รีวิว T-FORCE CARDEA Z44Q M.2 NVMe PCIe4.0 x4 SSD 4TB

     สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาแนะนำ M.2 NVMe SSD ตัวแรงจากค่าย T-FORCE ในรุ่น CARDEA Z44Q ที่มาพร้อมกับขนาดความจุ 4TB กันเลยทีเดียว โดยมันจะมาพร้อมกับความเร็วในการทำงานอยู่ที่ Seq Read/Write @5000/4000MB/s กันเลยทีเดียว และนอกจากนี้ตัวเลือกในการระบายความร้อนของ M.2 มาให้ผู้ให้ได้เลือกอีก 2 แบบคือ Heatsink อลูมิเนียม และแบบการใช้แผ่นนำความร้อนที่ทำจาก Grapheneกราฟีน” ระบายความร้อน โดยจุดเด่นของ Graphene ก็เรื่องการนำความร้อนที่ทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว (แถมยังมีคุณสมบัติที่นำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงซะอีก แต่สำหรับ Graphene ที่แถมมากับตัว T-Force รุ่นนี้ออกแบบมาให้เป็นตัวนำความร้อนร่วมกับแผ่นทองแดง เรียกว่า Graphene Copper Foil)

Feature

  • Enjoy PCIe Gen4, large capacity and fast speed all at once
  • Two types of patented heat spreaders for you to choose from
  • Effective cooling and installation is so easy
  • Support the latest NVMe 1.4 specification
  • Taiwan Utility Patent (number: M541645)
  • Taiwan Invention Patent (number: I703921)
  • China Utility Patent (number: CN 211019739 U)

 

     จุดเด่นของเจ้า T-FORCE CARDEA Z44Q นั้นก็คือผู้ใช้สามารถเลือกชุดระบายความร้อนให้กับตัว M.2 ได้ถึง 2 แบบ โดยถ้าใช้แผ่น Graphene ระบายความร้อนจะให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนอยู่ที่ 9% และถ้าเลือกใช้แบบ Heatsink จะอยู่ที่ 15% ครับ ดังนั้นเป็นไปได้ก็ควรใช้ตัว Heatsink ขนาดใหญ่ติดตั้งให้กับ M.2 ไปเลยดีกว่าครับ

 

M.2 NVMe รุ่นนี้เป็น Interface แบบ PCIe4.0 x4 ความเร็ว Seq Read/Write ตั้งออกมาจากโรงงานที่ 5000/4000MB/s และยังเป็น NVMe 1.4 ด้วยนะครับ

 

รายละเอียดทางเทคนิคจากทางผู้ผลิตครับ โดยรุ่นนี้น่าจะทำออกมา 2 Model คือขนาดความจุ 2TB และ 4TB  โดยทั้ง 2 รุ่นรับประกันยาวนานถึง 5 ปีเต็ม หรือจนกว่าตัว SSD จะเขียนเต็มค่า TBW ที่ทางโรงงานได้กำหนดมาครับ โดยตัว 2TB อยู่ที่ 400TBW และ 4TB อยู่ที่ 800TBW

 

แกะกล่องดูกันเลยดีกว่าครับ โดยด้านในจะมาพร้อมกับตัว M.2 NVMe SSD และชุดระบายความร้อนทั้ง 2 แบบคือแผ่น Ghaphene และ Heatsink อลูมิเนียม + Thermalpad ให้เลือกใช้ในการระบายความร้อน

 

M.2 รุ่นนี้อยู่ในขนาดมาตราฐาน 2280 ผลิตขึ้นโดย TeamGroup Inc. โดยมีชื่อรุ่นว่า T-FORCE SSD Gaming CARDEA Z44Q M.2 NVMe SSD ขนาดความจุ 4TB รหัสสินค้า Model “TM8FPQ004T”

 

     M.2 NVMe SSD ร่นนี้เลือกใช้ Phison’s PS5016-E16 SSD Controller ซึ่งน่าจะตัวเลือกหลักๆ ของ M.2 หลายๆ ล่ะค่ายที่ใช้ PCIe4.0 เลยล่ะครับ ที่เหลือก็เลือกใช้เม็ด NAND ว่าจะใส่อะไรลงไป โดยรุ่นนี้มีขนาดความจุ 4TB ใช้ NAND Flash ทั้งหมด 4 เม็ดก็เท่ากับว่าตกเม็ดละ 1TB นั่นเอง โดย PCB แต่ละด้านก็จะมีเม็ดแรม DDR4 สำหรับทำ Cache ไว้อย่างละเม็ดครับ แต่ผมไม่แน่ใจขนาดความจุของ Cache นะครับอาจจะอยู่ที่ 2-4GB รวมกัน  และในส่วนของชนิดของเม็ด NAND นั้นเป็นแบบ QLC (4 bits per cell)  ความเร็วในการทำงานอยู่ที่ Seq Read/Write @5000/4000MB/s | IOPS @350K/600K และค่าความทนทาน Endurance ของการเขียนซ้ำอยู่ที่ 800TBW (Terabyte Written) สำหรับในรุ่น 4TB ตัวนี้ครับ

 

     ก่อนที่จะติดตั้งใช้งานก็เลือกกันก่อนเลยครับว่าจะระบายความร้อนด้วย Cooling แบบไหน โดยแบบบางคือ Graphene เหมาะสำหรับการติดตั้งใน Laptop หรือใช้ร่วมกับเมนบอร์ดที่มีพื้นที่จำกัด/ไม่มี Heatsink ระบายความร้อนของ M.2 มาให้ครับ  ส่วนเมนบอร์ดที่แถม Heatsink M.2 ขนาดใหญ่มาให้บนเมนบอร์ด ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Cooling ที่แถมมาให้ครับ ใช้ของเมนบยอร์ดไปเลย  ส่วนใครจะใส่ Heatsink ที่แถมมาเพื่อความสวยงาม + Cooling ไปในตัวก็ไม่ว่ากัน โดยอย่างไรแล้วจำเป็นต้องระบายความร้อนให้กับตัว Controller และ เม็ด NAND Flash ครับ เพราะตอนทำงานในช่วงเขียน อุณหภูมิในการทำงานจะสูงมาก เพราะตัวมันงานที่ความเร็วระดับ 5000/4000MB/s กันเลยนะเออ….

 

ถ้าจะใช้ Graphene ก็ลอกเทปออกแล้วแปะลงไปยังด้านที่มี Controller อยู่เลยครับ

 

ส่วนถ้าจะใช้ Heatsink ระบายความร้อน ก็ให้เอามาใส่ชุด Heastink ที่แถมมาชุดนี้เลย #และในส่วนของการรับประกัน อันนี้ผมเสริมให้นิดหนึ่งนะครับ เพราะทางต้นสังกัดระบุมาว่าในส่วนของ QR CODE ที่แปะลงที่ตัว NAND FLASH อย่างที่เราเห็นอยู่ในภาพนี้ ที่เขียนไว้ว่า 4000GB + QR CODE คือห้ามทำ Sticker ชุดนี้หายนะครับ หรือในกรณีที่คุณติดแผ่น Graphene เข้าไปแล้ว มันเป็นกาวเหนียว ก็มีโอากาสจะหลุดติดผ่าน Graphene ออกมาได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงบอกว่าปล่อยให้ QR CODE ติดกับแผ่น Graphene ไว้แบบนั้นไปเลย อย่าไปลอกออก… ในกรณีที่เอาสินค้าไปเคลม อย่างไรแล้วก็ระวังส่วนนี้ไว้กันด้วยนะครับ…

 

จัดการติดตั้ง Thermal Pad และติดตั้ง Heatsink ลงไปให้เรียบร้อย

 

ประกอบให้ดีนะครับ และเว้นช่วงปลายของ PCB บริเวณที่ขันน๊อตไว้ด้วย

 

ดังนั้นก็มี 2 ทางเลือกสำหรับการติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับตัว M.2 NVMe รุ่นนี้ครับ

 

ส่วนฉลากที่ติดกับตัว M.2 และที่กล่องควรจจะมี S/N ที่ตรงกันนะครับ

 

System Pic & Setup

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ โดยผมจะทดสอบตัว M.2 รุ่นนี้โดยการติดตั้ง Heatsink ที่แถมมากับตัวมันเองเลยนะครับ

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-11900K 8C/16T
CPU Cooler
 TT ToughLiquid Ultra 240 AIO CPU Cooler
Motherboard  ROG MAXIMUS XIII APEX (Z590)
Memory
 T-FORCE XTREEM ARGB DDR4-5333CL22 16GB-Kit 1.60V
VGA  ZOTAC Geforce GT730
Hard Drive  T-FORCE CARDEA Z44Q M.2 NVMe SSD 4TB
PSU  Antec NeoECO 850Watt 80PLUS GOLD (NE850G M)
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update]

 

     แต่ถ้าให้ผมแนะนำในส่วนกระบายความร้อนของ M.2 ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แนะนำติดตั้งลงไปกับ Heatsink M.2 Cooler ของเมนบอร์ดเลยจะดีกว่านะครับ ในกรณีที่เมนบอร์ดเรามี Cooling มาให้ เพราะอย่างบอร์ดรุ่นนี้ มันมมี Thermal pad ดูซับความร้อนชิป NAND ให้ทั้ง 2 ด้านเลย ดังนั้นประสิทธิภาพ ย่อมดีกว่า Heatsink ที่แถมมาครับ

 

โดยก่อนนหา้นนี้ผมลองติดตั้งเข้าไปใน Heatsink ของเมนบอร์ด บอกได้เลยว่าเย็นกว่าเยอะครับ  แต่ครั้งนี้ผมจะทดสอบกับ Heatsink ที่แถมกับตัวมันเอง เพื่อจะได้ดูถึงประสิทธิภาพของสินค้าที่แกะออกมาจากกล่องแล้วติดตั้ง Cooling + ใช้งานจริง

 

System Config

     รายละเอียดของชุดทดสอบในครั้งนี้ก็จะทำงานร่วมกับ CPU Intel Core i9-11900K OC ทิ้งไว้ 5Ghz/CacheGhz ร่วมกับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XIII APEX (Z590) ซึ่งตัวเมนบอร์ดและ CPU รองรับ PCIe4.0 อยู่แล้ว ดังนั้นหากต้องการใช้งาน PCIe4.0 ก็อย่าลืมมองหาเมนบอร์ดและ CPU ที่รองรับ PCIe4.0 ด้วยนะครับ มิฉะนั้นมันอาจจะทำงานเพียงแค่ PCIe3.0 สรุปคือใครจะใช้ PCIe4.0 สำหรับผู้ที่ใช้ Intel คือต้องใช้งานร่วมกับ CPU Gen.11 เท่านั้น

 

Benchmark

     และสำหรับด้านล่างนี้ก็จะเป็นผลการทดสอบจาก Benchmark วัดประสิทธิภาพการทำงานของตัว T-FORCE CARDEA Z44Q M.2 NVMe SSD ขนาด 4TB ลูกนี้ โดยประสิทธิภาพโดยรวมที่ออกมานั้นก็ค่อนข้างน่าประทับใจอยู่นะครับ คือค่า Seq Read/Write ก็ใกล้เคียงกับ Spec ที่ 5000/4000MB/s โดยการใช้งานจริงจะอยู่ที่ราวๆ 48xx/38xxMB/s ส่วนผลการทดสอบของค่า 4K Read นั้นก็ทำออกมาได้ค่อนข้างดีด้วยเช่นกันที่ระดับ 70-81MB/s ในแต่ละ Benchmark ครับ

 

CrystalDiskMark 8.0.4 x64

 

AS SSD Benchmark

 

Anvil’s Storage Utilities

 

ATTO Disk Benchmark

 

USB Flash Benchmark

 

AIDA64 Disk Benchmark

: Read Test Suite

 

: Random Read

 

: Buffered Read

 

: Average Read Access

 

PerformanceTest : Disk MARK

 

Disk 98-100% Test

      เนื่องจากผมได้ทำการแบ่ง Partition Drive ออกเป็น 2 Drive โดย Drive C: เป็น OS แบ่งไว้ 256GB และ Drive D: เอาไว้เก็บ Data โดยพื้นที่เหลืออยู่ทั้งหมด 3740GB ซึ่งผมก็ได้ทำการเอาไฟล์เกมและข้อมูลต่างๆ อัดไปจนเต็มทั้ง 2 Drive จนเป็นพื้นที่สีแดง 98-100% จนข้อมูลแทบเต็มลูกนั่นเอง จากนั้นก็ทำการทดสอบ Benchmark ต่างๆ ทั้ง 2 Drive ก็พบว่าประสิทธิภาพจากการวัด Benchmark ที่ออกมาก็ยังคงทำออกมาได้ค่อนข้างดีอยู่นะครับ โดยประสิทธิภาพลดลงไปเล็กน้อยเท่านั้น และไม่เจออาการอืดช้า หรือค้างแต่อย่างใดเมื่อถูกอัดข้อมูลเข้าไปเต็มๆ ลูกอย่างที่เห็น….

 

Temperature Test

     ในส่วนของอุณหภูมิการทำงานของตัว M.2 NVMe SSD ตัวนี้ถ้าวัดจากโปรแกรม Crystal.Info และ HWinfo นั้นจากการทดสอบของเราพบว่าช่วงที่มีการ Copy ข้อมูลลงไปในตัว SSD นั้นจะมีการเขียนไฟล์เกินขึ้นนั่นเอง ดังนั้นอุณหภูมิของตัว SSD จะร้อนมากที่สุดก็แค่ช่วงที่มีการเขียน Write เท่านั้น โดยอุณหภูมิจะอยู่ที่ราวๆ 66-69c องศาเซลเซียส ด้วยการระบายความร้อนผ่าน Heatsink ที่แถมมากับตัวมันเอง

 

     การ Copy ไฟล์เกมขนาด 1.2TB เข้าไปในช่วงแรกๆ นั้น ความเร็วจะอยู่ที่ราวๆ 1.44GB/s ซึ่งก็วิ่งแช่ได้ยาวๆ ประมาณ 6 นาทีกว่าๆ แต่พอหลังจาก SLC Cache หมดก็จะมีความเร็วลดลงเหลือราวๆ 250-270MB/s ครับ ซึ่งการจะให้มันกลับมาทำงานได้เร็วตามปกติ ก็ต้องหยุด Copy ไฟล์ก่อนถึงจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ  ซึ่งในช่วงนี้ผมเช็คจากรีวิวของเมืองนอกแล้วก็เป็นแบบนี้กันโดยน่าจะเป็นปกติของการทำงาน  ส่วนการทดสอบ Copy ไฟล์ 1GB – 8GB คละกันรวม 12GB กว่าไปพร้อมๆ กัน ก็จะวิ่งได้รวๆ 2.5-3GB/s กันเลยทีเดียว ใช้เวลาโอนถ่ายข้อมูลเพียง 5-6 วินาทีเท่านั้น (ปกติแล้ว SSD ถ้า Cache หมดก็ช้าลงทุกตัวล่ะครับเพราะไฟล์จะถูกเขียนลงไปที่ SLC Cache ก่อนที่จะเขียนลง QLC ดังนั้นขออย่างเดียวคืออย่า หยุด/ค้าง/ดับ หรือ error ในช่วงที่มีการเขียนไฟล์ก็พอ)

 

Conclusion.

     เอาล่ะครับมาสรุปกันเลยดีกว่าสำหรับเข้า M.2 NVMe SSD จากค่าย T-FORCE ในรุ่น CARDEA Z44Q ขนาดความจุ 4TB ตัวนี้ จุดเด่นอยู่ที่เรื่องของความเร็วในการทำงานที่มากถึง Seq Read/Write @5000/4000MB/s โดยมีผลการทดสอบเริ่งของ 4K Read ที่ค่อนข้างน่าสนใจด้วยเช่นกันโดยอยู่ในช่วง 70-81MB/s และในส่วนของการทดสอบแบบอัดข้อมูลจนเต็มลงบนตัว SSD  Disk 98-100% แล้วทำการทดสอบวัดประสิทธิภาพจาก Benchmark ต่างๆ ก็พบว่าประสิทธิภาพลงลงไปน้อยมาก คือแทบจะใกล้เคียงกับช่วงที่ Disk ยังไม่ได้เขียนเต็ม ความรู้สึกจากการใช้งานจริงก็ดูไหลลื่นปกติดีนะครับ ก็ใกล้เคียงกับ NVMe PCIe4.0 x4 ของค่ายอื่นๆ (ก็เพราะส่วนมากก็ใช้ Phison’s PS5016-E16 SSD Controller สำหรับ NVMe PCIe4.0 กันหมดล่ะครับ ทุกค่ายก็วิ่งได้พอๆ กันหมด)

     เรื่องของความร้อนจากการใช้งานนั้น ตัว Heatsink ที่แถมมาแบบอลูมิเนียมนั้นก็ออกแบบมาให้รายระบายความร้อนออกได้ทัน โดยการทำงานจะอยู่ในช่วง 40-69c  ส่วนการติดตั้งแบบ Graphene นั้นผมยังไม่ได้ทดสอบนะครับ แต่เดาว่าน่าจะร้อนมากเพราะแผ่นค่อนข้างบาง หากเป็นไปได้แนะนำให้ต่อ M.2 เข้ากับ Heatsink แถมมา หรือถ้าเมนบอร์ดมี M.2 Cooler มาให้ก็จะดีมากเลยทีเดียว

     และเรื่องความทนทานนั้นจะอยู่ที่ 800 TBW / ประกัน 5 ปีเต็ม โดยถ้าอ่านการรับประกันดีๆ คือ TeamGroup ได้ระบุชัดเจนนะครับว่า การรับประกันอยู่ที่ 5 ปี ก็จริง แต่ถ้าเขียนถึง 800 TBW ก็ถือว่าหมดการรับประกันด้วยเช่นกัน.. แล้วมันน่ากังวนไหม ? เดี๋ยวลองคำนวณค่า Terabytes Written (TBW) ให้ดูครับ เช่นหากว่าเพื่อนๆ จำเป็นต้องเขียนข้อมูลใหม่ลง SSD ทุกวัน วันละ 80GB x365 วัน / หาร 1000 จะเท่ากับ 29.2TB ต่อปี  ถ้าคำนวณจากปีละ 29.2TB ก็นู้นล่ะครับ 27.39 ปี ถึงจะแตะถึง 800 TBW ดังนั้นถ้าดูแลมันดีๆ ผมว่าอยู่เกิน 5 ปี+ ได้อยู่นะ.. ^^” (ปกติไม่น่ามีใครเขียนไฟล์มากขนาดนี้อยู่แล้วครับ ยิ่งเกมเมอร์ ยิ่งน้อยเลย…. เพราะคุณลงเกมกันทีเดียว ก็เล่นอย่างเดียว (Read)  ดังนั้นถ้าใช้ไป 5 ปี ก็เท่ากับเขียนไปเพียง 146 TBW เท่านั้นเองครับ) ดังนั้นหากไม่ได้ทำงานอะไรที่ประหลาดๆ อย่างเอา SSD ไปขุดเหมือง ผมมองว่ายังไงก็มีอายุไขก็อยู่ได้อีกยาวนาน…

สุดท้ายสำหรับเรื่องราคาค่าตัวที่ทาง B&Y Computer ได้นำเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในบ้านเรานั้น ตั้งราคารุ่นนี้ T-FORCE CARDEA Z44Q M.2 NVMe SSD (NVMe 1.4) ขนาดความจุ 4TB ตัวนี้ ราคากลางอยู่ที่ 22,990.- บาท | การรับประกันอยู่ที่ 5 ปี หรือค่า Terabytes Written เขียนเต็มก่อนที่ 800 TBW

 

Special Thank

: TeamGroup Inc.

: B&Y Computer CO.,LTD.