Mini Extreme Benching i5-7640X @ 5.9Ghz+ with Phase Change

สวัสดีครับ วันนี้กระผมนาย Audigy มีผลการทดสอบแบบ Mini Extreme Benchmark ด้วย CPU Intel Core i5-7640X 4C/4T [Kabylake-X 14nm.] Socket LGA-2066 ที่ระบายความร้อนด้วยด้วย Single Stage Phase Change จากทาง Cooler Express รุ่น CE-48-S-1C(2011) โดยสามารถทำอุณหภูมิที่หัว Evap ได้เย็นสุดๆ ประมาณ -48c ถึง -51c องศาเซลเซียสโดยประมาณครับ และผลการทดสอบในครั้งนี้ก็ทำให้เราสามารถได้เห็น CPU Intel Core i5-7640X ตัวนี้ Overclock ขึ้นไปที่ความเร็วกว่าระดับ 5.66Ghz ถึง 6.0Ghz ได้แบบไม่ยากเย็นเลย ด้วยไฟเลี้ยงเพียง 1.44v ถึง 1.54v เท่านั้นเอง  ก่อนที่จะไปชมผลการ Benchmark ต่างๆ นั้นเราไปชมรายละเอียดของชุดทดสอบนี้กันเลยดีกว่าว่า ประกอบไปด้วยอะไรกันบ้าง

 

Cooler Express CE-48-S-1C(2011) Single Stage

ชุดระบายความนั้นเราเลือกใช้ Phase Change แบบ Single Stage หรือใช้คอมเพรสเซอร์ลูกเดียว  โดยเป็น Compressor ของ Samsung ระบุว่าใช้น้ำยาแอร์เบอร์ R314a หรือที่นิยมใช้ในรถยนต์ใช้นั่นเองครับ จากนั้นก็ผ่านการออกแบบของระบบและหัว Evap ที่ออกแบบมาพิเศษช่วยให้เย็นขึ้นได้ถึง -48c องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียวครับ

 

Intel Core i5-7640X 4C/4T

     ส่วน CPU ที่เราใช้ในการ Overclock ในครั้งนี้คือ CPU Intel Core i5-7640X 4Core 4Thread L3-6MB ซึ่งเป็น CPU ใน Code name Kabylake-X 14nm. จุดเด่นคือการที่มันมาอยู่บน Socket LGA-2066 ในครั้งนี้คือทาง Intel ปรับปรุงให้มันสามารถ Overclock ได้ดีกว่าเจ้า Kabylake 14nm. ที่อยู่บน Socket LGA-1151 ด้วยที่ว่า Socket LGA-2066 นั้นมีขา Pin ที่มากกว่าสามารถกระจายจุดจ่ายไฟและกระแสได้มากขึ้นและยังตัด IGP ออกไปด้วย จึงทำให้ CPU Kabylake-X นั้นถูกจัดเป็น CPU ที่อยู่ในตระกูล X-Series ขึ้นมาทันที…

 

ROG RAMPAGE VI APEX Motherboard

     เมนบอร์ดมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับ Overclock CPU และ Memory ให้ไปได้ถึงขีดสุดดั่งที่นัก Overclocker ต้องการ  การออกแบบที่ดีมักจะช่วยให้การ Overclock นั้นง่ายและอำนวยความสะดวกแก่นัก Overclocker ได้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญต้องมี Performance ที่ดีในการทำ Overclock ด้วยถึงจะเรียกได้ว่าสุดสอดเมนบอร์ด  และสำหรับวันนี้เราก็เลือกใช้เมนบอร์ด ASUS ROG RAMPAGE VI APEX ที่รองรับ CPU Intel Socket LGA-2066 และทำงานร่วมกับชิปเซ็ต Intel X299 Chipset โดยจุดเด่นของ CPU รุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อการ Overclock โดยเฉพาะ และมีความพิเศาแบบสุดๆ สำหรับ CPU Kabylake-X ที่มีการติดตั้ง DMI Pin มาให้ด้านหลัง Socket CPU เพื่อทำให้เราสามารถปรับแรงดันไฟเลี้ยงของ DMI Voltage เพิ่มได้ ซึ่งแรงดันไฟจุดนี้จะช่วยให้เราสามารถรัน 3D Benchmark หรือป้องกันกราฟิกการ์ดหายไปเมื่อต้องเจอกับอุณหภูมิติดลบเยอะๆ เมื่อเล่น LN2 หรือการ Overclock CPU ไปที่ Ghz สูงๆ ไฟเลี้ยงจุดนี้ยังคงสำคัญมาก แต่ทะว่า CPU Kabylake-X ตัวนี้เดิมแล้วทาง Intel ไม่ได้ออกแบบให้มีการปรับแรงดันไฟเลี้ยง DMI ชุดนี้อีกต่อไป แต่ทาง ASUS ก็ได้ออกแบบเพิ่ม DMI Pin เสริมมาเพื่อต่อด้านหลัง Socket CPU เพื่อช่วยให้การปัญหา Cold Bug/Cold Boot ไปในตัว หรือเย็นแล้วไม่วิ่งไปในคราวเดียวกัน (อย่างน้อยไฟเลี้ยงชุดนี้ก็ช่วย Warm ให้ CPU อุ่นขึ้นได้ในช่วง Boot ระบบ) เป็นไหมครับว่าเมนบอร์ดมีความสำคัญแค่ไหน ใช่ว่าดีแต่จะเลือกอุปกรณ์คุณภาพสูงสำหรับการออกแบบภาคจ่ายไฟ CPU แต่เพียงอย่างเดียว…  การออกแบบในจุดอื่นๆ ยังมีความสำคัญอีกมากในการ Overclock แบบ Extreme Sub-Zero

 

DMI Pin สำหรับช่วยให้ CPU Kabylake-X Overclock ได้ไกลขึ้นเมื่อ Overclock ภายใต้การใช้ LN2 Cooling แต่ห้ามต่อใช้งานร่วมกับ CPU Skylake-X เป็นอันขาด….!!!! (การต่อใช้งาน DMI Pin จะไม่มีผลกับการ Overclock แบบ On-Air/Water Cooling ดังนั้นไม่ได้เล่น LN2 ก็ไม่ต่อใช้งานหรอกนะครับ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง DMI อะไรขนาดนั้น และต้องสับ RSVD2 Switch ด้วยเพื่อเป็นการบอกเมนบอร์ดว่า DMI Pin ที่ติดตั้งไว้นั้นพร้อมใช้งาน)

 

G.Skill Trident-Z DDR4-3200CL14-14-14-34 16GB-Kit

Memory DDR4 Module แบบ DUal Channel ที่เราเลือกใช้คือ G.Skill Trident-Z DDR4-3200CL14-14-14-34 16GB-Kit ซึ่งเลือกใช้ชิปแรมจาก Samsung รหัส B-Die ตัวแรงที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในวงการ Overclock เพราะสามารถ Overclock เพิ่มความเร็วแรมไปได้มากถึงระดับ DDR4-4000Mhz ไปจนถึงระดับ DDR4-5xxxMhz+ ได้ด้วยการระบายความร้อนด้วย LN2 หรือจะเอามาจบกด CL12-11-11-28 ได้ที่ความเร็วระดับ DDR4-4000 ถึง 4133Mhz+ ก็ยังทำได้เช่นกันครับ ทั้งนั้นและทั้งนั้ก็ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกเม็ดแรมกันอีกทีว่าวิ่งดีและถนัดในช่วงความถี่ไหน เล่นแรม B-Die บางตัวอาจจะเน้นลากแรมความเร็วสูงๆ เป็นหลักเช่น DDR4-4500Mhz+ หรือเน้น Latency ต่ำที่นัก Overclock ใช้ในการรีด Performance กันคือ DDR4-4000Mhz CL12-11-11-28 นั่นเอง และยังตัวแปลอีกหนึ่งอย่างนึ่งเลยก็คือ PCB ที่เลือกใช้นั้นมีผลอย่างมาก ดังนั้นผลการทดสอบในครั้งนี้ผมจึงจับคู่กับแรมรุ่นนี้กับ RAMPAGE VI APEX ครับ

 

แรมชิป Samsung B-Die เกรดเดียวกัน แต่อยู่บน PCB ที่ต่างกันก็ให้ผลการทดสอบที่แตกต่างกันโดยอย่างสิ้นเชิง โดยถ้าอยู่บน PCB แบบมาตราฐานเดิม (ภาพบน) แรมชิป B-Die จะเด่นในเรื่องของการกด CL ที่ต่ำในระดับ DDR4-4000Mhz ถึงระดับ DDR4-4200Mhz+ ด้วย CL12-11-11-28 ได้ดีแจ่ดัน Frequency ไปได้ไม่ค่อยดีครับ ที่ระดับ DDR4-4500-4800Mhz ก็ถือว่าทำได้ยากแล้ว  ส่วน PCB แบบใหม่ ที่เม็ดแรมแรงแยกกันเป็นสองฝั่ง (ภาพล่าง) จุดเด่นคือสามารถทำงานได้ที่ความเร็วระดับ DDR4-4500Mhz ถึง DDR4-5000Mhz+ ได้แบบไม่ยากเย็นเลย  แต่กลับว่าเอามากด CL12 ต่ำๆ แบบนี้ที่ความเร็ว 4000Mhz ได้ยากมาก…. ซึ่งเป็นโครงสร้างของ PCB ล้วนๆ เลยครับซึ่งนัก Overclock อาจจะจำเป็นต้องมีแรม B-Die เกรดดีๆ เพื่อใช้งานทั้ง 2 PCB เพื่อเป็นตัวทดสอบเมนบอร์ดในแต่ละรุ่น เพื่อไม่ให้อ่านอาการผิด !!! (เมนบอร์ดบางรุ่นออกแบบมาพิเศษสามารถตอบสนองได้ดีทั้ง 2 PCB ได้แก่ ASROCK Z170M OC FORMULA เป็นต้น)

 

Thermaltake Toughpower iRGB PLUS 1200Watt

Power Supply Unit นั้นวันนี้เราใช้ Thermaltake iRGB PLUS 1200Watt จุดเด่นของมันในครั้งนี้คือจ่ายไฟได้ค่อนข้างเรียบและมีความเสถียรภาพดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ถึงแม้ในการทดสอบครั้งนี้จะไม่ได้เรียกใช้ Load อะไรมากมาย แต่หาก PSU จ่ายไฟไม่เนียนเรียบพอ ก็มีโอกาสสูงที่การ Overclock จะไม่ค่อยเสถียร หรือไปได้ยากนั่นเอง

 

เอาล่ะครับ เรามาชมความแรงแบบ Mini Extreme Benching ในครั้งนี้กันดีกว่ากับ i5-7640X ที่ระบายความร้อนด้วย Single Stage Phase Change ในช่วงอุณหภูมิติดลบระดับ -36c ถึง -40c ในการทดสอบครั้งนี้ พบว่าสามารถ Benchmark และทดสอบความเสภียรภาพต่างๆ ได้ดีในช่วงความเร็ว CPU @ 5.66Ghz+ กันเลยทีเดียว และยังลากไปได้อีกในช่วง 5.8-5.9Ghz+ ที่พอจะทดสอบ Benchmark ได้อย่าง Geekbench 4 ผ่านได้แบบไม่ยากเย็นอีกด้วยครับ ไปชม Benchmark ต่างๆ กันเลยดีกว่า…

 

CPU-Z 1.83 Benchmark

CPU-Z 1.83 Benchmark นั้นที่ความเร็ว CPU @ 5.933Ghz/Cache 5.08Ghz + DDR4-4376Mhz CL17-17-17-39 2T นั้ทปั่นคะแนน Single Thread ได้ที่ 716.2 แต้ม และปั่นคะแนน Multi-Threads ได้ที่คะแนน 2705.3 แต้มกันเลยทีเดียว หุหุ นี่เป็นแค่ CPU แบบ 4C/4T เท่านั้นเอง…

 

Super Pi 32MB Single Thread

เวลาในการคำนวณ Super Pi 32MB แบบ Single Thread อยู่ที่ 5 นาที 16.752 วินาที จัดว่าพอไปได้ครับ เพราะความเร็วของ CPU แค่ 5.96Ghz เท่านั้น !!!!

 

Cinebench R15

Cinebench R15 นั้นบอกได้เลยว่าร้อนแรงมากเลยทีเดียวถึงแม้ว่า CPU ตะมีอุณหภูมิช่วงติดลบต่ำกว่า -30c ก็ตาม แต่พอทดสอบ Rendering แล้วอุณหภูมิในแกน CPU นั้นแสดงให้เห็นถึงระดับ 21c องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว นี่ขนาดความเร็วแค่ 5.7xGhz เท่านั้นนะครับ  ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าถ้าต้องการไปไกลกว่านี้ ต้องมีมีติดลบมากกว่านี้แล้วล่ะครับ ฮ่าๆ  ส่วนคะแนนที่ทำได้นั้นคือ 957 แต้มนั่นเอง…

 

Geekbench 4.2

ปิดท้ายด้วยโปรแกรมยอดฮิมสำหรับนัก Overclocker ไทยอีกหนึ่ง Benchmark นั่นคือ Geekbench 4 นั่นเองครับ โดยเราสามารถ Overclock CPU ตัวนี้ให้สามารถ Benchmark ผ่านได้ที่ความเร็วประมาณ 5.93Ghz/Cache 4.98Ghz + DDR4-4300Mhz CL16-16-16-37 2T ด้วยคะแนนที่ออกมาคือ Single-Core @ 7928 แต้มและคะแนนของ Multi-Core @ 23436 แต้มกันเลยทีเดียว จัดว่าไม่ธรรมดาแล้วสำหรับ CPU แบบ 4-Core/4Thread ครับ  และทั้งหมดนี้ก็เป็นความแรงในแบบฉบับมินิ Extreme สำหรับการ benchmark แบบขำๆ ของ CPU Intel Core i5-7640X 4C/4T ด้วยการระบายความร้อนด้วย Single Stage Phase Change อุณหภูมิติดลบประมาณ -30c ถึง -48c องศาเซลเซียส ซึ่งก็สามารถให้ผลการทดสอบที่น่าประทับใจดีระบบหนึ่งเลยทีเดียว เพราะมันไม่ต้องคอยเติม LN2 หรือกังวลเรื่องว่าเมนบอร์ดจะเปียกน้ำ เพราะมันมีชุด Cover ในการติดตั้งบริเวณหัว Evap ที่ติดกับ CPU ที่กันความชื้่อนได้ดีระดับหนึ่ง เล่นเสร็จก็ไม่ต้องมาเช็ดน้ำ พักแล้วเล่นต่อได้เลยทันทีครับ  แต่หากต้องการความ Extreme แบบสุดๆ ยังไงก็ต้องพึ่งความเย็นจาก LN2 สถานเดียว เพราะตัวมันเองติดลบได้สูงสุดกว่า -195.79c องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว หุหุ…    สุดท้ายนี้ก็ขอฝากติดตามผลของพวกเราทีมงาน Clock’EM UP กันด้วยนะครับ เร็วๆ นี้เรามี Project Extreme Sub-ZEO ให้เพื่อนๆ ได้ชมกันอีกแน่นอน… สวัสดีครับ

 

Youtube : เล่น PUBG @ 5.66Ghz

 

Re-Live : Single Stage Phase Change VS i5-7640X

Power By