AMD RYZEN 7 2700 8C/16T + GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI Overclocking Review

สวัสดีชาว Clock’EM UP ทุกท่านอีกครั้ง วันนี้กระผมนาย Audigy มีผลการ Overclock และแนวทางในการปรับแต่งค่า Config ต่างๆ สำหรับ CPU AMD RYZEN 7 2700  8Core/16Thread ร่วมกับเมนบอร์ด GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI เพื่อเป็นแนวทางในการปรับแต่งแก่เพื่อนๆ ชาว AMD ที่ใช้เมนบอร์ดรุ่นนี้หรือรุ่นใกล้เคียงอยู่  ส่วนทางด้าน Memory DDR4 Module นั้นเราได้เลือกใช้ชุดที่ทาง AMD จัดมาให้เป็น Set ด้วยเช่นกันในรุ่น G.SKIL SNIPER X DDR4-3400CL16-16-16-36 8GBx2 16GB-Kit 1.35V แรงจากโรงงาน และคัดมาสำหรับ CPU AMD RYZEN Gen2 โดยเฉพาะครับ ส่วนจะทำได้แรงสักแค่ไหนนั้น เดี๋ยวเราไปชมรายละเอียดต่างๆ ของ Hardware กันก่อนเลยดีกว่า เริ่มจากเจ้า CPU AMD RYZEN 7 2700 8C/16T ตัวนี้กันก่อนเลยดีกว่าครับ

 

AMD RYZEN 7 2700 8C/16T

: 3.20Ghz Base/4.10Ghz Max Boost

     สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของ CPU รุ่นนี้เลยก็คือเป็น CPU รุ่นรองจาก RYZEN 7 2700X 8C/16T ซึ่งจะแตกต่างกันแค่เรื่องของความเร็วในการทำงานของ CPU และอัตราการใช้พลังงานเท่านั้น โดยที่เจ้า AMD RYZEN 7 2700 8C/16T  L3-Cache ขนาด 16MB ตัวนี้จะทำงานที่ความเร็วพื้นฐานที่ Clock Base @ 3.2Ghz และช่วง Turbo Core Max Boost อยู่ที่ 4.10Ghz สูงสุด โดยค่า TDP อยู่ที่ 65Watt เท่านั้นเอง  ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการ 12nm. “Pinnacle Rigde” จัดว่ากินไฟน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวน Core/Thread @ 8C/16T ครับ  ส่วนเรื่องของการ Overclock นั้นก็ปลดได้ทุกอย่างแบบ Unlocked ไม่ว่าจะเป็นการ Overclock ด้วย CPU Multiple, Bclk และ Memory Ratio แบบอิสระ โดยแนะนำว่าควรใช้กับเมนบอร์ด AMD ชิปเซ็ต B350/B450 หรือ X370/X470 ถึงจะสามารถปลดความสามารถด้านการ Overclock ได้ดีที่สุดครับ

Tech Spec.

CPU RYZEN 7 1800X RYZEN 7 2700X RYZEN 7 2700
RYZEN 5 2600X
Codename Summit Ridge Pinnacle Rigde Pinnacle Rigde Pinnacle Rigde
Cores/Threads 8C/16T 8C/16T 8C/16T 6C/12T
L3 Cache 16MB 16MB 16MB 16MB
Clock Base / XFR 3.6 / 4.1 Ghz
(XFR 1.0)
3.7 / 4.3 Ghz
(XFR 2.0)
3.2 / 4.1 Ghz
(XFR 2.0)
3.6 / 4.2Ghz
(XFR 2.0)
Manufacturing Process 14nm. 12nm. 12nm. 12nm.
TDP 95W 105W 65W 95W
Memory Support 64GB 64GB 64GB 64GB
Memory Speed (Native) DDR4-2666Mhz DDR4-2933Mhz DDR4-2933Mhz DDR4-2933Mhz
Socket AM4 (1331) AM4 (1331) AM4 (1331) AM4 (1331)
Chipset 300/400Series 300/400Series 300/400Series 300/400Series

 

และนี่ก็คือหน้าตาของตัว CPU AMD RYZEN 7 2700 8C/16T รหัส YD2700BBMB88AF ผลิตในประเทศจีน “Made in China” โดยจะต่อใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด Socket AM4-1331

 

ส่วนชุดระบายความร้อนนั้นจะมาพร้อมกับ AMD Wraith Spire Cooler with RGB LED Illumination ที่รองรับการแสดงผลแบบ RGB Color เป็นรูปวงแหวนรอบๆกรอบของ Heatsink และรองรับการ Sync ร่วมกับเมนบอร์ด ASRock RGB LED, ASUS Aura sync, Biostar VIVID LED DJ, Gigabyte RGB Fusion, และ MSI Mystic Light ผ่านชั่วเสียบแบบ 12V RGB 4-Pin Header

 

โดยจะแถมสาย RGB 12V 4-Pin Header มาให้ในกล่อง จำนวน 1 ชุด เพื่อต่อเข้ากับตัวพัดลมและเมนบอร์ด

 

ส่วนทางด้านการออกแบบตัว Heatsink ระบายความร้อนนั้น จะไม่มีการใช้ท่อ Heatpipe ช่วยในการนำความร้อนแต่อย่างใด เป็นเพียงแกนฐานทองแดงทรงกลม ต่อกับครีบระบายความร้อนแบบอลูมิเนียม ส่วนการจับยึดนั้น ทำมาได้ค่อนข้างดี เลือกใช้น็อตตัวใหญ่ + สปริง ติดตั้งได้อย่างแน่นหนาแน่นอนครับ

 

GIGABYTE  X470 AORUS GAMING 7 WIFI

เอาล่ะครับต่อไปเรามาชมตัวเมนบอร์ดรุ่นนี้กันเลยดีกว่ากับ GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI ที่มาพร้อมกับชิปเซ็ต AMD X470 ทำการปรุงแต่งใหม่โดยสำนัก AORUS ให้มีความ Gaming แบบเต็มสูบ และ Feature ต่างๆ อีกมากมายทั้งในด้านแสงสีแบบ RGB Color, ภาคจ่ายไฟชุดใหญ่รองรับการ Overclock CPU ได้เป็นอย่างดี และระบบ WiFi จากค่าย Intel 2×2 802.11AC มาให้อีกด้วย จัดว่าครบเครื่องจริงๆ…

 

     และที่ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยคือค่ายนี้เลือกใช้ชุดภาคจ่ายไฟที่ค่อนข้างใหญ่จากค่าย IR Digital PWM และตัว Mosfet ซึ่งทำการแบ่งให้กับ CPU จำนวน 10+2Phase โดย 10 Phase แรกสำหรับ CPU โดยจ่ายได้ตัวละ 40A และอีก 2 Phase แยกให้กับชุด SOC โดยเฉพาะ ส่วนชุดจ่ายไฟ +12V Connectors นั้นมีมาให้แบบ 8+4 Pin อย่างละชุด สามารถรับ Load หนักๆ จาก CPU AMD RYZEN Gen2 ได้สบายๆ ครับ

Feature :

  • Supports AMD Ryzen™ 2nd Generation / Ryzen™ 1st Generation
  • Dual Channel ECC/ Non-ECC Unbuffered DDR4, 4 DIMMs
  • 10+2 Phase IR Digital PWM Design
  • Fins-Array Heatsink & Direct Touch Heatpipe
  • 2-Way CrossFire/ SLI Graphics Support with Dual Armor and Ultra Durable™ Design
  • Intel® 802.11ac Wave2 2T2R WIFI & BT 5
  • ALC1220-VB Enhance 114dB(Rear)/ 110dB(Front) SNR in Microphone and Built-in ESS SABRE DAC with WIMA Audio Capacitors
  • Dual Ultra-Fast M.2 with NVMe PCIe X4 with Dual Thermal Guard
  • RGB FUSION with Multi-zone LED Light Show Design, Supports Digital LED & RGB LED Strips
  • Swappable Overlay for Accent LED
  • Intel® Ethernet LAN with cFOS Speed Internet Accelerator
  • USB DAC-UP 2 with Adjustable Voltage
  • Integrated Base Plate & I/O Shield Armor
  • Rear Power/Reset/Clear CMOS Button
  • CEC 2019 Ready, Save Power with a Single Click

 

มาดูโฉมของตัวเมนบอร์ดกันเลยดีกว่าครับ ซึ่งต้องบอกได้เลยว่าทาง GIGABYTE ได้ออกแบบมาอย่างสวยงามและดุดันมากจริงๆ ด้วยโทนสีที่ดูโหดขึ้นด้วยสีดำคาดด้วยแถบสีส้ม มีการติดตั้ง Cover มาให้บริเวณ Back I/O และ Sound, โดดเด่นด้วย Heatsink ระบายความร้อนที่ทำออกมาด้วยชิ้นงานคุณภาพ Fins ละเอียด

 

Advanced Thermal Design

: Direct Touch Heatpipe & Fins-Array Heatsink

     ในส่วนของ Heatsink ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟนั้นทาง GIGABYTE ดูให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษสำหรับ CPU AMD RYZEN Gen2 เพราะอย่างที่เราทราบกันอยู่แล้ว ถึงจะลดกระบวนการ CPU ลงมาเหลือแค่ 12nm. แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาใช้งานภาคจ่ายไฟก็ยังดูร้อนๆ อยู่ดีครับ ไม่ว่าคุณจะ OC หรือใช้งานแบบเดิมๆ ก็ตามแต่ โดยเฉพาะ CPU แบบ 8C/16T ในรุ่น 2700X/2700 แล้วนั้น หากมีการ Overclock CPU ในระดับ 4.3Ghz+ แล้วนั้นจำเป็นต้องดูแลภาคจ่ายให้ดี  ดังนั้น GIGABYTE จึงออกแบบการระบายความร้อนให้แก่ Mosfet ทั้ง 10+2 Phase นี้ด้วยระดบบ Direct Touch Heatpipe หรือการใช้ท่อ Heatpipe ทองแดงสัมผัสกับตัว Mosfet โดยตรง และดึงขึ้นมาระบายความร้อนยังชุด Fins อลูมิเนียมด้านบนที่ประกอบไปด้วยครีบกว่า 100 ชิ้นกันเลยทีเดียว โดยทาง GIGABYTE ให้ข้อมูลว่าการออกแบบเช่นนี้ ช่วยระบายความร้อนให้กับตัว Mosfet เมื่อเทียบกับ Heatsink ระบายความร้อนแบบทั่วไปที่ไม่ใช่ระบบ Direct Touch Heatpipe ได้ดีกว่าถึง 40% กันเลยทีเดียวครับ หุหุ…

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีขนาดมาตราฐาน ATX แบบเต็มใบ เลือกใช้ PCB สีดำด้าน

 

บริเวณจุดเสียบไฟเลี้ยงเสริมที่มีมาให้แบบ +12V 8+4 Pin สามารถรองรับการโหลดสูงๆ ของ CPU ได้สบายๆ

 

     รองรับการต่อใช้งานร่วมกับ Memory DDR4 Module แบบ Dual Channel จำนวน 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็วพื้นฐาน DDR4-2133Mhz ไปจนถึงความเร็วแบบ Overclock Module ในระดับ DDR4-3600+ (OC.) โอว์…. ได้ถึง 3600Mhz กันเลยเหรอเนี่ย ปกติมาได้ยากมากนะ AMD กับแรมบัส 3600Mhz+ เป็นอะไรที่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นะเออ…. ดังนั้นก่อนซื้อแรมบัส 3600Mhz ควรเช็ค QVL List ของแรม DDR4 ก่อนนะครับว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้เคยลองต่อใช้งานได้กับแรม Model ไหนบ้าง ?   ส่วนความจุแรมสูงสุดที่ติดตั้งได้อยู่ที่ 64GB Max และรองรับระบบ XMP Profile  และสำหรับเรื่องของแสงสีแบบ RGB Color บริเวณตรง Slot ของแรมมีการติดตั้งไฟ LED แบบ RGB มาให้เรียบร้อย และเสริมความแข็งแรงของช่องเสียบทุก Slot ด้วย Ultra Durable Memory Armor

Memory Support :

  • 4 x DDR4 DIMM sockets supporting up to 64 GB of system memory
  • Dual channel memory architecture
  • Support for DDR4 3600+(O.C.) / 3400(O.C.) / 3333(O.C.) / 3200(O.C.) / 3000(O.C.) / 2933 / 2667 / 2400 / 2133 MHz memory modules
  • Support for ECC Un-buffered DIMM 1Rx8/2Rx8 memory modules
  • Support for non-ECC Un-buffered DIMM 1Rx8/2Rx8/1Rx16 memory modules
  • Support for Extreme Memory Profile (XMP) memory modules

 

บริเวณจุดแสดง Debug Post, USB3.1 Type-C Panel และ Swirtch สำหรับคุม BIOS ทั้ง 2 ตัว พร้อมทั้งแถบ Swappable Overlay for Accent LED ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ M.2 PCIe3.0 x4 มาให้ทั้งหมด จำนวน 2 ช่องด้วยกัน โดยเป็นขนาด Type-22110 และ 2280 อย่างละชุด โดยมาพร้อมกับชุด Heatsink ระบายความร้อน M.2 ที่ทาง GIGABYTE เรียกว่า AORUS M.2 Thermal Guard จัดว่าเด็ดเลยทีเดียว  ส่วนช่องเสียบ PCIe2.0 x1 นั้นมีทั้งหมด 2 ช่อง, PCIe3.0 x16 มีทั้งหมด x3 ช่อง

Expansion Slots :

  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x16 (PCIEX16)
    * For optimum performance, if only one PCI Express graphics card is to be installed, be sure to install it in the PCIEX16 slot.
  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x8 (PCIEX8)
    * The PCIEX8 slot shares bandwidth with the PCIEX16 slot. When the PCIEX8 slot is populated, the PCIEX16 slot operates at up to x8 mode.
    (The PCIEX16 and PCIEX8 slots conform to PCI Express 3.0 standard.)
  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x4 (PCIEX4)
    * The PCIEX4 slot becomes unavailable when a device is installed in the M2B_SOCKET connector.
  • 2 x PCI Express x1 slots
    (The PCIEX4 and PCI Express x1 slots conform to PCI Express 2.0 standard.)

Multi-GPU Support :

  • Support for NVIDIA® Quad-GPU SLI™ and 2-Way NVIDIA® SLI™ technologies
  • Support for AMD Quad-GPU CrossFire™ and 2-Way AMD CrossFire™ technologies

 

บริเวณช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s Port ทั้งหมดจำนวน 6 ช่อง รองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1 และ 10

Storage Interface :

  • 1 x M.2 connector (Socket 3, M key, type 2242/2260/2280/22110 SATA and PCIe 3.0 x4/x2 SSD support) (M2A_SOCKET)
  • 1 x M.2 connector (Socket 3, M key, type 2242/2260/2280 PCIe 2.0 x4/x2 SSD support)
  • 6 x SATA 6Gb/s connectors
  • Support for RAID 0, RAID 1, and RAID 10

 

ระบบเสียงจัดเต็มด้วยขุมพลังชิป Realtek ALC1220-VB Codec (120dB SNR HD Audio) IC รุ่นใหม่ที่ฉลาดขึ้นในการ Detect หา Headset Gaming ที่มีค่า Impedance ที่ต่างกันได้แบบอัตโนมัติ และระบบกันอัดเสียงก็มีคุณภาพในระดับ 110dB/114dB SNR กันเลยทีเดียว

 

Audio Feature :

  • Realtek® ALC1220-VB codec
  • ES9018Q2C chip
  • High Definition Audio
  • 2/4/5.1/7.1-channel
  • Support for S/PDIF Out

 

บริเวณจุดเสียบ RGB Header นั้นเมนบอร์ดรุ่นนี้มีให้เลือกต่อได้ 2 แบบ ได้แก่ช่องเสียบแบบ 5V 3Pin RGB Header และ 12V 4Pin RGB Header ครับ

 

บริเวณด้านหลังของ Back I/O Panel นั้นมีช่องต่อสำหรับ WIFI 2×2 AC 2.4/5 GHz Dual-Band 1.73Gbps มาให้เรียบร้อย และปุ่ม Clear CMOS/Power/Reset มาให้ด้วยเช่นกัน

Back I/O Panel :

  1. 1 x power/reset button
  2. 1 x Clear CMOS button
  3. 2 x MMCX antenna connectors (2T2R)
  4. 6 x USB 3.1 Gen 1 ports
  5. 1 x USB Type-C™ port, with USB 3.1 Gen 2 support
  6. 1 x USB 3.1 Gen 2 Type-A port (red)
  7. 2 x USB 2.0/1.1 ports
  8. 1 x RJ-45 port
  9. 1 x optical S/PDIF Out connector
  10. 5 x audio jacks

USB Ports :

-ASMedia® USB 3.1 Gen 2 Controller:

  • 1 x USB Type-C™ port on the back panel, with USB 3.1 Gen 2 support
  • 1 x USB 3.1 Gen 2 Type-A port (red) on the back panel

-Chipset:

  • 1 x USB Type-C™ port with USB 3.1 Gen 2 support, available through the internal USB header
  • 6 x USB 3.1 Gen 1 ports (2 ports on the back panel, 4 ports available through the internal USB headers)
  • 6 x USB 2.0/1.1 ports (2 ports on the back panel, 4 ports available through the internal USB headers)

-CPU:

  • 4 x USB 3.1 Gen 1 ports on the back panel

LAN Port :

  • Intel® GbE LAN chip (10/100/1000 Mbit)

WIFI Module :

  • Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac, supporting 2.4/5 GHz Dual-Band
  • BLUETOOTH 5
  • Support for 11ac 160MHz wireless standard and up to 1.73 Gbps data rate
    * Actual data rate may vary depending on environment and equipment.
    * Intel WIFI driver only support for Win10-64bit

Base Plate + I/O Shield Armor คือการติดตั้งแผ่น Back Plate ด้านหลังของตัวเมนบอร์ดที่เชื่อมกับตัว Heatsink ระบายความร้อนด้านหน้าเมนบอร์ด เพื่อรองรับน้ำหนักของ Heatsink ที่มีขนาดใหญ่ และป้องกัน PCB บิดงอ เมื่อใช้งานไปนานๆ และยังต่อร่วมกับชุด I/O Shield Armor ที่พร้อมประกอบลงใน Case ได้ทันที ไม่ต้องใส่ผาหลัง Back I/O ที่ตัว Case ก่อนอีกต่อไปครับ

 

และนี่ก็คืออุปกรณ์ Accessories ต่างๆ ที่แถมมากับตัวเมนบอร์ดครับ

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบระบบครั้งนี้ครับ โดยเราจะทำการ Overclock CPU AMD RYZEN 7 2700 8C/16T ร่วมกับเมนบอร์ด GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI และแรมจากค่าย G.SKILL SNIPER X DDR4-3400 CL16-16-16-36 16GB-KIT 1.35V

 

Hardware Spec.
 CPU
 AMD RYZEN 7 2700 8C/16T [Pinnacle Ridge 12nm.]
 CPU Cooler  Thermaltake Floe Riing 360 RGB TT Premium Edition
 Motherboard
 GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI
 Memory
 G.SKILL SNIPER X DDR4-3400CL16 16GB-Kit (8GBx2) B-Die
 VGA  MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB GDDR5X
 Hard Drive
-Apacer Phanter AS340 240GB x1 (OS Drive)
-WD Blue 1TB x1 (Game Drive)
 PSU  Thermaltake ToughPower iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1803 2018-7

 

System Overclock Config

     และสำหรับรายละเอียดในการ Overclock CPU AMD RYZEN 7 2700 ในครั้งนี้ร่วมกับเมนบอร์ด GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI ตัวนี้พบว่าความสามารถในการ Overclock ของเจ้า RYZEN 7 2700 นั้นแทบไม่ได้ต่างอะไรเลยกับ CPU ในรุ่น RYZEN 7 2700X เพราะยังไรแล้วก็สามารถ Max Full Benchmark ได้เต็มที่แค่ราวๆ 4.3Ghz ด้วยไฟเลี้ยง 1.5V เท่ากัน… ดังนั้นหากต้องการประหยัดงบแล้วเอามา Overclock เพิ่มความเร็วในระดับ 4.2-4.3Ghz ผมมองว่า AMD RYZEN 7 2700 8C/16T น่าจะคุ้มค่าอย่างมาก เพราะราคาขายอยู่ประมาณ 11,xxx.- บาทต้นๆ เท่านั้นเอง

     ส่วนเรื่องของการ Overclock แรมนั้นเท่าที่ผมลองไล่ดูแล้วเมนบอร์ดและแรม G.SKILL SNIPER X DDR4-3400CL16 คู่นี้ก็สามารถลากไปได้ที่ระดับ DDR4-3466CL14-14-14-34 1T + Tight Sub-Timing ได้ด้วยไฟเลี้ยงเพียง 1.45V เท่านั้น และให้ความเสถียรภาพดีในระดับหนึ่งอีกด้วยครับ ส่วนที่ความเร็วระดับ DDR4-3533Mhz CL14 นั้นก็สามารถบูทเข้า OS ได้แบบนิ่มๆ แต่ยังไม่นิ่งสักเท่าไรนัก ไว้ได้ลองจูนดูใหม่ครับ เพราะเหมือนว่าจะเริ่มตึงแล้ว ฮ่าๆ….

 

UEFI BIOS Overclock Config

รายละเอียดจากหน้า UEFI BIOS ที่เราจับภาพมาให้ชมค่า Overclock Config ต่างๆ ในครั้งนี้มาให้ดูเป็นแนวทางในการปรับแต่ง ทั้งในส่วนของ CPU และ Memory Timing  ลองไปชมกันเลยครับ  ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งรุ่น ที่กด Sub-Timing ได้แน่นซะใจ…

 

     เอาล่ะครับมาถึงผลการ Benchmark ต่างๆ ที่เราทดสอบสำหรับค่า Overclock Config ครั้งนี้ดูกันว่า CPU AMD RYZEN 7 2700 8C/16T @ 4.3Ghz Vcore 1.50V (Full Load 1.55v/LCC Turbo) และความเร็วแรม DDR4-3466CL14-14-14-34 1.45V + Tight Sub-Timing แบบแน่นๆ รีดพลังแรมออกมาทุกหยด แรงไหนลื่นจริงๆ ครับ รวมๆ แล้วมอมองว่าเมนบอร์ด GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI ตัวนี้ก็ออกแบบภาคจ่ายไฟของ CPU มาได้ค่อนข้างทรงพลังเลยทีเดียว และยังมาพร้อมกับ Heatsink ภาคจ่ายไฟคุณภาพ นำความร้อนอกมาได้อย่างรวดเร็ว…. ไปชมรายละเอียดของ Benchmark ต่างๆ กันเลยครับว่าทดสอบผ่านแบบชิวๆ + แรงแค่ไหน

 

Ambient Room : 24-25c

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

CPU-Z Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryReder x64

 

Cinebench R15

 

Vray Benchmark

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

 

PCMARK 10

 

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy ( CPU Type SSE3)

 

3DMARK Time Spy Extreme (CPU Type AVX)

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความสามารถในการ Overclock ของตัว CPU AMD RYZEN 7 2700 8C/16 ตัวนี้ ซึ่งบอกได้เลยว่า สามารถ Overclock ขึ้นมาได้ในระดับเดียวกันไม่ได้ต่างกับ RYZEN 7 2700X 8C/16T เลยแม้แต่น้อย เพราะอย่างไรแล้วโครงสร้างของ CPU AMD Pinnacle Ridge 12nm. ก็มาถึงจัด Peak สุดๆ ในการ Overclock ที่ระดับ 4.2-4.3Ghz แบบ Full Bench ได้ไม่ต่างอะไรกันเลยครับ  ดังนั้นหากใครต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับ CPU ก็สามารถลดลงมาเล่นในรุ่น RYZEN 7 2700 แล้วทำการ Overclock ขึ้นไปในระดับ 4.2Ghz+ แบบ Manual เองก็ได้ครับ  และจุดแตกต่างอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือ การแถม Heatsink ระบายความร้อนในกล่องของ CPU AMD RYZEN 7 2700X และ RYZEN 7 2700 นั้นจะต่างกันในเรื่องของระบบแสงสี และการออกแบบ Heatsink อยู่เล็กน้อยครับ ดังนั้นถ้าใครสนใจ Cooling งามๆ ในรุ่น AMD Wraith Prism Cooler (With Heatpipe) ก็ต้องเลือก RYZEN 7 2700X เท่านั้น และสำหรับ RYZEN 7 2700 จะเป็นรุ่น AMD Wraith Spire Cooler with RGB LED  และสรุปกันตรงนี้กันอีกทีเลยนะครับว่า RYZEN 7 2700X/2700 สามารถ Overclock ด้วยชุดระบายความร้อนที่ใช้ของ TT AIO Floe Ring 360 RGB ในครั้งนี้ สามารถทำได้ในระดับเดียวกันเลยที่ประมาณ 4.3Ghz ครับ ลองพิจารณาดูกันได้….

     ส่วนเรื่องของการออกแบบเมนบอร์ดนั้น GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI นั้นทำออกมาได้ค่อนข้างดีมากเลยทีเดียว  นอกจากจจะออกแบบหน้าตาของเมนบอร์ดมาอย่างสวยงาม พร้อมทั้งลูกเล่นไฟ RGB ที่เรียกว่า RGB Fusion แล้วยังมีการออกแบบภาคจ่ายไฟของ CPU ด้วยชิป PWM + MOSFET คุณภาพสูงจากค่าย IR ซึ่งโดดเด่นในเรื่องของการจ่ายไฟที่แม่นยำและสามารถจ่ายกระแสได้สูง โดยที่ความร้อนจากการทำงานจะไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับ Mosfet แบบธรรมดาทั่วไป, มีการติดตั้งชุด Base Plate + I/O Shield Armor  และชุด Cover บนตัวเมนบอร์ดมาอย่างสวยงาม พร้อมทั้ง Heatsink ระบายความร้อนให้กับตัว M.2 ทั้ง 2 ตัวมาในเมนบอร์ดที่เรียกว่า AORUS M.2 Thermal Guard มาให้อีกด้วย จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ  ในเรื่องของการ Overclock บนเมนบอร์ดตัวนี้นั้นทำ UEFI BIOS ออกมาได้เหมือนๆ กับเมนบอร์ดรุ่นก่อนหน้านี้เลยล่ะครับ ใครใช้ GIGABYTE อยู่น่าจะไม่งงอะไรมาก เพราะเมนูสำคัญต่างๆ ก็อยู่ในตำแหน่งเดิม แทบจะเหมือนกันทั้ง AMD Platform และ Intel Platform เลยก็ว่าได้ ฮ่าๆ….

     อย่างไรแล้วเรื่องของการ Overclock AMD RYZEN 7 2700 + GIGABYTE X470 AORUS GAMING 7 WIFI ตัวนี้ก็ถือว่าเล่นการ Overclock ได้ค่อนข้างสนุกอยู่รุ่นหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะการ Overclock ลาก Ghz CPU นั้นผมว่าไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องแรมนั้น อาจจะยังไม่ค่อยสุดเท่าไรนักครับ ซึ่งผมก็พยายามไล่หาความเร็ว DDR4-3533Mhz ให้แบบนิ่งๆ ได้ยากยากอยู่นิดหนึ่ง ไว้ลองจูนดูกับแรมรุ่นอื่นๆ ดูอีกครั้ง แล้วจะกลับมารายงานครับ  สำหรับวันนี้ผมเองก็ต้องขอตัวลาไปแต่เพียงเท่านี้ พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

AMD THAILAND