รีวิว be quiet! DARK ROCK PRO TR4 CPU Cooler สุดเย็นและเงียบสงัด

Installation “การติดตั้ง”

มาถึงขั้นตอนในการติดตั้งกันแล้วนะครับ ผมต้องบอกเลยว่าเป็น Heatsink ที่ประกอบง่ายมากๆ ไปดูกันเลยครับว่าต้องทำอย่างไรบ้าง  โดยอันดับแรกก็ให้ใส่ CPU AMD TR4 ลง Socket รอไว้ก่อนเลย…

 

สำหรับวันนี้เรามี CPU AMD Ryzen Threadripper ส่งเข้ารีวิวจำนวน 2 รุ่นด้วยกันครับ โดยจะเป็นรุ่น AMD Ryzen Threadripper 1920X 12C/24T และในรุ่น TR 2970WX 24C/48T โดยเราจะมีผลการทดสอบเรื่องอุณหภูมิของ CPU ทั้ง 2 รุ่นที่ต่อใช้งานร่วมกับ Heatsink ตัวนี้ให้ชมกันครับว่าจะดับร้อนเจ้า CPU ตัวใหญ่ๆ แบบนี้ได้ดีสักแค่ไหน ?

 

การทาซิลิโคนบน CPU TR4 นั้นบอกได้เลยว่าเป็นอะไรที่เร้าใจมากๆ ทากันไปครับ แทบหมดกระปุก ฮ่าๆ…. Kingpin KPx

 

เกลี่ยๆ ไปให้ทั่ว ไม่ถึงต้องกับเต็มหน้าสัมผัสทั้งหมด เพราะเดี๋ยวตอนใส่ Heatsink ลงไปมันก็จะรีดซิลิโคนออกทางด้านข้างเองล่ะครับ  ส่วนชุด Mounting นั้นก็จัดการติดตั้งให้เรียบร้อยทั้ง 2 ชุดที่บริเวณรูยึด Heatsink

 

วาง Heatsink ลงไปพร้อมกับคานตรงกลาง เปิดจุกน๊อตด้านบน Heatsink แล้วใช้ไขควงที่แถมมาขันน๊อตยุดให้แน่นทั้ง 2 ด้าน แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จพิธีครับ

 

      และมาดูกันครับว่าใส่แล้วจะติดแรมทรงสูงๆ ไหม ผมแนะนำเลยว่า ถ้าต้องการใส่แรมเต็มข้างละ 4 แถว ให้หาแรมที่มี Heatspreader ทรงไม่สูงมากไว้ก่อนเลย  มิฉะนั้นจะใส่ได้เพียงข้างละ 4 แถวเท่านั้น เพราะแถวในสุด มักจะติดกับตัว Heatsink พอดี ส่วนตัวพัดลมนั้นที่จริงมันหลบขึ้นด้านบนได้ ไม่ติดอะไร แต่ถ้าแรมติดกับตัว Heatsink นี่พูดยากเลยครับ ^^”

 

 

ผมลองใส่ T-Force XTREEM DDR4 ให้ดูโดยแรมที่สูงแบบนี้จะใส่แถวในสุดไม่ได้นะครับ ติดกับ Heatsink ชัวร์โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้คือ ROG STRIX X399-E GAMING ครับ

 

ถ้าใส่แรมแบบ Quad-CH แบบ 4 แถว ผมมองว่า Heatspreader แรมสูงๆ ยังไงก็ไม่น่าติดอะไรครับ ลองดูภาพกระกอบในมุมต่างๆ ดูกันเลยครับ

 

ถ้าใส่แรมในช่องก่อนชิดกับ CPU ยังไงก็ไม่ติดแน่นอนครับ

 

มุมมองด้านหลังของ Heatsink ครับ หากใครจะติดตั้งพัดลมเพิ่มอีกตัวทางด้านหลังก็สามารถทำได้เลยครับ ^^”