Kingston A1000 NVMe M.2 SSD 480GB Review

Benhmark Results

: HD Tune Pro

ผลการทดสอบแรกเลยก็เอา HD Tune มาฝากครับ ก็ทดสอบได้ตั้งแต่ความเร็วในช่วง Read 700-1500MB/s และค่า Write 500-1000MB/s ในแต่ละการทดสอบครับ

 

CrystalDiskMark 6.0.0 x64

และสำหรับโปรแกรม CrystalDiskMark นั้นบอกได้เลยว่าความแรงใกล้ Spec ที่สุดแล้ว ด้วยความเร็ว Seq Read/Write @1600/1000MB/s กันเลยทีเดียว ดังนั้นผมเดาว่า Spec ที่ทาง Kingston ใส่ไว้บน NVMe SSD A1000 Series นั้นน่าจะทำงานพอๆ กันหมดที่ความเร็ว Seq Read/Write @ 1500/1000MB/s ครับ  ส่วนการอ่านไฟล์เล็กๆ ขนาด 4K Read นั้นทำได้ยอดเยี่ยมอยู่นะ 33-41MB/s จัดว่า OK อยู่นะ  ถ้าเอาแบบเด็ดๆ เลยก็พวก 4K Read @ 50-60MB/s++ ครับ

 

AS SSD Benchmark

ส่วนโปรแกรม AS SSD Benchmark นั้นค่า Seq Read/Write ทำออกมาได้ที่ 1284/981MB/s และค่า 4K Read อยู่ที่ระดับ 42.87MB/s และ Write อยู่ที่ 128.06MB/s จัดว่า OK ครับ จัดอยู่ในความแรงระดับกลางๆ ของ NVMe SSD

 

AIDA64 Disk Benchmark

: Read Test Suite

โปรแกรม AIDA64 Disk Benchmark ต่างๆ นั้นก็แสดงประสิทธิภาพความเร็วในการอ่าน Read ของ Kington A1000 NVMe SSD 480GB ตัวนี้ได้ในระดับ 1375-1600MB/s กันเลยทีเดียวครับ จัดว่าวิ่งด้วยความเร็วใกล้เคียงกับ Spec ที่บอกไว้อย่างแน่นอน…

 

: Random Read

 

 

: Buffered Read

 

: Average Read Access

 

 

Transfer Rate Test

ทดสอบการ Copy ไฟล์เกมจาก NVMe ในรุ่น WD Black NVMe 1TB สู่ตัว Kingston A1000 NVMe SSD 480GB ก็พบว่าความเร็วในการเขียนนั้นมานิ่งอยู่ที่ๆ 490-500MB/s ครับ

 

DISK 99% test

     และผลการทดสอบสุดท้ายด้วยการทดสอบด้วยความจุ Disk แบบใกล้เต็ม 99% ดูว่ามีการจัดการของตัว Controller ที่ดีไหม และพบว่าที่ความจุที่ใกล้เต็มของ SSD รุ่นนี้ก็ยังสามารถทำงานได้อย่างไหลลื่นดี ไม่มีการอืดหรือหน่วงใดๆ ให้เห็นแบบชัดเจน โดยคงยังสามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับ Spec ที่ระบุไว้ เพียงแต่ค่าที่สังเกตุได้ว่ามีลดลงไปบ้างก็คือประสิทธิภาพในด้านการเขียน ที่จะลดลงจาก Spec ที่ระบุไว้ราวๆ 900-1000MB/s ลดลงมาเหลือ ประมาณ 500-700MB/s ครับ ก็จัดว่าพอรับได้ครับ ไม่ได้ตกลงไปมากจนรู้สึกได้ โดยภาพรวมแล้วตัว Controller ออกแบบมาให้รักษาระดับการอ่านหรือ Read ไว้เป็นหลักครับ โดยสังเกตุได้ชัดเจนว่าความสามารถในการอ่านของ NVMe SSD รุ่นนี้ยังทำหน้าที่ดีเหมือนเดิม และความเป็นจริงแล้ว การใช้งานของ User ทั่วไป ก็มักจะเป็นงาน Read เป็นหลักอยู่แล้ว เพราะการใช้งานทั่วไปของเราก็จะมีแค่การเก็บข้อมูลที่ Download ไฟล์ต่างๆ มาติดตั้งลงใน Drive อย่างเช่นไฟล์เกม หรือ Media ต่างๆ จากนั้นเราก็จะเปิดใช้งานมันเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือการอ่านไฟหรือ Read เสียงเป็นส่วนใหญ่ครับ จึงทำให้ความรู้สึกจากการใช้งานในช่วงที่ Disk เกือบจะเต็มในระดับ 99% นั้นยังให้ความรู้สึกในการเปิด App หรือการโหลดเข้าเกมต่างๆ นั้นยังให้ความรู้สึกแรงเหมือนเดิม ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ นอกจากงานเขียน อาจะช้าลงเล็กน้อย ตามผลการทดสอบของเราเลยครับ ลองพิจารณาดูกัน….