รีวิวแรมสุดแรง TT ToughRam RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V 16GB-Kit (Hynix DJR)

     สวัสดีครับ รีวิวฉบับนี้เรามีแรมตัวแรงจากค่าย Thermaltake มานำเสนอในรุ่น ToughRam RGB รุ่นใหม่ล่าสุดกับความเร็ว DDR4-4000Mhz และ DDR4-4400Mhz ซึ่งทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยที่แรกของโลก ด้วยแรมที่เลือกใช้ชิป Hynix คุณภาพสูง “รหัส DJR D-Die 18nm.” จึงทำให้เราเห็นชิป Hynix วิ่งทะลุความเร็วระดับ DDR4-4xxxMhz+ ได้แบบไม่ยากเย็นเลย…. (ซึ่งก่อนหน้านี้รหัส CJR C-Die) นั้นทะลุขึ้นมา 4000 ต้นๆ ได้ก็ถือว่าหรูมากแล้ว…..

     และสำหรับวันนี้ทาง Thermaltake ก็ได้เปิดตัวแรมที่มีความเร็วสูงในระดับ DDR4-4000Mhz, 4266Mhz และ 4400Mhz ออกมาจำหน่ายอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบ้านเราจะขายกันอยู่ 2 Model นั่นคือ DDR4-4000Mhz และ 4400Mhz โดยทั้งหมดเป็นชุดละ 16GB (8GBx2)  และที่สำคัญแรมรุ่นนี้รองรับการ Sync RGB ร่วมกับเมนบอร์ดชั้นนำได้ด้วยนะครับ ^^”

 

     มาดูสิ่งที่น่าสนใจและ Spec ของแรมรุ่นนี้กันเลยดีกว่าครับกับ TT ToughRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V XMP จากโรงงาน ความจุคู่ละ 16GB (8GBx2) ด้านในเลือกใช้ชิปแรมรุ่นใหม่ตัวแรงจากค่าย Hynix รหัส DJR หรือที่เรียกกันว่า D-Die นั่นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้จะเป็นแรมรหัส CJR C-Die ซึ่งจะขายอยู่ในแรมความเร็ว 3000-3600Mhz เสียส่วนใหญ่ และการ Overclock นั้นก็ทำไม่ได้ดีมากนัก เต็มที่ก็ 4000-4266Mhz+ เห็นจะได้…. แต่ก็มี C-Die บางตัวไปที่ความเร็ว 4400Mhz+ ได้อยู่นะ แต่ก็ต้องคัดมาระดับหนึ่ง….   และสำหรับครั้งนี้ทาง TT ได้เลือกใช้แรมรหัส DJR รุ่นใหม่กับแรมที่มีความเร็วตั้งแต่ DDR4-4000Mhz ขึ้นไป ดังนั้นมั่นใจได้แน่นอนว่าเป็นชิป DJR 100% ครับ  ส่วนความเร็วที่ต่ำกว่านี้จะเป็น Hynix CJR  และขอย้ำไว้ตรงนี้เลยนะครับทาง TT ในช่วงแรกที่ทำแรมเป็นของตัวเอง จะมีแค่ชิป Hynix ล้วนๆ ไม่มีชิปอื่นปนอย่างแน่นอน

Specification.

P/N R009D408GX2-4400C19A
MEMORY TYPE DDR4
Capacity 16GB Kit (8G x2)
TESTED LATENCY 19
VOLTAGE (V) 1.45 V
Speed 4400 MHz
COMPATIBILITY Intel X299 , Z390 Series, AMD X570
Module Type DIMM
PERFORMANCE PROFILE XMP 2.0 Ready
Package Content 2 x 8GB memory modules
Color Black
WARRANTY Limited Lifetime Warranty

 

Motherboard Support List :

รายการของเมนบอร์ดที่รองรับแรมตั้งแต่ DDR4-4000Mhz, 4266Mhz และ 4400Mhz จากทาง Tt ก็มีมาให้ดูแล้วนะครับว่าใส่กับเมนบอร์ดรุ่นไหนได้แล้วบ้าง [Motherboard Support List]

 

และรายการ Sync RGB ร่วมกับเมนบอร์ดค่ายต่างๆ นั้นก็มีให้ดูด้วยเช่นกันครับ [Motherboard RGB Sync Ready]

 

แกะกล่องดูกันเลยดีกว่าครับ โดยแรมรุ่นนี้จะใช้ Heatspreader ระบายความร้อนสีดำ โดยเป็นอลูมิเนียมที่ค่อนข้างหนาเลยนะครับ ไม่เหมือนกับ Heatspreader แรมทั่วๆ ไปอย่างแน่นอน โดยแรมรุ่นนี้เป็นตัวอย่างทดสอบ Sample นะครับ จึงยังไม่ได้ติดฉลากใดๆ บอกไว้แค่ DDR4-4400

 

จุดเด่นของแรมรุ่นนี้คือจะใช้สัญลักษณ์ของ TT Premium Logo ไว้ที่ตัวแรม

 

ดังนั้นเมื่อมองจากด้านข้าง เราก็จะเห็นได้ชัดเจนว่ามันคือ TT Logo นั่นเอง  ส่วนแถบพลาสติกด้านบนก็เอาไว้ซับแสง RGB ของตัวแรมนั่นเอง

 

มุมด้านบนของแรมครับ

 

แรมของ TT จะเลือกใช้ PCB คุณภาพสูง 10 Layer ที่มีชั้นทองแดงหนา 2oz ช่วยให้การนำสัญญาณได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้การ Overclock นั้นดีขึ้นด้วยนั่นเอง

 

สังเกตุได้ชัดเจนครับว่าตัว Heatspreader อลูมิเนียมชุดนี้ทำออกมาอย่างดี และค่อนข้างหนามากเลยทีเดียว

 

ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคนั้นก็เป็นแรม DDR4 แบบ Dual Channel Kit จำนวน 2 แถว ความจุ 16GB (8GBx2) ความเร็วในการทำงานอยู่ที่ DDR4-4400 (2200Mhz) CL19-25-25-45 ใช้ไฟเลี้ยง 1.45V และรองรับการเปิดใช้งานผ่าน XMP2.0 Profile  และรองรับกับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดชิปเซ็ต Intel Z390, X299 และ AMD X570 ครับ

 

     ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ โดยเราจะทดสอบกับเมนบอร์ดจำนวน 2 รุ่นด้วยกัน โดยผลการทดสอบหลักนั้นผมจะเน้นไปที่ MSI MEG Z390I GAMING EDGE AC นะครับ และอีกตัวจะเป็น ROG MAXIMUS XI APEX ซึ่งผมจะเก็บผลการทดสอบเพิ่มมานิดหน่อย… เพราะผลการทดสอบด้าน OC ยังไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไรนัก  ส่วนเรื่องการเปิดใช้งานแค่ XMP 4400Mhz ทั้ง 2 เมนบอร์ดทำได้สบายๆ เปิดปุ๊บติดปั๊บทั้งการต่อใช้งานร่วมกับ CPU Intel Gen8 และ Gen9   ส่วนผลการทดสอบกับ AMD X570 Platform นั้นจะขอเป็นรีวิวฉบับหน้านะครับ เพราะสามารถ OC ได้ดีในระดับ DDR4-4800Mhz+ แบบนิ่มๆ (สายท่อ) ได้เช่นกัน

 

Hardware Spec.

CPU  -Intel Core i7-8086K 6C/12T  Coffee Lake 14nm. (Gen8)
-Intel Core i9-9900K 8C/16T  Coffee Lake 14nm.+ (Gen9)
CPU Cooler
 Noctua NH-U12A
Motherboard  -MSI MEG Z390I GAMING EDGE AC
-ASUS ROG MAXIMUS XI APEX
Memory
 TT ToughRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V 16GB-Kit
VGA  MSI GTX1080 Ti GAMING X 11GB
Hard Drive  WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB (OS)
PSU  be quiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80Plus Platinum
Test Base
 “Default” Beta
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1903

 

System Config

     และนี่ก็คือชุด Overclock Config สำหรับการรีวิวแรม TT ToughRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19 ชุดนี้ร่วมกับ CPU Intel Core i7-8086K และเมนบอร์ด MSI MEG Z390I GAMING EDGE AC ที่สามารถ Overclock แรมชิป Hynix DJR ตัวนี้ขึ้นไปได้ถึง DDR4-4800Mhz CL19-26-26-46 + การปรับ Sub-Timing แบบแน่นๆ ทดสอบ Memtest 1600%+ ผ่านได้แบบชิวๆ ไม่มีปัญหาใดๆ ถึงแม้แรมจะใช้ไฟเลี้ยงที่สูงมาก 1.65V แต่กลับไม่มีอาการแปลกๆ ให้เห็น ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีชิปแรมชิป DJR อย่างมาก เพราะลดกระบวนการผลิตลงเหลือ 18nm. จึงทำให้ความร้อนน้อยลง และมีความเสถียรภาพมากขึ้นในความถี่ที่สูงระดับ 4800Mhz+

 

UEFI BIOS Overclocking Config

รายละเอียดในการปรับแต่งค่า Overclock Config ของแรมชุดนี้ในความเร็วระดับ DDR4-4800Mhz CL19-26-26-46 + Very Tight Sub-Timing ลองดูเป็นแนวทางการปรับแต่งได้เลยครับ บอกได้เลยว่า DJR เล่นสนุกมาก ยิ่งอัดไฟยิ่งวิ่ง และไม่ค่อยงอแงด้วย หุหุ…

 

Benchmark with MEG MSI Z390I GAMING EDGE AC

     และนี่ก็คือผลการทดสอบชุดแรกที่ทำงานร่วมกับเมนบอร์ด MSI MEG Z390I GAMING EDGE AC ซึ่งก็เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับแรมชิป Hynix DJR ของ TT ตัวนี้ โดยสามารถทำการ Overclock ได้บันเทิงมากในระดับ DDR4-4800Mhz CL19-26-26-46 + การปรับแต่ง Sub-timing แบบแน่นๆ พร้อมกับการทดสอบ Memtest ผ่านได้ถึงระดับ 1600% เป็นระยะเวลากว่า 4 ชั่วโมงโดยไม่มีปัญหาใดๆ เลย ถึงแม้จะใช้ไฟเลี้ยงสูงมาก 1.65V แต่ผมก็ไม่เห็นอาการไฟเยอะแล้ว งอแงแบบแรมชิปอื่นๆ เลยแม้แต่น้อย ซึ่งก็แปลกดีนะว่า DJR ทนไฟและไม่งอแง…. ไม่ว่าจะเป็นห้องร้อน หรือห้องแอร์ มันก็ทำงานได้ดี ไม่จุกจิกเรื่อง Ambient มากถือว่าเป็นแรมที่ปรับแต่ง OC ง่ายตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ^^”

 

Memtest 1600%+ @ DDR4-4800Mhz CL19 1.65V

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

Cinebench R20

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

 

Benchmark with ROG MAXIMUS XI APEX

     ต่อไปเป็นผลการทดสอบร่วมกับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS XI APEX (Z390) ซึ่งผลการ Overclock แรม TT ToughtRAM RGb DDR4-4400Mhz คู่นี้ก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ถูกใจผมเท่าไรนัก เพราะ OC เกินระดับ DDR4-4666Mhz+ แบบให้ใช้งานได้จริง ยังคงยากอยู่พอสมควรทั้งการต่อใช้งานร่วมกับ CPU Gen8 และ Gen9  และสำหรับผลการทดสอบนี้เราจะใช้ CPU Intel Core i9-9900K 8C/16T ครับ โดยผลการทดสอบแบบคร่วๆ นั้นถ้าเอาแค่แบบง่ายๆ ก็ DDR4-4666Mhz CL19-25-25-45 Sub Auto ใช้ไฟเลี้ยง 1.55V (ยังไม่ได้ลองไล่ไฟลง) ก็สามารถรัน Memtest ผ่านได้แบบสบายๆ ครับ  ส่วนความเร็วระดับ DDR4-4700Mhz ถึง 4800Mhz นั้นทำได้เพียงแค่พอจะ Boot เข้า OS ได้แต่ทดสอบอะไรให้ผ่านนั้น แลดูยากไปสักนิด หวังว่าจะมี BIOS ใหม่สำหรับ Hynix DJR มาเร็วๆ นะครับ ^^”

 

และถ้าเอาแบบเน้น Performance ก็ที่ DDR4-4600Mhz CL19-25-25-45 + การปรับแต่ง Sub-Timing แบบแน่นๆ นั้นแลเห็นว่าคงต้องอยู่ที่ความเร็ว DDR4-4600Mhz นี่ล่ะครับใช้ไฟเลี้ยงไม่เยอะด้วย 1.45-1.48V ก็พอจะเสถียรแล้ว…  และถ้าความเร็วเกินกว่านี้จะกด Sub-Timing ลำบาก….

 

Memtest @ DDR4-4666Mhz CL19-25-25-45 1.45V Sub-Auto

 

AIDA @ DDR4-4666Mhz CL19-25-25-45

 

Memtest @ DDR4600Mhz CL19-25-25-45 + Tight Sub. 1.48V

 

AIDA @ DDR4-4600Mhz CL19-25-25-45

ถ้าเน้นจูนใช้งานคงต้องแถวๆ นี้ล่ะครับ หรือไม่ก็รอจนกว่าจะมี BIOS ใหม่ให้เล่นกับ Hynix DJR ได้สนุกกว่านี้….

 

Max Overclock On Air @ DDR4-5000Mhz Dual Channel

ลากกันแบบสุดๆ บนเมนบอร์ด MSI Z390I GAMING EDGE AC ก็ทะลุไปถึงระดับ DDR4-5000Mhz ได้แบบไม่ยากเย็นมากจนเกินไป  จัดว่าในอนาคตถ้าคัดมาดีๆ คงจะเห็นบัส 5000Mhz ได้ไม่ยาก…

 

DDR4-5000Mhz CL21-26-26-46 1.72V !!!

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับผลการทดสอบแรมรุ่นใหม่ล่าจุดจากค่าย Thermaltake ToughRAM RGb DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V คู่ละ 16GB ชุดนี้ โดยเลือกใช้ชิป Hynix DJR รุ่นใหม่ล่าสุด มีจุดเด่นที่สามารถเพิ่มความเร็วแรมได้สูงในระดับ DDR4-4400Mhz ไปจนถึงระดับ DDR4-4800Mhz+ ได้แบบไม่ยากเย็นเลยนะเออ… และผลการทดสอบของเราในครั้งนี้ก็ทำให้เห็นแล้วว่า ถ้าต่อใช้งานกับ MSi Z390I GAMING EDGE AC นั้นสามารถรันที่ DDR4-4800Mhz CL19-26-26-46 + การปรับแต่ง Sub-Timing แบบแน่นๆ เรียกพลังแฝงในตัวแรงออกมาให้หมดทุกเม็ดได้ด้วยนะเออ….. เรียกได้ว่าแรงหมดจดจริงๆ   ผมกล้าพูดเลยว่าใครเล่น Hynix CJR มาก่อน แล้วลองมาจับเล่น DJR ดูจะรู้เลยว่า OC ได้ง่ายกว่าเยอะ… ยิ่งกดยิ่งมา อัดไฟแล้วก็วิ่งเรื่อยๆ แถมไม่ค่อยมีอาการงอแง หรือจุกจิกอะไรมากนัก….. ส่วนตัวแล้วชอบเรื่องของ Ambient Room ที่ไม่ต้องจำเป็นทดสอบในห้องแอร์ 25c มันก็สามารถ Burn Memtest ระดับ 4800Mhz+ ผ่านได้แบบชิวๆ เพียงแค่หาพัดลมระบายความร้อนให้สักตัว ก็เป็นอันจบพิธี….

     ส่วนการเล่นกับ ROG MAXIMUS XI APEX ตัวแรงนั้น ก็ยังทำได้ดีไม่เท่ากับของ MSI Z390I GAMING EDGE AC เท่าไรนัก โดยถ้าเล่นบน M11A จะสามารถ OC ขึ้นไปได้แถวๆ DDR4-4600Mhz ถึง DDR4-4666Mhz แบบเสถียรได้เท่านั้นเอง มากกว่านี้จะไม่ค่อยเสถียรภาพเท่าไรนัก  ในอนาคตถ้ามี BIOS ใหม่ๆ ออกมาเพื่อให้เล่น DJR ได้สนุกขึ้น ผมว่าน่าจะเห็นความเร็วระดับ DDR4-4800Mhz+++ บน ROG M11A ได้อย่างแน่นอน….

     เอาล่ะครับวันนี้ผมเองก็ต้องขอฝากความแรงของชิป Hynix รุ่นใหม่รหัส DJR หรือ D-Die ที่มีความสามารถในการ Overclock ที่ดีกว่าเดิมอย่างมาก…  จนทำให้ Hynix นั้นกลับมาดูน่าสนใจมากในยุคปลายของ DDR4 เลยก็ว่าได้  ถึงแม้ประสิทธิภาพโดยรวมและการปรับแต่ง CL จะยังเป็นรองชิป Samsung B-Die แต่ก็ด้วยราคา/ประสิทธิภาพ จึงทำให้ Hynix นั้นดูคุ้มค่ากว่ามาก เพราะอย่างที่เราทราบๆ กันว่า Samsung B-Die เกรดดีๆ ราคาก็ไม่ได้ถูก…..  และการทดสอบแบบ Max Frequency ในครั้งนี้ก็ทำให้เห็นตัวเลข DDR4-5000Mhz CL21 Dual Channel ให้เห็นได้แบบไม่ยากด้วยนะเออ… ใช้ไฟเลี้ยงราวๆ 1.65-1.72V ก็บูทติดแล้ว เล่นไม่ยากจริงๆ ^^”

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอฝาก Tt ToughRAM RGB DDR4-4400Mhz CL19-25-25-45 1.45V คู่ละ 16GB ตัวนี้ไว้พิจารณาดูกันด้วย พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า สวัสดีครับ

Special Thank

Thermaltake Thailand