ความเร็วของแรม DDR5 มีผลต่อการเล่นเกมเยอะไหม ?

Hardware Setup

     และสำหรับชุด Hardware ที่เราจะเลือกใช้ในการทดสอบเปรียบเทียบให้ชมถึงประสิทธิภาพกันในครั้งนี้ ก็ประกอบไปด้วยชุดแรม DDR5 จากค่าย Thermaltake  ในรุ่น TT TOUGHRAM RC DDR5-5200 CL38-38-38-76 2x16GB | 32GB-Kit ใช้ไฟเลี้ยงเดิมๆ จากโรงงาน 1.15V รองรับการปรับแต่งความเร็วแรมจากทาง Intel XMP 3.0 Profile ร่วมกับเมนบอร์ดที่รองรับเป็นที่เรียบร้อยครับ

 

CPU เป็นของ Intel รุ่น Core i9-12900K 8P+8E 24Threads 30MB Cache (Gen12) Socket LGA-1700

 

 

     เมนบอร์ดตัวแรงที่เกิดขึ้นมาเพื่อ Overclock CPU และ RAM โดยเฉพาะจากสำนัก ROG รุ่น MAXIMUS Z690 APEX โดยสังเกตุง่ายๆ ว่าบอร์ดรุ่นไหนรองรับการ Overclock แรมเป็นพิเศษนั้น เราจะเห็นได้ว่าบอร์ดถูกออกแบบมาให้มีช่องเสียบแรม DDR5 เหลือเพียง 2 SLOT เท่านั้นเอง… เพื่อการออกแบบให้ CPU ควบคุมแรมที่มีความถี่สูงๆ เกินระดับ DDR5-7000+ นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น…

 

     และสำหรับการเพิ่มความเร็วแรม DDR5 ขึ้นไปในระดับสูงๆ ที่ความเร็ว DDR5-7200 CL32-42-42-28 2T + การปรับแต่งชุด Timing ชั้นลึกให้แน่นตึงด้วยนั้น มันจะมาพร้อมกับความร้อนแฝงที่เลี่ยงไม่ได้เลยครับ ความถี่สูงลิ่ว + CL ที่แน่น-ตึงเปรี๊ยะ! ถ้าระบายความร้อนออกจากตัวชิปแรมไม่ทัน ก็มิอาจช่วยให้การทำงานของแรมเสถียรภาพได้ ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนชุดระบายความร้อนของแรมใหม่ เป็นแบบ Custom Heatspreader ทองแดงล้วน ที่มีน้ำวิ่งผ่านด้านในตัว Heatspreader ที่เรียกว่าชุด DC หรือ Direct Core RAM Cooling นั่นเอง… หรืออย่างน้อยๆ แรมไม่ได้ระบายความร้อนด้วยน้ำ ก็ควรเปลี่ยนเป็นชุด Custom ทองแดงแล้วเอาพัดลมพัดแรม ก็ช่วยได้ดีระดับหนึ่งครับ สรุปคือถ้าแรมเกรดไม่เทพจริง Sink เดิมเอาไม่อยู่แน่นอนครับ