ASROCK Z390 Pro4 Motherboard Review

      สวัสดีครับชาว Clock’EM UP ทุกท่านครับ ผมเชื่อว่าช่วงนี้เป็นเวลาแห่งการรอคอยของสาวก Intel ที่รอการมาของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Intel Z390 Chipset ซึ่งจะเป็นรุ่นเรือธงใหม่แทนที่ Intel Z370 ตัวเดิมนั่นเองครับ  และสำหรับวันนี้เราก็มีเมนบอร์ดจากค่าย ASROCK ที่พึ่งส่งมาสดๆ ร้อนๆ ในรุ่น ASROCK Z390 Pro4 รุ่นเล็กตัวจิ๊ด…ในรุ่นก่อนอย่าง ASROCK Z370 Pro4 ที่มีทีเด็ดในเรื่องของการ Overclock CPU และ DDR4 เป็นอย่างมาก  และในส่วนของ ASROCK Z390 Pro4 นี้จะมีทีเด็ดอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันเลยครับ ^^”

 

     สำหรับเจ้า ASROCK Z390 Pro4 นั้นก็ยังคงเป็นเมนบอร์ดขนาด ATX ที่ใหญ่เกือบเต็มใบ มาพร้อมกับภาคจ่ายไฟ 10 Phase เหมือนเดิม ส่วนตัว Socket CPU นั้นยังเป้น Intel LGA 1151 อยู่เช่นเดิม และยังสามารถใส่ได้กับทั้ง CPU Intel Gen.8 และ Gen.9 และสำหรับรีวิวในวันนี้เราก็จะทำการทดสอบร่วมกับ Intel Core i7-8086K 6C/12T Limited Edition  ตัวเดิมสำหรับรีวิวฉบับนี้ เนื่องจากว่า ณ เวลานี้ CPU Gen.9 ยังหายืมไม่ได้เลย ฮ่าๆ….  คาดว่าประมาณ วันที่ 20 ตุลาคม 2018 น่าจะได้เห็นกันอย่างแน่นอนครับ  ส่วนตัวเมนบอร์ดนั้น วันที่ 9 ตุลาคม น่าจะเป็นวันแรกที่เปิดให้ขายเมนบอร์ด Z390 อย่างเป็นทางการในประเทศไทยครับ

 

การออกแบบชุดระบายความร้อนของภาคจ่ายไฟนั้นก็มี Heatsink ระบายความร้อนให้กับ Mosfet อยู่หนึ่งฝั่ง โดยเป็น Mosfet แบบ Low RDS ธรรมดา  ส่วนจุดจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับ CPU นั้นเป็นแบบ 12V 8Pin จำนวน 1 ชุด

 

แกะดูกันเลยครับกับชุดระบายความร้อนของ VRM ซึ่งเท่าที่ผมลองเทียบกับรุ่นเดิม Pr04 เหมือนกัน ก็จะต่างแค่รูปแบบของ Heatsink เท่านั้น

 

และในส่วนของภาคจ่ายไฟ ถ้าเทียบดูกันจริงๆ ก็มีการเปลี่ยนการออกแบบและชุดคุม Digital PWM ใหม่ทั้งหมดครับ น่าจะออกแบบมาเผื่อสำหรับ CPU ตัว i9-9900K ที่เป็นตัว 8 Core / 16 Thread ที่มีคอร์มากขึ้นนั่นเอง  ส่วนในภาพนี้ ด้านขวาคือ ASROCK Z390 Pro4 และด้านซ้ายคือ ASROCK Z370 Pro4 ครับ

เทียบดูกันชัดๆ อีกหนึ่งภาพสำหรับ ASROCK Z390 Pro4 และ ASROCK Z370 Pro4 โดยภาพรวมแล้ว Layout ของตัวเมนบอร์ดบางจุดต่างกันไปพอสมควร แต่ถ้าดูแค่ผ่านๆ อาจจะดูไม่ต่าง…

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงรองรับแรม DDR4 แบบ Dual Channel จำนวน 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็ว DDR4-2133 ไปจนถึงระดับ DDR4-xxxxMhz ซึ่ง ณ ตอนที่เราได้เมนบอร์ดตัวนี้มารีวิว ยังไม่มีข้อมูลหรือ Manual คู่มือเมนบอร์ดแถมมาเลย คือมาแค่บอร์ดกับ Drive + ผ่านปิดฝาหลัง Back I/O เท่านั้น  ดังนั้นถ้าได้รายละเอียดเพิ่มเต็ม เราจะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ  แต่รวมๆ แล้วผมมองว่าก็ยังคงติดตั้งได้สูงสุด 64GB Max เท่าเดิม และรองรับ Intel XMP Profile

 

บริเวณจุดเสียบ USB3.1 Gen1 Front Panel ครับ

 

บริเวณ Heatsink ระบายความร้อนสำหรับชิปเซ็ต Intel Z390 นั้นก็มีแต่ไปจากรุ่นเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ

 

มีช่องเสียบ SATA 3.0 6Gb/s ทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน และยังคงรองรับ RAID 0, 1, 5 และ 10 อยู่เหมือนเดิม

 

ช่องเสียบ PCIe3.0 x16 มีทั้งหมด 2 ช่อง โดยช่องแรกทำงานที่ x16 เต็มความเร็ว ส่วนอีกช่องนั้นทำงานที่ x4 ตลอดเวลา และรองรับแค่ AMD CrossfireX แบบ 2-Way CFX  ส่วนที่เหลือก็จะเป็น PCIe3.0 x1 อีก 3 ช่องครับ

 

บริเวณช่องเสียบ Ultra M.2 PCIe Gen3 x4 ในช่องแรกนั้นรองรับได้ยาวสุดแบบ Type-2280

 

ส่วนอีกช่องนั้นจะอยู่ล่างสุดของเมนบอร์ดแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น Ultra M.2 หรือไม่แน่แน่ใจครับ แต่ใส่ได้แบบยาวสุดที่ 22110  และใกล้ๆ กันนั้นก็ยังมีช่องเสียบ USB3.1 Front Panel และ USB2.0 Header อยู่อีก อย่างละหนึ่งช่อง

 

ชิปเสียงนั้นยังคงเป็น Realtek ALC 892 เหมือนเดิมครับ

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังมีทีเด็ดที่ใช้ชิป LAN ตัวแรงจากค่าย Intel I219-V Gigabit LAN ครับ

 

ช่องเสียบ WiFi+Bluetooth Module แบบ M.2 Socket แต่ไม่ได้แถมการ WiFi มาให้นะครับ ต้องซื้อเพิ่มเอง…

 

     บริเวณด้านหลัง Back I/O Panel นั้นก็จะมีจุดสำหรับต่อเสาอากาศของ WIFI , PS/2 Port , USB3.1 Gen1 x2, USB3.1 Gen.2 Type-C x1/Type-A x1, USB2.0 x2, LAN Port 1 และ Audio Connector จำนวน 3 ช่อง โดยถ้าหากต้องการต่อ 7-CH Audio แนะนำว่าให้ต่อร่วมกับช่อง Audio Front Panel บนเมนบอร์ดครับ  ส่วนจุดแสดงผลของภาพนั้นมีทั้งหมด 3 แบบคือ DVI-D, D-Sub และ HDMI ครับ

 

 

ภาพบริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดครับ ส่วนรายละเอียดเรื่องของการทดสอบนั้น เชิญหน้าถัดไปเลยครับ ^^”

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ

 

System Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K 6C/12T (Coffeelake 14nm.)
 CPU Cooler  Noctua NH-U14S + Dual Fan
 Thermal Compound  Kingpin Cooling KPx
 Motherboard  ASROCK Z390 Pro4
 Memory
 T-Force XTREEM DDR4-4500C18 16GB 1.45V
 VGA
 GALAX GTX1050 Ti 4GB EXOC
Hard Drive
 Apacer Panther AS340 240GB (OS)
 PSU  Antec HCP1300 Platinum
 OS  Windows 10 Pro 64-Bit (1803)

 

System Config

     ส่วนในเรื่องของการทดสอบ Overclock เมนบอร์ด ASROCK Z390 Pro4 ตัวนี้ร่วมกับ CPU Intel Gen8 ในรุ่น Core i7-8086K ในครั้งนี้ ผมต้องบอกก่อนเลยว่า ถ้าเน้น OC แค่ CPU ผมไม่ห่วงครับ เอาไหวอยู่แล้ว และขึ้นอยู่กับความสามาถของ CPU แต่ละตัวมากกว่า ส่วนเรื่องแรมนั้น ยังงงๆ อยู่ครับว่าทำไม วิ่งไม่ออก ผมลองได้แค่ DDR4-3733Mhz เท่านั้นที่บูทได้เต็มที่กับแรม PCB แบบใหม่ในรุ่น T-Force XTREEM 3733 และกับแรมรุ่นอื่นๆ ก็ดูเหมือนไม่ได้แตะถึง 4000Mhz ได้เลย   คือเล่นแรมได้ยากมาก ต่างไปจาก Z370 Pro4 คนละโลกเลยที่สามารถ Overclock แรมได้ไกลมากในระดับ DDR4-4400Mhz+ กันเลยทีเดียว…..  ดังนั้นล่าสุดผมลองเอา T-Force XTREEM4 DDR4-4500Mhz CL18 ตัวแรงมาลองเล่นดู พบว่า XMP 4500 ก็ไม่ติด….  เลยกลับมาเล่นบัสต่ำๆ และกด CL เอา ก็พบว่าที่ DDR4-3600Mhz CL15-15-15-35 1T + Tight Sub-Timing แบบแม่นๆ กับไฟเลี้ยงแรม 1.45V นั้นพอไปได้ดีสุด ก็เลยขอจบที่ Config นี้ก่อนละกันนะครับ เพราะผมยังไม่ชัวว่า ติดที่ BIOS ? หรือมันจะวิ่งดีกับ CPU Gen.9 ก็ยังไม่แน่ใจ…  ถ้าได้ลองแล้วจะเอามาแจ้งให้ทราบกันอีกทีละกันครับ ^^”

 

UEFI BIOS Overlcock Config

รายละเอียดของหน้า UEFI BIOS Overclock Config ที่เราจับภาพมาให้ชมในครั้งนี้ครับ

 

ที่ผมเห็นว่ามีอะไรต่างเลยก็คือตรงการปรับอัตราทดแรมนี่ล่ะครับ ที่มีให้เลือกทั้ง DRAM Freq และ DRAM Clock ที่ให้ปรับเลือกบัสแรมได้เหมือนกัน แปลกดี…. แต่เท่าที่ลองเล่นทั้ง 2 อันดูแล้ว ก็ยังบูทแรม 4000+ ได้ยาก ฮ่าๆ…. (หรือว่าผมอาจจะเกรียนเองก็ได้ ฮ่าๆ)

 

 

Benchmark

สรุปแล้ว เรื่องแรมผมขอจับที่ DDR4-3600CL15-15-15-35 1T + Tight-Sub Timing ไปก่อนนะครับ อย่างน้อยก็กดกันได้แบบสุดติ่งกระดิ่งแม่วกันเลยทีเดียว ฮ่าๆ… ถ้าเจอจุดที่วิ่งได้ จะรีบมาแจงนะจ๊ะ……. ^O^

 

Super Pi

Super Pi แรงจัดจ้านดีนะเออ เพราะคงได้ Sub-Timing แน่นๆ มาช่วย….

 

AIDA64

ไม่ธรรมดาเหมือนกันนะครัช….  แค่ 3600C15 ก็เสียวได้….

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Vray Benchmark

 

Geekbench 4

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ ASROCK Z390 Pro4 ตัวนี้ อันดับแรกเลยกับสิ่งที่ผมและใครหลายๆ คนคาดหวังเลยก็คือ ความคุ้มค่าต่อราคาของเมนบอร์ดรุ่นนี้ในรุ่นก่อนอย่าง Z370 Pro4 ที่สามารถ Overclock แรมไปได้ไกลมากที่ระดับ DDR4-4400-4500 กันเลยทีเดียว  แต่กลับกันครับในรุ่น Z390 Pro4 กลับเล่นแรมได้ยากมากๆ บูทเกิน 3733 นี่ยังไม่เคยได้เลย….. ก็ถือว่าแปลกใจอยู่พอสมควรทั้งๆ ที่อย่างน้อยเราควรเห็น DDR4-3866 ถึง DDR4-4000 ก็ยังดี  ทั้งนี้และทั้งนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับ BIOS หรือต้องใช้งานร่วมกับ CPU Gen.9 หรือป่าว…. อันนี้ผมเองไม่แน่ใจเหมือนกัน   เพราะตอนที่ทดสอบอยู่ตอนนี้ก็มีเพียงแค่ Gen.8 ให้ลองทดสอบเท่านั้น….   ดังนั้นเรื่องแรมผมคงไม่ฟันธง ณ ตอนนี้ว่ายังไปต่อได้อีกหรือไม่…. ส่วน CPU บอกตรองๆ ว่าลากไปไม่ไป… ขึ้นอยู่กับ CPU ของเราเสียมากกว่าครับ ส่วนไฟเลี้ยงต่างๆ ก็โดน Limit เท่าเดิมที่  Vcore 1.52v Max, VCCIO 1.20v Max, VCCST 1.20v Max และ VCCSA 1.30v Max ครับ

    สรุปกันตรงนี้สั้นๆ กันก่อนเลยสำหรับเมนบอร์ดชิปเซ็ต Intel Z390 ตัวแรกที่มาเยือน Clock’EM UP เป็นตัวแรกของเรา ถ้ามองดูแล้ว… ผมว่าแถบจะไม่ได้มีอะไรต่างไปจาก Z370 เลย… เพราะทั้ง Z370 และ Z390 ต่างก็ใส่กับ CPU Gen.9 ได้ทั้งคู่  ส่วนเมนบอร์ด Series ใหญ่รุ่นใหญ่อย่าง Phantom Gaming Series ที่เปิดกับเมนบอร์ดเป็นครั้งแรกหลังจากที่เปิดตัวกับ Graphics Card ไปแล้วก่อนหน้านี้  และมีน่าตาที่น่าสนใจอย่างมาก  คาดว่าน่าจะมาแทนที่รุ่น Fatal1ty อย่างแน่นอน

    เอาล่ะครับสำหรับเรื่องราวของเมนบอร์ด ASROCK Z390 Chipset นั้น…. ผมแอบเห็นผลหลังไมค์มาแล้วนะครับว่าบางรุ่น บูทแรม 4500Mhz + ได้แล้วด้วยนะครับ แต่จะนิ่งแค่นั้นไหนยังตอบไม่ได้ หุหุ….. ไว้ได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติม จะรีบกลับมารายงาน….  แต่ที่น่าเศร้าที่สุดเลยก็คือรอบนี้ ไม่มีตัว OC FORMULA ออกมานะครับ ฝากบอกแฟนๆ ด้วยว่า “ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่า ไม่ต้องรอ” ฮ่าๆ….. Y_____Y 555+

 

สุดท้ายนี้ก็ขอฝาก ASROCK Z390 Pro4 ตัวนี้ไว้พิจารณากันด้วย สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

ASROCK Thailand