รีวิว Thermaltake TT WaterRam RGB DDR4-3200Mhz 16GB-Kit

     รู้หรือยังว่า Thermaltake เริ่มผลิตแรม DDR4 Module ออกมาจำหน่ายแล้วนะ โดยจะมาพร้อมกับชุดระบายความร้อนด้วยน้ำ RGB ในรุ่น TT WaterRam RGB Liquid Cooling Memory โดยตัวแรมจะเลือกใช้ชิป Hynix C-Die ทั้งหมด โดยเริ่มออกมาจำหน่ายที่ความเร็ว DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 2x8GB|16GB และแบบ DDR4-3200Mhz 4x8GB|32GB-Kit โดยตัว Block RGB นั้นสามารถ Sync เข้ากับเนบอร์ดต่างๆ ได้เพื่อให้การแสดงผลของแสงสี RGB นั้นสามารถแสดงเป็นในรูปแบบเดียวกัน

ตัว Block น้ำด้านบนตัวแรมนั้นจะสามารถแสดงผลแบบ RGB Color และสามารถ Sync กับเมนบอร์ดต่างๆ ได้ครับ

 

ผลการทดสอบด้านอุณหภูมิที่ทาง Tt ได้ทำอ้างอิงไว้นั้นสามารถช่วยลดอุณหภูมิของตัวแรมได้มากถึง 17.8c องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับแรมที่ไม่มีการติดตั้ง Heatspreader + Water Ram

 

รองรับการต่อ Sync เข้ากับเมนบอร์ดได้หลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ASUS AURA Sync (ADD_Header), GIGABYTE RGB FUSION2, MSI RGB Mystic Light Sync และ ASRock POLYCHROME โดยทั้งหมดจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสาย Strip 5V 3 Pin Addressable ได้เท่านั้นนะครับ ดังนั้นก็เช็คเมนบอร์ดก่อนการติดตั้งด้วยถ้าต้องการ Sync

 

แกะกล่องดู Package ด้านในกันเลยกว่าครับ ก็ทำการแพ็คของด้านในมาอย่างดีมากครับ

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมากับตัวแรมครับก็จะประกอบไปด้วยตัว WaterRam RGB, Heatspreader ป่าวๆ 2 ชุด และที่ติดมากับตัวแรมก็คือแรม 2 ตัวนั่นเอง, แผ่น Thermal pad และชุดกล่อง Controller ในกรณีที่ต้องการปรับแสงสีกับบอร์ดที่ไม่รับการ Sync ก็ต่อผ่านกล่องที่ให้มาผ่าน USB Header แทนได้ครับ  ส่วนสาย 5V 3-Pin ARGB  แบบต่างๆ ที่เมนบอร์ดต้องใช้ก็แถมมาให้เรียบร้อยครับ

 

นี่คือชุดระบายความร้อนแรมน้ำทั้งหมดที่ให้มาในกล่องครับ

 

สำหรับชุด Heatspreader อีก 2 ชุดที่แถมมาให้ในกล่อง ก็จะมีการเตรียมแผ่น Thermal pad ระบายความร้อนอย่างดีเอาไว้ให้เรียบร้อยครับ โดยจะเป็นแบบซิลิโคนนุ่มๆ ไม่ใช้แบบกาวเหนียว  ดังนั้นสามารถถอดเปลี่ยนแรมได้ง่าย ไม่ต้องกลัวแรมหลุดออกมาติดที่ตัว Heatspreader เพราะกาวเหนียวๆ อีกต่อไป…

 

มาดูตัวแรมกันเลยดีกว่าครับกับ Thermaltake WaterRam RGB DDR4-3200Mhz Cl16-18-18-38 แบบ Dual Channel Kit คู่ละ 16GB (8GBx2) โดยจะมาพร้อมกับ Heatspreader แรมทำจากอลูมิเนียมชุบสีทั้งดำทั้งตัว และมีการเก็บขอบแรมด้วยการเจียรขอบลบคมมาให้เรียบร้อย งานดีมากๆ ครับ

 

ส่วนฉลากแรมนั้นจะมีเพียงด้านหนึ่งที่ระบุไว้ว่า DDR4 3200Mhz 8GB

 

ถ้าสังเกตุจาก PCB แล้วก็จะเป็น PCB แบบใหม่ที่เม็ดแรมจะแยกกันฝั่งซ้ายและขวาข้างละ 4 เม็ด หรือที่เรียกกันว่า PCB แบบ A2 นั่นเอง ส่วนชิปแรมด้านในนั้นทาง Tt ก็ประกาศชัดเจนว่าใช้ของ Hynix C-Die คัดเกรดทั้งหมด คงไม่ต้องไปหาวิธีส่องชิปแรมอะไรมากครับ หรือจะเข้าไปดูในโปรแกรม Thaiphoon Burner เพื่อเช็คชิปแรมก็ทำได้ครับ

 

     ส่วนหน้านี้คือตัวอย่างวิธีการติดตั้ง Heatspreader ระบายความร้อนแรมของ TT WaterRam เข้ากับแรมที่ยังไม่มี Sink ให้ชมกันว่ามีวิธีการประมาณไหน โดยอันดับแรกเราต้องดูก่อนว่า แรมที่เรานำมาติดตั้งนั้นเป็นแรมที่มีชิปแรมด้านเดียว หรือสองด้าน เพื่อจะได้เลือก Thermal pad ที่มีความหนา/บางในการติดตั้งเข้ากับแรม  ซึ่งทาง Tt ได้แถม Thermal pad ทั้งแบบหนาและบางมาให้เราเลือกใช้แล้วในกล่อง Accessories box อยู่แล้วครับ

 

สำหรับแรมที่ผมเตรียมมาติดตั้งนี้จะเป็นแรมที่มีชิปแรมเพียงด้านเพียว ดังนั้นบริเวณด้านหลังเราต้องเลือกใช้ Thermal pad แบบหนานั่นเองครับ  และถ้าเป็นแรมที่มีชิปแรมสองด้านก็ให้เลือกใช้แบบบางแทน

 

ก่อนติดตั้ง Thermal pad ทุกจุดก็อย่าลืมลอกเทปใสออกก่อนนะครับ ไม่งั้นมันจะเป็นฉนวนไม่นำความร้อน ให้ดึงออกทุกจัดเลยทั้งบริเวณเม็ดแรมและบริเวณ Heatspreader ด้านบน

 

จากนั้นก็แค่เอาน๊อตอีก 3 ตัวที่เขามีไว้ให้มาทำการขันยึดให้แน่น ก็เป็นอันเสร็จพิธีครับ

 

ก็ถือว่า OK นะครับกับชุด TT WaterRam RGB ชุดนี้ที่นอกจากจจะได้แรมที่ติดตั้ง Heatspteader พร้อมใช้งานมาแล้ว 2 ตัว เขายังมี Heatspreader แถมมาให้เผื่อแรมอีก 2 ชุดเพื่อว่าในอนาคตเราอาจจะเอาไปใส่กับแรมที่เรา Upgrade เพิ่มภายหลังได้นั่นเอง หรือจะเอาไปใช้แยกกับแรมรุ่นอื่นๆ ก็ทำได้ครับ

 

ตัว WaterRam หรือ Block น้ำด้านบนนั้นจะเป็นทองแดง + อะคริลิคสีขาวขุ่น พร้อมกับรูขัน Fitting ด้านบน 2 ตัวเพื่อเป็นทางให้น้ำเข้า/ออก  และมีการติดตั้งไฟ RGB มาให้เรียบร้อยครับ โดยเราจะเห็นสายสัญญาณ RGB ติดตั้งไว้ให้เรียบร้อย

 

หลักการทำงานก็ง่ายๆ เลยครับหลักจากที่ชิปแรมได้กระจายความร้อนสู่ตัว Heatspreader ระบายความร้อนแล้ว ก็จะส่งความร้อนมาระบายต่อที่ตัว Block น้ำด้านบนนั่นเอง โดยจะมีการติดตั้ง Thermal pad ขนาดใหญ่มาให้เรียบร้อย  ส่วนการใช้งานก็อย่าลืมลอกเทปใสออกก่อนใช้งานด้วยนะครับ

 

จุดต่อหัว Fitting ครับ

 

ตัว WaterRam นั้นจะรองรับการาติดตั้งแรมได้ทั้งหมด 4xDIMM ครับ โดยการติดตั้งนั้นจะมีน็อคสำหรับยึดด้านบนตัวแรมกับ Block ให้แน่นบริเวณหัวและท้ายแรมครับ

 

     เอาล่ะครับทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างในการติดตั้ง TT WaterRam RGB ในส่วนของ Heatspreader เข้ากับตัวแรมและตัว Water Block แรมด้านบน ซึ่งการออกแบบทำออกมาได้ดีมาก ประกอบง่ายมากและเลือกใช้ Thermal pad นำความร้อนคุณภาพสูง ดูดซับความร้อนจากเม็ดแรมได้เป็นอย่างดี และในช่วงถัดไปจากนี้ก็จะถึงในส่วนของการทดสอบตัวแรมดูกันว่าชิป Hynix C-Die ที่ทาง Thermaltake ได้เลือกใช้นั้น จะสามารถ Overclock ได้จากความเร็วเดิมๆ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 ได้ไกลกว่าเดิมสักแค่ไหนกัน ???

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบ

 

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K 6C/12T Coffeelake 14nm. (Delidded)
 CPU Cooler  Water Cooling Custom Set
 Motherboard
 ROG MAXIMUS XI APEX (Z390)
 Memory
 TT WaterRam RGB DDR4-3200Mhz CL16 16GB-Kit (8GBx2)
 VGA
 ASUS RTX 2070 DUAL 8GB
 Hard Drive
 T-FORCE DELTA S RGB TUF GAMING ALLIANCE 500GB (OS)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80 Plus Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

Memory Chip Info.

ข้อมูลชิปแรม DDR4 จากโปรแกรม Thaiphoon Burner ครับระบุชัดเจนว่าเป็นชิปแรม DDR4 จากค่าย Hynix “H5AN8G8N?FR-VKC” โดยทาง Tt ได้แจ้งว่าใช้หรัส C-Die

 

System Config By XMP Profile

รายละเอียดการ Setup จากค่า XMP Profile ที่ความเร็ว DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 2T 1.35V ครับ

 

RunMemtest

     ลองทดสอบความเสถียรภาพเบื้องต้นกับ Intel System ด้วยโปรแกรม RunMemTest ผ่านได้ 100%+ ได้แบบไม่มีปัญหาใดๆ โดยทำงานร่วมกับ CPU Intel Core i7-8086K 6C/12T และเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX ครับ ส่วนผลการทดสอบด้านล่างนี้ก็จะเป็นผลที่ได้จากประสิทธิภาพที่มาจาก XMP DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 2T ครับ ไปชมกันเลย

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

Geekbench 4

 

3DMARK Time Spy

 

UEFI BIOS Overclocking Config

ภาพหน้าจอ BIOS ที่เราจับภาพมาให้ชมเป็นแนวทางการปรับแต่งการ Overclock แรมรุ่นนี้ครับ ซึ่งเป็นชิป Hynix แจ่ก็สามารถ Overclock จาก Spec แรม DDR4-3200Mhz CL16 ไปได้ถึง DDR4-3900Mhz CL18-20-20-44 2T 1.45V + การปรับแต่ง Sub-Timing ให้ดีระดับหนึ่งครับ

 

Overclock Results

     มาถึงช่วงที่ทุกๆ คนรอคอยกัน กับผลการทดสอบแบบ Overclock ว่าแรมคู่นี้จะสามารถเพิ่มความเร็วจากเดิม DDR4-3200Mhz CL16 ขึ้นไปได้อีกสักเท่าไร  และจากที่ผมลองเล่นดูอยู่สักพักก็พบว่า ถ้าจะเอาแบบพอใช้งานจริงได้ ก็นิ่งที่ความเร็ว DDR4-3900Mhz CL18-20-20-44 2T โดยใช้ไฟเลี้ยงต่ำเพียง 1.45V เท่านั้น และยังสามารถกด Sub-Timing ได้ดีอีกระดับหนึ่งเลยล่ะครับ โดยผมก็ปรับเอาเท่าที่แรมจะบูทได้ง่ายๆ และทดสอบ Benchmark ต่างๆ ผ่านอย่างมีเสถียรภาพดีระดับหนึ่ง ซึ่งก็น่าแปลกใจมากเลยนะครับ ที่แรม Hynix C-Die ยุคนี้สามารถ Overclock ได้เกิน DDR4-3866Mhz+ ได้แบบนิ่มๆ กันเลยทีเดียว และถ้าลากแบบสุดๆ ก็ยังพอจะบูทที่ความเร็ว DDR4-4000Mhz CL18-20-20-44 2T 1.45V เข้า OS ได้ด้วยนะครับเพียงแต่ว่าไม่ค่อยเสถียรแล้ว ทดสอบอะไรหนักๆ จอฟ้าทันที  แต่ก็ถือว่าแจ่มแล้วกับแรม Hynix ที่มาได้ขนาดนี้ !!!

 

System Overclock Config

รายละเอียดค่า Sub-Timing และค่าแรงดันไฟเลี้ยงต่างๆ ที่ผมได้ปรับไว้ในรีวิวฉบับนี้ครับ

 

RunMemTest

การอัด Sub-Timing ให้แน่นขึ้นสำหรับแรม Hynix นั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะทดสอบ Memtest ให้ผ่านได้ยากอยู่นะครับ โดยเราสามารถรันไปได้เกือบ 100% แล้วเชียว x_x… ส่วนผลการทดสอบแบบผ่านชัวร์ ก็น่าจะปล่อย Sub-Timing ให้ Auto ผ่านชัวครับ 100%+ ก็ลองดูค่าต่างๆ เป็นแนวทางการปรับแต่งก็แล้วกันครับ ^^”

 

Super Pi

พอลองปรับ Sub-Timing ต่างๆ ให้แน่นขึ้นแล้วพบว่าแรม Hynix ก็แรงขึ้นใช้ได้เลยนะครับ

 

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRedner x64

 

Cinebench R15

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 4

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Port Royal

 

Max Overclock on Air
@ DDR4-4000Mhz CL18-20-20-44 2T

     ผลการทดสอบโดยรวมแล้ว มาได้ถึง DDR4-3900Mhz CL18-20-20-44  2T 1.45V + การปรับแต่งให้ Sub-Timing กระชับขึ้นระดับหนึ่งตามค่า Overclock Config นี้ดูแล้วก็พบว่าแรม TT WaterRam RGB ชุดนี้ก็มีความสามารถในการ Overclock ที่ทำได้เกินความคาดหมายของเราอยู่พอสมควร ซึ่งก่อนหน้านี้ประเมินดูแล้วว่า มาได้ DDR4-3600-3800Mhz ก็หรูแล้ว  แต่นี่ยังสามารถลากช่วงยาวได้ถึง DDR4-4000Mhz CL18-20-20-44 2T ได้อีกด้วย จัดว่าไม่ธรรมดาแล้วสำหรับแรมชิป Hynix + Z390 Platform เยี่ยมไปเลยครับ ^^”

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับแรม DDR4 จากค่าย Thermaltake ที่มาพร้อมกับชุด Water Block ระบายความร้อนให้กับแรมแบบ RGB อีกด้วย และที่เด็ดกว่านั้นเลยก็คือนอกจากตัวแรมที่มาแบบ Dual Channel DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 2T 1.35V ที่มาพร้อมกับ Heatspreader แรมแล้ว ยังแถม Heatspreader ป่าวๆ มาให้อีก 2 ชุด เพื่อที่จะสามารถใส่กับแรมได้อีก 2 ตัว เท่ากับว่าใครซื้อชุดแรม TT WaterRam RGB Liquid Cooling Memory ชุดนี้ไปแล้ว จะได้ชุดน้ำ + Heatspreader สำหรับต่อตัว Block น้ำฟรีอีก 2 ชุดนั่นเอง ส่วนเรื่องของแสงสี RGB Color นั้นก็รองรับการต่อ Sync ร่วมกับเมนบอร์ดทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็น ASUS AURA Sync (ADD_Header), GIGABYTE RGB FUSION2, MSI RGB Mystic Light Sync และ ASRock POLYCHROME ก็รองรับได้หมดครับ แต่ต้องไปเช็ค QVL List ที่หน้าเว็บ Tt อีกทีนะครับว่าเมนบอร์ดแต่ละค่ายที่รองรับจริงๆ นั้นมีรุ่นไหนบ้าง

ส่วนความสามารถในการ Overclock แรมชิป Hynix C-Die จากทาง Thermaltake ในครั้งนี้ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะน่าจะเป็นชิป Hynix ตัวแรกเลยที่เราได้สัมผัสถึุงความเร็วระดับ 4000Mhz ได้แบบไม่ยากเย็น ซึ่งปกติแล้วชิป Hynix จะ Overclock เกิน DDR4-3600Mhz+ นี่ก็แทบร้องขอชีวิตกันแล้วในยุคก่อนหน้านี้   แต่ปัจจุบันทาง Hynix ก็ได้พัฒนาชิปเกรดสูงของตัวอย่างในตระกูล TFR หรัส C-Die ที่บอกได้เลยว่าวิ่งดีจริงๆ และเท่าที่ผมทราบข้อมูลมา ถ้าเป็น CPU AMD RYZEN ก็จะชอบพอกันกับแรมชิป Hynix นะครับ โดยสามารถรองรับความเร็วแรม DDR4 ในระดับ 3466-3600Mhz+ ได้เลยนะครับ  ซึ่งเราก็พอได้ข้อมูลมาจากเพื่อนๆ ในกลุ่ม Overclock แชร์ข้อมูลมาว่า สามราถอัดแรม Hynix C-Die บนเมนบอร์ด ROG Crosshair VII HERO ไปได้กว่า DDR4-3866+ กันเลยทีเดียวกับ AMD RYZEN Platform จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ

และสำหรับวันนี้เราก็ต้องขอฝากแรมติดน้ำจากค่าย Thermaltake ชุดนี้ไว้พิจารณากันด้วยนะครับ ราคาก็ไม่ได้แพงเวอร์อะไร คิดว่าซื้อแรมแล้วได้ชุดน้ำมาด้วยก็แล้วกัน ฮ่าๆ  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

Thermaltake Thailand