รีวิว ASUS Geforce RTX 2080 Ti Turbo 11GB GDDR6

     สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมความแรงของเจ้า NVIDIA Geforce RTX 2080 Ti 11GB GDDR6 จากทางค่าย ASUS กันดีกว่าครับกับรุ่น RTX 2080 Ti TURBO ที่มีจัดเด่นในเรื่องของการเลือกใช้แกนพัดลม Blower แบบ Dual-Ball Bearing ที่ทนทานกว่าแกนพัดลมธรรมดาทั่วไปถึง 2 เท่าตัว และนอกจากนี้ตัวแกนของพัดลมยังผ่านมาตราฐาน IP5X dust resistant ที่สามารถกันฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นเรื่องความทนทานของพัดลมนั้นหายห่วงได้เลยครับ และก่อนที่เราจะไปชมรายละเอียดของตัวกราฟิกการ์ดรุ่นนี้ เรามาดูถึงสถาปัตยกรรม NVIDIA Turing GPU กันสักเล็กน้อยก่อนเลยครับ… ^^”

 

NVIDIA Turing GPU

     จุดเด่นของกราฟิกการ์ด NVIDIA RTX Series นั้นก็คงนี้ไม่พ้นในเรื่องของ Real-time Ray Tracing ที่สถาปัตยกรรม NVIDIA Turing “TU102” นั้นได้มีการเพิ่มตัวกระมวลผลด้านแสงเงาเข้าไปโดยเฉพาะหรือที่เรียกว่า RT Core ความเร็ว 10 Giga Rays/sec โดยส่วน RT Core นี้จะทำหน้าที่ประมวลปลเรื่องแสงเงาแบบ Real-Time โดยเฉพาะซึ่งจะทำงานควบคู่ไปกับ API ตัวใหม่ล่าสุดจากทาง Microsoft คือ DirectX Ray tracing หรือ DXR นั่นเอง

 

และยังมีการเพิ่มในส่วนของ Tensor Core อีกหนึ่งชุดเข้าไปเพื่อทำหน้าที่ประมวลผลทางด้าน AI และ DLSS High-Quality Motion Image generation ที่จะช่วยให้การลบรอยหยักนั้นทำได้ดีและชาญหลาดมากขึ้น เช่นมันจะวิเคราะห์ว่าส่วนภาพ 3D ส่วนไหนที่ควรจะลบรอยหยักของวัตถุต่างๆ รวมถึงการแยกแยะในส่วนของท้องฟ้าและตึกสูงในเกมว่าควรจะดึงภาพส่วนไหนมาแสดงให้เราเห็นได้ชัดเจนขึ้น หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่ามันเป็นสุดยอดเทคโนโลยีการลบรอยหยักอีกขั้นหนึ่ง ที่มีตัวประมวลผลแยกทำงานโดยเฉพาะนั่นก็คือเจ้า Tensor Core นั่นเอง

 

     RT Core ทำหน้าที่ประมวลผลเรื่องแสงเงาแบบ Real-time Ray Tracing โดยเฉพาะจึงทำให้ Turing GPU นั้นแตกต่างไปจาก GPU สถาปัตยกรรมก่อนหน้านี้แบบสิ้นเชิงเพราะมันมีการติดตั้งตัวประมวลผล RT Core เพิ่มเข้าไปแล้วส่งต่อให้ CUDA Core หรือ Shader Units นั้นเดิมนั้นประมวลผลต่อไป ดังนั้นเมื่อมันทำงานร่วมกับชุด Tensor Core แล้วมันจะทรงพลังที่สุดเลยล่ะครับ นี่ล่ะครับคือ Geforce RTX Series ที่เน้นในเรื่องของการประมวลผลด้านแสงเงา เพื่อความสมจริงที่สุดให้แก่เหล่าบรรดาเกมเมอร์ได้เสพภาพกราฟิกสวยๆ ใกล้กับแสงจริงในธรรมชาติมากที่สุด  ปล. ถึงแม้เกมที่รองรับ Ray Tracing ในตอนนี้จะมีเพียงแค่ Battlefield V อยู่เกมเดียวและยังไม่ได้สมบูรณ์มากนักทั้งในเรื่องของคุณภาพที่ออกมาและประสิทธิภาพในการประมวลผลของการ์ด+เกม+DXR ที่ Update ปรับปรุงมาให้แล้วส่วนหนึ่ง  แต่ในอนาคตเราเชื่อว่าทาง NVIDIA และผู้ผลิตเกมคงจะรีบ Update เกมต่างๆ ที่เคยบอกไว้ว่ารองรับการทำงานแบบ Real-time Ray Tracing ได้เพิ่มขึ้นมานะครับ ^^”

 

Floating Point (fp32) + Integer Instructions (int32) นอกจากนนี้ยังมีการปรับปรุงชุดคำสั่งใหม่คือจากเดิมคือมีชุด Floating Point (FP32) อยู่แล้วและได้เพิ่มในส่วนของ Integer Instructions (int32) เข้ามาอีกด้วยครับ นับว่าแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมเดิมอย่าง Pascal อย่างแน่นอนเพราะมันม่แค่ชุดประมวลผลแบบ Floating Point เท่านั้น  ดังนั้นประสิทธิภาพในด้านกระประมวลผลของ FP + INT จึงทำได้ดีกว่าสถาปัตยกรรมเดิมอย่างแน่นอนครับ

 

     ระบบของ Cache ในตัว Turing GPU นั้นที่ได้การปรับปรุงใหม่ทั้งหมดครับ ซึ่งลองดูภาพด้านบนนี้เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับ Pascal เดิมแล้ว เราจะเห็นได้ว่าชุด L1 Cache และ Shared Mem นั้นทางด้านของ Turing GPU จะทำงานร่วมกันในแบบ 64KB+32KB หรือในแบบ 32KB+64KB จำนวน 2 ชุด ต่างจากตัว Pascal ที่ชุด L1 24KB จะแยกกับชุด Shared Mem 96KB ที่มีเพียงชุดเดียว  นอกจากนี้ตัว Turing ยังแยกในส่วนของชุด LOAD/STORE Unit สำหรับประมวลผลอีกเป็น 2 ชุดด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของ Pascal นั้นมีเพียงชุดเดียวเท่านั้น  และสำหรับ L2 Cache นั้นก็ปรับปรุงให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม Pascal L2 3MB มาเป็น L2 6MB สำหรับ Turing

 

Turing Die Shot

Tech Spec.

GeForce RTX 2080 Ti FE (Ref.) ASUS RTX 2080 Ti TURBO RTX 2080 FE (Ref.) RTX 2070 FE (Ref.)
GPU Nane TU102 TU102 TU104 TU106
Technology (TSMC) 12 nm. FFN
Die size 754mm² 545mm² 445mm²
Shader cores 4352 4352 2944 2304
Transistor count 18.6 Billion 18.6 Billion 13.6 Billion 10.8 Billion
Base frequency 1350 MHz 1350 Mhz
(Games Mode)
1515 MHz 1410 MHz
Boost frequency 1635 MHz (OC) 1535 Mhz
(Game Mode)
1800 MHz 1710 MHz
Memory 11GB GDDR6 11GB GDDR6 8GB GDDR6 8GB GDDR6
Memory frequency 14 Gbps 14 Gbps 14 Gbps 14 Gbps
Memory bus 352-bit 352-bit 256-bit 256-bit
Memory bandwidth 616 GB/s 616 GB/s 448 GB/s 448 GB/s
RT cores 68 68 46 36
Tensor cores 544 544 368 288
Texture units 272 272 184 144
ROPs 96 96 64 64
TDP 260Watt 260Watt 225Watt 185Watt
Power connector 2x 8 Pin 2x 8 Pin 8+6 Pin 8 Pin
NVLink (SLI) Yes Yes Yes No

     ส่วนทางด้าน Spec ของเจ้า ASUS Geforce RTX 2080 Ti TURBO 11GB ตัวนี้ก็คือตัว GPU Base/Boost จะอยู่ที่ 1350/1535Mhz (Game Mode หรือค่า Default จากโรงงาน) และมีอีกหนึ่งโหมดในการทำงานอยู่ที่ Base/Boost @1350/1560Mhz เพิ่ม Boost ขึ้นมาอีกเล็กน้อยครับ (ปรับแต่งได้จากโปรแกรม ASUS GPU Tweak II)  ส่วนตัวแรมของการ์ดนั้นขยับมาใช้ GDDR6 แทน GDDR5X ที่ใช้มาในสถาปัตยกรรมเดิม โดยความเร็วจะอยู่ที่ 14Gbps (14,000Mhz) กับขนาด Memory Bandwidth 352-Bit ส่วนความจุรวมนั้นอยู่ที่ 11GB GDDR6 ครับ  และในส่วนของจำนวน CUDA Cores นั้น RTX 2080 Ti จะมีอยู่ทั้งหมด 4,352 ตัว  ซึ่งเมื่อเทียบกับ Geforce GTX 1080 Ti แล้วจะมีจำนวน CUDA Cores อยู่ทั้งหมดเพียง 3,584 ตัวเท่านั้นครับ และนอกจากนี้ตัว Geforce RTX 2080 Ti ยังคงโดดเด่นในเรื่องของการเพิ่มตัวประมวลผลพิเศษเข้ามาอย่าง RT Core และ Tensor Core จึงทำให้เป็น GPU ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่ NVIDIA ได้สร้างมาครับ….

 

Product Show Case

     มาดูตัวกราฟิกการ์ด ASUS Geforce RTX 2080 Ti TURBO 11GB GDDR6 ตัวนี้กันเลยดีกว่าครับซึ่งจะมาพร้อมกับชุดระบายความร้อนบนตัวการ์ดที่หนาเพียง 2 Slot เบาบาง มาพร้อมกับพัดลมแบบ Blower คุณภาพสูงจำนวน 1 ตัวซึ่งเป็นแกนมอเตอร์แบบ Dual Ball-Bearing และผ่านมาตราฐานป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปในแกนพัดลมด้วยมาตราฐาน IP5X และสำหรับความเร็วในการทำงานของตัว GPU/Mem ดูข้อมูลได้ตาม List ด้านล่างนี้เลยครับ

GPU Clock :

  • OC Mode – GPU Boost Clock : 1560 MHz , GPU Base Clock : 1350 MHz
  • Gaming Mode (Default) – GPU Boost Clock : 1545 MHz , GPU Base Clock : 1350 MHz

Memory Clock : 14,000 MHz (11GB GDDR6)

 

 

ตัวการออกแบบมาอย่างเรียบง่าย เน้นการใช้เส้นตัดเป็นลวดลายบนตัวการ์ดที่ดูมีมิติ สวยงามแบบเรียบหรูจริงๆ ครับ โดยตัว Body นั้นเป็นสีดำด้าน ออกไปทางสีเทาเข้มๆ ตามภาพเลยครับ

 

 

     นอกจากนี้การออกแบบของตัว Heatsink ระบายความร้อนนั้น ยังมีความพิเศษในเรื่องของช่องดูดอากาศของกราฟิกการ์ดตัวที่สอง ในกรณีที่จะต้องทำการต่อใช้งานแบบ Multi-GPU SLI ซึ่งการ์ดทั้ง 2 ใบอาจจะชิดกันมาก ถ้าออกแบบช่องดูดอากาศระหว่างการ์ดแต่ละใบมาไม่ดีพอ อาจจะทำให้การ์ดตัวบนสุด มีโอกาศที่จะดูดอากาศเย็นเข้าไประบายความร้อนให้กับตัว GPU ด้านในได้ยากครับ ดังนั้น ASUS จึงออกแบบให้กรอบ Frame ของ Heatsink นั้นมีการเว้นช่องหลบเป็นมิติให้เห็นอย่างชุดเจน เพื่อที่การ์ดตัวบนสุดจะได้ดูดอากาศเข้าตัว GPU ได้ง่ายขึ้น

 

มุมนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าตัว Frame ของ Heatsink ได้ทำการเว้นช่องไว้สำหรับการดูดอากาศสำหรับการต่อใช้งานแบบ Multi-GPU โดยเฉพาะครับ

 

และมุมมองตรงนี้ก็ทำให้เห็นแบบชัดเจนว่าเขาเว้นช่องดูดอากาศไว้ให้แล้ว….

 

ตัวการ์ดมีขนาดความหนาเพียง 2 Slot PCI เท่านั้นเอง โดยด้านข้างการ์ดจะมีแถบสีไฟ LED สีขาวติดตตั้งอยู่ พร้อมกับ Logo คำว่า “GEFORCE RTX” และการ์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบไฟเลี้ยง VGA แบบ +12V 8Pin จำนวน 2 ชุดครับ

 

ภาคจ่ายไฟของตัวการ์ดทำมาอย่างดีโดยภาคจ่ายไฟของ GPU นั้นมีทั้งหมด 16-Phase กันเลยทีเดียว ส่วนภาคจ่ายไฟของ Memory GDDR6 นั้นออกแบบมาให้อีก 2-Phase ครับ

 

ดูกันใกล้ๆ อีกนิดสำหรับ Turing GPU

 

     บริเวณด้านหลังของกราฟิกการ์ดรุ่นนี้ เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าการวางอุปกรณ์ต่างๆ ด้านหลังของตัวการ์ดนั้นทำได้อย่างละเอียดประณีตมาก เพราะกระบวนการผลิตของกราฟิกการ์ดของ ASUS ในยุคนี้ใช้เทคโนโลยี Auto-Extreme Technology ที่ใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติประกอบอุปกรณ์ต่างๆ แบบ 100% โดยไม่มีมนุษณ์เข้าไปเกี่ยวข้อง ช่วยให้การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปบนตัวการ์ดนั้นมีระเบียบ แม่นยำ ไม่มีคราบพลัคจากน้ำยาประสานให้เห็นเลยแม้แต่น้อย และยังช่วยให้ตัวกราฟิกการ์ดนั้นมีความเสถียรภาพมากที่สุดอีกด้วยครับ

 

กราฟิกการ์ดนี้สามารถเชื่อมต่อกันแบบ Multi-GPU SLI ได้โดยจะเปลี่ยน Interface การเชื่อมต่อใหม่ที่มีความเร็วในการสื่อสารของการ์ดแต่ละใบได้รวดเร็วมากกว่าเดิมถึง 100 GB/s กันเลยทีเดียว โดยเรียกว่า NVIDIA NVLink Bridge ส่วนตัว SLI/HB Bridge แบบเดิมนั้นสามารถส่งข้อมูลระหว่างการ์ดได้เพียง 1-2GB/s เท่านั้นเอง สำหรับเทคโนโลยี NVLink หรือ SLI Interface ใหม่นี้จะรองรับหรือโฟกัสเพียง 2-Way เท่านั้น

 

ตัวการ์ดยังคงเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดผ่านทาง PCIe3.0 x16 เหมือนเดิมครับ

 

รายละเอียดของด้าน Display Output Ports ต่างๆ ครับ

  • HDMI Output : Yes x 1 (Native) (HDMI 2.0b)
  • Display Port : Yes x 2 (Native) (DisplayPort 1.4)
  • HDCP Support : Yes (2.2)
  • USB Type-C Support:Yes x1

 

 

และอุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่ปถมมากับตัวการ์ดมีดังนี้ครับ

  • 1 x CD
  • 1 x Quick Guide

 

System Pic & Setup

     รายละเอียดของชุดทดสอบในวันนี้ เราจะใช้ CPU Intel Core i7-8086K Limited Edition Overclock ทิ้งไว้ที่ความเร็ว 5Ghz All Core พร้อมความเร็วของ Cache Speed 4.8Ghz Vcore 1.250V ส่วนแรม DDR4 นั้นใช้ของ T-Force ในรุ่น Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18-20-20-44 1.35V 16GB-Kit (8GBx2) ปล่อยให้ทำงานตามค่า XMP2.0 Profile ส่วนเมนบอร์ดนั้นเลือกใช้ ROG MAXIMUS X APEX (Z370)

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบในครั้งนี้ โดยเราจะทดสอบในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c องศาเซลเซียสตลอดการทดสอบ

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K @5Ghz/4.8Ghz (Coffee Lake 14nm.)
 CPU Cooler  TT Floe Riing 360 RGB
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard
 ASUS ROG MAXIMUS X APEX ( Z370)
 Memory
 T-FORCE Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18 16GB-Kit
 VGA
 –ASUS RTX2080 Ti Turbo 11GB GDDR6
 -MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB GDDR5
 Hard Drive
 -XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 NVMe SSD 480GB (OS) x1
 -WD Blue 1TB HDD (Game Drive) x1
 PSU  Thermaltake iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit Last Update (1809)

 

System Config

รายละเอียดของค่า Config ต่างๆ ที่เราได้ปรับแต่งไว้ในการทดสอบกราฟิกการ์ด ASUS Geforce RTX 2080 Ti TURBO 11GB GDDR6 ตัวนี้ครับ

 

GPU-Z Details

รายละเอียด Spec. ต่างๆ ของตัวการ์ดรุ่นนี้ผ่านทางโปรแกรม GPU-Z 2.16.0 โดยความเร็วของ GPU/Boost/Mem นั้นอยู่ที่ 1350/1545/1750Mhz (Games Mode) ส่วนค่า Power Limit และ Temp Limit อยู่ที่ 120% /88c Maxส่วนเรื่องของ API นั้นตัวการ์ดก็คือ DirectX12_1 /DirectX RayTracing (DXR) และ OpenGL4.5

 

GPU Tweak II

ทาง ASUS ได้มีโปรแกรมสำหรับปรับแต่งค่าต่างๆ ของตัวการ์ดที่ชื่อว่า GPU Tweak II ซึ่งสามารถเปลี่ยนโหมดการทำงานให้การ์ดได้ 3 โหมดได้แก่ OC Mode, Gaming Mode และ Silent Mode รวมถึงหน้า Hardware Monitor และหน้า Advance สำหรับทำการ Overclock แบบ Manual ได้อีกด้วยครับ

 

Benchmark :

     เอาล่ะครับหลังจากที่ชมรายละเอียดทางด้าน Spec และหน้าตาของเจ้ากราฟิกการ์ด ASUS Geforce RTX 2080 Ti Turbo 11GB GDDR6 ไปแล้ว เราก็มาดูถึงการทดสอบวัดประสิทธิภาพจากทาง Benchmark ต่างดูกันก่อนเลยว่าได้คะแนนอยู่ในระดับไหนกันบ้างครับ โดยวันนี้เราจะขอนำเสนอเป็นผลการทดสอบไฟล์ดิบๆ ไปก่อนนะครับ และหยังจากที่เราได้มีจำนวนกราฟิกการ์ดมาทดสอบที่มากกว่า 3-4 ใบ เราจะทำกราฟมาเทียบให้ชมกันในรีวิวฉบับหน้าเมื่อมีข้อมูลพอที่จะเทียบเป็นกราฟ…

 

Vray Benchmark 1.08 : GPU

 

Geekbench 4 OpenCL

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

     เอาล่ะครับหลังจากชมผลการทดสอบจาก Benchmark ต่างๆ กันไปแล้ว ช่วงต่อไปเราจะไปดูถึงประสิทธิภาพในเรื่องของความร้อน และอัตราการใช้พลังงานของตัวการ์ดกันต่อว่าเป็นอย่างไรบ้าง และต่อด้วยผลการทดสอบทางด้าน Gaming ให้ชมเทียบกันระกว่าง MSI GTX1080 Ti GAMING X 11Gb GDDR5 VS. ASUS RTX2080 Ti TURBO 11GB GDDR6 ซึ่งถือว่าเป็นการเก็บ Base ทดสอบใหม่ของเราเลยก็ว่าได้ ฮ่าๆ…. (งานเก็บ Base กราฟิกการ์ดก็มาอีกครั้ง ^^”)

 

VGA Temperature Test

มาดูเรื่องของความร้อนกันต่อเลยครับ กับเจ้า ASUS Geforce RTX2080 Ti TURBO 11GB GDDR6 ตัวนี้ซึ่งเราก็จะใช้โปรแกรม Furmark GPU Stress Test เป็นตัวดังความร้อนแล้ว Load ของตัวการ์ด ไปชมกันเลยครับ

 

GPU : Idle

ช่วง IDLE นั้นตัวการ์ดมีความร้อนคงที่ในห้องแอร์อุณหภูมิ 24-25c อยู่ที่ระดับ 33c องศาเซลเซียสครับ

 

GPU : Full Load

     ต่อกันเลยครับกับช่วงที่ตัวการ์ด Full Load เทียบกันให้ดูเลยกับของ MSI GTX1080 Ti GAMING X เอาไว้ Compare เทียบไปก่อนนะครับ เพราะเรายังไม่มี RTX 2080 Ti ตัวอื่นให้เทียบ ณ ตอนนี้…. สรุปแล้วช่วง FUll Load ของ ASUS RTX 2080Ti Turbo 11GB อยู่ที่ 84c องศาเซลเซียสครับ ก็ร้อนเอาเรื่องอยู่นะครับ แต่อย่างลืมว่ารอบการทำงานของพัดลมแบบ Auto นั้นไม่ได้ดังมาก รอบการทำงานอยู่ที่ 2150rpm. เท่านั้นเองครับ ถ้าอยากเย็นก็ต้องปรับรอบขึ้นสูงๆ แต่ก็ต้องแลกกับเสียงรบกวนที่ตามมาด้วย ลองไปฟังเสียงพัดลม Blower ตัวนี้แบบ 100% ใน Live ของเราได้ครับว่าดังแค่ไหนกัน ฮ่าๆ…

 


Power Consumption Test

GPU : Idle

ต่อกันที่อัตราบริโภคพลังานกันบ้างครับ โดยช่วง Idle ของทั้ง System นั้นอยู่ที่ต่ำสุดที่ผมจับภาพได้คือ 81.4 Watt ครับ

 

GPU : Full Load

และช่วงที่ GPU Full Load นั้นกินไฟสูงสุดที่ประมาณ 357-360Watt โดยประมาณครับ

 

และเมื่อทำการ Compare เทียบกับกันระกว่างการ์ดทั้ง 2 ตัวแล้วพบว่า ASUS RTX2080 Ti Turbo มีค่า Idle/Full Load อยู่ที่ 814/357Watt Peak และเจ้า MSI GTX1080 Ti GAMING X นั้นจะใช้พลังงานช่วง Full Load สูงกว่าเล็กน้อยครับที่ Idle/Full Load @ 72.6/390Watt Peak

 


MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB
: Power Consumption

ส่วนรายละเอียดตรงนี้จะเป็นของชุดทดสอบด้วยการ์ด MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB GDDR5X ที่จะใช้งานการ Compare ในครั้งนี้ครับ ^^”

 

System Config

 

GPU : Idle

 

GPU : Full Load

 

Gaming Performance

เอาล่ะครับมาถึงช่วงที่ทุกคนรอคอยกันแล้วกับผลการทดสอบทางด้านเกมมิ่งที่ความละเอียดหน้าจอ 1080p โดยเรามาดูกันเลยครับว่า RTX2080 Ti กับ GTX1080 Ti นั้นจะแรงต่างกันมากน้อยแค่ไหน อย่างไรบ้างนั้น ไปชมกันเลยครับ….

 

Battlefield 1

เริ่มจากเกมแรกกันเลยครับกับ BF1 ซึ่งชัดเจนเลยว่าตัว ASUS RTX2080 Ti Turbo นั้นแรงกว่ากาณืดรุ่นเก่าอย่าง MSI GTX1080 Ti GAMING X อยู่ราวๆ 13.628fps. เฉลี่ยครับ

 

Battlefield V

ละสำหรับเกม BF5 DX11 นั้นเฟรมที่เราจับได้นั้น RTX 2080 Ti ตัวนี้ก็ยังแรกว่า GTX1080 Ti อยู่ถึง 19.65fps เฉลี่ยนกันเลยทีเดียวครับ หุหุ… จัดว่าทรงพลังมากๆ บน BF5 สำหนับ RTX 2080 Ti…..

 

Crysis 3

ทดสอบกับ Legacy Game กันบ้างอย่างเกมตัวโหดในยุคของ DirectX 9.0C อย่าง Crysis 3 (CryEngine) พบว่าการ์ดทั้ง 2 รุ่นทำเฟรมเฉลี่ยไม่ได้ต่างกันอะไรมากนักเพียงระดับ 7.26fps. เฉลี่ยเท่านั้น แสดงว่าที่ DX9.0c นั้นสถาปัตยกรรม Turing ทำได้ดีกว่า Pascal อยู่ระดับหนึ่งครับ ^^”

 

DEUS EX Benchmark

มาดูกันต่อที่ DEUS EX นั้นพบว่า RTX 2080 Ti ทำได้ดีกว่าราวๆ 10.6fps เฉลี่ยครับ

 

The Division Benchmark

ส่วนเกมนี้ก็ต่างกันในที่ระดับ Performance Scale เท่าๆ กับเกมอื่นๆ ที่ประมาณ 10.1fps เฉลี่ยครับ

 

Ghost Recon Wildlands Benchnmark

เกมนี้มีผลต่างกัน 9.88 fps เฉลี่ย…

 

Far Cry Primal Benchmark

ต่อกันที่ Far Cry Primal Benchmark (DX11) พบว่าการ์ดทั้ง 2 รุ่นทำเฟรมเฉลี่ยได้เท่ากันพอดีเลยที่ 105fps สรุปแล้วเกมนี้แทบไม่มีอะไรต่างกันเลยสำหรับ Turing และ Pascal ฮ่าๆ…

 

Far Cry 5 Benchmark

Far Cry 5 กันต่อเลยครับ โดยเกมใหม่นี้ก็ทำให้เห็นผลการทดสอบที่ต่างกันแบบชัดเจนอีกครั้ง โดยที่ RTX 2080 Ti แรงกว่าประมาณ 12fps. เฉลี่ยกันเลยทีเดียวครับ

 

Rise of Tomb Raider Benchmark

มาดูกันต่อเลยที่ Rise of Tomb Raider Benchmark นั้นเจ้ RTX 2080 Ti แรงกว่า 7.84fps เฉลี่ยครับ…. ต่างกันไม่เยอะเท่าไรนะ ผมว่า…

 

Shadow of Tomb Raider Benchmark

     และเกมทดสอบสุดท้ายของรีวิวฉบับนี้กับ Shadow Of Tomb Raider ตัวล่าสุดครับปรับรายละเอียดสุดๆ ด้วยเช่นกัน พบว่า RTX 2080 Ti ตัวนี้แรกงกว่า GTX 1080 Ti อยู่ถึง 18fps เฉลี่ยกันเลยทีเดียวครับ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ยิ่งเป็นเกมใหม่ๆ เจ้า RTX ยิ่งแผลงฤทธิ์ให้เราเห็นได้แบบชัดเจน ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าทาง NVIDIA และค่ายเกมร่วมกันพัฒนาให้การ์ดกับ Engine เกมคุยได้แบบรู้เรื่องพอ… รับรองได้ว่า Turing นั้นอนาคตคงไปได้อีกไกลแน่นอนครับ ^^”  ปล. ผมนี้รอ Ray Tracing เปิดบนเกมนี้อยู่นะครัช…. ^O^

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความแรงของกราฟิกการ์ด NVIDIA Geforce RTX จากค่าย ASUS ในรุ่น RTX 2080 Ti TURBO 11Gb GDDR6 ตัวนี้ ซึ่งต้องบอกได้เลยว่า ผลการทดสอบที่ความละเอียดหน้าจอ 1920x1080p นั้นเจ้า RTX2080 Ti นั้นทำได้แรงกว่าตัว GTX1080 Ti ตัวเรือธงเก่าก่อนหน้านี้ได้ เฉลี่ยประมาณ 10fps+++ เฉลี่ยกันเลยทีเดียวครับ และในบางเกมก็ทำให้เห็นผลชัดเจนที่แรงกว่าในระดับ 15-19fps. เฉลี่ยกันเลยทีเดียว  และที่สำคัญเลยก็คืออัตราการใช้พลังงานนั้นก็ใช้ต่ำกว่า GTX 1080 Ti อยู่ระดับหนึ่งด้วย จัดว่าเป็นการพัฒนาให้แรงขึ้นโดยที่อัตราการบริโภคพลังงานไม่ได้สูงกว่าสถาปัตยกรรมเดิม จัดว่าทำออกมาได้ดีเลยทีเดียวสำหรับ Performance/Watt

     เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีมาให้เลยก็คือการเพิ่มหน่วยประมวลผลแสงเงาและในส่วนของ AI + DLSS เข้ามาด้วยการใส่ RT Core และ Tensor Core ช่วยชุดประมวลผล CUDA เดิมให้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นอนาคตอันใกล้นี้ หากมีการ Update ให้เปิด Ray Tracing กับเกมให้มากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวการ์ด RTX ให้ทำงานกับ Ray Tracing + Engine Game ให้สมบูรณ์ขึ้น ก็น่าจะทำให้เหล่าเกมเมอร์นั้นได้เห็นภาพสวยๆ +fps. สูงๆ เล่นเกมมันส์กว่าเดิมแน่นอนครับ ซึ่งล่าสุดอย่างที่เราเจอกันเมื่อตอนที่ Ray เปิดในเกม BF5 เป็นครั้งแรกนั้นเล่นเอาเหล่าผู้เล่นที่มี RTX อยู่ในมือเข่าแทยทรุด เมื่อเปิด Ray แล้วเฟรมเรทในเกมหายไปถึง 80-100fps กันเลยทีเดียว หุหุ…. และในเวลาต่อมาทางค่ายเกมและ Microsoft DXR ก็ได้ทำการปรับปรุงให้ประสิทธิภาพของการ์ด RTX เมื่อทำงานกับชุดคำสั่ง Ray นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิมประมาณ 50% ซึ่งก็ทำได้จริงครับ เพราะผมก็ลองเล่น BF5 + Ray ในช่วงแรกๆ พบว่าเฟรมเฉลี่ยของเกม 1080p + DX12 + DXR นั้นอยู่เพียง 25-35fps เฉลี่ยเท่านั้นเอง น่าเศร้ามากๆ  และเมื่อมีการ Update แล้วพบว่าเฟรมเฉลี่ยในการเล่นเกมดีขึ้นอย่างชัดเจนที่ 60-80fps เฉลี่ยเลยล่ะครับ

     สุดท้ายนี้ก็ต้องลุ้นกันต่อไปว่า Ray Tracing นั้นจะเปิดให้ใช้งานได้ในเกมอื่นๆ มากขึ้นเร็วๆ นี้  และอย่างไรก็ต้องขอฝากพิจารณาเค้า ASUS Geforce RTX2080 Ti TURBO 11GB GDDR6 ตัวนี้กันด้วยนะครับ สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team