รีวิว AORUS Z590 TACHYON สำหรับสาย Overclock โดยเฉพาะ

     สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Clock’EM UP กันทุกท่านครับ ช่วงนี้ขอกลับมา Update รีวิวในเว็บต่อบ้างนะครับหลังจากที่ไม่ค่อยได้เขียนรีวิวแบบนี้มานานมาก เอาล่ะครับวันนี้กลับมาพบกับเมนบอร์ดตัวแรงสายตรงสำหรับนัก Overclock จากทางค่าย GIGABYTE กันครับบอกเลยว่ากลับมารอบนี้ ตั้งใจทำกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างแน่นอน กับเจ้า AORUS Z590 TACHYON ชื่อนี้ได้มาอย่างไรนั้น? กล่าวคือ “แทคีออน” คืออนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วกว่าแสง ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบอย่างเป็นทางการ ดังนั้นรุ่น TACHYON น่าจะหมายถึงเร็วที่สุดนั้นเอง……

     สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้นั้นออกแบบมาตอบโจทย์สำหรับสาย Overclock โดยเฉพาะ โดยช่องเสียบแรม DDR4 นั้นจะเป็นแบบ Dual Channel จำนวน 2 Slot เท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อการ Overclock แรมมากที่สุด กล่าวคือลากง่ายขึ้นและเสถียรขึ้น เช่นเดียวกับเมนบอร์ดค่ายอื่นๆ ที่ก็ต่างทยอยทำบอร์ดที่มีแรม 2 Slot ออกมาแข่งกันอยู่หลายเจนแล้ว  และสำหรับครั้งนี้ก็น่าจะเป้นครั้งแรกที่ทาง GIGABYTE ทำบอร์ดที่มีแรม 2 ช่องออกมาจากหน่ายอย่างเป็นทางการจริงๆ   ซึ่งก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่ามีการทำขึ้นมาเพียงแค่บางรุ่นสำหรับโชว์และทดสอบ Overclock เท่านั้น… ยังไม่ได้ผลิตขายจริง…. ดังนั้นเจ้า Tachyon จึงถือว่าเป็นรุ่นแรกของค่าย GIGABYTE/AORUS ที่ทำออกมาให้ผู้ใช้ได้สัมผัสจริงๆ

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ออกแบบมาในขนาดมารตราฐาน E-ATX ใบใหญ่มากครับ (30.5cm x 27cm) ดูจากการออกแบบแล้วช่างดุดันเสียจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งขนาดของ Heatsink ระบายความร้อน VRM ทั้ง 12 เฟสที่มีขนาดใหญ่โตแล้ว ที่บริเวณของ M.2 Heasink + PCH ก็สวยและใหญ่โตเอาการ  และที่ชอบเลยก็คือการวางที่เสียบ ATX 24-Pin ของเมนบอร์ดแบบแนวนอน 45 องศานั้นช่างโดนใจจริงๆ

 

 

AORUS Z590 Tachyon นั้นมาพร้อมกับการรองรับ CPU Intel Socket LGA-1200 สามารถใส่ได้ทั้ง CPU Intel Gen10 Comet Lake และ Gen11 Rocket Lake 14nm.+++ ล่าสุด

CPU Support :

  • 11th Generation Intel® Core™ i9 processors / Intel® Core™ i7 processors / Intel® Core™ i5 processors
  • 10th Generation Intel® Core™ i9 processors / Intel® Core™ i7 processors / Intel® Core™ i5 processors / Intel® Core™ i3 processors/ Intel® Pentium® processors / Intel® Celeron® processors*
    * Limited to processors with 4 MB Intel® Smart Cache, Intel® Celeron® G5xx5 family.
  • L3 cache varies with CPU

 

     ภาคจ่ายไฟออกแบบมาอย่างดีเพื่อตอบสนองการใช้งานด้าน Overclock โดยเฉพาะ โดยปัจจุบันทำสถิติได้สูงสุดที่ความเร็ว CPU Gen11 @7314 MHz และแรมความเร็ว DDR4-6870   โดยในส่วนของภาคจ่ายไฟนั้นเลือกใช้ของ DrMOS ขนาด 100A จำนวน 12 Phase ส่วน Cap นั้นเลือกใช้ของดีอย่าง Tantalum Cap Martrix  แบบ Polymer Cap ให้ประสิธิภาพสูง และตัวมันเองก็ยังเตี้ยแบนเรียบไปกับตัว PCB ทำให้การติดตั้ง CPU Cooler ประเภทต่างๆ นั้นทำได้สะดวกขึ้น (  Heatsink หรือ LN2 POT บางรุ่นนั้นชุด Mounting และขนาดตัวที่ใหญ่มาก บางครั้งอาจจะทำให้มันไปติดกับ CAP แบบกระป๋องที่เราเห็นใช้กันทั่วไป)

 

บริเวณภาคจ่ายไฟ หลักจากที่ถอด heatsink ออกครับเราก็จะพบกับ Mosfet จากค่าย DrMOS ตัวละ 100A ทั้งหมด 12 ตัว

 

บอกได้เลยว่า Heatsink VRM นั้นใหญ่มาก ซับความร้อนได้สบายๆ ครับ มีการติดตั้ง Heatpipe เสริมด้านในด้วย

 

จุดต่อไฟเลี้ยงเสริม 8Pin 12V จำนวน 2 ชุด พร้อมกับการติดตั้งกรอบเหล็กเสริมความแข็งแรงให้กับ Connector ทั้ง 2 อัน

 

     การวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดตัวนี้ต้องบอกเลยว่า จะออกแนวๆ ไม่เหมือนชาวบ้านหน่อยครับ โดยรวมแล้วก็ลงตัวดี โดยย้าย ATX 24-Pin จากปกติที่อยู่ใกล้ๆ กับ Slot แรมออกไปใกล้กับช่องเสียบ SATA  ผมเดาว่าคงทำหลับ LN2 Pot สำหรับแรม ซึ่งเวลาเล่นแล้วมันเกิดน้ำแข็งง่ายและชื้น บริเวณตำแหน่งเดิมของ ATX 24-Pin เขาจึงทำหลบออกไปนั่นเอง…

 

     รองรับการติดตั้งร่วมกับ Memory DDR4 แบบ Dual Channel จำนวน 2xDIMM ตั้งแต่ความเร็ว Native ของ CPU ที่ DDR4-2133 ไปจนถึง DDR4-2933/3200 ส่วนแรมแบบ OC Module นั้นต้องไปดูตาม QVL List ที่รองรับเพิ่ม ซึ่งจากที่ผมเช็คดู ก็มีเห็นถึง DDR4-5000 ถึง 5333 นำครับกับแรมชิป Hynix DJR ไฟเลี้ยงประมาณ 1.55-1.60V XMP Profile  ปล. XMP2.0 Profile ใน Z590 Platform + Gen 11 มีให้เห็น 1.60V – 1.65V แล้วนะครับ ไม่ต้องตกใจ…

Memory Support :

  • 11th Generation Intel® Core™ i9/i7/i5 processors:
  • Support for DDR4 3200/3000/2933/2666/2400/2133 MHz memory modules10th Generation Intel® Core™ i9/i7 processors:
  • Support for DDR4 2933/2666/2400/2133 MHz memory modules
  • 10th Generation Intel® Core™ i5/i3/Pentium®/Celeron® processors:
  • Support for DDR4 2666/2400/2133 MHz memory modules
  • 2 x DDR4 DIMM sockets supporting up to 64 GB (32 GB single DIMM capacity) of system memory
  • Dual channel memory architecture
  • Support for ECC Un-buffered DIMM 1Rx8/2Rx8 memory modules (operate in non-ECC mode)
  • Support for non-ECC Un-buffered DIMM 1Rx8/2Rx8/1Rx16 memory modules
  • Support for Extreme Memory Profile (XMP) memory modules
  • (Please refer “Memory Support List” for more information.)

 

OC GEAR

     ในส่วนของจุดเสริมเรื่องการ Overclock นั้น เมนบอร์ดในตระกูล Overclock ของทาง GIGABYTE นั้นจะทำปุ่มต่างๆ ไว้บริเวณมุมนี้เสมอ และนี่ก็ประกอบไปด้วยปุ่มหลักๆ เลยก็คือ Power/Reset Switch | ปุ่ม LIMP กดเพื่อคืนค่าเข้า BIOS แบบง่ายๆ โดยไม่ clear ค่า config ต่างๆ ที่เราตั้งไว้ก่อนหน้านี้ | ปุ่ม Retry สำหรับกดเพื่อให้ Re-Training แรมหรือค่า Config ต่างๆ ที่เราตั้งไว้แต่มันไม่ยอมบูท ก็กดซ้ำๆ ดูครับ | ปุ่มสำหรับ Clear CMOS | LN2 Switch | BIOS Switch A / B คือมี BIOS 2 ตัวนะครับเลือกได้เลย | Single BIOS Switch บังคับได้ว่าจะใช้ BIOS เดียว ไม่ต้อง Recovery ไปมา 2 BIOS บางทีเราอาจจะเจอปัญหาที่บางครั้ง OC หนักๆ จาก BIOS ตัวหนึ่ง แล้วบอร์ดพยายาม Recovery ตัวมันเอง จนไม่ไหว มันจะไปบูท BIOS อีกตัวขึ้นมาเอง อาจจะทำให้เสียเวลาครับ | ส่วนปุ่มกด +/- ตัวคูณ Multiple real-time ใน OS ก็ยังมีให้เหมือนเดิม และแถมปุ่ม BIOS Profile A และ B มาให้อีกอย่างละปุ่ม ซึ่งการใช้งานเราต้องเข้าไป Save ค่า BIOS ลงในส่วนของ Profile A และ B ก่อนถึงจะกดเรียกใช้งานได้แบบง่ายด้วยปุ่มกด  หรือจะ Save เองใน BIOS / USB Drive ก็ยังทำได้เหมือนเดิมใน BIOS  และที่ชอบอีกอย่างคือมีช่องเสียบ USB3.2 Gen2 ให้ตรงนี้เลย ง่ายต่อการเสียบ USB เพื่อ Backup ผลงานการ Overclock รวมถึงจุดเสียบ SATA3.0 อีก 2 ช่องที่แยกมาให้ตรงนี้โดยเฉพาะเป็นชิปเสริมของ ASMedia ASM1061 และสุดท้ายกับจุดวัดไฟเลี้ยงต่างๆ ของ CPU / RAM /PCH ก็ให้เหมือนเดิม เผื่อใครอยากจะเช็คความแม่นยำจากแหล่งมิเตอร์ภายนอก ก็สามารถทำได้ครับ

 

บริเวณด้านบนเมนบอร์ดจะมีช่องเสียบ 5V 3-Pin Addressable และ 12V 4-Pin RGB Header อย่างละช่อง

 

บริเวณช่องเสียบ USB3.2 Type-C Panel ด้านหน้า Case

 

     บริเวณช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s จำนวน 6 ช่อง ตรงนี้คุมตรงจากทาง Intel Z590 PCH สามารถรองรับการต่อใช้งานแบบ RAID 0, 1, 5 และ 10  ส่วน  SATA3.0 6Gb/s อีก 2 ช่องที่ย้ายไปใกล้ๆ กับปุ่ม OC Gear นั้นจะเป็นชิปเสริมจาก ASMedia ASM1061 จำนวน 2 ช่อง รองรับแค่แบบ IDE/ACHI ธรรมดา ไม่สามารถต่อ RAID ได้

Storage Support :

CPU:

  • 1 x M.2 connector (Socket 3, M key, type 2260/2280/22110 PCIe 4.0 x4/x2 SSD support) (M2A_CPU)*
    * Supported by 11th Generation processors only.

Chipset:

  • 2 x M.2 connectors (Socket 3, M key, type 2280/22110 SATA and PCIe 3.0 x4/x2 SSD support) (M2P_SB)(M2M_SB)
  • 6 x SATA 6Gb/s connectors (SATA3 0~5)
    * Refer to “1-9 Internal Connectors,” for the installation notices for the M.2 and SATA connectors.
  • Support for RAID 0, RAID 1, RAID 5, and RAID 10
    Intel® Optane™ Memory Ready

ASMedia® ASM1061 chip:

  • 2 x SATA 6Gb/s connectors (SATA3 6,7), supporting IDE/AHCI mode only

 

 

     ช่องเสียบ Expansion Slot ต่างๆ ประกอบไปด้วย Slot x16 ทั้งหมด โดยแต่ละช่องทำงานตามนี้ครับ ช่องแรกทำงานแค่ PCIe3.0 x4 นะครับ และช่องถัดมาเป็น PCIe4.0 x16 เต็ม และถัดลงไปอีกช่องเป็น PCIe4.0 x8 และช่องสุดท้ายเลยคือ PCIe3.0 x1 ครับ ดังนั้นใครจะใช้ PCIe4.0 แนะนำให้ต่อแค่ 2 ช่องกลาง x16 + x8 เท่านั้น  ส่วนเรื่องการรองรับเทคโนโลยี Multi-GPU นั้นก็รองรับได้แค่แบบ AMD CrossfireX หรือถ้าต่อใช้งานกับการ์ดแบบ Dual GPU ก็สามารถรองรับการต่อใช้งานแบบ Quad-GPU CrossfireX ได้เช่นกัน ส่วนการทำงานร่วมกับการ์ด NVIDIA SLI นั้นไม่ได้ระบุไว้ อาจจะไม่รองรับนั่นเอง….

Expansion Slot :

  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x16 (PCIEX16)
    * For optimum performance, if only one PCI Express graphics card is to be installed, be sure to install it in the PCIEX16 slot.
  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x8 (PCIEX8)
    * The PCIEX8 slot shares bandwidth with the PCIEX16 slot. When the PCIEX8 slot is populated, the PCIEX16 slot operates at up to x8 mode.
    (The PCIEX16 and PCIEX8 slots conform to PCI Express 4.0 standard.)*
    * Supported by 11th Generation processors only.
  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x4 (PCIEX4)
  • 1 x PCI Express x16 slot, running at x1 (PCIEX1)
    (The PCIEX4 and PCIEX1 slots conform to PCI Express 3.0 standard.)

 

บริเวณช่องเสียบ PCIe x16 ทุกช่องนั้นมีการติดตั้งกรอบเหล็กเสริมความแข็งแรงมาให้ทุก Slot ครับ

 

ส่วนทางด้านระบบเสียงนั้นก็จะใช้ชิป Realtek ALC1220-VB Codec 7.1CH HD Audio | DTS:X Ultra Support

Audio Support :

  • Realtek® ALC1220-VB codec
    * The back panel line out jack supports DSD audio.
  • Support for DTS:X® Ultra
  • High Definition Audio
  • 2/4/5.1/7.1-channel
  • Support for S/PDIF Out

 

 

มาดูกันต่อในส่วนของ M.2 Heatsink กันบ้างครับ

 

     เมื่อเราแกะตัว M.2 Heatsink ออกก็จะเห็นได้ว่า บอร์ดรุ่นนี้รองรับ M.2 Socket ได้ทั้งหมด 3 ช่องด้วยกัน โดยช่องด้านบนสุดจะเป็น M.2 Socket PCIe4.0 x4 ที่วิ่งผ่าน CPU โดยตรงครับ ถ้าจะใช้ M.2 PCIe4.0 ต้องเสียบที่ช่องบนสุดเท่านั้น ซึ่งจะวิ่งต่อเข้ากับ CPU โดยตรงเลย   ส่วนอีก 2 ช่องด้านล่างนั้นจะวิ่งผ่านทางชิป PCH ดังนั้นจะรองรับแค่ M.2 PCIe3.0 x4 ซึ่งในกรณีที่ต่อกับ M.2 SATA ต้องดูคู่มือด้วยนะครับว่าต่อ M.2 ช่องไหนแล้ว จะทำให้ช่อง SATA3.0 6Gb/s ในช่องนั้นๆ ใช้งานไม่ได้ ซึ่งมันจะยังแชร์ช่อง SATA Host ร่วมกันอยู่  แต่ถ้าเป็น M.2 PCIe SSD จะไม่กระทบกับช่องเสียบ SATA3.0  และทั้งหมดนี้รองรับการต่อ M.2 RAID และ Intel Optane Memory ได้ด้วยเช่นกัน

 

ที่ตัว Heatsink ของ M.2 มีการติดตั้ง Thermal pad อย่างดีไว้ให้ทุกจุดครับ

 

Heatsink ระบายความร้อนสำหรับ Intel Z590 PCH

 

ภาพบริเวณชิป Intel Z590 PCH

 

จุดเสียบ 5V 3-Pin Addressable  และ 12V 4-Pin RGB Header จะมีให้ต่อใช้งานด้านล่างเมนบอร์ดอีกอย่างละช่อง  สรุปแล้วทั้งบอร์ดจะมีช่องเสียบ 5V 3-Pin และ 12V 4-Pin RGB ให้อย่างละ 2 ชุด

 

บริเวณช่องเสียบ Back I/O Panel ด้านหลังบอร์ดครับ โดยช่องเสียบ LAN นั้นจะมีมาให้ 1 ช่องความเร็ว 2.5Gb/s จากทาง Intel และสำหรับ Wireless นั้นก็จะเป็น Wi-Fi 6E AX210 | 2.4/5Ghz

Back I/O Panel :

  • 1 x Q-Flash Plus button
  • 1 x OC Ignition button
  • 1 x PS/2 keyboard port
  • 1 x PS/2 mouse port
  • 2 x SMA antenna connectors (2T2R)
  • 1 x HDMI port
  • 1 x USB Type-C® port, with USB 3.2 Gen 2×2 support
  • 3 x USB 3.2 Gen 2 Type-A ports (red)
  • 4 x USB 3.2 Gen 1 ports
  • 1 x RJ-45 port
  • 1 x optical S/PDIF Out connector
  • 5 x audio jacks

LAN :

  • Intel® 2.5GbE LAN chip (2.5 Gbit/1 Gbit/100 Mbit)

Wireless Communication module :

  • Intel® Wi-Fi 6E AX210
  • WIFI a, b, g, n, ac, ax, supporting 2.4/5/6 GHz carrier frequency bands
  • BLUETOOTH 5.2
  • Support for 11ax 160MHz wireless standard and up to 2.4 Gbps data rate
    * Actual data rate may vary depending on environment and equipment.

USB Port :

Chipset:

  • 1 x USB Type-C® port on the back panel, with USB 3.2 Gen 2×2 support
  • 3 x USB 3.2 Gen 2 Type-A ports (red) on the back panel
  • 2 x USB 3.2 Gen 1 ports available through the internal USB header
  • 4 x USB 2.0/1.1 ports available through the internal USB headers

ASMedia® USB 3.2 Gen 2 controller:

  • 1 x USB Type-C® port with USB 3.2 Gen 2 support, available through the internal USB header
  • 1 x USB 3.2 Gen 2 Type-A port (red) onboard

Chipset+Realtek® USB 3.2 Gen 1 Hub:

  • 4 x USB 3.2 Gen 1 ports on the back panel

 

อุปกรณ์ Bundle ต่างๆ ที่แถมมากับตัวกล่องครับ

 

มีชุด Sticker AUROS Team UP. Fight ON. ไว้แปะ Case หรือตามจุดที่ต้องการให้อีก 1 ชุดใหญ่ๆ…

 

System Pic & Setup

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ

 

วันนี้ถือโอกาศลองต่อน้ำเข้ากับชุด DC RAM Rev.3 + ViperSteel 4400 B-Die คู่นี้ไปด้วยครับ

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-11900K + KPx
CPU Cooler  Water Cooling Custom Set

  • Optimus CPU Block
  • RX480 Radiator
  • NF-A12x25 2,000rpm x4 Fans
  • Pump XSPC DDC 355 + Laing + Barrow Heatsink
  • Tube 19.2mm EK-Tube ZMT
Motherboard  AORUS Z590 TACHYON
Memory
 ViperSteel DDR4-4400CL19-19-19-39 1.4V 16GB-Kit (B-Die)
VGA  TUF RTX 3070 8GB OC EDITION
Hard Drive  Kingston KC600 SATA3.0 1TB (OS)
PSU  bequiet! Dark Power Pro11 1200Watt 80PLUS PLATINUM
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 20H2

 

System Overclock Config

     รายละเอียดการทดสอบในครั้งนี้ก็จะเน้นไปที่การ OC CPU ให้สุดบนชุดน้ำเปิดที่เราติดตั้งไว้ ซึ่ง CPU 11900K ตัวนี้ก็สามารถรันหนักๆ ได้ราวๆ 5.2Ghz/Cache 4.3Ghz ด้วย Vcore แถวๆ 1.385V + LLC Ultra ซึ่งจุดนี้ไฟนิ่งสุดกับที่จ่ายแล้ว จะแกว่งอยู่แถวๆ 1.380V -1.385V ส่วนแรมนั้นผมไล่แบบสุดทาง gear 2 สำหรับแรม B-Die คู่นี้ ก็พบว่าบน Tachyon ก็สามารถเล่นแบบนิ่งๆ ที่ย่าย DDR4-4600 CL16-16-16-28 1T หรือ 16-17-17-28 1T ร่วมกับการปรับ Sub-Timing แบบตึงๆ ด้วยไฟเลี้ยงแรมประมาณ 1.6-1.65V ได้แบบไม่ยากครับ ส่วนความเร็วเกินนี้คือย่าย 4800 CL17-17-17 ขึ้นไปนั้น บูทได้หมดครับ แต่จะทำให้นิ่งและเผาแรมแบบนิ่มๆ ยังคงทำได้ยาก ถ้าเทียบกับค่ายอื่น  โดยอาการจะออกแนวเผายาก ใช้ไฟแรมกระโดด เพิ่ม IO / SA ช่วยก็ไม่ดีขึ้น หาจุดเผายากอยู่นะครับ มันชอบรีเครื่องเอง จอฟ้าบ่อย ที่ 4800+ กับแรม B-Die จึงหาจุดที่จะปั้น / เผายาก ดังนั้นจุดที่เล่นง่ายๆ เลย ผมว่า 4600 CL16 หรือ 17 ถ้าแรมใครไหว เผาได้สบายๆ ครับ เกินนี้ผมว่ายังลำบาก ไม่รู้ติดอะไรเหมือนกัน เพราะแรมคู่นี้ผมเล่นกับบอร์ดอื่นๆ 4800 CL16-17-17-28 1T ผมเผาได้สบายๆ  ไม่แน่ อนาคตอาจจะมี BIOS ที่ออกมาดีกว่านี้ก็เป็นได้ สำหรับสายเผาแรม เน้นการใช้งานจริง…  สรุปแล้ว ภาพด้านบนนี้ก็จะเป็นผลการทดสอบ Full bench ของรีวิวฉบับนี้นะครับ ลองดูเป็นแนวทางการจูนและปรับแต่งกันได้เลย…. >>>

 

UEFI BIOS Overclock Config

รายละเอียดของค่า Overclock Config ในรีวิวฉบับนี้ครับ

 

Overclocking Results

ผลการทดสอบแรกแบบ Full Bench นั้นก็อยู่ที่ความเร็ว CPU 11900K @5.2Ghz/Cache 4.3Ghz + DDR4-4600 CL16-16-16-28 1T + Tight Sub 1.65V

 

Memtest

 

Ramtest

 

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

FryRender x64

 

x264 FHD Benchmark

 

Vray Benchmark

 

Cinebench R20

 

Cinebench R23

 

Passmark

 

Geekbench 3

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Night Raid

Max Overclocking On Water Cooling

     และฝากทิ้งท้ายด้วยผลการทดสอบแบบ Max benching ต่างๆ ของเมนบอร์ดตัวนี้ ซึ่งบอกเลยว่าใครชอบแนว Tweak ปรับแต่ เน้นรีดประสิทธิภาพทางด้าน 2D ต่างๆ บอร์ดตัวนี้ค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว สำหรับสายที่เน้น Max bench น่าจะชอบ ถ้าบูทค่อนข้างง่าย ทั้ง Ghz CPU สูงๆ  และการเล่นแรม Gear 1 ที่ตอนนี้ BIOS beta ล่าสุดก็สามารถปลดให้ถึง DDR4-3866 1:1 ให้แล้ว  สำหรับผลการทดสอบกับแรม Hynix DJR นั้นผมมีลงไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจเท่าไรนัก อาจจะลงแยกสายท่อ Gear 2 แยกเป็นอีกหนึ่งรีวิวจะดีกว่า…

 

Super Pi32 + AIDA @DDR4-4600 CL15-16-16-36 1T+ Tight Sub

 

Super Pi32MB 5Ghz + DDR4-3866 CL12-11-11-28 1T 2.0V

 

Super Pi32MB @5.5Ghz/Cache 4.5Ghz + DDR4-3866 CL12-11-11-28 1T

ที่ความเร็ว 5.5Ghz จบด้วยเวลา 4m41.624sec จัดว่าแรงเร้าใจดีจริงๆ เลยสำหรับ AORUS Z590 TACHYON  ไว้โอกาสหน้ามีอะไร Update จะรีบกลับมารายงานผลอีกรอบ…

 

Conclusion.

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการกลับมาของเมนบอร์ดตระกูล Overclock จากค่าย GIGABYTE ที่เขาบอกว่า การกลับมาครั้งนี้จะทำให้ดีที่สุดกว่าที่เคยทำมา…  ซึ่งเจ้า AORUS Z590 TACHYON ตัวนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวังจริงๆ ครับ ซึ่งผมเทียบกับเมนบอร์ดเจนก่อนหน้านี้ของทาง GIGABYTE/AORUS แล้วบอกเลยว่า ความยากง่ายในการปรับแต่งเรื่องการ Oveclock นั้นดีขึ้นเยอะมากๆ ทำได้ง่ายขึ้น นิ่งขึ้น… และทำได้ไกลกว่าเมนบอร์ดเจนก่อนๆ ที่ผ่านมาจะทำได้ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการ Overclock แรมที่ทาง GIGABYTE นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่สุด คือแค่ทำให้ Boot ได้ปรับแต่งความเร็วแรม + CL ในแน่ๆ กับบอร์ดเจนก่อนนั้นผมเชื่อว่าทำได้ไม่ยากครับ แต่ถ้าจะเค้นให้เสถียร กับ Sub-Timimg ให้แน่นๆ แล้วสามารถ Burn-In แรมได้นิ่มๆ แบบของคู่แข่ง ผมว่าบอร์เจนก่อนหน้านี้ทำได้ยาก

     ส่วนเจ้า Tachyon นั้นกลับทำได้ดีขึ้นครับ สามารถเล่นกับแรมชิป Samsung B-Die ให้สามารถเผาแรมได้ ด้วยความเร็ว DDR4-4600 CL16-16-16-36 1T แบบ CL ตองได้นี่ก็ถือว่าดีขึ้นเยอะครับ….  ส่วนการเล่น CL ตอง 17 หรือ 18 ขึ้นไปที่ความเร็วแรมสูงกว่านี้อย่าง DDR4-4800+ ผมยังมองว่ายากครับ บนบอร์ดนี้ทั้งๆ ที่แรมผมวิ่งได้ดีอยู่แล้วกับบอร์ดอื่นๆ  ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าติดที่ Hardware หรือรอ BIOS / Config อะไรไหม ซึ่งผมงมๆ ดูแล้ว ก็คิดว่าไม่ง่ายสำหรับ B-Die แน่นๆ แล้วจูน + เผาได้ง่าย   ส่วนถ้าเล่นกับ DJR ผมลองเล่นคร่าวๆ @DDR4-5200 CL19-27-27-28 1T+ Tight Sub Timing ก็ยังพอจะเผาแรมได้นะครับ  ไว้จะลองให้ดูอีกทีว่าสุดตรงไหน…

     ในเรื่องการ OC CPU นั้นผมไม่ขอพูดถึงอะไรมาก เพราะ CPU Gen 11 ลากยากและกินไฟค่อนข้างเยอะ ใครจะหวัง 5.3Ghz ALL Core แบบนิ่มๆ ได้นี่คงต้องหา CPU เกรดดีๆ เลยล่ะครับ ส่วนภาคจ่ายไฟนั้นผมไม่ติดอะไร เพราะทาง GIGABYTE ได้ออกมาได้นิ่งมากหลายเจนแล้ว จัดว่ายัง OK เหมือนเดิม ให้มาเหลือๆ เลยก็ว่าได้ DrMOS 12Phase 100A… ใช้ไม่ถึงหรอกกับการทำงานทั่วไป  แต่แนะนำว่าการจูนอีกแนวหนึ่ง ก็คือลองหัดจูนแบบ Thermal Velocity Boost หรือ Adaptive Boost Technology บนเจน 11 นั้นน่าสนใจมากกว่าการฝืนเล่น All Core ในกรณีที่ CPU คุณวิ่งยากและกินไฟ… ลองจูนแนวนี้ดูครับ ช่วยให้ช่วงที่ไม่มี Load หนักมาก CPU สามารถแช่ Boost ได้ถึ  5.4-5.5Ghz ได้ในบางคอร์เลยล่ะ และช่วงทำงานหนักๆ จะอยู่ที่ 5.1Ghz All Core ก็จัดว่าน่าสนใจอยู่มิใช่น้อยสายหรับการจูนเพิ่มความเร็วแบบ TVB และ ABT

สุดท้ายนี้ก็ต้องฝากสาวก GIGABYTE / AORUS พิจารณาดูเจ้า AORUS Z590 TACHYON ตัวนี้ดูกันด้วยว่า น่าเล่นน่าลองหรือไม่ สำหรับสาย Overclock !!!

 

Special Thank

GIGABYTE THAILAND