รีวิว T-FORCE CARDEA Z44L NVMe M.2 PCIe4.0 SSD 1TB

    สวัสดีครับ รีวิววันนี้ไปรับชม M.2 SSD จากค่าย TeamGroup กันอีกหนึ่งรุ่นจากสังกัด “T-FORCE” CARDEA Z44L 2280 NVMe M.2 PCIe4.0 SSD ขนาดความจุ 1 TB รุ่นนี้มาพร้อมกับแผ่นระบายความร้อนชนิดพิเศษด้วย “Graphene” Copper Foil ช่วยนำความร้อนได้ดีขึ้น ส่วนความเร็วในการทำงานของ M.2 รุ่นนี้อยู่ค่า Seq Read/Write อยู่ที่ 3500/3000MB/s เชื่อมต่อผ่านทาง Interface M.2 NVMe(1.4) PCIe4.0 x4 ขนาดมาตราฐาน 2280 (ยาว 80mm.)

Feature :
    • Enjoy the read/write performance of PCIe Gen4x4
    • Patented ultra-thin graphene heat spreader
    • Not only faster but also more stable and durable
    • Supports the latest NVMe 1.4 standard
    • SSD smart monitoring software
    • Five-year warranty offers you peace of mind
    • United States Patent (number:US11051392B2)
    • Taiwan Invention Patent (number: I703921)
    • China Utility Patent (number: CN 211019739 U)

 

     รายละเอียดทางด้านเทคนิคของ T-FORCE CARDEA Z44L M.2 NVMe SSD ตัวนี้จะต่อใช้งานผ่านทาง Interface PCIe4.0 x4 และเป็น NVMe 1.4 ขนาดความจุที่ทำออกมาจากหน่ายสำหรับรุ่นนี้จะมีเพียง 2 ขนาดความจุให้เลือกได้ใช้ ได้แต่ 500GB และ 1TB โดยเม็ด NAND ที่เลือกใช้จะเป็นแบบ TLC NAND ส่วนความเร็วในการทำงานของรุ่นความจุ 1TB จะทำงานอยู่ที่ความเร็ว Seq Read/Write @3500/3000MB/s และมีความทนทานอยู่ที่  400TBW (Terabyte Written) / รับประกัน 5 ปี

 

มาดูตัวสินค้ากันครับ โดยรุ่นนี้จะมาพร้อมกับแผ่นระบายความร้อนที่ทำจากกราฟินที่เคลือบติดกับแผ่นทองแดง “Graphene” Copper Foil ซึ่งจะช่วยนำความร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำแผ่นกราฟินไปติดตั้งเองได้ที่บริเวณแผ่นชิป NAND / Controller

 

     M.2 รุ่นนี้เลือกใช้ชิป Controller จากค่าย Phison รหัส PS5019-E19 สำหรับควบคุม Interface M.2 NVMe 1.4 PCIe4.0 x4 SSD ขนาดความจุ 1TB โดยมีเม็ด TLC NAND (Quad-Level Cells) ทั้งหมด 2 เม็ด เม็ดละ 500GB รวมกัน 1000GB หรือ 1TB นั่นเอง และไม่มีการใช้ DRAM Caching เพราะ Controller ทำงานแบบ DRAM-Less โดยตัว SSD รุ่นนี้จะเลือกใช้เทคโนโลยี SLC Cache ช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงานของ SSD ให้เร็วขึ้นด้วย SCL Cache นั่นเอง

     ดังนั้นระบบ Cache ใน SSD ในปัจจุบันจึงมี 2 แบบคือ DRAM Cache และ SLC Cache ซึ่งทั้งสองแบบถือว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของการออกแบบ เพียงแต่สิ่งที่เหมือนกันคือมันสามารถทำเป็น Cache ให้กับ SSD ได้จริงๆ นั่นเอง โดยการเลือกใช้ SLC Cache จะเป็นเพียงจองพื้นที่ไว้จำนวนหนึ่งบนตัว NAND ซึ่งจะทำงานแบบ SLC NAND ที่เขียนได้ 1Bit ต่อ 1 Cell ซึ่งข้อดีคือมันมันทำงานเร็วมากนั่นเอง แต่มันไม่ใช่ SLC NAND นะครับ อย่างที่บอกคือจองพื้นที่ใน NAND เพื่อให้ทำงานเป็น SLC Cache ให้กับตัว QLC NAND เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของ SSD (ดังนั้นความเร็วที่แท้จริงของ SSD คือความเร็วของ SLC Cache) โดยถ้า Cache ข้อมูลเต็มตัวความเร็วของ SSD ก็จะช้าลงมาเท่ากับความเร็วของ QLC นั่นเอง ส่วนข้อมูลใน SSD ใกล้เต็มความจุ ตัว Firmware ของ SSD จะเป็นตัวจัดการข้อมูลขยะ ใน Cache ให้เอง (ประสิทธภาพของ SSD ที่มี SCL Cache ก็จะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ Firmware ด้วยเช่นกัน ถ้าทำมาดีก็จะไม่กระทบกับประสิทธิภาพมากนัก) และข้อดีของ SLC Cache นั้นคือ ข้อมูลที่ยังอยู่ใน Cache ก็จะยังเก็บไว้ได้ใน NAND แม้ปิดเครื่อง PC

     ส่วน SSD ที่ใช้แบบ DRAM Cache นั้นจะเป็นการใช้ DRAM เป็น Buffer ในการเก็บข้อมูลในระบบ Cache และความเร็วของของ SSD นั้นจะแรงมากแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับความเร็วของ DRAM และ Interfance ของ NVMe PCIe +Controller รุ่นนั่นๆ  และเมื่อ Cache ในแรมหมดความเร็วของ SSD ก็จะตกลงมาเท่ากับความเร็วของ TLC NAND  (DRAM Cache ทำงานแบบ RMA บน PC เลยครับ คือเขียนลง DRAM ก่อนแล้วค่อยบันทึกลง NAND ถ้าปิดเครื่องก็จะไม่มีการเก็บใน DRAM ตรงนี้อาจจะต่างกับ SLC Cache ที่ข้อมูลบางส่วนของ Cache จะยังถูกเก็บไว้ใน SLC Cache ของตัว NAND ) ดังนั้นเวลาทดสอบ Benchmark ส่วนใหญ่ที่เราเห็นๆ โชว์กันนั้น คือความเร็วของ SLC Cache หรือ DRAM Cache นั่นเอง…. โดยถ้า Cache เต็มมันก็จะกลับไปทำงานที่ความเร็วของชิป QLC/TLC NAND แทน….

 

     *แล้วทำไมไม่ใช้ NAND แบบ SLCไปเลย? คำตอบก็คือ แรงแต่แพงไงครับ แถมได้ความจุน้อยด้วย…. เขาเลยพัฒนา SSD ให้มีความจุเยอะขึ้นมาเรื่อยๆ มาเป็นชนิด NAND แบบ MLC, TLC และ QLC ซึ่งปัจจุบันความน่าเชื่อถือในเรื่องของอายุการใช้งานนั้นก็น่าจะพัฒนาให้เทียบเท่ากับ TLC ได้แล้วด้วย…. ส่วนข้อเสียของ TLC/QLC คือ ได้ความจุเยอะมาก ราคาต้นทุนต่อ GB ก็แสนจะถูกกว่าการใช้ SLC/MLC ดังนั้นการเร่งความเร็วของ TLC/QLC NAND จึงต้องมาพึ่งเทคโนโนยี SCL Cache หรือ DRAM Cache ช่วยนั่นเอง คือให้แรงช่วงแรกๆ แล้วจึงจัดเก็บข้อมูลลงเม็ด NAND นั่นเอง…

      สรุปแล้วการใช้เทคโนโลยี SCL Cache เข้ามาช่วยในตัวเม็ด NAND ก็จะทำให้การทำงานช่วงตันของ SSD นั้นเร็ว และจะช้าลงเมื่อ Cache เต็ม และเมื่อเทียบกับ SSD ที่ไม่มี SLC Cache นั้นการทำงานจะคงที่ตามความเร็วของ NAND ตลอดเวลา และเช่นเดียวกับ DRAM Cache ถ้าข้อมูลใน DRAM Cache หมด ความเร็วของ SSD จะช้าลงเท่ากับความเร็วที่แท้จริงของ NAND นั่นเอง…  ส่วนมาก DRAM Cache มักจะใช้กับ SSD ที่มีความจุสูงๆในระดับ 2TB ขึ้นไป โดยการออกแบบของ M.2 NVME PCIe SSD รุ่นใหม่ๆ นั้นกดหนดว่าที่ทุก 1TB จะมี DRAM Cache 1GB ดังนั้นถ้า NVMe SSD ขนาด 4TB ก็จะมี DRAM Cache 4GB นั่นเอง

 

ดังนั้น SSD รุ่นนี้จึงมาพร้อมกับเทคโนโลยี SLC Cache ที่ทำงานร่วมกับเม็ด TLC NAND ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

 

ส่วนการติดตั้งแผ่นกราฟินนั้นก็ให้ลอก Sticker ใสออกแล้วแปะลงไปยังส่วนของตัวเม็ด NAND และบนตัว Controller เพื่อช่วยกระจายและระบายความร้อนให้กับตัวชิปทึกตัวนั่นเอง…

 

      ตัวอย่างการติกตั้งแผ่นกราฟิน “Graphene copper Foil” ลงไปบนตัว M.2 SSD ครับ และด้วยความบางของแผ่น Graphene เราจังยังสามารถต่อใช้งานร่วมกับ Heatsink M.2 Cooler ได้ด้วยนะครับ  แต่การทดสอบรีวิวในฉบับนี้ผมต้องการทดสอบประสิทธิภาพของแผ่น Graphene ทองแดงด้วย จังไม่ขอติดตั้ง Heatsink ของชุด ROG DIMM.2 ให้กับตัว M.2 SSD นะครับ