รีวิว ASUS PRIME X470-PRO Motherboard

     สวัสดีครับ วันนี้ Clock’EM UP มีเมนบอร์ดที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่งจากทาง ASUS สำหรับสาวก Ryzen 3000 Series ที่ต้องการความประหยัด และต้องการความแรงในการ Overclock ที่ยอดเยี่ยมเราขอแนะนำเมนบอร์ดรุ่นนี้เลยกับ ASUS PRIME X470-PRO  หลายคนอาจจะงงครับว่า PRIME Series เนี่ยนะ…. จะทำการ Overclock ได้ดีเหมือนตระกูล ROG Series เหรอ !!!   เอาล่ะครับเดี๋ยวลองชมผลการทดสอบในรีวิวแล้วท่านจะรู้ว่า X470 ชิปเก่า + BIOS ใหม่ก็สามารถ Overclock ให้แรงได้ทั้ง CPU และ RAM ไม่แพ้เมนบอร์ด X570 รุ่นใหม่อย่างแน่นอน… เผลอๆ นะเล่นง่ายกว่าและแรงกว่า X570 ตัวบนๆ เสียด้วยซ้ำ…. ซึ่งตอนแรกผมเองก็ไม่คิดว่ามันจะสามารถ Overclock ได้ดีทั้ง CPU และ RAM DDR4 ซึ่งบอกได้เลยว่าทำได้ดีเกินคาดมากๆ แรงทั้งสายพลังและสายท่ออย่างแน่นอน….

 

ASUS PRIME X470-PRO Motherboard

Feature :

  • ASUS 5-Way Optimization: One-click, system-wide tuning for optimized overclocks and intelligent cooling for CPU- or GPU-intensive tasks
  • Industry-leading cooling options: Comprehensive controls for fans and water pumps, via the Fan Xpert 4 software or the acclaimed ASUS UEFI
  • M.2 heatsink: Ultra-efficient design reduces M.2 SSD temperature by up to 20°C for unthrottled transfer speeds and enhanced reliability
  • Next-gen connectivity: Supreme flexibility with dual M.2 support, NVME RAID support, USB 3.1 Gen 2 ports and front-panel header
  • ASUS Aura Sync: Industry-leading RGB ecosystem, with controllable onboard LEDs and wide range of Aura Sync-compatible components

 

     อย่างที่ทราบกันนะครับ AMD เขาได้เปิดโอกาสให้เมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ อย่างชิปเซ็ต AMD X370 และ AMD X470 นั้นยังสามารถที่จะสามารถใช้งานร่วมกับ CPU รุ่นใหม่อย่าง AMD Ryzen 3000 Series ได้ทุกรุ่น ด้วยการ Update BIOS รุ่นใหม่ล่าสุดรอเท่านั้นเอง เราก็สามารถที่จะเอา CPU Ryzen 3000 Series มาติดตั้งร่วมกันได้ทันที  และเมนบอร์ดที่เราจะรีวิวให้ชมกันในวันนี้ก็คือ ASUS PRIME X470-PRO ซึ่งเป็นเมนบอร์ดขนาดมาตราฐาน ATX เต็มใบ PCB สีน้ำตาลเข้ม และเลือกใช้ Heatsink ระบายความร้อนรอนของ VRM, PCH และ Back I/O Cover ในโทนสีเทา-ขาว เน้นสะอาดตา เหมาะกับเป็นเมนบอร์ดสำหรับทำงานทั่วไปที่ไม่ใช่ Gaming จนเกินไป (แต่ก็ประกอบเอาไว้เล่นเกมได้เหมือนกัน)

 

รองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD Ryzen Gen1, Gen2 และ Gen3 ได้ทุกรุ่นบน Socket AM4 ส่วนภาคจ่ายไฟ VRM นั้นออกแบบมา 8+2 Phase

CPU Support :

  • AMD AM4 Socket for 3rd/2nd/1st Gen AMD Ryzen™/2nd and 1st Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Vega Graphics/Athlon™ with Radeon™ Vega Graphics/7th Generation A-series/Athlon X4 Processors
  • * Refer to www.asus.com for CPU support list

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบไฟเลี้ยงให้ CPU แบบ +12V 8-Pin จำนวน 1 ชุด และมีการติดตั้ง Heatsink ระบายความร้อนให้กับ Mosfet ภาคจ่ายไฟทั้ง 2 ด้าน

 

     รองรับการต่อใช้งานร่วมกับแรม DDR4 แบบ Dual Channel จำนวน 4xDIMM โดยความเร็วแรมที่รองรับนั้นก็จะขึ้นอยู่กับ Gen. CPU ด้วยนะครับ โดยถ้าเป็น Ryzen 3000 Series นั้นจะรองรับการ Overclock ได้ง่ายกว่า CPU Gen1 และ Gen2 มาก โดยจากข้อมูลที่ทาง ASUS มีมาให้นั้นบอกรองรับได้ตั้งแต่ DDR4-2133Mhz ไปจนถึงความเร็วแบบ Overclock ได้ในความเร็ว DDR4-3600Mhz+++ (จากที่ผมลองเล่นกับ Rzyen 9 3900X + DDR4 ชิป Samsung B-Die ก็ดันไปได้ถึง DDR4-4400Mhz (Fclk/Mclk 2:1) ได้อยู่นะครับ)  ส่วนขนาดความจุสูงสุดก็อยู่ที่ 64GB Max

Memory Support :

3rd and 2nd Gen AMD Ryzen Processors

  • 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 3600(O.C.)/3466(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2933(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Un-buffered Memory *

2nd and 1st Gen Ryzen with Radeon Vega Graphics/ Athlon with Radeon Vega Graphics/ 1st Gen AMD Ryzen Processors

  • 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 3200(O.C.)/3000(O.C.)/2933(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Un-buffered Memory

AMD 7th Generation A-Series/Athlon X4 Processors

  • 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 2400/2133 MHz Un-buffered Memory
  • Dual Channel Memory Architecture
  • ECC Memory (ECC mode) support varies by CPU.
  • * Refer to www.asus.com for the Memory QVL (Qualified Vendors Lists).

 

ช่องเสียบ USB3.1 Gen2 Front Panel มีมาให้ 1 ช่องบริเวณตรงกลางเมนบอร์ดครับ

 

Heatsink ระบายความร้อนของชิปเซ็ต AMD X470 Chipset นั้นทำออกมาได้สวยงามและมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ โดยมาพร้อมกับไฟ RGB ที่สามารถสั่งปรับแต่งแสงสีในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางโปรแกรม ASUS AURA Sync ได้อีกด้วยครับ

 

     ช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s นั้นมีทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน โดยจะควบคุมตรงผ่านชิปเซ็ต AMD X470 Chipset ทั้งหมด ซึ่งจะรองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1 และ 10  ส่วนช่องเสียบ M.2 PCIe3.0 x4 นั้นจะมีทั้งหมด 2 ช่องด้วยกัน โดยช่องแรกด้านบน ใกล้กับ Socket CPU นั้นจะทำการติดตั้ง M.2 Heatsink มาให้ด้วยครับ โดยจะรองรับได้ทั้ง M.2 SATA และ M.2 PCIe NVMe SSD (ถ้าเราเลือกต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD Athlon Series นั้นจะไม่รองรับการติดตั้งร่วมกับ M.2 PCIe NVMe SSD นะครับ โดยจะรับได้แค่ M.2 SATA เท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของ PCIe Lane ในตัว CPU)

Storage Support :

3rd/2nd/1st Gen AMD Ryzen™/ 2nd and 1st Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Vega Graphics :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 4 mode)

AMD Athlon™ with Radeon™ Vega Graphics/ 7th Generation A-Series/ Athlon™ X4 Processors :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support (SATA mode)

AMD X470 chipset :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M Key, type 2242/2260/2280 storage devices support (SATA & PCIE 3.0 x 2 mode)*2
  • 6 x SATA 6Gb/s port(s)
  • Support Raid 0, 1, 10

 

ช่องเสียบ Expansion Slot ต่างๆ นั้นประกอบไปด้วยช่องเสียบ PCIe3.0 x16 ทั้งหมดจำนวน 3 ช่อง โดยจะทำงานได้ Single x16 หรือ Dual x8+x8 หรือ Triple x8+x8+x4 และรองรับระบบ Multi-GPU ได้ทั้ง AMD CrossfireX และ NVIDIA SLI (2-Way)

Expansion Slot :

3rd/2nd/1st Gen AMD Ryzen™ Processors

  • 2 x PCIe 3.0 x16 (x16 or dual x8)

2nd and 1st Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Vega Graphics /7th Generation A-series/Athlon X4 Processors

  • 1 x PCIe 3.0 x16 (x8 mode)

AMD Athlon™ with Radeon™ Vega Graphics Processors

  • 1 x PCIe 3.0 x16 (x4 mode)

AMD X470 chipset

  • 1 x PCIe 2.0 x16 (max at x4 mode) *1
  • 3 x PCIe 2.0 x1

Multi-GPU Support :

3rd/2nd/1st Gen AMD Ryzen™ Processors

  • Supports NVIDIA® 2-Way SLI® Technology
  • Supports AMD CrossFireX™ Technology

2nd and 1st Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Vega Graphics/ Athlon™ with Radeon™ Vega Graphics/ 7th Generation A-Series/ Athlon X4 Processors

  • Supports AMD CrossFireX™ Technology

 

บริเวณช่องเสียบ M.2 Socket PCIe3.0 x4 อีกช่องจะอยู่บริเวณด้านล่างสุดของเมนบอร์ด โดยช่องนี้จะไม่มี M.2 Heatsink มาให้นะครับ

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังมีจุดต่อสาย RGB Header แบบ 12V 4-Pin มาให้อีก 1 ชุดครับ

 

ระบบเสียงนั้นยังคงเลือกใช้ชิป Realtek ALC S1220A 8-CH HD Audio Codec ยืนพื้นเหมือนเดิมครับ

Sound :

  • Realtek® S1220A 8-Channel High Definition Audio CODEC featuring Crystal Sound 3
  • Impedance sense for front and rear headphone outputs
  • Internal audio Amplifier to enhance the highest quality sound for headphone and speakers
  • Supports : Jack-detection, Multi-streaming, Front Panel Jack-retasking
  • High quality 120 dB SNR stereo playback output and 113 dB SNR recording input (Line-in)
  • Front panel audio connector (AAFP)

Audio Feature :

  • Optical S/PDIF out port(s) at back panel
  • Audio Shielding: Ensures precision analog/digital separation and greatly reduced multi-lateral interference
  • Dedicated audio PCB layers: Separate layers for left and right channels to guard the quality of the sensitive audio signals
  • Premium Japanese-made audio capacitors: Provide warm, natural and immersive sound with exceptional clarity and fidelity
  • EMI protection cover to prevent electrical noise to affect the amplifier quality

 

บริเวณ M.2 Heatsink และการติดตั้ง SafeSlot ให้กับช่องเสียบ PCIe3.0 x16 ใน 2 ช่องแรกเพื่อความแรงของของ Slot เวลาติดตั้งกราฟิกการืดขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักเยอะ

 

บริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดครับ

 

บริเวณด้านหลังของ Back I/O Panel ครับ

Back I/O Panel :

  • 1 x PS/2 keyboard/mouse combo port(s)
  • 1 x DisplayPort
  • 1 x HDMI
  • 1 x LAN (RJ45) port(s)
  • 2 x USB 3.1 Gen 2 (teal blue)Type-A,
  • 1 x USB 3.1 Gen 1 USB Type-CTM
  • 5 x USB 3.1 Gen 1
  • 1 x Optical S/PDIF out
  • 5 x Audio jack(s)

LAN Port :

  • Intel® I211-AT

USB Ports :

3rd/2nd/1st Gen AMD Ryzen™/ 2nd and 1st Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Vega Graphics/ Athlon™ with Radeon™ Vega Graphics/ 7th Generation A-series/ Athlon X4 Processors :

  • 4 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (4 at back panel, blue, Type-A)

AMD X470 chipset :

  • 1 x USB 3.1 Gen 2 front panel connector port(s)

AMD X470 chipset :

  • 4 x USB 3.1 Gen 1 port(s) (2 at back panel, blue, Type-A + USB Type-CTM, 2 at mid-board)

AMD X470 chipset :

  • 4 x USB 2.0 port(s) (4 at mid-board)

ASMedia® USB 3.2 Gen 2 controller :

  • 2 x USB 3.1 Gen 2 port(s) (2 at back panel, teal blue, Type-A)

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมาให้ในเมนบอร์ดครับ

Accessories :

  • User’s manual
  • ASUS Q-Shield
  • 2 x SATA 6Gb/s cable(s)
  • 1 x M.2 Screw Package
  • 1 x Supporting DVD
  • 1 x SLI HB BRIDGE(2-WAY-M)
  • 1 x Q-connector(s) (1 in 1)

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้…

Hardware Spec.

 CPU
 AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T 7nm.
 CPU Cooler  AMD Block REV 3 + Water Cooler Custom Set
 Motherboard
 ASUS PRIME X470-PRO
 Memory
 ZADAK SPARK RGB DDR4-4133Mhz CL19 16GB-Kit (SS B-Die)
 VGA  AMD RADEON RX 5700XT 8GB GDDR6
 Hard Drive
 CORSAIR MP600 M.2 PCIe4.0 NVMe 2TB (OS)
 PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80 PLUS Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

System OC Config (For Stability 24/7)

  • DDR4-3800Mhz CL14-15-15-35 1T 1.55V + Very Tight Sub-Tmimg
  • RunMemtest : 1600%+

     ผลการทดสอบในครั้งนี้เราจะทดสอบ Overclock ร่วมกับ CPU AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T ไปที่ความเร็ว 4.45Ghz Fix All Cores 1.40V + LLC Level 4 BIOS Set และส่วนแรม DDR4 นั้นเราจะทำการ Overclock ในแบบ Fclk/Mclk 1:1 ที่ความเร็วแรม DDR4-3800Mhz CL14-15-15-35 1T 1.55V (Uclk 1900Mhz) + การปรับแต่ง Sub-Timimg แบบแน่นๆ เรียกประสิทธิภาพสูงสุดของแรมมาให้ได้มากที่สุด และต้องแปลกในอย่างมากที่เมนบอร์ดรุ่นนี้สามารถกด Sub-Timing แบบแน่นๆ ได้ง่ายมาก กดเป็นมาๆ ไถือว่าไม่ธรรมดาเลยนะครับ เพราะ ROG รุ่นใหญ่ๆ บางรุ่นยังไม่บูทเลย แถมยังไม่เสถียรภาพเท่าบอร์ดรุ่นนี้อีกด้วย ลองคิดดูครับนี่ผลการทดสอบ Memtest ลากยาวๆ 1600%+ ใช้เวลาทดสอบกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง ต่อเนื่องในห้องไม่เปิดแอร์นะครับ 28-30c ตลอดการทดสอบ ยังสามารถรันผ่านได้สบายๆ ม้วนเดียวจบ

 

AMD Ryzen Master

: Memory Timing Config

และสำหรับผลการทดสอบในหน้าถัดไปนั้น เราจะทดสอบแบบ Max Stability ให้ชมกันแบบสุดๆ ที่ความเร็วแรม DDR4-3800Mhz CL14-14-14-28 1T 1.55V + Very Tight Sub-Timing ร่วมกับ Benchmark ต่างๆ ให้ชมกันแบบกันนะครับ (Config นี้แน่นเกินกว่า Memtest จะรันผ่าน…) >>>

 

UEFI BIOS Overclocking Config

ค่าการ Overclock Config ในการทดสอบครั้งนี้ครับ ลองดูเป็นแนวทางการปรับแต่งได้เลย  โดยเราเลือกใช้แรมชิป Samsung B-Die นะครับของ ZADAK SPARK RGB DDR4-4133Mhz CL19 16GB-Kit

ถ้าต้องการเน้นใช้งานที่เสถียรภาพ ให้ปรับชุด CL หลักตามนี้เลยนะครับเป็น CL14-15-15-15-35-60 ไฟเลี้ยง 1.55V เหมือนเดิม ถ้าเล่นตอง 14-14-14 จะทดสอบ Memtest ผ่านได้ยาก เพราะ Timing ค่อนข้างตึง หรือขึ้นอยู่กับเกรดแรม B-Die ของเราด้วยว่าจะได้ทพดีแค่ไหน?

 

Overclocking Results

     เอาล่ะครับมาชมผลการทดสอบสุดแรงของเมนบอร์ด ASUS PRIME X470-PRO ที่ต่อทำงานร่วมกับ CPU AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T ตัวนี้ที่ความเร็ว 4.45Ghz All Core กับไฟเลี้ยง Vcore 1.40V BIOS Set / SOC 1.20V และทำการปรับแต่งแรม DDR4 ไปได้ที่ความเร็ว DDR4-3800Mhz CL14-14-14-28 1T + Very Tight Sub-Timing ด้วยไฟเลี้ยง 1.55V ก็พบว่าสามารถทดสอบ Benchmark ต่างๆ ผ่านได้อย่างมีเสถียรภาพดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว และต้องบอกว่าประสิทธิภาพ 2D โดยรวมนั้นทำออกมาได้ค่อนข้างดีและผมเองก็กด Sub-Timing ให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้จนสามารถตีเมนบอร์ดรุ่นใหญ่อย่าง ROG C8I ได้สบายๆ เลยล่ะครับ ถ้าจะเน้นที่ประสิมธิภาพของแรมใน Fclk/Mem @ 1:1 Mode เมนบอร์ดรุ่นนี้เอาอยู่แน่นอน….

 

System OC Config

 

Super Pi

ผลการทดสอบของ Pi32 ทั้งในส่วนของ Single Thread และ Multi-Threads นั้นทำได้ค่อนข้างไว้เลยนะครับ ไม่แพ้เมนบอร์ดรุ่นใหญ่ๆ แน่นอน หุหุ…

 

AIDA64 Cache & memory BenchmarkAIDA นั้นบอกเลยว่าถ้าจูน Sub-Timimg มาดีๆ รับรองได้ว่ามาทั้ง Bandwidth และ Latency ต่ำๆ ระดับ 61.9ns เท่านั้นเองนะเออ…. ^O^

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Vray Benchmark 1.0.8

 

Vray Next Benchmark 4.10.03

 

Cinebench R15

 

Cinebench R20

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 3

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARk Time Spy

ลากกันยาวๆ แบบม้วนเดียวจบสำหรับ Benchmark ต่างๆ ในครั้งนี้ ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นผลการทดสอบที่ค่อนข้างแรงมากใน Scale CPU AMR Ryzen 9 3900X 12C/24T @ 4.45Ghz All Core + การปรับแต่งแรม DDR4-3800Mhz CL14 พร้อมกับชุด Sub-Timing แบบแน่นๆ

 

Max Memory Overclocking
: Fclk/Mem 2:1 Mode

       มาถึงการจูนแบบสายท่อกันบ้าง…. จะจูนยังไงให้สายท่อแรงสุดๆ นั้นมาดูกันครับ และที่ผ่านมาเหมือนผมเองจะตกอะไรไปบางอย่างเกี่ยวกับการ Config Fabric Clock/Ulck/Mlck โดยจริงแล้ว Fabric Clock สามารถจะแช่ทิ้งไว้ได้ไกลสุดคือในช่วง 1800Mhz – 1900Mhz และแน่นอนว่าเรา Target ที่ความเร็ว 1900Mhz สูงสุดไว้อยู่แล้ว  ส่วนโหมดการทำงานแบบ Fclk/Uclk 2:1 นั้นคือชุด Memory Controller ที่ต่อกับ Fabric Clock ต่างห่างที่ถูกลดลงครึ่งหนึ่งก่อนถึง Fabric Clock ดังนั้นถ้าเมนบอร์ดยังอนุญาตให้ปรับ Fclk ค้างไว้ที่ 1900Mhz ได้ก็กดแช่ไว้เลยครับ ประสิทธิภาพจะมามากที่สุดเท่าที่ Mode 2:1 จะทำได้

     และหลังจากนนั้นเราก็เพียงแค่ดันความเร็วแรมไปให้ไกลที่สุดและกด CL ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้…. แล้วคุณจะพบอะไรบางอย่างว่า จริงๆ ในอนาคต เราอาจจะตีท่อให้แรงขึ้นได้ครับ  ลองดูผลการทดสอบของเราในครั้งนี้ได้กับค่า Memory Bandwidth Read/Write/Copy ที่ทะลุ 60K+++ ได้แบบง่ายๆ และ Latency สายท่อตอนนี้ผมทำได้ต่ำกว่า 70ns. ได้แล้วนะครับ โดยทำได้อยู่ราวๆ 66.5ns. เท่านั้นเอง

 

AIDA64

  • DDR4-4400Mhz CL16-16-16-36 1.55V + Tight Timing

     เอาใจสายท่อ…. กดให้สุดไปเลยครับ  โดยหาแรม Samsung B-Die แรงๆ มากดเลย  ตัวอย่างในครั้งนี้ก็ที่ Fclk 1,900Mhz/Uclk 1,100Mhz/Mclk 2,200Mhz (จริงๆ แล้วมันคอขวดที่ Memory Controller Ulck หรือที่เราเห็นกันใน CPU-Z ในช่อง NB Freq นั่นเอง ซึ่งตรงนนี้จะแยกกับ Frabic Clock นะครับ มันคนละชุดกัน) หรือแรม DDR4-4400Mhz CL16-16-16-36 1T + Very Tight Sub-Timing ชุดเดิมที่เรากดไว้  ลองดู Memory Bandwidth ที่พุ่งขึ้นมาซิครับ… เอาชนิดที่ว่า Fclk/Uclk แบบ 1:1 ให้ไม่ได้อย่างแน่นอน….. และในส่วนของ Latency นั้นบอกเลยว่าอีกไม่นาน อาจจะเห็นแรงไล่ๆ กับ 1:1 Mode ได้แน่….  ขอเวลาวิจัยอีกนิดกับเมนบอร์ดและแรมหลายๆ รุ่นว่าตัวไหนเข้ากันได้ดีที่สุด  โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้มันมาสุดได้แค่ความเร็วแรม DDR4-4400Mhz ซึ่งมากกว่านี้ผมลองแล้ว บูทได้ยากมาก…. ไม่งั้นมีเห็น Latency ในระดับ 62-64ns. ไล่กับ Fclk/Uclk แบบ 1:1 ได้แน่ครับ ฮ่าๆ….  ไหนๆ ใครบอกสายท่อไม่แรง…..

     *ข้อดีของ Fclk/Ulck 2:1 Mode คือได้ค่า Memory Bandwidth ที่สูงขึ้น แต่ Latency จะหายไป เพราะ Memory Controller ถูกลดความเร็วก่อนถึง Fabric Clock ไปครึ่งหนึ่ง ดังนั้นสายท่อที่ยังอยากแรงก็ต้องพยายามผูก Fclk ค้างไว้ที่ 1900Mhz แช่ยาวๆ ให้ได้ครับ ซึ่งตรงจุดนี้ อาจจะไม่ง่ายกับเมนบอร์ดในหลายๆรุ่น และรวมถึง CPU บางตัวก็เล่น Fclk เกิน 1800+ ได้ยาก หรือไม่ก็เวลาเราเล่นแรมในโหมด 2:1 เมนบอร์ดมักจะปรับ Fclk Auto เหลือ 1800Mhz เท่านั้นเอง  ซึ่งหากยังปรับ Fclk 1900Mhz ค้างไว้ได้จะดีที่สุดครับ จากนั้นเราก็เพียงทำการไล่ความเร็วแรมให้ไกลที่สุด และกด Timing ทุกชุดให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แค่นี้สบายท่อก็พอจะได้ความแรงกลับมาได้มากแล้ว…

 

RunMemTest

  • DDR4-4400Mhz CL16-17-17-38 1T 1.575V + Tight Sub-Timing

แต่ถ้าจะเล่นสายท่อ 2:1 ให้นิ่งๆ บนแรมชุดนี้ก็จะต้องยอมคลาย CL เป็น 16-17-17-17-38 1T 1.575V ถึงจะสามารถรัน Memtest เกิน 100%+ ได้  ซึ่งในสจุดนี้ก็ไม่ได้ง่ายมากนัก เพราะความเร็วของแรมค่อยข้างสูงและ CL ก็เริ่มจะตึงแล้ว…

 

AIDA64

  • DDR4-4400Mhz CL16-17-17-36 + Tight Timing

     และผลการทดสอบของ DDR4-4400Mhz CL16-17-17-17-38 1T ก็จะมีค่า Memory Bandwidth ที่ลดลงเล็กน้อย แต่ที่เห็นต่างเลยก็คือค่า Latency ดีดขึ้นไปนิดหนึ่งครับจาก 65ns เป็น 67ns. แต่ก็ยังต่ำกว่า 70ns. อยู่ดี จุดนี้ผมมองว่าถ้าจะจูนแบบสายท่อ… ควรทำให้ Latency ต่ำกว่า 70ns. ให้ได้ถึงจะเรียกได้ว่าสำเร็จสำหรับสายท่อ…. แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ยังถือว่าแรงไม่สุดนะจ๊ะ…   เพราะดูเชิงแล้ว Fclk/Uclk 1:1 ก็ยังแรงและเล่นง่ายกว่าอยู่ดี….  ดังนั้นหากมี Config ใหม่ๆ สำหรับการจูนแบบสายท่อ เราจะกลับมาให้ข้อมูลเพื่อนๆ กันอีกอย่างแน่นอนว่าทำอย่างไรถึงจะไล่ Fclk 1:1 ให้ทันฮ่าๆ….

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่าอย่างชิปเซ็ต AMD X470 ตัวนี้ที่สามารถเอามาต่อเล่นกับ CPU AMD Ryzen 9 3900X 12C/24T ได้อย่างมีเสถียรภาพ และยังสามารถ Overclock ได้ในส่วนของ CPU และ RAM ได้อย่างสนุกสนาน และเพิ่มความแรงให้กับระบบได้อย่างมาก ไม่แพ้เมนบอร์ด X570 รุ่นใหญ่ๆ ในท้องตลาดเลยก็ว่าได้…. โดยเจ้า ASUS PRIME X470-PRO ตัวนี้เปิดตัวออกมาค่อนข้างนานแล้ว และราคาก็ไม่น่าเกิน 4,5xx.- บาท (เมนบอร์ดรุ่นนี้ อาจจะเริ่มหายากแล้ว) แต่มีประสิทธิภาพในการ Overclock CPU และ RAM DDR4 ได้ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องของการกด Sub-Timing ของแรมให้ทำงานได้เร็วขึ้นนั้น ทำได้ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ จึงส่งผลให้ CPU Ryzen 3000 Series Platform นั้นมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเลยทีเดียวด้วยการปรับแต่งค่า Memory Timing ที่แน่นและถูกต้อง…..

     สรุปกันสั้นๆ เลยนะครับคือเมนบอร์ดรุ่นนี้ถึงแม้จะไม่ใช่รุ่นใหญ่ในตระกูล ROG Series แต่กลับมาประสิทธิภาพในการ Overclock CPU ได้ดี และยิ่งเรื่องของการ Overclock แรม DDR4 นั้นก็ยังทำได้ดีมากอีกด้วย…. และส่วนของการปรับแต่ง Fabric Clock นั้นก็สามารถแช่ไว้ที่ระดับ 1,900Mhz ทิ้งไว้ได้เลยแบบง่ายๆ  ซึ่งเมนบอร์ด X570 หลายรุ่นปรับแช่ 1,900Mhz + การเล่นแรมแบบ 2:1 Mode ได้ยากอยู่นะครับ (ส่วนมากจะบังคับให้เราเล่นได้ที่ Fclk 1,800Mhz) ซึ่งก็ต้องแปลกใจว่าทำไม X470 รุ่นนี้ทำได้ง่ายๆ เลย แทบไม่ต้องทำอะไรกับมันมากนัก… ดังนั้นเมนบอร์ดรุ่นนี้จึงถือว่าเป็นเมนบอร์ดที่ค่อนข้างคุ้มค่าอีกตัวหนึ่งเลย ถ้าจับเอามา Overclock ร่วมกับ Ryzen 3000 Series ผมมองว่าแรงไม่แพ้เมนบอร์ด X570 รุ่นใหญ่ราคาเรือนหมื่น+ ได้สบายๆ ครับ ^^”

 

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team