รีวิว T-FORCE CARDEA Z44Q M.2 NVMe PCIe4.0 x4 SSD 4TB

     สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาแนะนำ M.2 NVMe SSD ตัวแรงจากค่าย T-FORCE ในรุ่น CARDEA Z44Q ที่มาพร้อมกับขนาดความจุ 4TB กันเลยทีเดียว โดยมันจะมาพร้อมกับความเร็วในการทำงานอยู่ที่ Seq Read/Write @5000/4000MB/s กันเลยทีเดียว และนอกจากนี้ตัวเลือกในการระบายความร้อนของ M.2 มาให้ผู้ให้ได้เลือกอีก 2 แบบคือ Heatsink อลูมิเนียม และแบบการใช้แผ่นนำความร้อนที่ทำจาก Grapheneกราฟีน” ระบายความร้อน โดยจุดเด่นของ Graphene ก็เรื่องการนำความร้อนที่ทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว (แถมยังมีคุณสมบัติที่นำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงซะอีก แต่สำหรับ Graphene ที่แถมมากับตัว T-Force รุ่นนี้ออกแบบมาให้เป็นตัวนำความร้อนร่วมกับแผ่นทองแดง เรียกว่า Graphene Copper Foil)

Feature

  • Enjoy PCIe Gen4, large capacity and fast speed all at once
  • Two types of patented heat spreaders for you to choose from
  • Effective cooling and installation is so easy
  • Support the latest NVMe 1.4 specification
  • Taiwan Utility Patent (number: M541645)
  • Taiwan Invention Patent (number: I703921)
  • China Utility Patent (number: CN 211019739 U)

 

     จุดเด่นของเจ้า T-FORCE CARDEA Z44Q นั้นก็คือผู้ใช้สามารถเลือกชุดระบายความร้อนให้กับตัว M.2 ได้ถึง 2 แบบ โดยถ้าใช้แผ่น Graphene ระบายความร้อนจะให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนอยู่ที่ 9% และถ้าเลือกใช้แบบ Heatsink จะอยู่ที่ 15% ครับ ดังนั้นเป็นไปได้ก็ควรใช้ตัว Heatsink ขนาดใหญ่ติดตั้งให้กับ M.2 ไปเลยดีกว่าครับ

 

M.2 NVMe รุ่นนี้เป็น Interface แบบ PCIe4.0 x4 ความเร็ว Seq Read/Write ตั้งออกมาจากโรงงานที่ 5000/4000MB/s และยังเป็น NVMe 1.4 ด้วยนะครับ

 

รายละเอียดทางเทคนิคจากทางผู้ผลิตครับ โดยรุ่นนี้น่าจะทำออกมา 2 Model คือขนาดความจุ 2TB และ 4TB  โดยทั้ง 2 รุ่นรับประกันยาวนานถึง 5 ปีเต็ม หรือจนกว่าตัว SSD จะเขียนเต็มค่า TBW ที่ทางโรงงานได้กำหนดมาครับ โดยตัว 2TB อยู่ที่ 400TBW และ 4TB อยู่ที่ 800TBW

 

แกะกล่องดูกันเลยดีกว่าครับ โดยด้านในจะมาพร้อมกับตัว M.2 NVMe SSD และชุดระบายความร้อนทั้ง 2 แบบคือแผ่น Ghaphene และ Heatsink อลูมิเนียม + Thermalpad ให้เลือกใช้ในการระบายความร้อน

 

M.2 รุ่นนี้อยู่ในขนาดมาตราฐาน 2280 ผลิตขึ้นโดย TeamGroup Inc. โดยมีชื่อรุ่นว่า T-FORCE SSD Gaming CARDEA Z44Q M.2 NVMe SSD ขนาดความจุ 4TB รหัสสินค้า Model “TM8FPQ004T”

 

     M.2 NVMe SSD ร่นนี้เลือกใช้ Phison’s PS5016-E16 SSD Controller ซึ่งน่าจะตัวเลือกหลักๆ ของ M.2 หลายๆ ล่ะค่ายที่ใช้ PCIe4.0 เลยล่ะครับ ที่เหลือก็เลือกใช้เม็ด NAND ว่าจะใส่อะไรลงไป โดยรุ่นนี้มีขนาดความจุ 4TB ใช้ NAND Flash ทั้งหมด 4 เม็ดก็เท่ากับว่าตกเม็ดละ 1TB นั่นเอง โดย PCB แต่ละด้านก็จะมีเม็ดแรม DDR4 สำหรับทำ Cache ไว้อย่างละเม็ดครับ แต่ผมไม่แน่ใจขนาดความจุของ Cache นะครับอาจจะอยู่ที่ 2-4GB รวมกัน  และในส่วนของชนิดของเม็ด NAND นั้นเป็นแบบ QLC (4 bits per cell)  ความเร็วในการทำงานอยู่ที่ Seq Read/Write @5000/4000MB/s | IOPS @350K/600K และค่าความทนทาน Endurance ของการเขียนซ้ำอยู่ที่ 800TBW (Terabyte Written) สำหรับในรุ่น 4TB ตัวนี้ครับ

 

     ก่อนที่จะติดตั้งใช้งานก็เลือกกันก่อนเลยครับว่าจะระบายความร้อนด้วย Cooling แบบไหน โดยแบบบางคือ Graphene เหมาะสำหรับการติดตั้งใน Laptop หรือใช้ร่วมกับเมนบอร์ดที่มีพื้นที่จำกัด/ไม่มี Heatsink ระบายความร้อนของ M.2 มาให้ครับ  ส่วนเมนบอร์ดที่แถม Heatsink M.2 ขนาดใหญ่มาให้บนเมนบอร์ด ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Cooling ที่แถมมาให้ครับ ใช้ของเมนบยอร์ดไปเลย  ส่วนใครจะใส่ Heatsink ที่แถมมาเพื่อความสวยงาม + Cooling ไปในตัวก็ไม่ว่ากัน โดยอย่างไรแล้วจำเป็นต้องระบายความร้อนให้กับตัว Controller และ เม็ด NAND Flash ครับ เพราะตอนทำงานในช่วงเขียน อุณหภูมิในการทำงานจะสูงมาก เพราะตัวมันงานที่ความเร็วระดับ 5000/4000MB/s กันเลยนะเออ….

 

ถ้าจะใช้ Graphene ก็ลอกเทปออกแล้วแปะลงไปยังด้านที่มี Controller อยู่เลยครับ

 

ส่วนถ้าจะใช้ Heatsink ระบายความร้อน ก็ให้เอามาใส่ชุด Heastink ที่แถมมาชุดนี้เลย #และในส่วนของการรับประกัน อันนี้ผมเสริมให้นิดหนึ่งนะครับ เพราะทางต้นสังกัดระบุมาว่าในส่วนของ QR CODE ที่แปะลงที่ตัว NAND FLASH อย่างที่เราเห็นอยู่ในภาพนี้ ที่เขียนไว้ว่า 4000GB + QR CODE คือห้ามทำ Sticker ชุดนี้หายนะครับ หรือในกรณีที่คุณติดแผ่น Graphene เข้าไปแล้ว มันเป็นกาวเหนียว ก็มีโอากาสจะหลุดติดผ่าน Graphene ออกมาได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงบอกว่าปล่อยให้ QR CODE ติดกับแผ่น Graphene ไว้แบบนั้นไปเลย อย่าไปลอกออก… ในกรณีที่เอาสินค้าไปเคลม อย่างไรแล้วก็ระวังส่วนนี้ไว้กันด้วยนะครับ…

 

จัดการติดตั้ง Thermal Pad และติดตั้ง Heatsink ลงไปให้เรียบร้อย

 

ประกอบให้ดีนะครับ และเว้นช่วงปลายของ PCB บริเวณที่ขันน๊อตไว้ด้วย

 

ดังนั้นก็มี 2 ทางเลือกสำหรับการติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับตัว M.2 NVMe รุ่นนี้ครับ

 

ส่วนฉลากที่ติดกับตัว M.2 และที่กล่องควรจจะมี S/N ที่ตรงกันนะครับ