รีวิว TT ToughPower PF1 1050Watt 80Plus Platinium ประกัน 10 ปี

     สำหรับผู้ที่กำลังมองหา Power Supply Unit หรือ PSU ดีๆ สักหนึ่งลูกไว้ใช้งานกับเครื่อง PC สำหรับการเล่นเกมหรือทำงานดีๆ สักรุ่นหนึ่ง วันนี้เรามี Thermaltake TT Premium รุ่น ToughPower PF1 1050Watt (Non-RGB) ผ่านมาตราฐาน 80 PLUS ในระดับ Platinum มาให้เพื่อนๆ ได้พิจารณากันอีกหนึ่งรุ่น โดยจุดเด่นของ PSU รุ่นนี้คือเป็นรุ่นที่ถอดสายไฟได้ทุกเส้น หรือที่เรียกว่า PSU แบบ Fully Modular Flat Cable สายไฟชนิดแบนเรียบ เก็บสายง่าย และยังได้พัฒนาในเรื่องของการระบายความร้อนใหม่ ด้วยพัดลมที่เงียบลงกว่าเดิม Ultra Quite Hydraulic Bearing และการรับประกันที่ยาวนานกว่า 10 ปีกันเลยทีเดียว เอาล่ะครับไปชมรายละเอียดของ PSU รุ่นนี้กันต่อเลยดีกว่า…

 

Feature :

    • Continuous output at 50°C/122°F operating environment.
    • 80 PLUS Platinum Certified.
  • 100% high quality Japanese capacitors.
  • < 30mV low ripple noise design.
  • Extremely strict voltage regulation < ±2%
  • Hold up time > 16 milliseconds.
  • Fully modular low-profile flat black cables.
  • Optimized 120 mm high static pressure Fan for silent operation.
  • Smart Zero Fan: Minimizes undesired noise.
  • High amperage single +12V rail design.
  • Intel C6/C7 states & ErP ready
  • Built-in industry grade protections: OCP, OVP, UVP, OPP, SCP, OTP
  • Dimension: 150mm(W)x86mm(H)x140mm(D).
  • Safety approvals: CE/UL/TÜV/FCC/CB certifications.

 

PSU ลูกนี้ผ่านมาตราฐาน 80 Plus ในระดับ Platinum กันเลยนะครับโดยมีประสิทธิภาพในการแปลงไฟได้ดีถึงระดับ 92% และยังออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับ CPU Intel รุ่นใหม่ที่ช่วยการประหยัดพลังงานได้สมบูรณ์แบบมากขึ้นในการจัดการพลังงานของ CPU ใน C6/C7 States

 

คุณภาพต้องมาก่อน… ดังนั้น PSU รุ่นนี้จึงเลือกใช้ Capacitor หรือตัวเก็บประจุคุณภาพสูง Premium Japanese ทนความร้อนได้สูง 105c

 

จุดเด่นที่ไม่แพ้เรื่องของการออกแบบในส่วนอื่นๆ ของ PSU รุ่นนี้เลยก็คือ….. การเลือกใช้พัดลมรุ่นใหม่ของทางรุ่น TOUGHFAN 12cm High Static Pressure Fan แรงอัดดี รอบสูงสุด 2500rpm. และเสียงรบกวนในการทำงานที่ต่ำมาก

 

     ระบบ Smart Zero Fan ช่วยลดเสียงรบกวนได้ในระดับ 0dBA โดยการสั่งหยุดการทำงานของพัดลมได้ในช่วงที่มี Load ต่ำๆ ตั้งแต่ 0-30% และจะค่อยๆ เพิ่มรอบการทำงานตามสภาพของ Load โดยอัตโนมัติ เสียงรบกวนสูงสุดเพียง 42dBA โดยระบบ Smart Zero Fan นั้นมีปุ่ม Switch เปิด/ปิดการทำงานนี้ได้สำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุดในการระบายความร้อนของ PSU

Specification รายละเอียดทางเทคนิค

     รายละเอียดทางด้านเทคนิคของ PSU รุ่นนี้คือเป็นรุ่นที่จ่ายไฟ +12V แบบรางเดี่ยว Sigle Rail จ่ายกระแสได้ 87.5A @1050Watt ส่วนชุดไฟเลี้ยง 3.3V และ 5V จ่ายกระแสได้ชุดละ 20A Combined ร่วมกันแล้วทั้งสองชุดนี้จ่ายกำลังวัตต์ได้ 100Watt ครับ และถ้าดูจาก Spec ตารางด้านล่างนี้ ก็จะพบว่าสามารถ Peak Load ได้สูงสุดถึง 1260Watt ในช่วงเวลาสั้นๆ  จัดว่าไม่ธรรมดาเลยนะ… ส่วนระบบ Protection ต่างๆ ก็ได้แก่ OCP, OVP, UVP, OPP, SCP, OTP

 

P/N PS-TPD-1050FNFAPx-1
watts 1050W
Form Factor ATX
Model TTP-1050AH2FLP
Max. Output Capacity 1050W
Peak Output Capacity 1260W
Color Black
Dimension ( W / H / D ) 150mm(W) x 86mm(H) x 140mm(D)
PFC (Power Factor Correction) Active PFC
Power Good Signal 100-500 msec
Hold Up Time > 16msec at 100% of full load
Input Current 16A ~ 8A
Input Frequency Range 50Hz / 60Hz
Input Voltage 100V ~ 240V
Operating Temperature 5°C to + 50°C
Operating Humidity 20% to 85%,non-condensing
Storage Temperature -40°C to + 55°C
Storage Humidity 10% to 95%, non-condensing
COOLING SYSTEM 12cm TOUGHFAN
Efficiency Meet 80PLUS®Platinum at 115Vac input.
MTBF 120,000 hrs minimum
Safety Approval CE/UL/TÜV/FCC/CB
PCI-E 6+2pin 8
Protection OCP, OVP, UVP, OPP, SCP, OTP

 

และที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือ PSU รุ่นนี้ออกแบบมาให้ชุดไฟเลี้ยงต่างๆ แกว่งได้ไม่เกิน +/- 2% เท่านั้นเอง โดยเมื่อเทียบกับมาตราฐานที่ Intel ตั้งไว้คือ แรงดันไฟเลี้ยงชุดต่างๆ ไม่ควรแกว่างเกิน +/- 5%

 

Product Show Case

     มาดูสินค้าตัวจริงกันเลยดีกว่าครับกับเจ้า TT ToughPower PF1 ขนาด 1050Watt 80Plus Platinum รุ่นนี้ไม่มีไฟ RGB รบกวนจิตใจสำหรับผู้ที่ต้องการความเรียบหรู ไม่เน้นเรื่องของแสงสีใดทั้งสิ้น  ดังนั้นใครจะใช้รุ่นที่มีไฟ ก็คงต้องขยับไปเล่นในรุ่น ToughPower PF1 ARGB Series แทนนะครับ  และสำหรับ PSU รุ่นนี้เป็แบบถอดสายไฟได้ทุกเส้น Fully Modulay Flat Cable สายไฟเป็นแบบสายแบนเรียบ

 

 

ตัว PSU รุ่นนี้เป็นตัวถังสีดำล้วนทั้งตัว ขนาดไม่ใหญ่มากครับ 150mm(W) x 86mm(H) x 140mm(D) ถือว่าสั้นกว่าในรุ่น PF1 ARGB Series อยู่ระดับหนึ่ง แต่การออกแบบของ PSU PF1 Series นี้ทาง TT ได้กล่าวออกแบบมาใหม่ รวมถึงตัวพัดลมระบายความร้อนที่เริ่มหันมาใช้ตัวเทพอย่างใน ToughFan 12 แล้วเป็นที่เรียบร้อย

 

 

PSU ออกแบบมาให้ถอดสายไฟออกได้ทุกเส้นแบบ Full Modular Cable ช่วยให้ผู้ใช้จัดสายไฟใน Case ได้สะดวกขึ้น ชุดสายไฟเส้นไหนที่ไม่ได้ต่อใช้งาน ก็สามารถถอดเก็บไว้ได้ ส่วนการออกแบบช่องระบายความร้อนของ PSU นั้นมีช่องระบายอากาศทั้งด้านข้าง ด้านบน และด้านหลัง

 

 

Logo TT Premium ขนาดใหญ่อยู่บนตะแกรงของพัดลม ToughFan 12cm รอบการทำงานสูงสุด 2500rpm. / เสียงรบกวนสูงสุด 42dBA.

 

บริเวณจุดเสียบสาย Connector ต่างๆ ของตัว PSU โดยจะมีการเขียนระบุกำกับไว้ทุกจุดว่าสายไฟเลี้ยงชุดไหนควรจะเสียบที่ตำแหน่งใดอย่างชัดเจน

 

 

     ด้านหลังของ PSU ก็จะเป็นบริเวณจุดเสียบปลั๊ก AC 100-240V / 16A-8A / 50-60Hz และมี Switch เปิดปิด PSU + Smart Zero Fan สำหรับผู้ที่ไม่ได้สนใจเรื่องความเงียบ 0dBA ก็สามารถกดปิดระบบนี้ได้ โดยถ้าเปิดใช้ระบบ Smart Zero Fan พัดลมจะหยุดหมุนได้ในช่วงที่มี Load ต่ำๆ ในระดับ 0-30% และถ้าเกินนี้ก็จะค่อยๆ เพิ่มรอบการทำงานของพัดลมขึ้นเองโดยอัตโนมัติ มีความสัมพันธ์กับ Load ยิ่งสูง รอบการทำงานก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยสูงสุดอยู่ที่ 2,500rpm /42dBA

 

 

ฉลากระบุรุ่นและ Spec การจ่ายไฟเลี้ยงของ PSU ร่น ToughPower PF1 1050Watt รางเดี่ยว +12V จ่ายกระแสได้ 87.5A / Load 1050Watt (Watt Peak 1260Watt) และชุด 3.3V/5.0V จ่ายกระแสได้ชุดละ 20A และ Combined รวมกันได้ที่ Load 100Watt

 

 

ถังเก็บสายไฟเลี้ยงต่างๆ จะถูกเก็บไว้ในนี้ โดยสายไฟแต่ละชุด ถ้าคุณไม่ได้ใช้งาน ก็สามารถเอามาเก็บไว้ในนี้ได้ครับ จะได้ไม่หาย….

 

 

ชุดสายไฟเลี้ยงต่างๆ แบ่งออกเป็น 2ชุดใหญ่ๆ ได้แก่สายไฟแบบ Flat Cable, สายไฟ AC และชุด Cable Tie + น็อตขัน PSU สีดำอีก 4 ตัว

 

 

ลักษณะของสายไฟ AC ที่ให้มาครับ

 

 

ชุดสาย Connector ต่างๆ ที่แถมมากับตัว PSU และขนาดความยาวของสายแต่ละชุดดูข้อมมูลได้จากตารางด้านบนนี้เลยครับ

 

ตัวอย่างการเสียบสายไฟเลี้ยงต่างๆ เข้ากับตัว PSU

 

System Pic & Setup

     รายละเอียดของการทดสอบในครั้งนี้ เราจะต่อใช้งานร่วมกับ CPU Intel Core i9-12900KS + เมนบอร์ด ROG MAXIMUS Z690 APEX + ToughRAM RC DDR5-5600CL36 32GB-KIT และ MSI RX 6900 XT GAMING X TRIO 16GB ใช้เป็น Load ในการทดสอบครั้งนี้ โดยห้องทดสอบจะอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 24-25c ตลอดการทดสอบแบบ Open Case

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-12900KS 8P+8E 24Threads
CPU Cooler
 Water Cooler Custom Set
Motherboard  ROG MAXIMUS Z690 APEX
Memory
 TT TOUGHRAM RC RGB DDR5-5600CL36 32GB-Kit
VGA  MSI RX 6900 XT GAMING X TRIO 16GB
Hard Drive  T-FORCE CARDEA Z44L PCIe4.0 x4 NVMe1.4 SSD 1TB (OS)
PSU  ToughPower PF1 1050 Watt 80PLUS PLATINUM
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 11 Pro 64 bit [Last Update]

 

System Config

     รายละเอียดของชุดทดสอบครั้งนี้ เราจะทำการ Overclock CPU Intel Core i9-12900KS ตัวนี้ไว้แบบ All Core ที่ความเร็วของ P-Core @5.3Ghz Vcore 1.32V | E-Core 4.0Ghz | Cache Speed 4.5Ghz 1.25V ส่วนแรมนั้นทำการ OC ขึ้นไปด้วยเช่นกันที่ความเร็ว DDR5-6600 CL32-39-39-76 2T 1.45V และตัวกราฟิกการ์ด MSI RX 6900 XT GAMING X TRIO นั้นทำการ OC ไว้ด้วยเช่นกันที่ความเร็วของ GPU/Boost/Mem @2600/2650/2100Mhz

 

     การทดสอบของเราจะทำการสั่งให้ CPU และ VGA Full Load พร้อมกัน โดยส่วนของ CPU จะใช้ Cinebench R23 ทดสอบแบบ 30 นาที และในส่วนของ VGA จะใช้ PwerMAX VGA 1080p เป็นระยะเวลา 30 นาทีด้วยเช่นกัน ส่วนภาพนี้เป็นจุดที่เราใช้เสียบไว้แรงดันไฟเลี้ยง +12V ของ VGA ส่วนของ CPU นั้นเราก็จะเสียบไว้ที่จุดต่อไฟเลี้ยงของ CPU ที่ชุด 8-Pin 12V ของเมนบอร์ด

 

การทดสอบครั้งนี้เราจะวัดอุณหภูมิในการทำงานของ PSU ในจุดที่ลมร้อนออกทางด้านหลังมาให้ชมกันด้วยครับ

 

Power Consumption & Voltage Drop test

ภาพบรรยากาศระหว่างการทดสอบของเราครับ โดยทั้ง System สามารถทำ Peak Load AC-Line ได้สูงสุดที่ระดับ 870-900Watt Peak AC-Line

 

Video Test Watt Peak (AC-Line)

Watt Peak AC-Line

 

PSU Temperature Test (วัดลมร้อนด้านหลัง PSU) Ambient Room 24-25c

  • Idle : 28-30c
  • Full : 36-37.3c Max

     เรื่องของอุณหภูมิการทำงานของ PSU รุ่นนี้ผมถือว่าไม่ร้อนมากสักเท่าไรนะครับ จับดูที่ตัวถังก็แค่อุ่นๆ และวัดลมร้อนด้านหล้งที่ออกมาก็พบว่าไม่ได้สูงมากเช่นกัน เพียง 36-37c สูงสุดเท่านั้น และพัดลมก็ทำงานได้อย่างเงียบมากๆ นี่ขนาดว่ารอบการทำงานของพัดลมยังไม่สุดนะครับ…. จัดว่าการเอา ToughFAN 12 เข้าไปใส่ใน PSU รุ่นนี้ถือว่าเป็นความคิดที่ดีเลยล่ะ… เย็นและเงียบจริงๆ


System Full Load VGA + CPU

ภาพการทดสอบช่วงที่ VGA และ CPU กำลัง Burn-In ครับ โดยใช้ระยะเวลาการทดสอบประมาณ 30 นาที

 

Burn-In VGA + CPU Finish @30min

     ส่วนผลการทดสอบตรงนี้คือหลังจากทั้ง VGA และ CPU รันครบ 30 นาทีครับ พบว่า PSU รุ่นนี้รับโหลดประมาณ 800-900Watt Peak AC Line ได้สบายๆ แน่นอน หรือสรุปเอาเป็นว่า ใครซื้อคอมไปประกอบใช้งาน กับ Spec. Intel Core i9-12900KS + VGA RX 6900 XT ผมว่ายังไงก็เหลือๆ ครับ เพราะการใช้งานจริง อย่างเช่นแค่การเล่นเกม ก็น่าจะไฟไฟทั้งระดับ 450-500Watt เท่านั้น และถ้าแค่ CPU Full Load ยังไงก็ไม่น่าเกินช่วง 300-380Watt แน่นอน


Power Consumption Test

การทดสอบเรื่อง Power Consumption ในครั้งนี้ ระบบของเราทำ Load ได้สูงสุดเพียงเท่านี้นะครับครับ กล่าวคือ Watt Peak AC-Line @ 870-900Watt โดยประมาณ โดยช่วง Idle Load ทั้งระบบจะกินไฟอยู่ที่ 150Watt โดยประมาณ และค่า PF อยู่ที่ 0.887 / กระแส 0.75A และในช่วงที่มี Load Peak ราวๆ 900Watt ค่า PF Active ขึ้นมาที่ 0.98 โดยทั้งเครื่องกินกระแสถึง 4.05A-4.16A กันเลยทีเดียว…

 

Voltage Drop Test

     มาดูในส่วนของเรื่อง Voltage Drop Test ในแรงดันไฟเลี้ยงต่างๆ กันบ้างครับ จากการทดสอบของเราที่ Load ประมาณ 900Watt AC-Line พบว่าชุดแรงดันไฟเลี้ยงต่างๆ ทั้งในส่วนของ +12V, +3.3V และ +5V นั้นแทบไม่ตกเลยครับ แถมยัง Active ขึ้นอีกนิดหนึ่งด้วยเมื่อมี Load โดยรวมแล้วจัดว่าเป็น PSU รุ่นหนึ่งที่จ่ายไฟได้ค่อนข้างเนียนรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว ตรงกับที่เคลมเอาไว้ว่าออกแบบมาให้แกว่งไม่เกิน +/- 2% เท่านั้น…

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ… TT Premium ToughPower PF1 1050Watt 80PLUS ระดับ Platinum ลูกนี้ จากการทดสอบโดยภาพรมแล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการจ่ายไฟ ที่ทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว และในเรื่องของแรงดัน Voltage Drop Test ในครั้งนี้ก็รู้สุดว่าทำได้ค่อนข้างดีกว่า PSU หลายๆ รุ่นที่ผ่านมา คือไฟไม่ Drop และไม่ได้แกว่งขึ้นลงมาก ค่อนข้างนิ่งใช้ได้เลย และอีกหนึ่งเรื่องที่ผมชอบคือ เสียงรบกวนนั้นต่ำมากจริงๆ เพราะเลือกใช้พัดลม ToughFan 12 (รอบ 2500rpm สูงสุด) และอุณหภูมิในการทำงานที่ Load ประมาณ 900Watt Peak-AC Line ก็ไม่ได้ร้อนมากครับ 36-37c เท่านั้นเอง ผมแปลกใจมาก ปกติลมร้อนควรจะออกมาเยอะกว่านี้นะ ส่วนที่ตัวถังด้านหลังจับดูแล้วก็แค่อุ่นๆ เท่านั้น จัดว่าออกแบบเรื่องการระบายความร้อนมาได้ค่อนข้างดี เสียงไม่ดังแน่นอน…

     เรื่องของระบบ Smart Zero Fan นั้นก็เป็นอีก Feature หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่ใช้งานในด้านตัดต่อ ที่ต้องการความเงียบของ PC เป็นพิเศษ สามารถเปิดการใช้งานของระบบนี้ได้ โดยช่วงที่มี Load ต่ำๆ ตั้งแต่ 0-30% พัดลมจะหยุดการทำงาน 0 rpm / 0 dBA เงียบกริบแน่นอน… ส่วนที่ใครต้องการให้พัดลมหมุนตลอด ก็กด Switch ปิดการทำงานของระบบนี้ได้เช่นกัน คือพัดลมก็จะหมุนตลอดเวลาที่รอบต่ำๆ และหมุนเร็วขึ้นตามสภาวะของ Load ใช้งาน

    ส่วนจุดเด่นอื่นๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องของขนาด PSU ที่ไม่ได้ใหญ่ยาวมาก และเป็นรุ่นที่ถอดสายไฟได้ทุกชุดแบบ Full Modular Cable แบบสายแบนทุกเส้น แต่ขอเสียที่ผมเจอคือ ชั่วเทียบของ Connector ระหว่างสายไฟ Connector บางจุดอย่างเช่นตำแหน่งของ CPU 8-Pin / VGA 6+2Pin นั้นเวลาเสียบเข้ากับตัว PSU มันดูเหมือนตัว Lock ไม่ค่อนแน่นเท่าไรนัก… คือผมสามารถดึงสายไฟออกได้แบบไม่ต้องออกแรงมาก โดยไม่ต้องกดสลักถอดสายที่หัว Connector จุดนี้ควรปรับปรุงนะครับผมว่า….. ส่วนใครที่จัดสายไฟใน Case ก็ระวังในจุดนี้ด้วย เผื่อสายไฟหลุดอะไรแบบนั้น….

สุดท้ายก็เรื่องของการรับประกันที่ค่อนข้างยาวนานเลยทีเดียวโดยอยู่ที่ 10 ปีเต็ม !!! ส่วนใครสนใจ PSU รุ่นนี้อยู่ก็ฝากพิจารณาดูกันด้วย พบกันใหม่ รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thank

Thermaltake Thailand