รีวิวกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 8GB GDDR6 (Navi 10) 7nm

     กราบสวัสดีสาวก AMD ทุกท่านครับ ช่วงนี้คงไม่มีอะไรร้อนแรงไปกว่าการเปิดตัวของสินค้าใหม่จากทาง AMD ทั้งในส่วนของ CPU และ VGA รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ถือโอกาสเปิดตัวพร้อมๆ กันเมื่อวันที่ 7/7/2019 ที่ผ่านมา กับเข้า CPU AMD RYZEN 3900X, 3700X และกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 และ RX 5700X ซึ่งถือว่าเป็นชุด Media Sample Kit ที่ถูกจัดส่งไปให้สื่อไอทีทั่วโลกได้สัมผัสทดลอง แล้วจึงบอกต่อแก่ผู้บริโภคว่าผลที่ได้นั้นออกมาเป็นอย่างไรกันบ้าง?

     เอาล่ะครับสำหรับ Sample ชุดแรกที่ทาง clockemup.com ได้มาทำการรีวิวนั้นก็จะเป็นชุด Kit ที่ทาง AMD Thailand จัดมาให้คือ CPU AMD RYZEN 7 3700X 8C/16T + เมนบอร์ด GIGABYTE X570 AORUS MASTER และตัวกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 8GB GDDR6 ซึ่งเป็นการ์ด reference จากทาง AMD เอง และในส่วนของรีวิว CPU และการลองใช้ตัวกราฟิกการ์ด RX 5700 ตัวนี้เราก็ได้เผยแพร่ไปบางส่วนแล้วใรชุด Live Stream บน Youtube และ Facebook เมื่อวันที่ 7/7/2019 พร้อมกับชุด CPU AMD RYZEN 7 3700X กันไปแล้วว่ามีประสิทธิภาพที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ใครสนใจก็สามารถย้อยกลับไปรับชม Live Stream เก่าๆ ได้ใน Fanpage และ Youtube Channel ของเราได้ครับ  ส่วนรีวิวฉบับนี้ก็จะเป็นผลการทดสอบของ AMD RADEON RX 5700 ล้วนๆ เลยนะครับ ไปชมกันเลยว่าการ์ดตัวนี้ปรับปรุงอะไรมาบ้าง…

AMD RADEON RX 5700 “Navi 10”

     เขากลับมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า RDNA และถือว่าผ่านมาถึง 5 เจนแล้วสำหรับเจ้า RADEON ซึ่งก็ได้ทำการปรับปรุงโคตรสร้างด้านใน GPU ใหม่ทั้งหมดต่างไปจาก GCN รุ่นเก่าแบบยกเครื่องใหม่เลยก็ว่าได้ครับ โดยหลักๆ เลยก็คือ GPU Navi 10 รุ่นนี้จะผลิตที่กระบวนการที่เล็กลง เหลือเพียง 7nm. เท่านั้นเอง และก็เริ่มขยับมาใช้แรม GDDR6 ขนาดความจุ 8GB และเชื่อมต่อผ่าน Interface PCIe4.0 เป็นตัวแรกของโลกอีกด้วย จัดว่าเทคโนโลยีล้ำอนาคตไปกันเลยทีเดียว หุหุ…

 

     รายละเอียดทางเทคนิคคร่าวๆ ของเข้า AMD RADEON RX 5700 ตัวนี้จะมีจำนวนชุด Compute Units ทั้งหมด 36 ชุด และจำนวนของ Stream Processors ทั้งหมดจะมีอยู่ 2304 ตัวด้วยกัน ส่วนแรมนั้นขยับมาใช้ GDDR6 ขนาด 8GB โดยเป็นแรม 256-bit ความเร็วในการทำงานอยู่ที่ 1,750Mhz (14,000Mhz GDDR6) และในส่วนของความเร็วในการทำงานของ GPU นั้นจะแบ่งเป็นการทำงานที่ 3 ระดับ กล่าวคือ Boost Clock 1725Mhz, Game Clock 1625Mhz และ Base Clock จริงๆ 1465Mhz คือไม่ว่าจะทำงานหนัก หรือร้อนแค่ไหน ก็คงไม่ทำงานต่ำไปว่าความเร็ว Base ที่ 1465Mhz ครับ ส่วน API พื้นฐานที่รองรับหลักๆ ก็คือ DirextX 12, OpenCL และ Vulcan

 

     เทียบให้ชมกันสำหรับรุ่นใหญ่ AMD RADEON RX 5700 XT และ RX 5700 โดยทั้งสองรุ่นนี้จะต่างกันที่จำนวน Stream Processors ด้วยครับ คือตัว RX 570 XT จะมีทั้งหมด 2560 Units (40 Compute Units) และการทำงานของ Base Clock/Game Clock/Boost Clock @1605/1755/1905Mhz และแรมจะทำงานเท่ากันที่ 1750Mhz (GDDR6 14Gbps) ขนาดความจุ 8GB/256-bit  และในส่วนของชุด Texture Units นั้นก็จะต่างกันด้วยเช่นกัน โดยเจ้า RX 5700 XT จะอยู่ที่ 160 ชุด ส่วนในรุ่น RX 5700 จะมีอยู่ที่ 144 ชุดครับ

 

 

      เทียบรุ่นกันกับ Vega64 GPU รุ่นเดิม เราจะเห็นได้ว่าเจ้า Navi GPU นั้นจะให้ประสิทธิภาพ Performance/Watt หรืออัตราการใช้พลังงานต่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิมถึง 1.5x เท่าตัวกันเลยทีเดียว โดยจะแรงขึ้นประมาณ +14% และกินไฟลดลง -23% เมื่อเทียบกับของเดิม และยังใช้พื้นที่ในการออกแบบตัว GPU ที่เล็กลงมากอีกด้วยครับ เพราะมันถูกผลิตด้วยกระบนการ 7nm. เท่านั้นเอง

 

     และสำหรับในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็เตรียมพร้อมที่จะปล่อยกราฟิกการ์ดรุ่นใหญ่กว่าเดิมในโครงสร้าง RDNA 2 ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 7nm.+ โดยค่าว่าน่าจะเสร็จในช่วงปี 2020-2021 ที่จะถึงนี้ครับ (เพราะ RX 5700 Series นั้นยังไม่ใช่ตัวแรงสุดในสายพันธุ์ของตระกูล Navi ) ส่วนในเรื่องของ Raytracing นั้นยังไม่มีการพูดถึงแต่อย่างใด… คาดว่าน่าจะมีใช้งานการ์ดเจนหรือ หรือรอความพร้อมอะไรบางอย่างก็เป็นได้ ^^”

 

      AMD FidelityFX  เทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยให้ภาพในเกม 3D ที่สวยงามลบคมและเหลี่ยมออกไปได้แบบหมดจดที่เรียกว่า Contrast Adaptive Sharpening (CAS) และนอกจากนี้ยังช่วยให้นักพัฒนาเกมเอาไปพัฒนาเกมให้มีภาพดูมีรายละเอียดที่แน่นขึ้น โดยไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งเลยก็จะไม่หนักไปทาง Hardware แต่จะเอื้อไปทาง Engine ของนักพัฒนาเกมเสียมากกว่า โดยทาง AMD ได้ทำเป็นแบบ Open Source Impage Quality Toolkit ดังนั้นสาย dev. เกมน่าจะชิวมากขึ้นครับ ^^”

 

สำหรับเจ้า RX 5700 นั้นถูกส่งออกมาลุยตลาดเกมระดับกลาง-บน ที่ขนาดความละเอียด 1440p นั้นทาง AMD ได้ส่งเจ้า RX 5700 ลงไปสู้กับ RTX 2060 ซึ่งพบว่าให้ประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่ดีกว่าแบบชัดเจนครับ

 

     และสำหรับ RADEON Media Engine นั้นก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของเหล่า Streamer ด้วยขุมพลังใหม่ที่สามารถ Decode H.264 ได้ถึงระดับ 4K150/8K30 กันเลยทีเดียวนะเออ… ส่วนทางด้าน Encode ก็สามารถใช้เป็นตัวปล่อย 4K90 ได้เลยนะครับ หุหุ… จะโหดไปไหน ส่วนทางด้าน H.265 ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ทางด้าน Decode ทำได้ 4K60 และทางด้าน  Encode ก็สามารถทำได้ที่ 4K90 กันเลยทีเดียว… ส่วน VP9 ยอดฮิตสำหรับการปล่อยใน Youtube ก็สามารถปล่อยได้ถึง 4K60 กันเลยทีเดียวครับ ^^”

 

รายละเอียดของการ Streaming ที่รองรับ HDR/WCG (HEVC) ยกระดับคุณภาพได้ถึง 8K (HEVC/VP) โดยทาง AMD กล่าวว่าได้เพิ่มประสิทธิภาพในการ Encoder ที่เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 40% กันเลยทีเดียว

 

     ส่วนทางด้าน Display Engine นั้นก็ยังคงรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง Freesync 2 HDR, HDMI 2.0b & Display Port 1.4HDR, Dolby Vision HDR10, Display Stream Compression 1.2a หรือที่เรียกว่า DSC เทคโนโลยี จุดเด่นของมันเลยก็คือ ถ้าต่อใช้งานร่วมกับ Monitor ที่รองรับด้วยแล้ว จะสามารถต่อสาย DP1.4 แบบ DSC ได้เพียงสาย 1 เส้นพร้อมกับคุณภาพในระดับ 4K 144Hz กันเลยทีเดียว ซึ่งปกติแล้วจอทั่วไปจะต้องใช้ DP 1.4 ถึง 2 เส้นครับ โดยทาง AMD เคลมว่าคุณภาพที่บีบอัดในสาย DP1.4 เพียงเส้นเดียวด้วย DSC นั้นจะยังคงให้คุณภาพที่ดีเหมือนเดิมครับ และในสตอนนี้จอภาพ Monitor ที่รองรับตัวแรกของโลกน่าจะเป็น Gaming Monitor จากค่าย ROG ที่ออกมารองรับเทคโนโลยี DSC แล้วเป็นที่เรียกร้อย… โดยเขาบอกว่าเป็นตัวแรกของโลกด้วยครับ ^^”

 

เอาล่ะครับและทั้งหมดนี้ก็คือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทาง AMD ได้ใส่ลงไปในตัว RADEON RX 5700 หากพร้อมกันแล้ว เราก็ไปยลโฉมตัวกราฟิกการ์ดรุ่นนี้กันเลยดีกว่าครับ ^^”

 

นี่คือตัวกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 ที่อยู่ภายในกล่องครับ ซึ่งชุดนี้จะเป็นกล่องจากทาง AMD ที่ส่งมาให้ทดสอบ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าของขายจริงกล่องจะเป็นอย่างไรนะ…

 

ตัวกราฟิกการ์ด AMD RADEON RX 5700 ตัวนี้จะมาพร้อมกับชุดระบายความร้อนสีเทา โดยตัวกรอบพัดลมจะทำจากอลูมิเนียมทั้งชิ้น  การระบายอากาศยังคงเป็นพัดลม Blower เหมือนเดิมครับ

 

AMD RADEON RX 5700 ตัวนี้ความเร็วในการทำงานของตัว GPU อยู่ที่ Base Clock/Game Clock/Boost Clock @1465/1625/1725Mhz ทำงานร่วมกับแรม GDDR6 ความเร็ว 14Gbps ขนาดความจุ 8GB/256-bit

 

ตัวการ์ดมีความหนา 2 Slot PCI โดยช่องด้านหลัง จะเป็นรูระบายอากาศร้อนของการ์ดออกไปทางด้านหลัง Case

 

การออกแบบโดยรวมแล้วดูเรียบๆ หล่อๆ มีการ Screen ไว้เพียงคำว่า RADEON ที่บริเวณด้านหน้าการ์ดและด้านบนสันการ์ดครับ

 

กราฟิกการ์ดรุ่นนี้ต่อการต่อไฟเลี้ยงสำหรับ VGA แบบ 8Pin + 6Pin โดยดารรุ่นนี้น่าจะใช้ไฟอยู่ที่ 180Watt ครับ ส่วนในรุ่น 5700 XT จะอยู่ที่ 250Watt ตามที่ทาง AMD ได้ออกแบบไว้…

 

 

บริเวณด้านหลังการ์ดนั้นจะไม่มีการติดตั้ง Back plate มาให้แต่อย่างใด

เชื่อมต่อข้อมูลผ่าน PCIe4.0 x16 ที่มีความเร็วในการ Transfer Rate อยู่ที่ 16GT/s ( x16@32GB/s)กันเลยทีเดียว โดยที่ทาง PCIe3.0 x16 นั้นทำได้สูงสุดที่ 8GT/s (x16@16GB/s) เท่านั้นเอง

 

     พัดลมดูดอากาศแบบ Classic มากๆ ด้วยพัดลมแบบ Blower 1 ตัวที่คอยดูดอากาศเข้าไประบายความร้อนให้กับตัว GPU และภาคจ่ายไฟ VRM 7-Phase โดยความร้อนจะถูกดันไปด้านหลังการ์ดเพื่อรีดลมร้อนออกไปด้านหลัง Case โดยตรง ซึ่งจะไม่มีลมร้อนวนอยู่ภายใน Case ครับ ก็เป็นข้อดีสำหรับพัดลมแบบ Blower  แต่ข้อเสียคือถ้าต้องการความเย็น ต้องเร่งรอบการทำงานของ Blower ขึ้น ซึ่งเสียงรบกวนจะค่อนข้างดังมาก โดยเฉพาะที่รอบปรับสุด 100% นั้นเสียงค่อนข้างสนั่นเลยทีเดียว ฮ่าๆ…

 

ด้านหลังของการ์ดก็จะมีช่องระบาบความร้อนของตัว GPU ออกทางด้านหลังการ์ด และสำหรับช่องเสียบ Display Output ด้านหลังการ์ดนั้นมีทั้งหมด 4 ช่องด้วยกันประกอบไปด้วย Display Port 1.4a จำนวน 3 ช่องและ HDMI 2.0b อีกหนึ่งช่องครับ…

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบ

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K @5.0Ghz/4.8Ghz (Coffee Lake 14nm.)
 CPU Cooler  Tt Water3.0 360 ARGB Sync
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard
 ASUS ROG MAXIMUS X APEX ( Z370)
 Memory
 T-FORCE Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18 16GB-Kit By XMP
 VGA  AMD RADEON RX 5700 8GB GDDR6 (Ref.)
 Hard Drive
 -XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 NVMe SSD 480GB (OS) x1
 -WD Blue 1TB HDD (Game Drive) x1
 PSU  Thermaltake iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit (1903) Last Update

 

System Config

     รายละเอียดของชุดสอบของเราในครั้งนี้ก็จะยังคงใช้ชุด Base Test VGA ของปี 2018 ที่ผ่านมาชุดเดิมเลยนะครับกับ CPU Intel Core i7-8086K ความเร็ว 5Ghz/Cache 4.8Ghz All Core 1.25V และทำงานร่วมกับแรม T-Force Xcalibur RGB DDR4-3600Mhz CL18-20-20-44 2T 1.35V ส่วน OS นั้นได้ทำการลงใหม่เป็นแบบ Clean สำหรับ Windows 10 Pro 64bit 1903 ตัวใหม่ล่าสุด เนื่องด้วย AMD ต้องการให้เห็นประสิทธิภาพสูงสุดของตัวกราฟิกการ์ดรุ่นนี้ จึงบังคับแนะนำให้ใช้ 1903 Last Update เท่านั้น ^^”

 

VGA Temperature & Power Consumption.

     มาชมผลการทดสอบในเรื่องของอุณหภูมิการทำงานและอัตราการบริโภคพลังงานของตัวการ์ดกันก่อนเลยครับ โดยเรายังใช้พิธีในการทดสอบเหมือนเดิมคือใช้ Load จากโปรแกรม Furmark ตัวล่าสุดเป็นตัว Stress test 1080p + MSAA x8 + Extreme Burn-In ส่วนอุณหภูมิของห้องทดสอบนั้นจะอยู่ที่ห้องแอร์ อุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบ

 

GPU : Idle

ในช่วง Idle ที่ GPU ไม่ได้ทำงานหนัก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 33c องศาเซลเซียสโดยประมาณครับ ส่วนพัดลมรอบ Auto นั้นอยู่ที่ 679rpm. ดังนั้นเสียงรบกวนจึงแทบไม่ได้ยิน…

 

GPU : Full Load

และในช่วง Stress test เป็นเวลาหลังจาก 7 นาที ก็พบว่าอุณหภูมิสูงสุดของการ์ด AMD RADEON RX 5700 ตัวนี้ก็อยู่ที่ 71c องศาเซลเซียสสูงสุดเท่านั้นเองครับ ถือว่าเย็นมากๆ สำหรับกราฟิกการ์ด 7nm. ตัวนี้จากทาง AMD ครับ

 


Power Consumption.

: Idle

อัตราการใช้พลังงานนั้นช่วง Idle ทั้ง System กินไฟอยู่ที่ประมาณ 72.8Watt ต่ำสุดครับ

 

: Full Load

และในช่วง Full Load นั้นก็ค่อนข้างน่าประทับใจมากเช่นเดียวกันกับเรื่องของอุณหภูมิการทำงานของตัว GPU ซึ่งการ์ดรุ่นนี้กินไฟสูงสุด (Watt peak AC-Line) อยู่ที่ 266Watt เท่านั้นเองครับ ถือว่าทำได้ดีมากๆ เลยทีเดียว

 

Benchmark

มาชมในส่วนของ Benchmark จากทางค่าย 3DMARK กันต่อเลยดีกว่าครับว่าจะแรงสักแค่ไหน ซึ่งเร็วๆ นี้เราจะทำกราฟเทียบกับการืดรุ่นใหม่ๆ ให้ชมอย่างแน่นอนครับ ซึ่งมากพอที่จะเก็บผลทำเป็นกราฟได้แล้ว ^^” (น่าจะได้เห็นในรีวิว RX 5700 XT ฉบับหน้าครับ)

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

     สำหรับประสิทธิภาพในการเล่นเกมในระดับ 1080p เทียบกับกราฟิกการ์ดใน Base ของเราในแต่ละเกม AAA แล้วพบว่าเจ้า AMD RADEON RX 5700 ตัวนี้มีประสิทธิภาพที่ขยี้คู่แข่งอย่าง RTX 2070 ที่เรามีอยู่ในกราฟได้แบบพอฟัดพอเหวี่ยงกันเลยทีเดียว โดยบางเกมที่ทาง RX 5700 ถนัดก็แรงกว่า RXT 2070 สบายๆ ครับ (จริงแล้วเขากะตีในรุ่น RTX 2060 ครับแต่ผมยังไม่มีผลเก็บใน Base) และบางเกมก็เป็นรองอยู่ไม่มาก แต่โดยรวมแล้ว ผมมองว่า มันแรงใช้ได้เลยนะเออ…. แถวกินไฟและร้อนน้อยลงกว่าเดิมเยอะเลย คงต้องยกความดีให้กับกระบวนการผลิต 7nm. ของเจ้า Navi 10 ตัวนี้ครับ ลองดูกราฟเกมต่างๆ ด้านล่างนี้ประกอบการตัดสนใจดูเลยครับ ผมไม่ขออธิบายเป็นเกมๆ ละกันสำหรับรีวิวฉบับนี้ ^^”

 

Battlefield 1

 

Battlefield V

 

Crysis 3

 

DEUS EX Benchmark

 

The Division Benchmark

 

The Division 2 Benchmark

 

Ghost Recon Wildlands

 

Far Cry 5 Benchmark

 

Shadow of The Tomb Raider Benchmark

โดยภาพรวมแล้วการเล่นเกม ทำได้ดีขึ้นมากเลยครับ ยิ่งเทียบกับพวกการ์ดรุ่นเก่าอย่าง RX580/590 แล้วล่ะก็ ต่างกันคนละโลกเลย เอิ๊กๆ ดังนั้นหากใครคิดจะ Upgrade มาเป็น RX 5700 ผมมองว่าคุ้มค่าแก่การรอคอยแน่นอน…

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับรีวิวกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่จากทาง AMD RADEON RX 5700 8GB GDDR6 ตัวนี้ที่มาพร้อมกับการออกแบบใหม่ในสถาปัตยกรรม RDNA ทำใหม่ยกแผง ต่างไปจาก GCN รุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง โดยมีการออกแบบในเรื่องของระบบการทำงานของ Compute Units ที่มีการทำ Group ใหม่และรื้อโครงสร้างทั้งหมดในการทำงานใหม่ด้วยเช่นกัน รวมถึงขนาด Cache ที่จัดการดีขึ้นกว่าเดิม 4x เท่าตัวกันเลยทีเดียว

     และจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรม RDNA กระบวนการผลิตตัว GPU ที่เล็กลงเหลือเพียง 7nm. จึงทำให้ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับ Vega64 GPU นั้นดีขึ้นในเรื่องของ Performance/Watt ได้ถึง 1.5x และอัตราการใช้พลังงานที่ลดลงถึง 23%  ดังนั้นการ์ดรุ่นนี้ยังเย็นลงและกินไฟต่ำลงกว่าเดิมมากเลยทีเดียว

     ส่วนเรื่องการเล่นเกมนั้นเมื่อเทียบกับข้อมูลที่เรามีนั้น พบว่า สามารถเล่นเกมบี้กราฟิกการ์ดของคู่แข่งในรุ่น RTX 2070 ได้สบายๆ เลยครับ และน่าจะแรงกว่า RTX 2060 อยู่มาพอสมควร  ส่วนรุ่นที่เอามาตบ RTX 2070 ได้นั้นก็น่าจะเป็นในส่วนของ RX 5700 XT ซึ่งตอนนี้เราก็อยู่ในระหว่างการทดสอบแล้วครับ เร็วๆ นี้เพื่อนๆ ก็น่าจะได้เห็นถึงพลังความสามารถของมันอย่างแน่นอน

     และสำหรับรีวิวฉบับนี้ผมคงขอจบสรุปแบบสั้นๆ ตามนั้นเลยละกันครับ หากใครสนใจก็สามารถย้อนกลับไปดูข้อมูลจากรีวิวฉบับนี้ดูกันอีกทีได้ครับ…  แล้วพบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

AMD THAILAND