AMD RYZEN 7 2700X & RYZEN 5 2600X Processors Review

เอาล่ะครับเราก็มาถึงช่วงเวลาของการเปรียบเทียบผลการทดสอบของ CPU AMD RYZEN 7 2700X 8C/16T และ AMD RYZEN 5 2600X 6C/12T ทั้ง 2 รุ่นนี้ดูก่อนว่าจะทำออกมาได้คุ้มค่ากับราคาอย่างที่เขาคุยกันหรือไม่ มาชมกันเลยครับ ซึ่งเราก็จะมี Base test ทดสอบชุดเดิมๆ ที่เราได้เคยทดสอบไปก่อนหน้านี้บน System หลักที่เลือกใช้ Hardware แบบเดียวกันกับ CPU ในรุ่น AMD RYZEN 7 1800X 8C/16T, Intel Core i7-7700K, Intel Core i7-8700K และ Intel Core i9-7940X 14C/28T

 

Benchmark :

Super Pi 32MB

     มาดูกันที่ Benchmark ตัวแรกกันเลยกับ Super Pi32MB Single Thread หัวเดียว ซึ่งอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า AMD อาจจะไม่ถนัด Super Pi เท่าไรนัก แต่ก็เอามาทดสอบให้ดูว่าปัจุบันแล้วทำได้ดีแค่ไหน ซึ่งจากการทดสอบก็ทำให้เห็นว่า RYZEN 7 2700X และ RYZEN 5 2600X ที่มีความเร็วในการทำงานที่สูงกว่าด้วย XFR 2.0 จึงทำให้สามารถคำนวณ Pi 32MB ได้เร็วกว่า RYZEN 7 1800X แบบชัดเจน…. โดยเฉพาะ 2700X VS. 1800X นั้นเห็นผลต่างถึง 27.164 วินาทีกันเลยทีเดียว….. สรุปแล้ว Super Pi ก็ไวต่อความเร็วของ Ghz CPU เป็นหลักเหมือนเดิม…

 

AIDA64 Cache & Memory Bandwidth

มาดูกันต่อในเรื่องของ Memory Bandwidth กันบ้างครับ โดยชุดทดสอบของ CPU แต่ละ Set นั้นจะทำงานที่ความเร็วแรม DDR4 เท่ากันทั้งหมดที่ DDR4-3200CL14-14-14-34 1T และปล่อย Sub-Timing แบบ Auto ตามที่เมนบอร์ดปรับแต่งให้ โดยภาพรวมแล้วจัดว่าทาง AMD ปรับปรุงเรื่องของระบบ Memory Bandwidth มาได้ค่อนข้างดีเลย ซึ่งค่า Read นั้นทำได้ในระดับ 47K+ ได้พอๆ ไม่ว่าจะเป็น 2700X, 2600X และ 1800X ส่วนค่า Write และ Copy นั้นอาจจะไม่เก่งสู้ฝั่ง Intel ได้ ลองพิจารณาดูตามผลการทดสอบด้านบนนี้เลยครับ

 

AIDA64 Cache & Memory Latency

และในส่วนของเรื่อง Memory Latency นั้นจัดว่าเจ้า 2700X และ 2600X นั้นปรับปรุงมาได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 1800X ที่ทำได้ในระดับ 70.6ns. เท่านั้น ส่วน 2700X และ 2600X นั้นทำได้ประมาณ 66.6-66.7ns. ถือว่าเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่านั่นเอง… ถึงแม้จะใช้แรมความเร็วเดียวกันที่ระดับ DDR4-3200Mhz CL14 เท่ากัน

 

CPU-Z Benchmark

ในส่วนของโปรแกรม CPU-Z Benchmark นั้นเมื่อเทียบกันระหว่าง RYZEN 7 2700X และ RYZEN 7 1800X นั้นที่คะแนน Multi-Thread นั้นเห็นผลแบบชัดเจนเลยว่า 2700X นั้นทำคะแนนได้ดีกว่าในระดับ 5012.2 แต้ม ต่อคะแนน 4551.5 แต้มของ 1800X  ส่วนของ RYZEN 5 2600X นั้นก็จะไล่ๆ กับ i7-8700K อยู่ระดับหนึ่งครับ ซึ่งห่างกันไม่มากนัก  แต่ถ้าเทียบกับคะแนน Single Thread นั้นดูรวมๆ แล้วทาง Intel เหมือนประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องด้วยสัญญาณนาฬิกาของ CPU นั้นมีสูงกว่าทาง AMD นั่นเอง

 

Cinebench R15.038 64-Bitส่วนโปรแกรม Cinebench R15 นั้นก็มี Scale คะแนนคล้ายๆ กับโปรแกรม CPU-Z Benchmark โดยเจ้า 2700X นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับ 1800X ก็เพราะว่าการลดกระบวนการผลิตเหลือ 12nm. นั้นช่วยให้ AMD เร่งความเร็วของ CPU ในช่วง XFR2.0 ได้ถึงระดับ 4.1-4.3Ghz ได้ง่ายกว่าเดิมนั่นเอง ส่วนทางด้าน 2600X นั้นก็ยังตามหลัง i7-8700K อยู่ระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับราคาตัวละประมาณ 8,000 บาทนั้นก็ถือว่าคุ้มมากแล้วกับสิ่งที่ทำได้ เพราะ i7-8700K คุณต้องจ่ายประมาณ 12,200.- บาท (ซึ่งราคานี้ซื้อ RYZEN 7 2700X ได้เลยนะครับ น่าคิด ฮ่าๆ)

 

x264 FHD Benchmark 64bit

ต่อกันที่ x264 FHD Benchmark นั้นเจ้า 2700X นั้นทำผลงานได้น่าสนใจมากกับเฟรมเรทในการ Encode ได้ในระดับ 54.03fps กันเลยทีเดียว  ส่วน 2600X ก็ยังตามหลัง 8700K อยู่ระดับหนึ่งเหมือนเดิมครับ…

 

FryRender x64

ส่วนโปรแกรม FryRender x64 นั้นดูเหมือนจะเข้าทางฝั่ง Intel นะ ลองดู 8700K สิครับครับ ทำเวลาในการ Render ได้อยู่ระหว่าง 2700X และ 1800X ที่เป็น CPU แบบ 8C/16T ทั้ง 2 รุ่น แต่รวมๆ แล้ว 2700X ก็ยังได้เปรียบเรื่องประสิทธิภาพต่อราคาอยู่ดี  ส่วนเจ้า 2600X นั้นก็ไม่ค่อยเด่นอะไรมากนักครับ

 

Vray Benchmark

และสำหรับโปรแกรม Vray Benchmark นั้นก็ยังคงให้ Scale ใกล้เคียงกับโปรแกรม FryRender x64

 

Realbench V2.56

มาดูกันต่อที่โปรแกรม Realbench V2.56 ซึ่งจากผลการทดสอบแล้ว พบว่าคะแนนรวมเอาจริงๆ แล้วทาง Intel Core i7-8700K นั้นดูเหมือนจะได้เปรียบอยู่มิใช้มะน้อยเลย เมื่อเอามาเทียบกับ 2700X และ 2600X แล้วเหมือกับว่างานด้าน Image Edit นั้นทาง 8700K นั้นได้เปรียบอย่างมากครับ คะแนนรวมๆ เลยออกมาดีกว่า แต่ถ้ามองที่คะแนนในส่วนของ Encoding นั้น 2700X ก็จะทำได้เหนือชั้นกว่าทันที เพราะมีจำนวน Threads มากกว่านั่นเอง  ส่วนเจ้า 2600X นั้นก็ยังคงมี Scale ที่ไล่ๆ กับ 8700K อยู่เหมือนเดิมครับ

 

Geekbench V4.2.2 64bit

ต่อกันเลยกว่าโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Geekbench 4.2.2 โดยจากการทดสอบดูแล้วพบว่า 2700X นั้นคะแนน Multi-Core ออกมาได้ค่อนข้างดีในระดับ 28532 แต้ม และเมื่อเทียบกับของเดิมอย่าง 1800X นั้นทำได้เพียง 25445 แต้มเท่านั้น  ส่วนเจ้า 2600X นั้นทำคะแนน Multi-Core ออกมาได้ที่ 23609 แต้ม

 

PCMARK 10และสำหรับ PCMARK 10 นั้นคะแนนโดยรวมของทาง AMD นั้นอาจจะไม่แรงสูงฝั่ง Intel สักเท่าไรนักครับ เดาว่าฝั่ง Intel ที่มี Ghz ที่สูงกว่านั้นได้เปรียบในเรื่องคะแนนการทดสอบต่างๆ ที่เน้นไปทาง 2D/Office เสียเยอะ จึงทำให้คะแนนด้าน Productivity นั้นค่อนข้างเด่นกว่าทาง AMD

 

3DMARK Fire Strike

สำหรับ 3DMARK Fire Strike นั้นดูเหมือนว่า 2600X จะมีคะแนนรวมๆ ออกมาได้ดีกว่า 2700X เสียด้ายซ้ำครับ ซึ่งผมก็เช็คผลทดสอบและเทสซ้ำดูหลายรอบแล้วก็ได้ผลออกมาตามนั้นเลยครับ อาจจะ Bug อะไรหรือป่าวนั้นก็ไม่แน่ใจครับ

 

3DMARK Time Spy

และกับ 3DMARK Time Spy นั้นผลการทดสอบกลับไม่ผิดปกติแต่อย่างใด โดยที่ 2700X นั้นกลับมานำทันทีเมื่อเทียบกับ 1800X และ 8700K โดยทุกอย่างก็เป็นไปตาม Scale ครับ

 

3DMARK Time Spy Extreme

     และยังมีผลการทดสอบเป็น Scale แบบเดิมครับครับ โดยที่ 2700X นั้นยังคงได้เปรียบเรื่องคะแนนรวม CPU Score เมื่อเทียบกับ 8700K เพราะว่ามันมีจำนวน Thread ที่มากกว่า ดังนั้น 2700X จึงมีคะแนนรวมที่ดีกว่านั่นเอง ส่วนถ้ามองแค่คะแนนของ Graphics Score นั้น CPU แถบทุกรุ่นมีประสิทธิภาพพอๆ กันหมด ด้วยคะแนนที่อยู่ในระดับ 3110-3160 แต้ม  มีเพียงแต่ 8700K เท่านั้นที่กระโดไปที่ระดับ 3632 แต้ม ซึ่งค่าว่าอาจจะเป็นเพราะตัวมันเองสามารถ Boost ได้มากถึง 4.7Ghz สูงสุด จึงทำให้สามารถปั่นเฟรมเรทในการทดสอบได้ดีกว่าเพื่อน….  สรุปผลการทดสอบโดยรวมแล้วความเร็วในการทำงานของ CPU นั้นยังเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับทุกๆ กันทดสอบโดยเฉพาะเรื่องของการทดสอบด้าน 2D และการปั่นเฟรมเรทในการทดสอบเกมต่างๆ ล้วนตอบสนองกับความเร็วของ CPU เป็นหลัก  ส่วนในเรื่องของการ Render/Encoding นั้นก็จะเป็นเรื่องของจำนวน Threads เป็นหลัก ซึ่ง CPU รุ่นไหนมีหัวหรือคอร์ที่เยอะกว่า ก็ทำงานได้เร็วกว่า เป็นเรื่องธรรมดาครับ…