ROG ZENITH EXTREME with RYZEN Threadripper 1920X Overclocking Review

     ภาพบรรยากาศในการทดสอบเจ้า ROG ZENITH EXTREME ในครั้งนี้ครับ ซึ่งบอกได้เลยว่าตัวเมนบอร์ดนอกจากจะตัวใหญ่ดุดันแล้ว แสงสีแบบ RGB ด้วยเทคโนโลยี ASUS AURA Sync นั้นยังช่วยให้เกิดความสวยงามบนตัวเมนบอร์ดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

แสงสีแบบ RGB Color บริเวณด้านใต้ Heatsink PCH และบริเวณแถบด้านข้างของตัวเมนบอร์ดครับ

     และแสงสีอีกหนึ่งจุดนั้นจะอยู่ที่บริเวณ Cover ด้านหลังเมนบอร์ด พร้อมทั้งระบบ LiveDash OLED แสดงสถาณะของ Debug Post, frequency, temperatures, fan speeds หรือเป็นพวกไฟล์ .Gif หรือ animation อื่นๆ ที่เราสามารถเลือกใส่เองได้อีกด้วยครับ ปล. ผมไม่ได้ลองเล่นนะครับ ^^”

System Spec.
 CPU
 AMD RYZEN THREADRIPPER 1920X 12C/24T 14nm.
 CPU Cooler  CM MASTER LIQUID LITE 120
 Motherboard
 ROG ZENITH EXTREME  X399
 Memory
 G.Skill TridentZ DDR4-3200 CL14-14-14-34 16GB-Kit
T-FORCE DDR4-3733CL18-20-20-40 16GB-Kit
 VGA
 ASUS STRIX GTX1080 Ti 11GB OC Edition
 Hard Drive
 Apacer Panther AS340 240GB (OS)
 PSU  Thermaltake TP 1050 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1709

System Overclocking Config

     ทางด้านผลดารทดสอบนั้นที่ความเร็วของ CPU AMD RYZEN THREADRIPPER 1920X 12C/24T นั้นก็ต้องบอกเลยว่าเรื่องของการประมวลผลแบบ Multi-Threads นั้นโดดเด่นเป็นอย่างมาก และยิ่งทำการ Overclock ไปในความเร็วระดับ 4.125Ghz แล้วยิ่งเร้าใจขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเลยล่ะครับ การ Overclock ตัว CPU รุ่นนี้ไม่มีไรยากเลยครับ พื้นฐานเดียวกับ CPU AMD RYZEN รุ่นเก่าเลย  ให้เช็คว่าความเร็วในการ Overclock CPU นั้นต้องใช้ไฟเลี้ยงระดับเท่าไรก่อน และถ้าร้อนเกิน หรือมันไม่ไหวระบบ Thermal throttling บนตัว CPU และที่เมนบอร์ดคุมอยู่จะจัดการลดความเร็วของ CPU ลงเองเพื่อป้องการความเสียหาของ CPU และเมนบอร์ดนั่นเอง  ถ้าอยากเลี่ยงปัญหาความเร็วของ CPU แอบร่วงลงเองก็ต้องทำให้ CPU เย็นๆ และเลี่ยงการใช้เลี้ยงเยอะ เพราะจะทำให้โอกาสเกิด Thermal throttling นั้นเกิดได้ง่ายและบ่อยขึ้นเมื่อมี Load หนักๆ หรือความร้อนสูงๆ จะเลี่ยงได้ยาก  นอกเสียจากเราจะมี CPU ที่ดีจริงๆ เท่านั้น…  (CPU แต่ละตัวมีความสามารถในการ Overclock ที่ต่างกัน จะมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับตัวชิป)

     ส่วนเรื่องการ Overclock แรม DDR4 แบบ Quad Channel บนเมนบอร์ด X399 นี้ก็ทำได้ง่ายเกินคาดครับ ที่ความเร็วระดับ DDR4-3466CL16-16-16-36 1T นั้นทำได้แบบง่ายดายจริงๆ ขนาดว่าใช้แรมผสมกันนะครับ ด้วย PCB คนละแบบด้วย เพียงแต่ใช้ชิปเดียวกันคือ Samsung รหัส B-Die ระหว่าง G.Skill TridentZ DDR4-3200CL14 16GB-Kit และ T-FORCE DDR4-3733CL18 16GB-Kit รวมแล้ว 32GB Quad-CH ว่าแล้วก็ไปชมความแรงกันเลยครับ….

 

Super Pi

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

CPU-Z Benchmark

x264 FHD Benchmark

FryRender x64

Cinebench R15

Geekbench 4

Realbench V2.44

PCMARK 7

PCMARK 8 : Home Conventional

3DMARK 11

3DMARK Fire Strike

3DMARK Time Spy

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความแรงของเมนบอร์ดรุ่นใหญ่จากค่าย ASUS ในรุ่น ROG ZENITH EXTREME ชิปเซท X399 รุ่นใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อทะลวงเงินในกระเป๋าตังค์คุณโดยเฉพาะ !!! จากผลการทดสอบด้านการ Overclock นั้นผมบอกได้เลยว่าตัวนี้น่าจะสุดแล้วล่ะสำหรับใครที่เล็งเจ้า AMD RYZEN THREADRIPPER อยู่คิดว่าไม่น่าผิดหวัง จะเอาไปทำงานหรือเล่นเกมก็ตอบโจทย์ได้ทั้งนั้น อุปกรณ์เสริมและของแถมก็อย่างที่เห็นๆ กันครับ เพียบเลยทีเดียว จะได้ใช้ทุกชิ้นรึป่าวก็ยังไท่รู้เลย ฮ่าๆ  อย่างน้อยก็แถมการ์ดแลน ROG Areion 10G Card มาให้เผื่ออนาคตหรือใครที่พร้อมสำหรับเครือข่ายระดับ 10G ก็จัดไปครับ

     ส่วนช่องเสียบ M.2 Socket 3 PCIe3.0 x4 นั้นใส่ได้ถึง 3 ตัว โดย 2 ตัวแรกจะเชื่อมต่อผ่านทาง DIMM.2 Card ที่รองรับได้ขนาดยาวสุดที่ Type 22110 (110mm.) และอีก 1 ตัวจะมี Socket ให้ต่อใช้งานอยู่บริเวณใต้ Heatsink ของ PCH ซึ่งออกแบบมาให้เป็น M.2 Heatsink ไปในตัวครับ แต่จะใส่ได้ขาดยาวสุดคือ Type 2280 และ M.2 Socket 3 ทั้ง 3 ช่องนี้รองรับได้ทั้งแบบ SATA/PCIE SSD ครับ, ด้านหลังเมนบอร์ดบริเวณ Back I/O Panel ก็ยังมีช่องเสียบแบบ USB3.1 Gen2 (Type-A + Type-C) ให้ใช้งานเป็นที่เรียบร้อย, ระบบ Wireless 2.4/5Ghz + Bluetooth Module ก็ให้เช่นกัน ระบบเสียงจัดเต็ม ROG SupermeFX พร้อมชิป Audio Codec S1220

     ด้านความสามารถในการ Overclock CPU นั้นทำได้ค่อนข้างดีครับ ระดับความเร็ว 4Ghz+ บน Threadripper CPU ผมมองว่าไม่ยากเลยอยู่ที่ชนิดของ CPU Cooler มากกว่าว่ารับได้แค่ไหน และ CPU วิ่งดีหรือไม่ก็อีกเรื่อง แต่รวมๆ แล้ว 3.8-4Ghz+ ผมมองว่าบอร์ดรับได้สบายๆ  ส่วนเรื่องการ Overclock แรมนั้นทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ครับ ความเร็วระดับ DDR4-3466 บน Quad-Channel นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ขนาดว่าแรมไม่ใช่แบบเดียวกันทั้ง 2 ชุด และคนละ PCB ยังสามารถทำงานร่วมกันได้เลย  คาดว่าหากมีแรมดีๆ ตรงรุ่นที่รองรับน่าจะเห็น DDR4-3600 Quad-CH ได้แบบไม่ยากเย็นอย่างแน่นอน   ส่วนจะโดนใจสาวก AMD RYZEN THREADRIPPER หรือไม่นั้นก็ลองพิจารณาดูจากรีวิวฉบับนี้กันได้เลย  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

ASUS THAILAND