremeFX 8-Channel High Definition Audio CODEC S1220A

  • Impedance sense for front and rear headphone outputs
  • Internal audio Amplifier to enhance the highest quality sound for headphone and speakers
  • Supports : Jack-detection, Multi-streaming, Front Panel Jack-retasking
  • High quality 120 dB (Line-out at rear) and 113 dB SNR recording input (Line-in)

Audio Feature :

  • SupremeFX Shielding™ Technology
  • Optical S/PDIF out port(s) at back panel
  • Audio Shielding: Ensures precision analog/digital separation and greatly reduced multi-lateral interference
  • Dedicated audio PCB layers: Separate layers for left and right channels to guard the quality of the sensitive audio signals
  • Premium Japanese-made audio capacitors: Provide warm, natural and immersive sound with exceptional clarity and fidelity
  • Unique de-pop circuit: Reduces start-up popping noise to audio outputs
  • EMI protection cover to prevent electrical noise to affect the amplifier quality
  • Sonic Radar III
  • Sonic Studio III

 

บริเวณด้านหลังของ Back I/O Panel สำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ ครับ

Back I/O Panel :

  • 1 x LAN (RJ45) port(s)
  • 2 x USB 3.1 Gen 2 (teal blue)Type-A + USB Type-CTM
  • 8 x USB 3.1 Gen 1 (blue)
  • 1 x Optical S/PDIF out
  • 5 x Audio jack(s)
  • 1 x USB BIOS Flashback® Button(s)
  • 1 x ASUS 2×2 Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac and Bluetooth v4.2 module

Wireless Module :

  • Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac
  • Bluetooth V4.2

LAN :

  • Intel® I211-AT
  • Anti-surge LANGuard
  • ROG GameFirst IV

USB Ports :

AMD Ryzen™ Threadripper™ Processors :

  • 8 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (8 at back panel, , Type-A)

AMD X399 chipset :

  • 1 x USB 3.1 Gen 2 port(s) (1 at mid-board)

AMD X399 chipset :

  • 4 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (4 at mid-board)

AMD X399 chipset :

  • 4 x USB 2.0 port(s) (4 at mid-board)

ASMedia® USB 3.1 Gen 2 controller :

  • 2 x USB 3.1 Gen 2 port(s) (Type-A + USB Type-CTM)

 

     และสำหรับลูกค้าที่ซื้อเมนบอร์ด X399 จากทาง ASUS รุ่นนี้ แถมฟรี!!! ชุด ASUS X399 Cooling Kit สำหรับ ROG STRIX X399-E GAMING และ PRIME X399-A ที่สามารถใส่ด้วยกันได้ครับ โดยที่แถมมาให้นี้คือเหมาะสำหรับการระบายความร้อนสำหรับชุดภาคจ่ายไฟ SOC ของ CPU ที่อยู่บริเวณกลางเมนบอร์ด โดยยิ่งทำการ Overclock ร่วมกับ CPU AMD RYZEN Threadripper Gen2 แล้วล่ะก็จำเป็นมากครับที่จะต้องติดตั้งชุดระบายความร้อนนี้ลงไปครับ

 

โดยอุปกรณ์ภายในกล่องนั้นจะมีอุปกรณ์ระบายความร้อนมาให้ 2 ชุด โดยชุดแรกเป็นคานยึดพัดลมขนาดเล็ก 1 ชุด (ไม่แถมพัดลมมาให้) โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเอาไว้ระบายความร้อนให้กับ Heatsink ภาคจ่ายไฟ CPU ด้านบน หรือจะเอามาระบายความร้อนให้กับ Heatsink SOC

 

และนี่ก็คือชุด Heatsink ระบายความร้อนสำหรับชุดภาคจ่ายไฟ SOC ของเมนบอร์ดครับ

 

โดยการติดตั้งนั้นก็จะยึดลงไปกับตอนที่เราขันน็อตยึดเข้ากับตัว Case ครับ ส่วนหากใครที่ไม่ได้ประกอบลง Case ก็จะชุดน็อตตัวผู้และตัวเมียมาให้ขันยึดทั้ง 2 จุดครับ

 

โดยที่บริเวณใต้ Heatsink ก็จะมี Thermal pad คุณภาพสูงติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานครับ

 

บริเวณด้านหลังเมนบอร์ดครับ

 

อุปกรณ์ต่างๆ ที่แถมมาในกล่องเมนบอร์ดครับ

Accessories :

  • User’s manual
  • ASUS Q-Shield
  • 1 x Vertical M.2 bracket set
  • 4 x SATA 6Gb/s cable(s)
  • 1 x M.2 Screw Package
  • 1 x pack of cable tie
  • 1 x Supporting DVD
  • 1 x SLI HB BRIDGE(2-WAY-M)
  • 1 x Q-Connector
  • 1 x 10-in-1 ROG cable label
  • 1 x Thermal sensor cable pack(s)
  • ROG Fan Label
  • 1 x ROG Door Hanger(s)
  • 1 x Extension cable for Addressable LED

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ

Hardware Spec.

 CPU
 AMD Ryzen Threadripper 1920X 12C/24T
 CPU Cooler  be quiet! DARK ROCK PRO TR4
 Motherboard
 ROG STRIX X399-E GAMING (AMD X399 Chipset)
 Memory
 T-Force XTREEM DDR4-3733Mhz+4800Mhz 32GB Quad-CH
 VGA  ASROCK Radeon VII 8GB Phantom Gaming
 Hard Drive
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80Plus Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

     สำหรับผลการทดสอบในครั้งนี้ เราจะมีค่า Overclock Config ที่เราทำการปรับแต่ง CPU AMD RYZEN TR 2970WX ไว้ที่ 4.0Ghz และแรม DDR4 Quad Channel ความเร็ว DDR4-3533Mhz CL14-14-14-34 1T +Tight Sub-Timing มาให้ชมกันครับ โดยจุดนี้ผมมองดูแล้ว น่าจะเป็นจุดที่จูนเอาไว้ใช้งานจริง สำหรับผู้ที่ต้องการแรมความเร็วเกิน 3466Mhz+ ที่เป็นชิปแ Samsung B-Die โดยความเร็วของ CPU ผมแนะนำว่า 4.0Ghz All Core สำหรับ 24C/48T นั้นถือว่าหินมากๆ 4Ghz ใช้งานได้จริงทุกคอร์ก็หรูแล้ว  ส่วนความเร็วเกินกว่านี้ก็พอไปได้นะครับ ที่ความเร็ว 4.1-4.15Ghz ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องเย็นมากๆ เท่านั้นถึงจะเสถียร และไม่มี cpu thermal throttle

 

UEFI BIOS Overclocking Config

     ค่า Overclock Config ต่างๆ ที่เราปรับแต่งในครั้งนี้ครับ โดยจะเน้นไปทางการปรับแต่ง Memory Timing Config ของแรม B-Die ที่ความเร็วระดับ DDR4-3466Mhz ถึง 3533Mhz CL14-14-14-34 1T + Tight Sub-Timing โดยสามารถใช้ได้กับความเร็วทั้ง 2 ความถี่เลยนะครับ ส่วนจะเสถียรมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเกรดเม็ดแรมเสียมากกว่าครับ

 

Overclock Result

     ผลการทดสอบแรกนั้นจะเป็นชุดทดสอบที่ความเร็ว CPU AMD RYZEN TR 2970WX 24C/48T @ 4.0Ghz + DDR4-3533Mhz CL14-14-14-34 1T Quad Channel + Tight Sub Timing ผลการทดสอบที่ได้ออกมามานั้นก็ค่อนข้างแรงใช้ได้เลยครับ โดยเฉพาะ Super Pi 32MB แบบหัวเดียว คำนวนณได้เร็วมาก ต่ำกว่า 10 นาทีได้สำหรับ AMD ที่ความเร็ว 4Ghz ผมว่า OK แล้วนะ…

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

Vray Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Cinebench R20

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

PCMARK 10

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Max Overclocking

     และผลการทดสอบแบบเต็มสูบแบบเน้นลาก CPU ไปให้ไกลที่สุดและยังพอที่จะสามารถ Benchmark โปรแกรม  Encoding ต่างๆ ผ่านได้ก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ 4.15Ghz สำหรับเจ้า AMD RYZEN TR 2970WX 24C/48T ด้วยไฟเลี้ยง 1.45V (BIOS Set) โดยการระบายความร้อนด้วย Heatsink  be quiet! DARK ROCK TR4 เอาอยู่สบายๆ ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วล่ะครับสำหรับ Air Cooling ชุดนี้…

 

System Overclock Config

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

Vray Benchmark

 

Cinebench 20

 

Realbench V2.56


AIDA64 @ DDR4-3533Mhz CL14

ลองมาดูเรื่องของ Memory Bandwidth กันสักนิดหนึ่งครับ ผมเองก็ยังงๆ กับผลการทดสอบในบางครั้งของ RYZEN Threadripper 2970WX ตัวนี้โดยบางครั้งก็บางครั้งก็ให้ Memory Bandwidth ที่เกินระดับ 100K+ แต่บางครั้งก็ลดเหลือที่ 80-90K เท่านั้นเอง แต่เรื่องของ Latency ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่ต่างกันมากครับ

 

AIDA64 @ DDR4-3200Mhz CL14

และที่แปลกกว่านั้นเลยก็คือที่ DDR4-3200Mhz CL14 กลับได้ค่า Memory Bandwidth มากกว่า DDR4-3466-3533Mhz เสียอีก ไม่รู้อะไรเอ๋อกันแน่ ไว้ทราบต้นตอของปัญหาจะมาแจ้งให้ทราบครับ ^^”

 

Conclusion.

     เอาล่ะครับมาสรุปกันตรงนี้เลยดีกว่าสำหรับเมนบอร์ด ROG STRIX X399-E GAMING ตัวนี้ โดยขอพูดในเรื่องของการ Overclock CPU และแรม DDR4 ก่อนเลยนะครับ โดยในเรื่องของการ Overclock CPU AMD Threadripper 2970WX 24C/48T ตัวนี้ ตอนแรกผมก็หวั่นๆ อยู่นะว่าภาคจ่ายไฟและ Cooling จะเอาอยู่หรือไม่  แต่หลังจากที่ได้ลอง Overclock เล่นกับเมนบอร์ดตัวนี้ดูแล้วพบว่า ก็สามารถเล่นได้ดีเลยนะครับ ถึงแม้ภาคจ่ายไฟจะร้อนไปหน่อยก็ตาม แต่ก็สามารถ Overclock CPU ได้เกินความเร็ว 4Ghz+ ได้ไม่อยากเลย และยังให้ความเสถียรภาพดีอีกด้วย  และในส่วนของการ Overclock แรม DDR4 แบบ Quad Channel นั้น ตอนแรกผมก็มองว่าอาจจะยากสำหรับ RYZEN Threadripper Gen2 ที่มีจำนวนคอร์ที่ค่อนข้างเยอะ… จะเล่นยากหรือป่าว?  แต่หลังจากลองจูนแรมเล่นดู ก็พบว่าสามารถ Overclock แรม DDR4 ขึ้นไปได้ในระดับเดียวกันกับ RYZEN รุ่นอื่นๆ เลยล่ะครับ โดยที่ความเร็ว DDR4-3466 – 3533Mhz นั้นสามารถบูทได้แบบชิวๆ เลย และยังสามารถกด CL ได้แบบแน่นๆ อีกด้วย จัดว่าเมนบอร์ด ROG STRIX X399-E GAMING ตัวนี้ทำ BIOS ออกมาได้ค่อนข้างดีและน่าสนใจมากเลยทีเดียวสำหรับการ Overclock CPU และ RAM DDR4 ครับ

     ส่วน Option อื่นๆ ผมมองว่ายังไงก็ครบนะสำหรับการใช้งานยุคนี้ อย่างเช่น Gigabit LAN และ WiFi AC 2.4/5Ghz+ Bluetooth 4.2 Module ก็มีมาให้พร้อมใช้งานสำหรับเครือข่ายไร้สาย ส่วน USB3.1 Type-C ก็มีมาให้ต่อใช้งานทั้งในส่วนของ Port ด้านหลัง Back I/O และในส่วนของ Front Panel ก็สามารถเชื่อมต่อกับตัว Case ได้เช่นกัน ส่วนช่องเสียบ PCIe3.0 x16 ก็มีมาให้ทั้งหมด 4 ช่อง แต่จะรองรับแค่การต่อแบบ AMD CrossfireX และ NVIDIA SLI ได้ในแบบ Muti-GPU 3-Way ได้เท่านั้นนะครับเพราะด้วย Layout การวางของช่อง PCIe3.0 x16 ที่มีอยู่ 2 ช่องวางชิดติดกันเลย  ส่วนช่องเสียบ PCIe2.0 x1 และ PCIe2.0 x4 ก็ยังมีมาให้ต่อใช้งานอีกอย่างละ 1 ช่องครับ  และในส่วนของ SATA3.0 6Gb/s มีทั้งหมด 6 ช่อง รองรับ RAID 0, 1 และ10, มีช่องเสียบ U.2 อีก 1 ช่อง และช่องเสียบ M.2 PCIe3.0 x4/SATA M.2 Type 2280 จำนวน 1 ช่องและ Type 22110 ให้อีก 1 ช่องพร้อมกับชุดระบายความร้อน M.2 Cooling

อย่างไรแล้วก็ต้องขอฝากพิจารณาเมนบอร์ด ROG STRIX X399-E GAMING รุ่นนี้จากทาง ASUS กันด้วยนะครับ โดยช่วงนี้ใครซื้อเมนบอร์ดตัวนี้แถมฟรีชุด ASUS X399 Cooling Kit ฟรีทันทีครับ

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team