รีวิว ASUS ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) Motherboard

     หลบหน่อย…. พระเอกมา…  กราบสวัสดีเพื่อนๆ ที่รักทุกคนครับ วันนี้นาย Audigy มีเมนบอร์ดขวัญใจมหาชนจากสำนัก ROG อีกรุ่นหนึ่ง ที่ไม่พูดถึงไม่ได้…. ซึ่งแม้จะผ่านมากี่เจเนอเรชั่นเมนบอร์ด ROG ในตระกูล HERO Series ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่เหมือนเดิม สำหรับสายเกมเมอร์และนัก Overclocker ที่มองหาเมนบอร์ด ROG สวยๆ ในราคาที่ไม่แรงเกินไปนั่นเอง ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้เจ้ามนบอร์ดรุ่นนี้มีชื่อรุ่นว่า ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) นั่นเองครับ โดยรุ่นนี้ก็จะมี WiFi + Bluetooth Module มาให้บนเมนบอร์ดพร้อมใช้งานเลยล่ะครับ

     ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) ตัวนี้หลักๆ เลยก็คือมันจะขับเคลื่อนด้วยขุมพลังชิปเซ็ต Intel Z390 Express ที่ทำงานร่วมกับ CPU Intel Socket LGA-1151 ใน Gen8 และ Gen9 ได้ทุกรุ่นเลยล่ะครับ แต่ถ้าแนะนำแล้วล่ะก็ เมนบอร์ดรุ่นนี้เลือกใช้ชิปเซ็ต Intel Z390 ดังนั้นเรื่องของความสามารถในการ Overclock ทั้งในส่วนของ CPU และ Memory DDR4 นั้นก็จะทำการปลดล็อคได้อย่างอิสระจัดเต็มตามคุณสมบัติของชิปเซ็ต Intel Z390 นั่นเอง….

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้มาพร้อมกับขนาดมาตราฐาน ATX แบบเต็มใบ ด้วย PCB ที่เลือกใช้คือสีดำด้านทั้งใบ และยังมาพร้อมกับชุด Heatsink ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟ CPU หรือตัว VRM ที่ออกแบบมาให้มีท่อ Heatpipe ช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนี้ยังมี Heatsink ระบายความร้อนให้กับ M.2 ทั้ง 2 ช่องและชุด Cover Back I/O + Sound มาให้อย่างสวยงามด้วยเช่นกัน

 

 

สำหรับการออกแบบของภาคจ่ายไฟของ CPU นั้นมาพร้อมกับ Heatsink ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่ ที่มีการออกแบบท่อ Heatpipe ทองแดงมาช่วยการนำความร้อนของตัว Heatsink ที่สามารถระบายความร้อนได้ทั้งตัว Mosfet และตัว Choke ไปในตัว

 

 

บริเวณมุมด้านขวามือของ Heatsink จะมีคำว่า HERO สกรีนไว้เพื่อบ่งบอกถึงรุ่นของมันนั่นเองครับ….

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบไฟเลี้ยงสำหรับ CPU แบบ +12V 8+4Pin ครับ

CPU Support :

  • Intel® Socket 1151 9th / 8th Gen Intel® Core™, Pentium® Gold and Celeron® Processors
  • Supports Intel® 14 nm CPU
  • Supports Intel® Turbo Boost Technology 2.0

 

ถ้าอยากรู้ว่าอะไรอยู่ด้านใต้ชุด Heatsink ระบายความร้อนและ Cover ต่างๆ แล้วล่ะก็ เรามาดูกันเลยครับ….

 

ภาคจ่ายไฟของ CPU มีทั้งหมด 10 Phase ด้วยกัน โดยเลือกใช้ Mosfet จากค่าย Vishay รหัสรุ่น SiC639 ซึ่งเป็นแบบ Single Package จ่ายกระแสได้ตัวละ 50A กันเลยทีเดียว ดังนั้นมันจึงรองรับการ Overclock CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ได้ดีระดับหนึ่งอย่างแน่นอนครับ

 

     ช่องเสียบแรมนั้นมีทั้งหมด 4xDIMM หรือ 4 ช่อง รองรับการทำงานร่วมกับแรม DDR4 แบบ Dual Channel ตั้งแต่ความเร็วพื้นฐาน DDR4-2133Mhz ไปจนถึงแบบ Overclock Module ได้สูงสุดที่ความเร็ว DDR4-4400Mhz (OC) กันเลยทีเดียวครับ และยังรองรับการ Overclock แรมทั้ง 4xDIMM ด้วยความเร็วกว่า 4400Mhz ได้อีกด้วย (เช็ค QVL List ของแรมที่รองรับก่อนนะครับ ไม่ใช่แรมทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่จับมาใส่ 2 หรือ 4 แถวแล้วจะลาก 4000-4400Mhz ได้ง่ายๆ) ซึ่งต้องขอขอบคุณเทคโนโลยี Optimem II ที่มีการแยกชั้นของ PCB สำหรับนำสัญญาณของแรมแยกออกจากชั้น PCB อื่นๆ ซึ่งการออกแบบยังอยู่ในพื้นฐานของเทคโนโลยี T-Topology

Memory Support :

  • 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 4400(O.C)/4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory
  • Dual Channel Memory Architecture
  • Supports Intel® Extreme Memory Profile (XMP)

 

บริเวณช่องเสียบ M.2 Socket ช่องแรกนั้นจะอยู่ใกล้กับ Socket CPU โดยเป็นช่องเสียบแบบ M.2 Socket PCIe3.0 x4 แบบ M key, type 2242/2260/2280 สามารถใส่ได้ทั้ง M.2 SATA SSD และแบบ M.2 PCIe SSD (NVMe Support) และรองรับการต่อใช้งานร่วมกับ Intel Optane Memory

 

ระบบเสียงนั้นใช้ของ SupremeFX รุ่นล่าสุดของปี 2018 โดยเลือกใช้ชิป Audio Codec คุณภาพสูงอย่าง Realtek ALC S1220

ROG SupremeFX 8-Channel High Definition Audio CODEC S1220

  • Impedance sense for front and rear headphone outputs
  • Supports : Jack-detection, Multi-streaming, Front Panel Jack-retasking
  • High quality 120 dB SNR stereo playback output and 113 dB SNR recording input
  • SupremeFX Shielding Technology
  • ESS® ES9023P
  • Supports up to 32-Bit/192kHz playback

Audio Feature :

  • Gold-plated jacks
  • Optical S/PDIF out port(s) at back panel
  • Sonic Radar III
  • Sonic Studio III +
  • Sonic Studio Link

 

ชิป LAN ก็เลือกใช้แบบ Gigabit LAN คุณภาพสูงจากค่าย Intel I219V จำนวน 1 ช่อง

  • Intel® I219V, 1 x Gigabit LAN Controller(s), Dual interconnect between the Integrated Media Access Controller (MAC) and Physical Layer (PHY)
  • Anti-surge LANGuard
  • ROG GameFirst Technology

 

ส่วนช่อง M.2 Socket อีกหนึ่งช่องจะรองรับความยาวสูงสุดที่ 22110 โดยช่องนี้จะไม่รองรับ M.2 แบบ SATA SSD โดยจะสามารถใส่ได้กับ M.2 PCIe3.0 x4 ได้เท่านั้น (NVMe Support)

 

บริเวณช่องเสียบ USB3.1 Gen2 Front Panel ครับ ถ้า Case มีช่องเสียบ USB3.1 Type-C สามารถเอามาต่อได้ทันทีครับ

 

     บริเวณชิปเซ็ต Intel Z390 Express ที่มาพร้อมกับ Heatsink ระบายความร้อนขนาดใหญ่ + Logo ROG มาให้อย่างสวยงาม โดยมีไฟ LED RGB สว่างออกมาที่ตัว Logo ได้ด้วยนะครับ  ส่วนช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s นั้นมีทั้งหมดจำนวน 6 ช่องด้วยกัน ซึ่งคุมโดยตรงจากชิปเซ็ต Intel Z390 Chipset ดังนั้นทุกช่องจึงรองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1, 5 และ 10

Storage Support (Intel Z390 Chipset) :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support (PCIE 3.0 x 4 mode)
  • 6 x SATA 6Gb/s port(s)
  • Support Raid 0, 1, 5, 10
  • Intel® Optane™ Memory Ready

 

บริเวณจุดเชื่อมต่อสาย RGB Strip แบบต่างๆ โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้สามารถต่อได้ 2 แบบด้วยกันคือทั้งในแบบ +12V RGB Header 4-Pin และแบบ +5V ADD_Header 3-Pin ทั้งหมด อย่างละ 2 ช่อง รวมทั้งหมด 4 ช่องด้วยกัน โดยบริเวณด้านล่างเมนบอร์ดนี้จะมีอย่างละชุดให้ต่อใช้งาน

 

และอีก 2 ชุดจะอยู่บริเวณด้านบน Slot แรมด้านบนครับ รวมแล้วจะสามารถต่อ 12V 4Pin RGB ได้ทั้งหมด 2 ช่อง และแบบ 5V RGB ADD_Header อีก 2 ช่อง  และสำหรับตำแหน่งของ Debug Post และปุ่มกด Power/Reset Switch นั้นจะอยู่บริเวณด้านมุมบนขวามือครับ

 

บริเวณ MemOK_II Swtich และ ReTry Button สำหรับทำการกู้ค่าการ Overclock แรมที่ไม่เสถียรภาพเองและเอาไว้กดเพื่อ Re-Training

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้มีการติดตั้งกรอบเหล็กเสริมความแข็งแรงให้กับ PCIe3.0 x16 Slot ใน 2 ช่องแรกมาให้เรียบร้อยครับ โดยมีชื่อเรียกว่า SafeSlot และสำหรับช่องเสียบแบบ PCIe3.0 x1 นั้นมีทั้งหมด 3 ช่องและ PCIe3.0 x16 มีทั้งหมด 3 ช่อง โดยแต่ละช่องทำงานที่ x16/x8x4 ดังนั้นเมนบอร์ดรุ่นนี้จึงรองรับได้ทั้งเทคโนโลยี Multi-GPU ของค่าย NVIDIA แบบ 2-Way SLI (x8+x8) และ AMD CrossfireX แบบ 3-Way CrossfireX (x8+x8+x4)

Multi-GPU Support :

  • Supports NVIDIA® 2-Way SLI™ Technology
  • Supports AMD 3-Way CrossFireX™ Technology

Expansion Slot : (Intel® Z390 Chipset)

  • 2 x PCIe 3.0 x16 (x16 or dual x8 or x8/x4/x4)
  • 1 x PCIe 3.0 x16 (x4 mode)
  • 3 x PCIe 3.0 x1

 

ด้านหลังเมนบอร์ดก็มีการติดตั้ง Pre-Mounted Back I/O Shield มาให้เรียบร้อยครับ

Back I/O Panel :

  • 1 x PS/2 keyboard/mouse combo port(s)
  • 1 x DisplayPort
  • 1 x HDMI
  • 1 x LAN (RJ45) port(s)
  • 4 x USB 3.1 Gen 2 (red) (1 x Type-C+3 x Type-A)
  • 2 x USB 3.1 Gen 1 (blue) Type-A
  • 2 x USB 2.0
  • 1 x Optical S/PDIF out
  • 1 x Clear CMOS button(s)
  • 1 x USB BIOS Flashback Button(s)
  • 1 x ASUS Wi-Fi Module
  • 5 x Gold-plated audio jacks

 

บริเวณด้านหลังของตัวเมนบอร์ดครับ

 

     ส่วนช่องนี้คือมีไว้สำหรับกู้ BIOS หรือการ Flash BIOS แบบไม่ต้องมีการติดตั้ง CPU หรือ RAM ก็สามารถทำได้ครับ โดยเรียกว่า BIOS Flashback นั่นเอง เพียงแค่ re name ชื่อ BIOS ตามที่คู่มือแนะนำ แล้วเอาไฟล์ไปใส่ใน USB Drive แล้วเสียบเข้าไปในช่องที่ระบุไว้ จากนั้นต่อไฟเลี้ยง PSU ATX 24Pin แล้วก็เปิด PSU ให้ไฟเข้าเมนบอร์ดตามปกติ แล้วทำการกดที่ปุ่ม [BIOS] Flashback ค้างไว้ 3 วินาที จะมีไฟ LED กระพริบขึ้นมาที่ปุ่มเป็นจังหวะๆ ไปเรื่อยๆ รอจนกว่าไฟ LED จะขึ้นมาติดค้าง ไม่มีการกระพริบใดๆ นั่นหมายความว่าทำการ Flash BIOS เสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง จากนั้นก็ลองประกอบ CPU, RAM และ VGA แล้วลองเปิดเครื่องดูตามปกติครับ  หากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ…

 

อุปกรณ์ต่างๆ ที่แถมมากับตัวเมนบอร์ดครับ

  • User’s manual
  • 4 x SATA 6Gb/s cable(s)
  • 1 x M.2 Screw Package
  • 1 x Supporting DVD
  • 1 x ASUS 2T2R dual band Wi-Fi moving antennas (Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac compliant)
  • 1 x SLI HB BRIDGE(2-WAY-M)
  • 1 x ROG big sticker
  • 1 x Q-Connector
  • 1 x Extension Cable for RGB strips (80 cm)
  • 1 x Extension cable for Addressable LED
  • 1 x ROG coaster(s)

 

เทียบกันในดูกับขนาดเมนบอร์ดทั้งแบบ mini-ITX และ ATX มาตราฐานให้เพื่อนๆ ดูกันอีกครั้งว่า ขนาดต่างกันแค่ไหน ฮ่าๆ…

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบในครั้งนี้ครับ

System Spec.
 CPU
 Intel Core i9-9900K 8C/16T Coffeelake 14nm. Refresh
 CPU Cooler Water Cooling Custom Set
– Kyros HF Copper
– Radiator : XSPC RX480 480mm.
– Radiator Fan : Nactua NF-F12 IPPC 3,000rpm x4
– Pump : XSPC DDC MCP355 + Laing
– Fitting & Tube Size : 1/2″
 Motherboard
 ASUS ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi)
 Memory
 XPG SPECTRIX D80 RGB DDR4-3600C17 32GB-Kit
 VGA
 MSI GTX1080 Ti Gaming X 11GB
 Hard Drive
-XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 SSD 480GB x1 (OS)
-WD Blue 1TB (Game Drive)
 PSU  Antec HCP 1300Watt Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

นี่คือค่า Overclock Config ของเราในครั้งนี้ด้วยการ Overclock CPU Intel Core i9-9900K + XPG SPECTRIX D80 RGB DDR4-3600CL17 32GB-KIT (8GBx4) ร่วมกับเมนบอร์ด ASUS ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi)

  • CPU : i9-9900K @ 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz Vcore 1.30V, VCCIO 1.3375V, VCCSA 1.40V
  • Memory : XPG SPECTRIX D80 RGB @DDR4-4133Mhz CL17-18-18-38 2T VDIMM 1.45V

 

AURA Sync Support

     เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับเทคโนโลยี ASUS AURA Sync แสงสีแบบ RGB Color กับอุปกรณ์ที่รองรับได้ทันที โดยครั้งนี้เราต่อร่วมกับแรม DDR4 จากค่าย XPG DDR4-3600C17 32GB-Kit (8GBx4) ซึ่งสามารถปรับแต่งแสงสีต่างๆ ให้ทำการ Sync กับตัวเมนบอร์ดไดดทันที  และภาพด้านล่างนี้ก็คือตัวอย่างการแสดงแสงสีต่างๆ ของแรมและเมนบอร์ดที่ต่อใช้งาน AURA Sync อยู่ครับ

 

 

 

UEFI BIOS Overclocking Config

ส่วนตรงนี้ก็จะเป็นหน้าจอของหน้า UEFI BIOS ที่เราทำการจับมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันเป็นแนวทางในการปรับแต่ค่า Overclock ตาม Config ของเราที่จะโชว์ให้ดูกันในหน้าถัดไปครับ ^^”

 

 

Benchmark :

     และสำหรับผลการทดสอบในครั้งนี้เรากับการ Overclock CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T @ 5.1Ghz/Cache 4.8Ghz ร่วมกับแรม DDR4-4133Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V 32GB (8GBx4) + Tweak Sub-Timing (ความเร็วเดิมของแรมชุดนี้ DDR4-3600C17-18-18-38 1.35V) รว่มกับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) ก็พบว่าให้ความเสถียรภาพดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว สำหรับค่า Overclock Config ในครั้งนี้…. ไปชมกันเลยครับ ^^”

 

Memtest 200%+

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Vray Benchmark

 

Cinebench R15

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

ก็ผ่านไปด้วยความเสถียรภาพอย่างดีเลยนะครับสำหรับชุด Overclock Config ชุดนี้ โดยผมมองว่า Memtest 200%+++ ผ่านก็เหลือๆ แล้วล่ะครับ

 

Max Memory Overclocking
: DDR4 4200Mhz+ 4xDIMM

    หลังจากที่ลอง Overclock แรมไปที่ DDR4-4133Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V ได้อย่างมีเสถียรภาพแล้ว เราก็ลองเพิ่มความเร็วของแรมขึ้นไปอีกหนึ่งอัตราทดที่ DDR4-4200Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V พร้อมชุด Sub-Timing เดิมพบว่าเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) ตัวนี้ก็ยังสามารถที่จะขับแรมทั้ง 4 แถวด้วยความเร็ว 4200Mhz C17 เข้า OS ได้แบบชิวๆ เลยพร้อมกับผลการทดสอบ Super Pi 32MB ทั้ง 16 Threads ได้อย่างมีเสถียรภาพได้อีกด้วยครับ ไม่ธรรมดาจริงๆ….

 

Super Pi 32MB
@DDR4-4200Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

@DDR4-4200Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

@DDR4-4266Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V

และทิ้งท้ายความแรงด้วยการบูทแรมที่ DDR4-4266Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V ที่ยังพอจะทดสอบ AIDA64 ให้ดูความแรงของ Memory Bandwidth ของ Read/Write/Copy แรงๆ ในระดับ 60K++ ให้เห็นได้อีกด้วยนะครับ… และค่า Latency เหลือเพียง 39.8ns เท่านั้น….

 

Conclusion.

     เอาล่ะครับมาสรุปช่วงท้ายกันเลยดีกว่าสำหรับการรีวิวและการ Overclock บนเมนบอร์ด ASUS ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) ตัวนี้ โดยผมก็ต้องขอสรุปไว้ตรงนี้เลยว่า ถ้าในเรื่องของการ Overclock CPU และ DDR4 แล้วนั้น พบว่าสามารถทำได้ดีตามสไตล์ของรุ่น HERO ที่มักจะทำได้ดีอยู่แล้วโดยเฉพาะการ Overclock CPU นั้นผมบอกได้เลยว่า ภาคจ่ายไฟนั้นเหลือมากๆ ขึ้นอยู่กับว่า CPU ที่เรานำมาทำการ Overclock นั้นมีความสามารถในการ Overclock ได้ดีแค่ไหมมากกว่า  ต่อให้มีเมนบอร์ดดีๆ แต่เจอ CPU ห่วยๆ Overclock ได้ไม่ดี ก็จบครับ ฮ่าๆ….

     ส่วนเรื่องของการ Overclock แรม DDR4 นั้นครั้งนี้ผมพิสูจน์ให้ดูแล้วนะครับกับแรม 4 แถวที่ความเร็ว OC ไปที่ DDR4-4133Mhz CL17-18-18-38 2T 1.45V + การกด Sub-Timming ให้แน่นพอระดับหนึ่ง ไม่ถือว่าตึงมาก แต่ก็ให้ความเสถียรภาพที่ดีมากๆ โดยเราสามารถทดสอบ Memtest ได้มากกว่า 200% + ก็บ่งบอกได้แบบชัดเจนว่าแรม 4 แถวกับความเร็ว DDR4-4133Mhz CL17 นั้นทำได้ไม่ยากเลย ถ้าแรมของคุณดีพอ !!!

     และจุดเด่นอื่นๆ นั้นก็น่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบหน้าตาของเมนบอร์ดซึ่งมาใจเจนนี้บอกได้เลยว่า ROG MAXIMUS XI HERO (WiFi) ทำหน้าตาออกมาได้ค่อนข้างดูดีมากๆ และสวยกว่าโฉมปีเก่าๆ มากแบบชัดเจน ส่วนเรื่องแสงสร RGB ก็จัดเต็มด้วยเทคโนโลยี ASUS AURA Sync ที่สามารถ Sync สีไฟ RGB ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับได้ทันที, มีช่องเสียบ M.2 PCIe3.0 x4 ทั้งหมด 2 ช่อง, SATA3.0 6Gb/s อีก 6 ช่อง, รองรับการต่อใช้งานแบบ Multi-GPU NVIDLA SLI ได้แบบ 2-Way และ AMD CrossfireX แบบ 3-Way CFx ได้อีกด้วยครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นก็ลองกลับไปพิจารณาดูกันได้อีกที สำหรับรีวิวฉบับนี้ สวัสดีครับ ^^”

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team