HyperX Predator RGB DDR4-2933Mhz 4x8GB Review

เมื่อพูดถึงแรม HyperX แน่นอนว่าเราต้องรู้จักกันอย่างแน่นอนกับแบรนด์ Kingston ที่อยู่กับพวกเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งตัวผมเองก็รู้จักเป็นยี่ห้อแรกๆ ที่รู้จักกับเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้  และเมื่อไม่นานมานี้ทาง Kingston ก็ได้ยกระดับตระกูล HyperX Series ออกมาให้เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่แยกออกจาก Products หลักของ Kingston ในนามของ “HYPERX” https://www.hyperxgaming.com/ โดยประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ Gaming Gear ต่างๆ รวมไปจนถึง Memory Module และ SSD ด้วยเช่นกัน  สรุปแล้วคือแยกออกมาทำแบรนด์ HYPERX เพื่อความชัดเจนในส่วนของกลุ่ม Gaming นั่นเอง…

และสำหรับวันนี้เราก็มีโอกาสได่สัมผัสแรม DDR4 จากค่าย HyperX ในรุ่น Predator RGB DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T แบบชุด 4x8GB รวมความจุ 32GB-Kit มาทำการรีวิวแนะนำให้เพื่อนๆ ได้พิจารณาแรม RGB อีกหนึ่งสำนัก โดยจุดเด่นของแรม RGB ค่ายนี้คือ “Dynamic RGB effects featuring HyperX Infrared Sync technology” ด้วยการติดตั้งตัวรับส่ง Infrared ด้านข้างตัวแรมเพื่อให้ไฟ LED นั้นแสดงผลไปได้พร้อมๆ กันนั่นเองครับ

 

เอาล่ะครับ เรามาแกะกล่องดูของด้านในกันเลยดีกว่า ซึ่งแรมรุ่นนี้ก็จะมาแบบ Pack 4 ตัวด้านในกล่อง แต่ก็ไม่ได้ระบุอะไรแบบชัดเจนนะว่าเป็นแรมสำหรับ Quad-Channel ดังนั้นผมตีรวมไปเลยว่า เป็นแรมที่ออกแบบมาใส่ให้ 4 แถว เพื่อจะได้โชว์ไฟ LED แบบงามๆ นั่นเอง   หรือจะเอาไปใช้ใส่ชุด Quad-CH ก็น่าจะทำได้นะ….  อย่างไรก็ดี ก่อนซื้อไปใส่กับเมนบอร์ดรุ่นใดๆ กรุณาตรวจสอบ QVL List ของเมนบอร์ดก่อนว่าใส่ร่วมกันได้หรือไม่….

 

แรมรุ่นนี้ก็จะมีหน้าตาของ Heatspreader ระบายความร้อนแบบเดียวกับรุ่น HYPERX Predator ตัวเดิมที่ไม่มีไฟ เพียงแต่ว่าถ้าเป็นรุ่น RGB นั้นจะมีแถบอะคริลิคสีขุ่นๆ เพื่อเป็นตัวกระจายแสงของ LED ด้านบน Heatspreader

 

 

 

ชุดระบายความร้อนของแรมหรือที่เรียกกันว่า Heatspreader นั้นทำจากอลูมิเนียมสีเทาและลวดลายสีดำแปะทับอีกหนึ่งชั้น โดยด้านนี้ก็จะมีฉลากระบุรุ่นแรมเอาไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นรหัสอะไรเช่นรุ่นนี้คือ “HX429C15PB3AK4/32”  หรือแรม DDR4 ความเร็ว 2933Mhz CL15-17-17-39 2T 1.35V แบบชุดละ 4 แถว (4x8GB) รวมแล้ว 32GB-Kit นั่นเอง และรองรับ Intel XMP2.0 Profile

ส่วนอีกด้านก็จะมี Logo ของ HyperX แสดงไว้อย่างชัดเจน

 

ถ้าสังเกตุกันดีๆ แล้วแต่ละด้านของแรมบริเวณด้านล่าง Pin เราจะเป็น Infrared ตัวสี่เหลี่ยม ใสๆ เล็กๆ อยู่ทั้ง 2 ด้าน โดยด้านหนึ่งมี 1 ตัว และอีกด้านจะมีอีก 2 ตัวไว้คอยรับส่งสัญญาณ

 

ถ้ายังมองกันไม่เห็นก็ตรงนี้เลยครับ สำหรับ Infrared ที่วางไว้สำหรับแรมแต่ละด้าน ดังนั้นเวลาแรมรุ่นนี้เสียบลง Slot ที่ชิดกันทั้ง 4xDIMM จะทำให้การแสดงผลของไฟ RGB นั้นวิ่งไปพร้อมๆ กันเสมอ ไม่เหมือนแรมค่ายอื่นๆ ที่หากไม่มี Software ควบคุมแล้ว แรมแต่ละแถวมักจะแสดงไม่พร้อมกัน…

 

ส่วนชิปแรมนั้นผมบอกเลยว่า ด้านในเป็น Hynix M-Die วางบน PCB แบบ RGB ที่ Custom ทำเอง ส่วนจะสามารถ Overclock ขึ้นจากความเร็วเดิมๆ ที่ DDR4-2933Mhz CL15 ได้ไกลแค่ไหนนั้น… เดี๋ยวไปติดตามผลการทดสอบกันเลย…

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบแรม HyperX Predator RGB DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T ทั้ง 4 แถว วึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า แรมแต่ละแถวมีการแสดงผลแบบ RGB วิ่งแบบ Rainbow วิ่งไล่เปลี่ยนสีไปได้อย่างพร้อมกันทุกแถวด้วยเทคโนโลยี HyperX Infrared Sync Technology

 

RGB Lighting with HyperX Infrared Sync technology

ภาพตัวอย่างการแสดงแสงสีแบบ RGB Color ที่ Sync รูปแบบไปพร้อมกันในทุกๆ แถว และการแสดงสีสันแบบต่างๆ ครับ  ส่วนการรองรับ Software ปรับแต่งนั้นผมเคยลองต่อกับ ROG MAXIMUS X APEX แล้วพบว่ามันไม่ขึ้นให้ปรับอะไรเลย งงดีเหมือนกัน  ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ทดสอบอยู่ตอนนี้คือ ASROCK Z370 Taichi รุ่นนี้ก็ซึ่งจะยังไม่มี Software ที่รองรับเช่นกันครับ  แต่ข้อดีของแรมรุ่นนี้คือระบบ HyperX Infrared Sync ช่วยให้แรมแสดงผลรูปแบบเดียวกันได้ในทุกๆ แถว จัดว่าเจ๋งไปเลยครับ….

 

Hardware Spec.
 CPU
 Intel Core i7-8086K LIMITED EDITION 6C/12T 14nm.
 CPU Cooler   Water Cooling Custom Set
– Kyros HF Copper
– Radiator : XSPC RX480 480mm.
– Radiator Fan : Nactua NF-F12 IPPC 3,000rpm x4
– Pump : XSPC DDC MCP355 + Laing
– Fitting & Tube Size : 1/2″
 Motherboard
-ASROCK Z370 Taichi
-ASUS ROG MAXIMUS X APEX [Intel Z370]
 Memory
 HyperX Predator RGB DDR4-2933 CL15 1.35V 4x8GB
 VGA  MSI GTX1080 Ti GAMING 11GB GDDR5X
 Hard Drive
 Apacer Phanter AS340 240GB x1 (OS Drive)
 PSU  Antec HCP 1300 Watt
 OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1803 2018-6

 

XMP Profile.

แรมรุ่นนี้จะเลือกใช้ชิปแรมจากค่าย Hynix รหัส M-die ซึ่งจะเห็นได้ว่าเริ่มมีแรมชิปอื่นๆ นอกจาก Samsung มาให้เห็นกันมากขึ้นในช่วงพักหลังๆ ซึ่งชิป Hynix รุ่นใหม่อย่างเช่น M-die หรือ C-die นั้นสามารถวิ่งไปแตะเพดานความเร็วระดับ DDR4-4000Mhz+ ได้แล้วนะครับ หากใครติดตามข่าวสารในวงการ OC น่าจะพอเห็นกันบ้างล่ะ ^^”  แต่สำหรับแรมรุ่นนี้จะมีความสามารถในการ Overclock เพิ่มความเร็วจาก DDR4-2933 ขึ้นไปได้สักเท่าไรนั้น มาติดตามชมผลการทดสอบกันเลยครับ ^^”

ส่วนผลการทดสอบด้านล่างนี้จะเป็นผลการเปิด XMP 2.0 Profile ใน BIOS ของเมนบอร์ด ASROCK Z370 Taichi ซึ่งแรมรุ่นนี้สามารถเปิดใช้งาน XMP ได้ตาม Spec ของแรมที่ DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T 1.35V พร้อมกันทั้ง 4 แถวได้อย่างมีเสถียรภาพดีครับ…

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Bandwidth

 

AIDA64 Stress Test Memory 30min.

 

และสำหรับช่วงของการทดสอบแบบ Oveclock เพิ่มความเร็วของแรมขึ้นไปจากเดิม 2933Mhz นั้นเราก็พอจะทำได้บนเมนบอร์ด ASROCK Z370 Taichi ได้เต็มที่แบบเน้นใช้งานได้จริง คือที่ความเร็วระดับ DDR4-3466 CL18-18-18-40 2T พร้อมกับการปรับแต่ง Sub-Timing ให้แน่นกระชับดีระดับหนึ่ง ไม่ถึงกับ Tight แน่น-ตึงมาก…. ด้วยไฟเลี้ยง 1.40V เท่านั้นเอง ก็จัดว่าแรงสุดๆ ในระดับ DDR4-3466CL18 กันเลยทีเดียว  ส่วนภาพด้านล่างนี้จะเป็นหน้า Config จาก UEFI BIOS ที่เราจับภาพมาให้ดูเป็นแนวทางครับ

 

UEFI BIOS Overclock Config

และด้านล่างนี้ก็คือผลการทดสอบของ Benchmark ต่างๆ บนความเร็วของแรมที่ Overclock ไปแล้วที่ความเร็วระดับ DDR4-3466Mhz CL18-18-18-40 2T 4xDIMM 1.40V  เท่านั้น ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่แรงกว่า DDR4-2933Mhz CL15 อยู่มากพอระดับหนึ่งเลยทีเดียวครับ และแรมก็มีสีสันสวยงาม RGB Color ที่มีการ Sync รูปแบบเดียวกันด้วยเทคโนโลยี HyperX Infrared Sync technology  ไปชมความแรงกันเลยครับ

 

System Overclock Config

: DDR4-3466CL16-18-18-40 2T 1.42V

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

การกด Sub-Timing เล่นที่ความเร็วแรม DDR4-3466Mhz CL18 ก็ช่วยให้ประสิทธิภาพของแรมที่ถูกซ่อนเอาไว้นั้นถูกรีดออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยค่า Read กว่า 51K MB/s และ Write กว่า 53K MB/s กันเลย วึ่งหากปล่อยแบบ Auto Sub-Timing ถ้าผมจำไม่ผิด จะได้ Memory Bandwidth เพียงระดับ 48-49K MB/s เท่านั้นเอง….

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRedner x64

 

Cinebench R15

 

Vray Benchmark

 

Geekbench 4

ส่วนโปรแกรม Geekbench 4 ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความ Balance ระหว่างการใช้ประสิทธิภาพของพลัง CPU และ Memory ในการปั่นคะแนนทั้งในส่วนของ Single-Core และ Multi-Thread Score กล่าวคือ ถ้า OC แต่ CPU อย่างเดียวแต่ไม่ OC แรม รับรองได้ว่าคะแนนที่ออกมาจะหายไปเยอะมาก เมื่อเทียบกับการทดสอบด้วยความเร็วแรม DDR4 ที่สูงๆ และมีการปรับแต่ง CL ให้แน่นกระชับ….  โดยผลการทดสอบนี้หากเปลี่ยนชุด Sub-Timing แบบ Auto คะแนนของ Multi-Thread จะอยู่ที่ระดับเพียง 29,xxx แต้มเท่านั้น…

 

Realbench V2.56

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

AIDA64 Memory Stress Test 30min.

ทิ้งท้ายด้วยผลการทดสอบ AIDA Memory Stress test เป็นเวลากว่า 30 นาทีก็พบว่ามีความเสถียรภาพดีระดับหนึ่ง และยังไม่พบ Error ใดๆ ให้เห็นในระยะเวลาการทดสอบดังกล่าว  ดังนั้นความเร็วจุดนี้จึงน่าใช้งานที่สุด คือที่ DDR4-3466 CL18-18-18-40 2T 1.40V และคิดว่าเมนบอร์ดหลายๆ รุ่นน่าจะทำได้ไม่ยากเช่นกัน

 

     และทิ้งท้ายรีวิวด้วยการจับแรมคู่นี้มาลองกับเมนบอร์ดตัวเทพแห่งยุคของชิปเซ็ต Intel Z370 กับเจ้า ROG MAXIMUS X APEX เพื่อค้นหาดูว่าแรมรุ่นนี้สุดได้เท่าไร  และหลังจากลองเล่นอยู่สักพักหนึ่งก็พบว่าเจ้า HyperX Predator DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 ที่เลือกใช้ชิปแรมจากค่าย Hynix M-die ชุดนี้ สามารถ Overclock แบบ Dual-Channel แบบ 2xDIMM สองแถวไปไกลเท่าที่จะทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพดีระดับหนึ่งบนเมนบอร์ดตัวนี้คือ DDR4-3866Mhz CL18-20-20-40 2T 1.45V ส่วนค่า SUb-Timing นั้นเราจะปล่อย Auto ไว้ทั้งหมด เพราะดูเหมือนว่าปรับแต่งอะไรเยอะๆ บนเมนบอร์ดตัวนี้ มักจะทดสอบอะไรไม่ค่อยจะป่านอย่างเช่น Super Pi32MB 12 Threads นั้นจะงอแงมาก ดังนั้นเราจึงอิงกับการทดสอบชุดนี้เป็นหลัก และพบว่าแรมชิป Hynix สามารถ OC ทะลุกำแพงความเร็ว DDR4-3600Mhz+ ไปจนถึง DDR-3866Mhz+ ได้แล้ว !!! จัดว่าเด็ดอยู่มิใช่น้อย ที่จะหาแรมชิปอื่นๆ นอกจาก Samsung B-die ที่สามารถทำความเร็วเกิน DDR4-3866-4xxxMhx + ได้อยู่จ้าวเดียว มานานแสนนานแล้ว…

 

MAXIMUS X APEX OC

 

 

Super Pi

ก็พอไปได้นะครับ ที่ DDR4-3866Mhz CL18-20-20-40 2T 1.45V กับค่า Sub-Timing แบบ Auto เล่นง่ายๆ ทดสอบ Pi32MB 12 หัวผ่านได้ชิวๆ เวลาก็พอถูไถไปได้ เพราะ Sub-Timing ทำอะไรได้ไม่มากกับบอร์ดใบนี้

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

AIDA64 Memory Stress test 30min.

ทดสอบ AIDA64 Memory Stress Test ด้วยเวลา 30 นาที ก็พบว่าไม่พบ error ใดๆ ให้เห็น จัดว่าพอไปได้ครับ…

 

Max OC @ DDR4-4000Mhz CL18-24-24-44 2T 1.45V

     ส่วนความเร็วระดับ 4000Mhz ก็สามารถบูทติดแบบง่ายๆ เช่นกันครับที่ CL18-24-24-44 2T ด้วยไฟเลี้ยง 1.45V เท่านั้น ยุคนี้ใครบอก Hyinx ไม่แรงคิดใหม่ได้เลย ส่วนชิปที่แรงๆ ของ Hynix ถ้าผมดูข้อมูลมาไม่ผิดคือ Hynix C-die ที่สามารถวิ่ง 4000Mhz CL18 ได้แบบนิ่งๆ  ส่วนในรุ่น M-die ก็ทำได้อย่างที่เห็นครับ สามารถ Overclock ได้ดีขึ้นมากแล้ว เมื่อเทียบกับรหัส MFR ในยุคแรกๆ  และยังคงหวังว่าแรมชิป Hynix จะสามารถ Comeback กลับมาแรงอีกครั้งในเร็ววัน…^O^

 

Conslusion.

     ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับการรีวิวแนะนำ Memory Module DDR4 จากทางค่าย HyperX Predator DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T 4x8GB ชุดละ 32GB-Kit ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของระบบแสงสีแบบ RGB Color ที่มีระบบ Dynamic RGB effects featuring HyperX Infrared Sync technology ทำให้แรมทุกตัวที่เสียบลงใน Slot แรมสามารถเปลี่ยนสี RGB Color ได้พร้อมกันโดยไม่ต้องง้อ Software ช่วย เพราะมันใช้ระบบ Infrared ที่ติดตั้งอยู่บนแรมเป็นตัวสื่อสารให้แรมแต่ละแถวแสดงผลได้พร้อมกันนั่นเอง  ซึ่งปกติแล้ว แรม RGB ทั่วๆ ไปเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาครั้งแรก อาจจะแสดงผลแบบ RGB ได้พร้อมๆ กัน แต่สักพักเราจะเห็นได้ว่า มันเริ่มแสดงผลไม่พร้อมกัน  นอกจากว่าคุณจะสั่งปรับแต่งการทำงานผ่าน Software ที่รองรับได้เท่านั้น   ส่วนทางค่าย HyperX นั้นออกแบบเผื่อสำหรับเมนบอร์ดที่ไม่รองรับ Software พวกนี้ด้วยการติดตั้ง HyperX Infrared Sync เข้าไปช่วยให้แรมแสดงผลในรูปแบบเดียวกันได้

     ส่วนความสามารถในการ Overclock นั้นบอกก่อนเลยว่า แรมรุ่นนี้เลือกใช้ชิปของ Hynix รหัส M-die ซึ่งอาจจะไม่ทรงพลังเหมือนชิป Samsung รหัส b-die แต่หลังจากที่ลองเล่นชิป Hynix M-die บนแรมชุดนี้แล้วก็พบว่า สามารถทำการ Overclock เพิ่มความเร็วของแรมจาก Spec DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T ขึ้นไปได้ถึงความเร็วระดับ DDR4-3466Mhz CL18-18-18-40 1.45V 2T 4x8GB 32GB ได้อย่างมีเสถียรภาพแบบไม่ยากเย็น แถมยังกด Sub-Timing ได้แน่นๆ อีกด้วย จัดว่าไม่ธรรมกดาแล้วสำหรับการ OC แรม 4 แถวด้วยความเร็ว DDR4-3466Mhz CL18 ด้วยไฟเลี้ยงไม่สูงมาก

     และการ Overclock แบบ 2 แถวบนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS X APEX นั้นก็พอไปได้กับแรมชิป Hynix c-die ชุดนี้ด้วยความเร็วกว่า DDR4-3866Mhz CL18-20-20-40 2T 1.45V แบบมีเสถียรภาพดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว และยังสามารถบูทด้วยความเร็ว DDR4-4000Mhz CL18-24-24-44 2T 1.45V เข้าสู่ OS ได้อีกด้วย จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ สำหรับแรมชิป Hynix ในยุคนี้ ที่สามารถ Overclock ได้ถึงระดับ 4000Mhz+ ได้แล้ว เหลือเพียงแค่ว่า จะมีชิปที่เด็ดกว่านี้ออกมาต่อกรกับทาง Samsung B-die ได้หรือไม่ ?    เอาล่ะครับอย่างไรแล้ว ก็ขอฝากเจ้าแรม HyperX Predator DDR4-2933Mhz CL15-17-17-39 2T 4x8GB 32GB-Kit ไว้พิจารณาดูกันด้วย  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

Hyperxgaming.com/memory