ASROCK Z390 Phantom Gaming-ITX/AC Motherboard Review

      สวัสดีครับ วันนี้ Clock’EM UP ยินดีนำเสนอเมนบอร์ดขนาด mini-ITX จากสำนัก ASROCK อีกรุ่นหนึ่งที่มีความน่าสนใจด้านการ Overclock Memory DDR4 ในระดับความเร็ว 4500Mhz+ ได้แบบนิ่มๆ กันเลยทีเดียว โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้คือ Z390 Phantom Gaming-ITX/AC และก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำกันก่อนเลยว่า ASROCK ได้นำเมนบอร์ด Phantom Gaming เข้ามาเป็นเมนบอร์ด Gaming แทนในรุ่นเดิมอย่าง Fatal1ty เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะเออ…. เข้าใจตรงกันนะครับ และเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็น่าจะเป็น Phantom Gaming ตัวแรกที่ได้มาเยือน LAB ของเราครับ

 

ASROCK Z390 Phantom Gaming-ITX/AC

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังชิปเซ็ต Intel รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Z390 Chipset ซึ่งจะรองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU Intel Socket LGA-1151 ได้ทั้ง CPU Gen.8 และ Gen.9 โดยทั้ง 2 เจนนี้สามารถเอามาใส่กับเมนบอร์ด Z390 ได้ทันที และในทางกลับกัน เราก็ยังสามารถนำ CPU ทั้ง 2 เจอนี้กลับไปใส่กับเมนบอร์ดชิปเซ็ต Intel Z370 ได้ด้วยเช่นกัน  ส่วนจุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องของขนาดที่เล็กกระทัดรัดในมาตราฐาน mini-ITX เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบ MiniPC สำหรับ Gaming โดยเฉพาะ โดยมีระบบ WiFi ในตัวแบบ 2T2R Dual Band 802.11ac WiFi 2.4/5Ghz มาให้พร้อมใช้งาน ส่วนแรมนั้นสามารถรองรับ DDR4 ความเร็วสูงในแบบ Overclocking Module ได้ถึง DDR4-4500Mhz กันเลยทีเดียวครับ หุหุ…. (ถ้าเอาตาม Native ของ CPU ที่รับได้ก็คือ DDR4-2133/2400/2666Mhz)

Memory Support :

  • 2 x DDR4 DIMM Slots
  • Supports DDR4 4500+(OC) / 4333(OC) / 4266(OC) / 4133(OC) / 4000(OC) / 3866(OC) / 3800(OC) / 3733(OC) / 3600(OC) / 3200(OC) / 2933(OC) / 2800(OC) / 2666 / 2400 / 2133 non-ECC, un-buffered memory
  • Supports ECC UDIMM memory modules (operate in non-ECC mode)
  • Max. capacity of system memory: 32GB*
  • Supports Intel® Extreme Memory Profile (XMP) 2.0
  • 15μ Gold Contact in DIMM Slots

 

นี่คือหน้าตาของเมนบอร์ด ASROCK Z390 Phantom Gaming-ITX/AC แน่นอนว่ามันมาพร้อมกับขนาดมาตราฐาน Mini-ITX จึงทำให้มันมีช่องเสียบแรม DDR4 ได้เพียง 2 Slot เท่านั้น และช่องเสียบ PCI-E3.0 x16 เพียงหนึ่งช่องด้วยเช่นดัน

 

 

     การออกแบบชุดระบายความร้อนของเมนบอร์ดนั้นจะเชื่อมต่อกันทั้ง 2 ส่วนหลักเลยก็คือบริเวณ Mosfet VRM ของ CPU นั้นจะมี Heatsink ขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับท่อ Heatpipe นำความร้อนเชื่อมหากันกับชิป Z390 PCH ซึ่งจะมี Heatsink ที่ซ้อนกันอีก 1 ชั้นด้านบน ซึ่งเอาไว้ระบายความร้อนให้กับ M.2 นั่นเอง ซึ่งสามารถถอดชั้นบนออกเพื่อติดตั้ง M.2 ได้

 

 

ส่วนนี้จะเป็น Heatsink ระบายความร้อนของ M.2 ครับ

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบไฟเลี้ยง CPU แบบ +12V 8Pin จำนวน 1 ชุด

 

ภาคจ่ายไฟออกแบบมาในรูปแบบ 5+2Phase ครับ โดยแบ่งมาอยู่ตรงนี้ประมาณ 2 Phase น่าจะเป็นของชุด IO+SA อย่างละเฟส

 

ส่วนชุดหลักของ CPU น่าจะรวมกันอยู่ตรงนี้ทั้งหมด 5 Phase ด้วยกัน  ส่วน Choke นั้นยังเป็นของดีคุณภาพสูงที่ทนกระแสไหลได้ถึง 60A และเลือกใช้ Cap คุณภาพสูงที่ทาง ASROCK เรียกว่า Supreme 12K Black Caps อายุการใช้งานยายนานกว่า 12,000 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว

 

แกะให้ดูกันเลยดีกว่าครับกับชุด Heatsink ระบายความร้อนให้กับ M.2 ที่ซ้อนอยู่ด้านบน Heatsink ของ Z390 PCH อีกทีหนึ่ง

 

สามารถเลือกได้ว่าจะโชว์ M.2 ที่มี Cooling ติดไว้อยู่แล้ว หรือจะเอา Heatsink ของเมนบอร์ดไปแปะทับอีกที ซึ่งไม่ต้องกังวลนะครับว่า Heatsink จะติดตั้งกับ M.2 ที่มี heatsink มาอยู่แล้ว เพราะ ASROCK ออกแบบน๊อตขัน Heatsink มาเผื่อให้ค่อนข้างยาวครับ สามารถขันลงได้พอดี

 

มีการติดตั้ง Thermal Pad มาให้พร้อมใช้งานครับ

 

แยกส่วนของ Heatsink ระบายความร้อนของเมนบอร์ออกดูกันเลยดีกว่าครับ ว่ามีอะไรอยู่ด้านล่างบ้าง ^^”

 

นี่คือหน้าตาเมนบอร์ดแบบไม่มี Heatsink ระบายความร้อนครับ เราก็จะเห็นตัวชิปเซ็ต Intel Z390 แบบชัดเจน และภาคจ่ายไฟหลักของ CPU 5+2 Phase โดยเลือกใช้ Mosfet จากค่าย Dr.MOS ที่เป็นแบบ Single Package คุณภาพสูง จ่ายกระแสได้เยอะและความร้อนจากการทำงานไม่สูงมากครับ

 

ดูกันใกล้ๆ อีกภาพหนึ่งสำหรับภาคจ่ายไฟหลักของ CPU ที่แยกมา 5 Phase ตรงนี้ ซึ่งจะมี Heatsink ระบายความร้อนให้ขนาดใหญ่ให้เรียบร้อย

 

ส่วนอีก 2 Phase ที่แยกออกมาตรงนี้จะไม่มีการติดตั้ง Heatsink ระบายความร้อนครับ

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับการปรับแต่งแสงสีแบบ RGB Color ด้วย ASROCK Polychrome RGB ซึ่งจะมีช่องเสียบแบบ 12V 4-Pin RGB มาให้ 1 ช่อง และแบบ 5V 3-Pin Addressable ให้อีก 1 ช่อง

 

ตรงนี้คือบริเวณช่องเสียบสาย Strip แบบ 5V 3Pin RGB Addressable

 

บริเวณด้านหลังของเมนบอร์ดจะสามารถติดตั้งช่องเสียบ Ultra M.2 Socket 32Gb/s ได้อีก 1 ช่อง รวมแล้วเมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ M.2 32Gb/s ทั้งหมด 2 ช่อง โดยทั้ง 2 ช่องจะรองรับการติดตั้ง M.2 ได้ทั้งแบบ SATA และ PCIe SSD (NVMe Support) และยังรองรับการติดตั้งร่วมกับ Intel Optane Memory ได้อีกด้วย

 

บริเวณชิปเซ็ต Intel Z390 วางอยู่นั้นจะอยู่ใกล้ๆ กับช่อง Ultra M.2 Socket

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s ทั้งหมด 4 ช่องด้วยกัน โดยทั้งหมดคุมตรงจากชิป Z390 ดังนั้นทุกช่อง สามารถรองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1, 5 และ 10 ทุกช่องครับ

Storage Support :

  • 4 x SATA3 6.0 Gb/s Connectors, support RAID (RAID 0, RAID 1, RAID 5, RAID 10, Intel® Rapid Storage Technology 16), NCQ, AHCI and Hot Plug
  • 1 x Ultra M.2 Socket (M2_1), supports M Key type 2280 M.2 SATA3 6.0 Gb/s module and M.2 PCI Express module up to Gen3 x4 (32 Gb/s)
  • 1 x Ultra M.2 Socket (M2_2), supports M Key type 2260/2280 M.2 SATA3 6.0 Gb/s module and M.2 PCI Express module up to Gen3 x4 (32 Gb/s)
  • *If M2_1 is occupied by a SATA-type M.2 device, SATA3_1 will be disabled.
  • *Supports Intel® Optane™ Technology
  • *Supports NVMe SSD as boot disks

 

ระบบเสียงนั้นยังคงเลือกใช้ชิป Realtek ALC 1220 Audio Codec 7.1CH HD-Audio อยู่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเทคโนโลยีเสียงจาก Cretive Sound Blaster Cinema 5 มาให้ใช้งานได้อีกด้วยครับ ส่วน Audio Cap นั้นเลือกใช้ของดีมีคุณภาพจากค่าย Nichicon Fine Gold Series

Audio Feature :

  • 7.1 CH HD Audio with Content Protection (Realtek ALC1220 Audio Codec)
  • Premium Blu-ray Audio support
  • Supports Surge Protection
  • Nichicon Fine Gold Series Audio Caps
  • 120dB SNR DAC with Differential Amplifier
  • NE5532 Premium Headset Amplifier for Front Panel Audio Connector (Supports up to 600 Ohm headsets)
  • Pure Power-In
  • Direct Drive Technology
  • PCB Isolate Shielding
  • Impedance Sensing on Rear Out port
  • Individual PCB Layers for R/L Audio Channel
  • Gold Audio Jacks
  • 15μ Gold Audio Connector
  • Supports Creative Sound Blaster™ Cinema 5

 

บริเวณช่องเสียบ PCIe3.0 x16 Slot ครับ ซึ่งจะติดตั้ง Steel Armor PCI-E slots เสริมความแข็งแรงมาให้เรียบร้อยครับ

 

บริเวณด้านหลังของ Back I/O Panel ครับ

  • 2 x Antenna Ports
  • 1 x PS/2 Mouse/Keyboard Port
  • 1 x HDMI Port
  • 1 x DisplayPort 1.2
  • 1 x Intel® Thunderbolt™ 3 (Compatible with USB 3.1 Gen2 and USB-C Display)*
  • 1 x Optical SPDIF Out Port
  • 4 x USB 3.1 Gen2 Type-A Ports (10 Gb/s) (Supports ESD Protection)
  • 2 x USB 3.1 Gen1 Ports (Supports ESD Protection)
  • 1 x RJ-45 LAN Port with LED (ACT/LINK LED and SPEED LED)
  • 1 x Clear CMOS Button
  • HD Audio Jacks: Rear Speaker / Central / Bass / Line in / Front Speaker / Microphone (Gold Audio Jacks)
  • Supports USB PD 2.0 up to 12V@3A (36W) charging

LAN Port :

  • Gigabit LAN 10/100/1000 Mb/s
  • Giga PHY Intel® I219V
  • Supports Wake-On-LAN
  • Supports Lightning/ESD Protection
  • Supports Energy Efficient Ethernet 802.3az
  • Supports PXE

Wireless LAN :

  • Intel® 802.11ac WiFi Module (Wireless-AC 9560 adapter)
  • Supports IEEE 802.11a/b/g/n/ac
  • Supports Dual-Band (2.4/5 GHz)
  • Supports high speed wireless connections up to 1733Mbps
  • 2 antennas to support 2 (Transmit) x 2 (Receive) diversity technology
  • Supports Bluetooth 5.0 + High speed class II
  • Supports MU-MIMO

อุปกรณ์ Accessories ต่างๆ ที่แถมมากับตัวเมนบอร์ดครับ

  • Quick Installation Guide, Support CD, I/O Shield
  • 2 x SATA Data Cables
  • 1 x ASRock WiFi 2.4/5 GHz Antenna
  • 2 x Screws for M.2 Sockets

 

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ

 

System Spec.
 CPU
 Intel Core i5-8600K 6C/6T Coffeelake 14nm.
 CPU Cooler Water Cooling Custom Set
– Kyros HF Copper
– Radiator : XSPC RX480 480mm.
– Radiator Fan : Nactua NF-F12 IPPC 3,000rpm x4
– Pump : XSPC DDC MCP355 + Laing
– Fitting & Tube Size : 1/2″
 Motherboard
 ASROCK Z390 Phantom Gaming-ITX/AC
 Memory
 T-Force XTREEM DDR4-4500Mhz CL18 16GB-Kit
 VGA
 ASUS Geforce RTX 2080 Ti Turbo 11GB
 Hard Drive
-XPG GAMMIX S11 M.2 PCIe3.0 x4 SSD 480GB x1 (OS)
-WD Blue 1TB (Game Drive)
 PSU   Thermaltake iRGB PLUS 1200 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1809

 

System Config

     รายละเอียดของการทดสอบในวันนี้ เราก็จะทำการทดสอบด้วยการ Overclock CPU และ Memory DDR4 ตามสไตล์การทดสอบของเว็บเรา โดยครั้งนี้ทำสามารถ Overclock CPU Intel Core i5-8600K 6C/6T ไปได้ถึงความเร็ว 5.5Ghz/Cache 5.4Ghz 1.46V+ LLC Level 1 และสามารถทำงานร่วมกับแรม DDR4 ความเร็ว 4500Mhz CL18-18-18-38 2T 1.45V + การกด Sub-Timing ได้แบบพอตึงมือได้อีกด้วยครับ จุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้คือ IO-L A และ B ไม่หลุดหลวมครับ ซึ่งยังคงเป็นบ่อยๆ ที่ 6/6 หรือ 8/6 จัดว่ามีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดีมากเลยทีเดียวครับ  แค่นี้ผมว่าก็แรงขี้แตกแล้วนะครัช….. ^O^

 

UEFI BIOS Overclock Config

     ส่วนด้านนี้ก็จะเป็นภาพที่ผมจับมาจากทาง UEFI BIOS เพื่อเป็นแนวทางของการ Overclock ให้กับผู้ที่สนใจปรับแต่งแบบในรีวิวฉบับนี้ครับ ลองดูเป็นแนวทางได้เลย และเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เล่นไม่ยากนะครับ ไปได้ดีทั้งแรมที่เป็น PCB แบบเก่าและ PCB แบบใหม่  แต่รวมๆ แล้วผมมองว่า เหมือนมันจะชอบ PCB แบบเก่ามากกว่า เพราะสามารถกด CL 18 ที่ความเร็ว 4500Mhz ได้เนียนกว่าครับ (DDR4-4500 CL17-18-18 ยังถือว่าไม่นิ่งบนบอร์ดตัวนี้ครับ)  ส่วนแรม PCB ใหม่มองลองแล้ว มันบูทติด DDR4-4600Mhz CL19 ได้แค่บางครั้งนะ แต่ดูเหมือนยังไม่ค่อยนิ่งมากสักเท่าไร…. ผมเลยกลับมาเล่นกับแรม T-Force DDR4-4500Mhz New PCB Ref. ตัวนี้แทน…  ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าประทับใจ ที่ความเร็วแรม DDR4-4500Mhz CL18-18-18-38 2T 1.45V แบบเนียนๆ  ส่วนไฟเลี้ยง IO/SA ลองไล่ตั้งแต่ 1.25V – 1.35V ดูครับว่า CPU และแรมของคู่แต่ละความเร็วต้องการแค่ไหน ไม่ตายตัวเสมอไป…. และไม่ควรเกิน 1.45v สำหรับใช้งานทั่วไป เพราะถือว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงมากแล้ว….

 

 

Benchmark

เอาล่ะครับมาถึงช่วงของผลการทดสอบต่างๆ ที่ความเร็ว CPU Intel Core i5-8600K @ 5.5Ghz/Cahce 5.4Ghz + DDR4-4500Mhz CL18-18-18-38 2T 1.45V พร้อมกับการปรับแต่ Sub-Timing ที่แน่นดีระดับหนึ่ง พอที่ระบบจะบูทได้ง่ายๆ ก็ตามนี้เลยครับ ลองพิจารณาดูกันถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเมนบอร์ดตัวนี้กันครับ  ผมเองก็ค่อนข้างชอบเลยที่ IO-L ของแรมยังสามารถเล่นได้ที่ 8/6 หรือ 6/6 ได้ ต่างกับเมนบอร์ดบางรุ่นที่จะเน้นปลด IO-L ให้สูงไปเลย เพื่อเน้นลากแรมบัสสูงๆ 4700-4800Mhz+ ทำงาน IO-L กระโดดไป 14/13 เป็นต้น   ซึ่งถือว่าเยอะกว่าเท่าตัวกันเลยทีเดียว จึงทำให้ประสิทธิภาพของแรมโดยรวมนั้นลดลงไปในระดับหนึ่ง.. จึงต้องอาศัยความถี่ชดเชยเอา   ดังนั้นก็คงขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบเมนบอร์ดแล้วล่ะครับ ว่าจะเน้นบ้าความถี่สูงๆ ไว้ก่อน หรือเน้น Performance เป็นหลักไว้ก่อน….

 

Memtest 125%+

 

Super Pi

 

AIDA64

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Cinebench R15

 

Vray Benchmark 1.0.8

 

Geekbench 4

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

 

Conclusion.

     มาสรุปกันเลยดีกว่าครับสำหรับเมนบอร์ดตัวเล็กตัวนี้จากค่าย ASROCK ในรุ่น Z390 Phantom Gaming-ITX/AC ตัวนี้ ถ้าเอาเรื่องของการ Overclock แรม DDR4 เป็นอย่างแรก ผมมองว่าความเร็วระดับ DDR4-4500Mhz เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับได้จริงๆ ที่เหลือก็แค่เพียงหาแรมที่วิ่งได้มาเสียบเท่านั้นล่ะครับ  ส่วนเรื่องของการ Overclock CPU นั้นวันนี้เราลองกับ Intel Core i5-8600K 6C/6T ที่ความเร็ว 5.5Ghz/Cache 5.4Ghz Vcore 1.46V สามารถเอาอยู่ได้สบายๆ ภาคจ่ายไฟแค่อื่นๆ เท่านั้น  แต่จะเอา i9-9900K 8C/16T อยู่รึป่าวนั้นยังไม่แน่ใจครับ ยังไม่มีโอกาสได้ลอง แต่อย่างน้อยตัว Mosfet ก็เลือกของดีมีคุณภาพสูงอย่าง Mr.MOS รุ่นล่าสุด  สรุปแล้วเรื่องของการ Overclock CPU นั้นทำได้ดีมากเลยทีเดียว ส่วนการ Overclock แรมนั้นถ้าจะเอาเกิน DDR4-4500Mhz+ ขึ้นไปนั้นอาจจะทำได้อยากอยู่นะครับ  แต่ก็ยังมีข้อดีที่บอร์ดรุ่นนี้เน้น IO-L ที่มีค่าต่ำ ราวๆ 8/6 หรือ 6/6 ได้ซึ่งค่านี้ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบแรมโดยรวมได้ดีขึ้นครับ

     ส่วนจุดเด่นอื่นๆ นั้นก็น่าจะเป็นการติดตั้ง WiFi Dual Band AC 2.4/5Ghz Wireless-AC 9560 adapter ของ Intel มาให้ และในส่วนของ Gigabit LAN ก็เลือกใช้ของ Intel I219-V ตัวแรงมาให้ด้วยเช่นกัน, ระบบเสียงก็ยังคงเป็นชิป Realtek ALC 1220 Audio Codec 7.1CH อยู่เล่นเดิม เพิ่มเติมคือรองรับ Creative Sound Blaster Cinema 5 มาให้นั่นเอง  ส่วนเรื่องของแสงสี RGB Color นั้นสามารถเลือกปรับแต่งผ่านทาง Software ที่เรียกว่า ASROCK Polychrome RGB ได้ใน OS และตัวเมนบอร์ดยังมีช่องเสียบสาย Strip RGB มาให้อีก 2 แบบได้แก่ช่องเสียบแบบ 12V 4Pin RGB Header x1 และแบบ 5V 3Pin RGB Addressable x1 มาให้อย่างละช่องครับ, มีช่องเสียบ Ultra M.2 Socket 32Gb/s Type-2280 มาให้ถึง 2 ช่อง พร้อมชุดระบายความร้อน Full Coverage M.2 Heasink ให้กับช่องด้านบนเมนบอร์ด เย็นสบายแน่นอน

     และที่ไม่ธรรมดาอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือเมนบอร์ดรุ่นนี้มีช่องเสียบ USB Type-C ที่รองรับ Intel Thunderbolt 3 ได้อีกด้วย และยังสามารถรองรับ USB PD 2.0 ที่สามารถชาร์จอุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 12V@3A (36Watt) charging ได้เลยทีเดียว หุหุ…   เอาล่ะครับสุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝากแฟนๆ ASROCK ไว้พิจารณาเมนบอร์ดตัวเล็กขนาด mini-ITX ตัวนี้กันด้วยว่า น่าโดนหรือไม่ ???   สวัสดีครับ ^^”

 

 

Special Thanks

ASROCK THAILAND