รีวิว T-FORCE CARDEA Z44L NVMe M.2 PCIe4.0 SSD 1TB

    สวัสดีครับ รีวิววันนี้ไปรับชม M.2 SSD จากค่าย TeamGroup กันอีกหนึ่งรุ่นจากสังกัด “T-FORCE” CARDEA Z44L 2280 NVMe M.2 PCIe4.0 SSD ขนาดความจุ 1 TB รุ่นนี้มาพร้อมกับแผ่นระบายความร้อนชนิดพิเศษด้วย “Graphene” Copper Foil ช่วยนำความร้อนได้ดีขึ้น ส่วนความเร็วในการทำงานของ M.2 รุ่นนี้อยู่ค่า Seq Read/Write อยู่ที่ 3500/3000MB/s เชื่อมต่อผ่านทาง Interface M.2 NVMe(1.4) PCIe4.0 x4 ขนาดมาตราฐาน 2280 (ยาว 80mm.)

Feature :
    • Enjoy the read/write performance of PCIe Gen4x4
    • Patented ultra-thin graphene heat spreader
    • Not only faster but also more stable and durable
    • Supports the latest NVMe 1.4 standard
    • SSD smart monitoring software
    • Five-year warranty offers you peace of mind
    • United States Patent (number:US11051392B2)
    • Taiwan Invention Patent (number: I703921)
    • China Utility Patent (number: CN 211019739 U)

 

     รายละเอียดทางด้านเทคนิคของ T-FORCE CARDEA Z44L M.2 NVMe SSD ตัวนี้จะต่อใช้งานผ่านทาง Interface PCIe4.0 x4 และเป็น NVMe 1.4 ขนาดความจุที่ทำออกมาจากหน่ายสำหรับรุ่นนี้จะมีเพียง 2 ขนาดความจุให้เลือกได้ใช้ ได้แต่ 500GB และ 1TB โดยเม็ด NAND ที่เลือกใช้จะเป็นแบบ TLC NAND ส่วนความเร็วในการทำงานของรุ่นความจุ 1TB จะทำงานอยู่ที่ความเร็ว Seq Read/Write @3500/3000MB/s และมีความทนทานอยู่ที่  400TBW (Terabyte Written) / รับประกัน 5 ปี

 

มาดูตัวสินค้ากันครับ โดยรุ่นนี้จะมาพร้อมกับแผ่นระบายความร้อนที่ทำจากกราฟินที่เคลือบติดกับแผ่นทองแดง “Graphene” Copper Foil ซึ่งจะช่วยนำความร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำแผ่นกราฟินไปติดตั้งเองได้ที่บริเวณแผ่นชิป NAND / Controller

 

     M.2 รุ่นนี้เลือกใช้ชิป Controller จากค่าย Phison รหัส PS5019-E19 สำหรับควบคุม Interface M.2 NVMe 1.4 PCIe4.0 x4 SSD ขนาดความจุ 1TB โดยมีเม็ด TLC NAND (Quad-Level Cells) ทั้งหมด 2 เม็ด เม็ดละ 500GB รวมกัน 1000GB หรือ 1TB นั่นเอง และไม่มีการใช้ DRAM Caching เพราะ Controller ทำงานแบบ DRAM-Less โดยตัว SSD รุ่นนี้จะเลือกใช้เทคโนโลยี SLC Cache ช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงานของ SSD ให้เร็วขึ้นด้วย SCL Cache นั่นเอง

     ดังนั้นระบบ Cache ใน SSD ในปัจจุบันจึงมี 2 แบบคือ DRAM Cache และ SLC Cache ซึ่งทั้งสองแบบถือว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของการออกแบบ เพียงแต่สิ่งที่เหมือนกันคือมันสามารถทำเป็น Cache ให้กับ SSD ได้จริงๆ นั่นเอง โดยการเลือกใช้ SLC Cache จะเป็นเพียงจองพื้นที่ไว้จำนวนหนึ่งบนตัว NAND ซึ่งจะทำงานแบบ SLC NAND ที่เขียนได้ 1Bit ต่อ 1 Cell ซึ่งข้อดีคือมันมันทำงานเร็วมากนั่นเอง แต่มันไม่ใช่ SLC NAND นะครับ อย่างที่บอกคือจองพื้นที่ใน NAND เพื่อให้ทำงานเป็น SLC Cache ให้กับตัว QLC NAND เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของ SSD (ดังนั้นความเร็วที่แท้จริงของ SSD คือความเร็วของ SLC Cache) โดยถ้า Cache ข้อมูลเต็มตัวความเร็วของ SSD ก็จะช้าลงมาเท่ากับความเร็วของ QLC นั่นเอง ส่วนข้อมูลใน SSD ใกล้เต็มความจุ ตัว Firmware ของ SSD จะเป็นตัวจัดการข้อมูลขยะ ใน Cache ให้เอง (ประสิทธภาพของ SSD ที่มี SCL Cache ก็จะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ Firmware ด้วยเช่นกัน ถ้าทำมาดีก็จะไม่กระทบกับประสิทธิภาพมากนัก) และข้อดีของ SLC Cache นั้นคือ ข้อมูลที่ยังอยู่ใน Cache ก็จะยังเก็บไว้ได้ใน NAND แม้ปิดเครื่อง PC

     ส่วน SSD ที่ใช้แบบ DRAM Cache นั้นจะเป็นการใช้ DRAM เป็น Buffer ในการเก็บข้อมูลในระบบ Cache และความเร็วของของ SSD นั้นจะแรงมากแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับความเร็วของ DRAM และ Interfance ของ NVMe PCIe +Controller รุ่นนั่นๆ  และเมื่อ Cache ในแรมหมดความเร็วของ SSD ก็จะตกลงมาเท่ากับความเร็วของ TLC NAND  (DRAM Cache ทำงานแบบ RMA บน PC เลยครับ คือเขียนลง DRAM ก่อนแล้วค่อยบันทึกลง NAND ถ้าปิดเครื่องก็จะไม่มีการเก็บใน DRAM ตรงนี้อาจจะต่างกับ SLC Cache ที่ข้อมูลบางส่วนของ Cache จะยังถูกเก็บไว้ใน SLC Cache ของตัว NAND ) ดังนั้นเวลาทดสอบ Benchmark ส่วนใหญ่ที่เราเห็นๆ โชว์กันนั้น คือความเร็วของ SLC Cache หรือ DRAM Cache นั่นเอง…. โดยถ้า Cache เต็มมันก็จะกลับไปทำงานที่ความเร็วของชิป QLC/TLC NAND แทน….

 

     *แล้วทำไมไม่ใช้ NAND แบบ SLCไปเลย? คำตอบก็คือ แรงแต่แพงไงครับ แถมได้ความจุน้อยด้วย…. เขาเลยพัฒนา SSD ให้มีความจุเยอะขึ้นมาเรื่อยๆ มาเป็นชนิด NAND แบบ MLC, TLC และ QLC ซึ่งปัจจุบันความน่าเชื่อถือในเรื่องของอายุการใช้งานนั้นก็น่าจะพัฒนาให้เทียบเท่ากับ TLC ได้แล้วด้วย…. ส่วนข้อเสียของ TLC/QLC คือ ได้ความจุเยอะมาก ราคาต้นทุนต่อ GB ก็แสนจะถูกกว่าการใช้ SLC/MLC ดังนั้นการเร่งความเร็วของ TLC/QLC NAND จึงต้องมาพึ่งเทคโนโนยี SCL Cache หรือ DRAM Cache ช่วยนั่นเอง คือให้แรงช่วงแรกๆ แล้วจึงจัดเก็บข้อมูลลงเม็ด NAND นั่นเอง…

      สรุปแล้วการใช้เทคโนโลยี SCL Cache เข้ามาช่วยในตัวเม็ด NAND ก็จะทำให้การทำงานช่วงตันของ SSD นั้นเร็ว และจะช้าลงเมื่อ Cache เต็ม และเมื่อเทียบกับ SSD ที่ไม่มี SLC Cache นั้นการทำงานจะคงที่ตามความเร็วของ NAND ตลอดเวลา และเช่นเดียวกับ DRAM Cache ถ้าข้อมูลใน DRAM Cache หมด ความเร็วของ SSD จะช้าลงเท่ากับความเร็วที่แท้จริงของ NAND นั่นเอง…  ส่วนมาก DRAM Cache มักจะใช้กับ SSD ที่มีความจุสูงๆในระดับ 2TB ขึ้นไป โดยการออกแบบของ M.2 NVME PCIe SSD รุ่นใหม่ๆ นั้นกดหนดว่าที่ทุก 1TB จะมี DRAM Cache 1GB ดังนั้นถ้า NVMe SSD ขนาด 4TB ก็จะมี DRAM Cache 4GB นั่นเอง

 

ดังนั้น SSD รุ่นนี้จึงมาพร้อมกับเทคโนโลยี SLC Cache ที่ทำงานร่วมกับเม็ด TLC NAND ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

 

ส่วนการติดตั้งแผ่นกราฟินนั้นก็ให้ลอก Sticker ใสออกแล้วแปะลงไปยังส่วนของตัวเม็ด NAND และบนตัว Controller เพื่อช่วยกระจายและระบายความร้อนให้กับตัวชิปทึกตัวนั่นเอง…

 

      ตัวอย่างการติกตั้งแผ่นกราฟิน “Graphene copper Foil” ลงไปบนตัว M.2 SSD ครับ และด้วยความบางของแผ่น Graphene เราจังยังสามารถต่อใช้งานร่วมกับ Heatsink M.2 Cooler ได้ด้วยนะครับ  แต่การทดสอบรีวิวในฉบับนี้ผมต้องการทดสอบประสิทธิภาพของแผ่น Graphene ทองแดงด้วย จังไม่ขอติดตั้ง Heatsink ของชุด ROG DIMM.2 ให้กับตัว M.2 SSD นะครับ

 

System Pic & Setup

ภาพบรรยากาศในครั้งนี้ครับ โดยเราจะทดสอบในห้องแอร์ อุณหภูมิ 26-27c ตลอดการทดสอบ โดยติดตั้ง Hardware ต่างๆ ไว้ในระบบเปิดนะครับ Open Case

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-11900K 8C/16T
CPU Cooler
 TT ToughLiquid Ultra 240 AIO CPU Cooler
Motherboard  ROG MAXIMUS XIII APEX (Z590)
Memory
 T-FORCE XTREEM ARGB DDR4-5333CL22 16GB-Kit 1.60V
VGA  ZOTAC Geforce GT730
Hard Drive  T-FORCE CARDEA Z44L M.2 NVMe PCIe4.0 x4 SSD 1TB
PSU  Antec NeoECO 850Watt 80PLUS GOLD (NE850G M)
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update]

 

System Config & Setup

รายละเอียดของการทดสอบในครั้งนี้ เราจะต่อตัว M.2 รุ่นนี้ร่วมกับ Intel Platform ได้แก่ CPU Intel Core i9-11900K OC@5.0Ghz/Cache 4.5Ghz + เมนบอร์ด ROG MAXIMUS XIII APEX ( Z590) + T-FORCE XTREEM ARGB DDR4-5333 CL22-32-32-52 16GB-Kit By XMP Profile

 

Benchmark

     ต่อไปก็มาดูถึงเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของ T-FORCE CARDEA Z44L NVMe M.2 PCIe4.0 SSD 1TB รุ่นนี้กันเลยดีกว่าครับ โดยครั้งนี้ผมได้ลง OS Windows 10 64bit พร้อมกับการ Update ล่าสุด จากนั้นก็ทดสอบ Benchmark ยอดนิยมต่างๆ เพื่อเช็คถึงประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน รวมถึงการทดสอบแบบ Disk 100% ความจุเต็มๆ ว่าประสิทธิภาพลดลงมากไหม  ซึ่งผลการทดสอบโดยรวมแล้ว M.2 NVMe SSD ลูกนี้ก็มีผลทดสอบที่ออกมาใกล้เคียงกับ Spec ที่ Seq Read/Write @3500/3000MB/s โดยค่าจริงที่วัดได้จาก CrystalDiskMark อยุ่ที่ราวๆ 3300/3000MB/s  ส่วนความเร็วในการอ่าน 4K Read นั้นทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียวที่ราวๆ 73.92MB/s เมื่อวัดจาก AS SSD ส่วนการทดสอบจาก CrystalDiskMark 4K RND32Q1 วัดออกมาได้ที่ 67MB/s ก็จัดว่าไม่ธรรมดาอยู่นะครับสำหรับ SSD แบบ SCL Cache

 

CrystalDiskInfo 8.12.10 x64

 

AS SSD Benchmark

 

CrystalDiskMark

 

Anvil’s Stoage Utilities

 

ATTO Disk Benchmark

 

USB Flash Benchmark

 

AIDA64 Disk Benchmark

: Read Test Suite

 

: Random Read

 

: Buffered Read

 

: Average Read Access

 


Disk 100% Test

     ต่อด้วยการทดสอบแบบ Disk 100% Test หรือการอัดข้อมูลจนเต็ม SSD แล้วทดสอบดูว่าความเร็วในการทดสอบจะลดลงมากน้อยเพียงใด จากการทดสอบก็พบว่า SSD ที่มีการใช้เทคโนโลยี SLC Cache ลูกนี้ก็ยังพอที่จะรั้งประสิทธิภาพของตัว SSD ไว้ให้คงความเร็วในการทำงานเมื่อข้อมูลใกล้เต็มได้ดีระดับหนึ่ง โดยความเร็วจากการทดสอบ Benchmark ต่างๆ ก็จะมีลดลงไประดับหนึ่งครับ อย่างเช่น 4K read ก็ลดลงจากที่เคยวัดได้ราวๆ 60-70MB/s ก็จะลดลงเหลือ 45-55MB/s ส่วน Seq Read/Write ก็จะลดลงเหลือราวๆ 2900/1200MB/s โดยประมาณ ซึ่ง SSD ที่มีระบบ SLC Cache ต้องทำใจเรื่องนี้ด้วยนะครับ เพราะการอัดข้อมูลเต็มๆ Disk ส่วนมากจะกระทบกับประสิทธิภาพของตัว SSD เต็มๆ อยู่แล้ว แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่เกมการเขียน Firmware ของตัว SSD เลยครับ  โดยอย่างน้อยก็ขออย่าให้เกิดอาการอืด… ช้า… หรือค้าง… ระหว่างการทำงานในช่วง SSD ใกล้เต็มก็พอ  ส่วน SSD ลูกนี้ ถึงความเร็วจะตกลงระดับหนึ่ง แต่ก็ยังทำงานได้ตามปกตินะครับ ไม่ได้รู้สึกอืดอะไรเลยจากการใช้งานจริง โดยยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ…

 

Write File to SSD + Temperature Test

  • Min temp : 42c
  • Max temp : 71c

         ช่วงของการทดสอบ Copy ไฟล์ลงไปในตัว M.2 SSD รุ่นนี้นั้นก็จะเป็นการเขียนบันทึกข้อมูลลงไปในตัว NAND นั่นเอง ดังนั้น SSD จะร้อนก็ต้องนี้ล่ะครับ โดยความร้อนจะค่อยๆ เริ่มไต่ขึ้นจาก 42c กว่าๆ ขึ้นไปถึง 60-71c ด้วยการระบายความร้อนด้วยแผ่น Graphene ทองแดงบางๆ เพียงอย่างเดียว จัดว่าไม่ธรรมดาอยู่นะครับ เพราะผมสังเกตุการ Copy ข้อมูลทั้งหมดราวๆ 600GB ซึ่งเป็นไฟล์เกมทั้งหมดลงไปในตัว SSD ลูกนี้ พบว่าความเร็วในการทำงานนั้นจะอยู่ในช่วงไม่เกิน 1.36GB/s สูงสุดตลอดการทดสอบ ตรงนี้ผมมองว่า SSD ที่มี SLC Cache ช่วยนั้นจะมีดูดีกับการ Copy ไฟล์เล็กๆ หยิบย่อยผสมกับไฟล์ใหญ่ๆ ของเกม มากว่า SSD ที่ใช้ DRAM Cache ซึ่งหากเราสังเกตุการทดสอบก่อนหน้านี้กับ SSD ในรุ่น CARDEA Z44Q 4TB ที่เป็นแบบ DRAM Cache นั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อ Cache บนตัวแรมหมด ความเร็วในการทดสอบจะเหลือเพียง 250MB/s เท่านั้น ซึ่งน่าจะเท่ากับความเร็วของเม็ด NAND แต่อย่างไรก็ดี DRAM Cache นั้นจะมีประสิทธิภาพดีมากกว่าการอ่านเขียนไฟล์ขนาดเล็กครับ

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ… T-FORCE CARDEA Z44L NVMe M.2 PCIe4.0 SSD ขนาดความจุ 1TB ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี SLC Cache ช่วยให้การทำงานของ TLC NAND นั้นมีประสิทธิภาพได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว โดย M.2 SSD รุ่นนี้ก็ได้เลือกใช้ Phison รหัส PS5019-E19 คุณภาพสูง จึงทำให้การทำงานต่างๆ ของตัว Firmware และความเร็วในการทำง่านผ่าน Interface NVMe1.4 + PCIe4.0 x4 นั้นออกมาได้ค่อนข้างดี เทียบเคียงกับคู่แข่งได้สบายๆ (เพราะแทบทุกค่ายก็เลือกใช้ Phison อยู่แล้วถ้าหากเป็น NVMe PCIe4.0) ดังนั้นเรื่องการทำงานโดยรวมแล้วผมมองว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานดีตาม Spec ที่ให้มาจากโรงงานสูงสุดที่ Seq Read/Write @ 3500/3000MB/s  และในส่วนของการทดสอบด้วยการอัดข้อมูลเต็มลงใน SSD แบบ Disk 100% นั้นก็สามารถทำงานได้ดีระดับหนึ่งครับ ถึงความเร็วจะตกลงไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ SSD ทำงานผิดปกติเช่น ค้าง ช้า อืดแบบผิดปกติเลยแม้แต่น้อย…. ดังนั้น SSD ที่ทำงานร่วมกับ SLC Cache ไม่ควรจะทำให้ SSD เต็ม เพราะจะกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SSD โดยตรงมากกว่าแบบ DRAM Cache

     เรื่องการระบายความร้อนด้วยแผ่น Graphene Copper Foil นั้นก็ทำให้ผมประทับใจด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนแรกผมมองว่า แผ่นบางๆ แบบนี้ จะรอดหรือป่าว เพราะความร้อนจากการเขียนไฟล์นั้นสสูงถึง 71c Max กันเลยทีเดียว โดยเอามือจับๆ ดูก็ร้อนมากเลยทีเดียว แต่ก็แปลกใจที่ไม่ได้กระทบกับการทำงานของ SSD เลยแม้แต่น้อย โดยความเร็วก็ยังคงที่ตลอดจนการ Copy File เกมทั้งหมดราวๆ 600GB จนเสร็จโดยไม่มีอาการดับ ค้าง หรือหยุดเขียนเลยแม้แต่น้อย โดยความเร็วก็จะขึ้นๆ ลงๆ แถวๆ 90-700MB/s และ Peak เยอะๆ ช่วงไฟล์ขนาดใหญ่ ก็จะมีความเร็วสูงหน่อยที่ 1.1-1.3GB/s ตลอดการเขียนไฟล์ลง SSD ครับ  โดยส่วนตัวแล้ว แนะนำว่า หลังจากติดแผ่น Graphene แล้ว หากว่าเมนบอร์ดของเรามี M.2 Cooler ก็ควรจะติดตั้งทับไปเลยอีกชั้น น่าจะช่วยเรื่องการระบายความร้อนและยืดอายุการใช้งานของตัว M.2 SSD ได้อีกเยอะเลยครับ

     สรุปเรื่องของระบบ SCL Cache และ DRAM Cache นั้นหลักๆ ก็คือสามารถทำงานเป็น Cache ใช้กับตัว NAND ได้ทั้งคู่ แต่จะเลือกใช้งานตามความเหมาะสมมากกว่า โดยส่วนมาก SSD ขนาด 500-1000GB มักจะเลือกใช้ SLC Cache ก็เพียงพอต่อการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ NAND ชนิด TLC หรือ QLC แล้วล่ะครับ… ส่วน NVMe SSD ขนาดความจุตั้งแต่ 2TB-4TB+ นั้นการออกแบบควรจะใช้ DRAM Cache ช่วยเสียมากกว่า โดย SSD ขนาดความจุทุก 1TB ควรมี DRAM Buffer ราวๆ 1GB ครับ ดังนั้นถ้า SSD 4TB ก็จะมี DRAM Cache รวม 4GB นั่นเอง ส่วนเรื่องการเขียนข้อมูลนั้น SLC Cache จะดีในเรื่องของการโอนถ่ายไฟข้อมูลขนาดใหญ่มากกว่า DRAM Cache ที่จะดูดีเมื่อเขียนข้อมูลที่มีไฟล์ขนาดเล็กครับ เพราะมันคือ DRAM แบบเครื่อง PC เรานั่นเอง…  สรุปความแรงช่วงเริ่มต้นการใช้งานของ SCL Cache และ DRAM Cache นั้นจะแรงเฉพาะช่วงต้นๆ เท่านั้น… เมื่อ Cache หมดก็จะกลับไปทำงานที่ความเร็วของ NAND ครับ

ส่วนเรื่องของการรับประกันนั้น T-FORCE CARDEA Z44L NVMe M.2 PCIe4.0 SSD 1TB ลูกนี้อยู่ที่ 5 ปีเต็ม หรือจนกว่าค่า Endurance จะเต็มที่ 400TBW (Terabyte Written) ส่วนราคานั้นอยู่ที่ตัวละ 4,390.- บาท

 

 

Special Thank

: TeamGroup Inc.

: B&Y Computer CO.,LTD.