รีวิว Thermaltake TT WaterRam RGB DDR4-3200Mhz 16GB-Kit

     ส่วนหน้านี้คือตัวอย่างวิธีการติดตั้ง Heatspreader ระบายความร้อนแรมของ TT WaterRam เข้ากับแรมที่ยังไม่มี Sink ให้ชมกันว่ามีวิธีการประมาณไหน โดยอันดับแรกเราต้องดูก่อนว่า แรมที่เรานำมาติดตั้งนั้นเป็นแรมที่มีชิปแรมด้านเดียว หรือสองด้าน เพื่อจะได้เลือก Thermal pad ที่มีความหนา/บางในการติดตั้งเข้ากับแรม  ซึ่งทาง Tt ได้แถม Thermal pad ทั้งแบบหนาและบางมาให้เราเลือกใช้แล้วในกล่อง Accessories box อยู่แล้วครับ

 

สำหรับแรมที่ผมเตรียมมาติดตั้งนี้จะเป็นแรมที่มีชิปแรมเพียงด้านเพียว ดังนั้นบริเวณด้านหลังเราต้องเลือกใช้ Thermal pad แบบหนานั่นเองครับ  และถ้าเป็นแรมที่มีชิปแรมสองด้านก็ให้เลือกใช้แบบบางแทน

 

ก่อนติดตั้ง Thermal pad ทุกจุดก็อย่าลืมลอกเทปใสออกก่อนนะครับ ไม่งั้นมันจะเป็นฉนวนไม่นำความร้อน ให้ดึงออกทุกจัดเลยทั้งบริเวณเม็ดแรมและบริเวณ Heatspreader ด้านบน

 

จากนั้นก็แค่เอาน๊อตอีก 3 ตัวที่เขามีไว้ให้มาทำการขันยึดให้แน่น ก็เป็นอันเสร็จพิธีครับ

 

ก็ถือว่า OK นะครับกับชุด TT WaterRam RGB ชุดนี้ที่นอกจากจจะได้แรมที่ติดตั้ง Heatspteader พร้อมใช้งานมาแล้ว 2 ตัว เขายังมี Heatspreader แถมมาให้เผื่อแรมอีก 2 ชุดเพื่อว่าในอนาคตเราอาจจะเอาไปใส่กับแรมที่เรา Upgrade เพิ่มภายหลังได้นั่นเอง หรือจะเอาไปใช้แยกกับแรมรุ่นอื่นๆ ก็ทำได้ครับ

 

ตัว WaterRam หรือ Block น้ำด้านบนนั้นจะเป็นทองแดง + อะคริลิคสีขาวขุ่น พร้อมกับรูขัน Fitting ด้านบน 2 ตัวเพื่อเป็นทางให้น้ำเข้า/ออก  และมีการติดตั้งไฟ RGB มาให้เรียบร้อยครับ โดยเราจะเห็นสายสัญญาณ RGB ติดตั้งไว้ให้เรียบร้อย

 

หลักการทำงานก็ง่ายๆ เลยครับหลักจากที่ชิปแรมได้กระจายความร้อนสู่ตัว Heatspreader ระบายความร้อนแล้ว ก็จะส่งความร้อนมาระบายต่อที่ตัว Block น้ำด้านบนนั่นเอง โดยจะมีการติดตั้ง Thermal pad ขนาดใหญ่มาให้เรียบร้อย  ส่วนการใช้งานก็อย่าลืมลอกเทปใสออกก่อนใช้งานด้วยนะครับ

 

จุดต่อหัว Fitting ครับ

 

ตัว WaterRam นั้นจะรองรับการาติดตั้งแรมได้ทั้งหมด 4xDIMM ครับ โดยการติดตั้งนั้นจะมีน็อคสำหรับยึดด้านบนตัวแรมกับ Block ให้แน่นบริเวณหัวและท้ายแรมครับ

 

     เอาล่ะครับทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างในการติดตั้ง TT WaterRam RGB ในส่วนของ Heatspreader เข้ากับตัวแรมและตัว Water Block แรมด้านบน ซึ่งการออกแบบทำออกมาได้ดีมาก ประกอบง่ายมากและเลือกใช้ Thermal pad นำความร้อนคุณภาพสูง ดูดซับความร้อนจากเม็ดแรมได้เป็นอย่างดี และในช่วงถัดไปจากนี้ก็จะถึงในส่วนของการทดสอบตัวแรมดูกันว่าชิป Hynix C-Die ที่ทาง Thermaltake ได้เลือกใช้นั้น จะสามารถ Overclock ได้จากความเร็วเดิมๆ DDR4-3200Mhz CL16-18-18-38 ได้ไกลกว่าเดิมสักแค่ไหนกัน ???