T-FORCE DELTA RGB 250GB RAID 0 Review

UEFI BIOS RAID 0 x2 Setup

มาดูขั้นตอนการ Setup สำหรับการต่อ RAID 0 ของ T-FORCE DELTA RGB 250GB ทั้ง 2 ลูกนี้บนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS X APEX กันเลยดีกว่าครับว่ามีขั้นตอนการ Setup ในหน้า UEFI BIOS อย่างไรบ้าง โดยเริ่มจากเสียบสาย SATA Cable ลงไปช่องที่เราต้องการ ซึ่งผมจะต่อในช่อง SATA6G 1 และ 2

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้เราเลือกใช้ BIOS ในรุ่น 0801 ในการต่อ RAID 0 ในครั้งนี้

 

อันดับแรกเลยให้เราเข้าไปที่หน้าของแถบ Advance/PCH Storage Configuration จากนั้นเลือกที่เมนู SATA Mode Selection ทำการเปลี่ยนจาก AHCI มาเป็น Intel RST Premium With Intel Optane System Accleration (ขั้นตอนเหมือนการเปิดใช้ Optane Memory นั่นล่ะครับ ใช้อันเดียวกัน)

 

จากนั้นมาที่หน้า Boot/CSM (Compatibility Support Module) แล้วเลือก Launch CSM เป็น Disable ตามคำแนะนำจาก Manual ของเมนบอร์ดครับ จากนั้นกด F10, Save BIOS แล้วกลับเข้ามาหน้า BIOS อีกครั้ง เพื่อ Setup ในหัข้อถัดไป…

 

จากนั้นให้เรากลับมาที่หน้า Advance อีกครั้ง แล้วมองหาที่เมนูล่างสุดเลย จะมี Intel Rapid Storage Technology เพิ่มขึ้นมา ให้เราเข้าไปในนั้นเลยครับ

 

ในหน้าของ Advance/Intel Rapid Storage Technology นั้นจะเป็นหน้าสำหรับทำการสร้าง RAID แบบต่างๆ พร้อมแสดงรายการของ SSD ที่ต่ออยู่ทั้งหมด ซึ่งเรามีอยู่ 2 ตัวในรุ่น T-Force 250GB  โดยขั่นตอนนี้ถ้าหา SSD ครบตามที่เราเสียบแล้วก็กดที่ Create RAID Volume เลยครับ

 

     ขั้นตอนต่อไปก็แค่เลือก RAID แบบที่เราต้องการ ในครั้งนี้เราต้องการประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของระบบ RAID ดังนั้นแน่นอนว่า RAID 0 แรงสุดเพราะความแรงเพิ่มเท่าตัวตามจำนวนของ SSD ที่เสียบเข้าไป แต่มีข้อเสียที่ตรงว่า RAID 0 หากมี SSD ลูกใดลูกหนึ่งเสียหาย จะทำให้ RAID ล่มและไม่สามารถกู้ข้อมูลคืนได้ เสี่ยงแต่ก็แรงสุดในบรรดาการต่อ RAID ทั้งหมด ดังนั้น RAID 0 เหมาะทำไว้เป็น OS เพื่อความไหลลื่นในการทำงานและเอาไว้ลงเกมเพื่อต้องการ Load เข้าเกมเร็วๆ เป็นต้น  ส่วนข้อมูลสำคัญๆ ควรเก็บแยกไว้ใน Hard Drive ตัวอื่นจะปลอดภัยที่สุด

 

เลือก RAID 0 และทำการ Mark ตัว SSD ที่ต้องการทำ โดยเลือก x ทั้ง 2 ลูกเลยครับ

 

จากนั้นเลือกค่า Strip Size ที่ 128KB ตามคำแนะนำสำหรับการต่อ RAID 0 ที่เมนบอร์ดแจ้งไว้ครับ

 

เมื่อ Create RAID 0 เรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นได้ว่า SSD ทั้ง 2 ลูกจะรวมเป็น RAID Volumes เดียวกันแล้ว พร้อมกับขนาดความจุที่รวมกันทั้งหมด ได้ 476.9GB สำหรับไว้ใช้งานลง OS

 

     รายละเอียดของ RAID Volume Info เราก็จะเห็นรายละเอียดของ SSD ทั้ง 2 ตัวที่ต่ออยู่ภายใน RAID 0 และค่า Strip Size ที่เราตั้งไว้ที่ 128KB  ส่วนการลด RAID ก็สามารถใช้เมนู Delete ด้านบนได้เลยครับ แต่ขอเตือนก่อนเลยว่า ถ้าลบ (Delete) RAID แล้วข้อมูลจะหายเกลี้ยง ไม่สามารถกูอะไรได้เลยนะครับ โดยระวังกันด้วย  และในส่วนของสถาณะตรงนี้ ถ้ามี SSD RAID ลูกไหนเสียอยู่ มันก็จะขึ้นสถาณะ Fail ในลูกนั้นครับ (ถ้าเจอแบบนั้นบอกได้เลยว่า งานงอกแน่นอนครับ ^^” )  ดังนั้นถ้าให้ผมแนะนำสำหรับก่อนการต่อ RAID ใดๆ ให้ทำการลบ Drive แบบ Secure Erase ให้เรียบร้อนก่อนทุกตัวจะชัวที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการเขียน/อ่านของ SSD หลังต่อ RAID 0 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด