ASROCK Z390 Pro4 Motherboard Review

      สวัสดีครับชาว Clock’EM UP ทุกท่านครับ ผมเชื่อว่าช่วงนี้เป็นเวลาแห่งการรอคอยของสาวก Intel ที่รอการมาของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Intel Z390 Chipset ซึ่งจะเป็นรุ่นเรือธงใหม่แทนที่ Intel Z370 ตัวเดิมนั่นเองครับ  และสำหรับวันนี้เราก็มีเมนบอร์ดจากค่าย ASROCK ที่พึ่งส่งมาสดๆ ร้อนๆ ในรุ่น ASROCK Z390 Pro4 รุ่นเล็กตัวจิ๊ด…ในรุ่นก่อนอย่าง ASROCK Z370 Pro4 ที่มีทีเด็ดในเรื่องของการ Overclock CPU และ DDR4 เป็นอย่างมาก  และในส่วนของ ASROCK Z390 Pro4 นี้จะมีทีเด็ดอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันเลยครับ ^^”

 

     สำหรับเจ้า ASROCK Z390 Pro4 นั้นก็ยังคงเป็นเมนบอร์ดขนาด ATX ที่ใหญ่เกือบเต็มใบ มาพร้อมกับภาคจ่ายไฟ 10 Phase เหมือนเดิม ส่วนตัว Socket CPU นั้นยังเป้น Intel LGA 1151 อยู่เช่นเดิม และยังสามารถใส่ได้กับทั้ง CPU Intel Gen.8 และ Gen.9 และสำหรับรีวิวในวันนี้เราก็จะทำการทดสอบร่วมกับ Intel Core i7-8086K 6C/12T Limited Edition  ตัวเดิมสำหรับรีวิวฉบับนี้ เนื่องจากว่า ณ เวลานี้ CPU Gen.9 ยังหายืมไม่ได้เลย ฮ่าๆ….  คาดว่าประมาณ วันที่ 20 ตุลาคม 2018 น่าจะได้เห็นกันอย่างแน่นอนครับ  ส่วนตัวเมนบอร์ดนั้น วันที่ 9 ตุลาคม น่าจะเป็นวันแรกที่เปิดให้ขายเมนบอร์ด Z390 อย่างเป็นทางการในประเทศไทยครับ

 

การออกแบบชุดระบายความร้อนของภาคจ่ายไฟนั้นก็มี Heatsink ระบายความร้อนให้กับ Mosfet อยู่หนึ่งฝั่ง โดยเป็น Mosfet แบบ Low RDS ธรรมดา  ส่วนจุดจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับ CPU นั้นเป็นแบบ 12V 8Pin จำนวน 1 ชุด

 

แกะดูกันเลยครับกับชุดระบายความร้อนของ VRM ซึ่งเท่าที่ผมลองเทียบกับรุ่นเดิม Pr04 เหมือนกัน ก็จะต่างแค่รูปแบบของ Heatsink เท่านั้น

 

และในส่วนของภาคจ่ายไฟ ถ้าเทียบดูกันจริงๆ ก็มีการเปลี่ยนการออกแบบและชุดคุม Digital PWM ใหม่ทั้งหมดครับ น่าจะออกแบบมาเผื่อสำหรับ CPU ตัว i9-9900K ที่เป็นตัว 8 Core / 16 Thread ที่มีคอร์มากขึ้นนั่นเอง  ส่วนในภาพนี้ ด้านขวาคือ ASROCK Z390 Pro4 และด้านซ้ายคือ ASROCK Z370 Pro4 ครับ

เทียบดูกันชัดๆ อีกหนึ่งภาพสำหรับ ASROCK Z390 Pro4 และ ASROCK Z370 Pro4 โดยภาพรวมแล้ว Layout ของตัวเมนบอร์ดบางจุดต่างกันไปพอสมควร แต่ถ้าดูแค่ผ่านๆ อาจจะดูไม่ต่าง…

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงรองรับแรม DDR4 แบบ Dual Channel จำนวน 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็ว DDR4-2133 ไปจนถึงระดับ DDR4-xxxxMhz ซึ่ง ณ ตอนที่เราได้เมนบอร์ดตัวนี้มารีวิว ยังไม่มีข้อมูลหรือ Manual คู่มือเมนบอร์ดแถมมาเลย คือมาแค่บอร์ดกับ Drive + ผ่านปิดฝาหลัง Back I/O เท่านั้น  ดังนั้นถ้าได้รายละเอียดเพิ่มเต็ม เราจะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ  แต่รวมๆ แล้วผมมองว่าก็ยังคงติดตั้งได้สูงสุด 64GB Max เท่าเดิม และรองรับ Intel XMP Profile

 

บริเวณจุดเสียบ USB3.1 Gen1 Front Panel ครับ

 

บริเวณ Heatsink ระบายความร้อนสำหรับชิปเซ็ต Intel Z390 นั้นก็มีแต่ไปจากรุ่นเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ

 

มีช่องเสียบ SATA 3.0 6Gb/s ทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน และยังคงรองรับ RAID 0, 1, 5 และ 10 อยู่เหมือนเดิม

 

ช่องเสียบ PCIe3.0 x16 มีทั้งหมด 2 ช่อง โดยช่องแรกทำงานที่ x16 เต็มความเร็ว ส่วนอีกช่องนั้นทำงานที่ x4 ตลอดเวลา และรองรับแค่ AMD CrossfireX แบบ 2-Way CFX  ส่วนที่เหลือก็จะเป็น PCIe3.0 x1 อีก 3 ช่องครับ

 

บริเวณช่องเสียบ Ultra M.2 PCIe Gen3 x4 ในช่องแรกนั้นรองรับได้ยาวสุดแบบ Type-2280

 

ส่วนอีกช่องนั้นจะอยู่ล่างสุดของเมนบอร์ดแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น Ultra M.2 หรือไม่แน่แน่ใจครับ แต่ใส่ได้แบบยาวสุดที่ 22110  และใกล้ๆ กันนั้นก็ยังมีช่องเสียบ USB3.1 Front Panel และ USB2.0 Header อยู่อีก อย่างละหนึ่งช่อง

 

ชิปเสียงนั้นยังคงเป็น Realtek ALC 892 เหมือนเดิมครับ

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้ยังมีทีเด็ดที่ใช้ชิป LAN ตัวแรงจากค่าย Intel I219-V Gigabit LAN ครับ

 

ช่องเสียบ WiFi+Bluetooth Module แบบ M.2 Socket แต่ไม่ได้แถมการ WiFi มาให้นะครับ ต้องซื้อเพิ่มเอง…

 

     บริเวณด้านหลัง Back I/O Panel นั้นก็จะมีจุดสำหรับต่อเสาอากาศของ WIFI , PS/2 Port , USB3.1 Gen1 x2, USB3.1 Gen.2 Type-C x1/Type-A x1, USB2.0 x2, LAN Port 1 และ Audio Connector จำนวน 3 ช่อง โดยถ้าหากต้องการต่อ 7-CH Audio แนะนำว่าให้ต่อร่วมกับช่อง Audio Front Panel บนเมนบอร์ดครับ  ส่วนจุดแสดงผลของภาพนั้นมีทั้งหมด 3 แบบคือ DVI-D, D-Sub และ HDMI ครับ

 

 

ภาพบริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดครับ ส่วนรายละเอียดเรื่องของการทดสอบนั้น เชิญหน้าถัดไปเลยครับ ^^”