รีวิว ASUS TUF GAMING B550-PLUS Mothrboard

     สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมรีวิวเมนบอร์ด ASUS TUF GAMING B550-PLUS สำหรับสาวก AMD RYZEN กันอีกสักรุ่นดูกันครับ…   และสำหรับจุดเด่นของ TUF Series นั้นก็คือยังคงเน้นไปที่ความทนทาน โดยเลือกใช้ Component เกรดเดียวกับที่ทางการทหารและการแพทย์เลือกใช้…. คือเน้นความทนทานเป็นพิเศษนั่นเอง…. เพียงแต่ว่า TUF ในยุคนี้ เริ่มมาจับกลุ่มตลาดเกมมิ่งมากขึ้น… จึงได้ชื่อรุ่น TUF GAMING มาไงล่ะ…. ยุคนี้ถ้าไม่เน้นเกมมิ่งและไฟ RGB บอกเลยครับว่า อยู่ยาก….

TUF GAMING B550-PLUS

รายละเอียดของตัวเมนบอร์ดเมื่อดูรวมๆ แล้วก็ค่อนข้างครบครันอยู่นะครับสำหรับ Feature พื้นฐานใหม่ๆ อย่างเช่น ช่องเสียบ USB3.2 Gen.2 ทั้งแบบ Type-A และ C ก็มีให้ครบ, ช่องเสียบ AURA RGB Header ก็มีให้ทั้งแบบ 12V 4-Pin RGB และ 5V 3-Pin ARGB Gen.2, ช่องเสียบ M.2 PCIe4.0 x4 เป็นต้น…

Feature :

  • AMD AM4 socket: Ready for 3rd Gen AMD Ryzen™ and 3rd Gen AMD Ryzen™ with Radeon™ Graphics Processors
  • Enhanced power solution: 8+2 DrMOS power stages, ProCool sockets, military-grade TUF components, and Digi+ VRM for maximum durability
  • Comprehensive cooling: VRM heatsink, PCH fanless heatsink, M.2 heatsink, hybrid fan headers and Fan Xpert 4 utility
  • Next-gen connectivity: PCIe 4.0 M.2, USB 3.2 Gen 2 Type-A and Type-C support
  • Made for online gaming: 2.5 Gb Ethernet, M.2 slot (Key E) for Wi-Fi module, TUF LANGuard, and Turbo LAN technology
  • Realtek S1200A codec: Pristine audio quality with unprecedented 108 dB signal-to-noise ratio for stereo line out and 103 dB SNR for line in
  • AI noise-canceling microphone: provides crystal-clear in-game voice communication

 

และถ้าคุณต้องการแต่งคอมแนว TUF GAMING ก็ไม่ต้องห่วงครับ TUF GAMING ALLIANCE มี Partner มากมายที่ทำสินค้าที่มีลวดลายเดียวกับ TUF GAMING Seires  ไม่ต้องกลัวว่าจะหาของแต่งยาก…

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้มาในขนาด ATX มาตราฐานเต็มใบ โดยมี PCB ที่มีลวดลายที่เป็นเอกลัษณ์ลายลวดลาย TUF GAMING

 

รองรับการต่อใช้งานร่วมกับ CPU AMD RYZEN 3000 Series ได้ทุกรุ่นใน Socket AM4

 

จะว่าไปแล้วเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็มีเสน่ห์ที่ใช้ได้เลยนะครับ ดูดุดันขึ้นมากเลย…

TUF Feature :

ASUS TUF PROTECTION :

  • ASUS DIGI+ VRM (Digital power design with Dr. MOS)
  • ASUS Enhanced DRAM Overcurrent Protection
  • ASUS ESD Guards
  • TUF LANGuard
  • ASUS Overvoltage Protection
  • ASUS SafeSlot
  • ASUS Stainless-Steel Back I/O

ASUS Q-Design :

  • ASUS Q-DIMM
  • ASUS Q-LED (CPU [red], DRAM [yellow], VGA [white], Boot Device [yellow green])
  • ASUS Q-Slot
  • ASUS Thermal Solution
  • Aluminum M.2 heatsink

 

CPU รุ่นที่เรานำมาต่อใช้งานร่วมด้วยวันนี้คือ AMD RYZEN 7 3800 XT 8C/16T 7nm. รุ่นใหม่ล่าสุด….

 

จุดต่อไฟเลี้ยง CPU แบบ +12V 8-Pin จำนวน 1 ชุด

 

     รองรับการต่อใช้งานร่วมกับ Memory DDR4 แบบ Dual Channel จำนวน 4xDIMM ตั้งแต่ความเร็วพื้นฐาน DDR4-2133 ไปจนถึง DDR4-4600 แบบ OC ส่วนความจุสูงสุดนั้นสามารถในได้สูงสุด 128GB ครับ  และส่วนถ้านำไปต่อใช้งานร่วมดีบ CPU AMD ตระกูล Renoir [เรอนัวร์] แล้วล่ะก็สามารถ OC แรมได้ไกลถึง DDR4-4800+ กันเลยล่ะครับ หุหุ…

Memory Support :

3rd Gen AMD Ryzen™ Processors

  • 4 x DIMM, Max. 128GB, DDR4 4600(O.C)/4400(O.C)/4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3333(O.C.)/3200/3000/2800/2666/2400/2133 MHz Un-buffered Memory

3rd Gen AMD Ryzen with Radeon Graphics Processors

  • 4 x DIMM, Max. 128GB, DDR4 4800(O.C.)/4600(O.C)/4466(O.C.)/4400(O.C)/4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3333(O.C.)/3200/3000/2800/2666/2400/2133 MHz Un-buffered Memory
  • Dual Channel Memory Architecture
  • ECC Memory (ECC mode) support varies by CPU.
  • * Refer to www.asus.com for the Memory QVL (Qualified Vendors Lists).

 

บริเวณช่องเสียบ USB3.2 Gen.1 Front Panel ครับ

 

ช่องเสียบ M.2 PCIe4.0 x4 64Gb/s รองรับความยาวสูงสุด Type-22110 ครับ ตรงนี้ต่อได้ทั้ง M.2 PCIe SSD และแบบ M.2 SATA SSD

 

ส่วนช่อง M.2 PCIe3.0 x4 32Gb/s ด้านล่างนี้ก็จะมี Heatsink ระบายความร้อน M.2 มาให้อย่างสวยงามพร้อมลวดลายของ TUF Gaming โดยสามารถใส่ได้แบบยาวสุด Type-22110 ด้วยเช่นกัน และใส่ได้ทั้ง M.2 PCIe / SATA SSD ครับ

 

ส่วนตรงนี้เอาไว้เสียบ M.2 การ์ด WIFI นะจ๊ะ…  น่าหา WIFI 6 แรงๆ มาเสียบ อิอิ…

 

ช่องเสียบ SATA3.0 6Gb/s มีให้ทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน โดบควบคุมตรงจากชิปเซท AMD B550 Chipset รองรับการต่อใช้งาน RAID 0, 1, 5 และ 10

Storage Support :

Total supports 2 x M.2 slot(s) and 6 x SATA 6Gb/s ports

3rd Gen AMD Ryzen™ Processors :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M key, type 2242/2260/2280/22110 storage devices support(SATA & PCIe 4.0 x4 mode)

3rd Gen AMD Ryzen with Radeon Graphics Processors :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M Key, Type 2242/2260/2280/22110(PCIE 3.0 x4 and SATA modes) storage devices support

AMD B550 Chipset :

  • 1 x M.2 Socket 3, with M Key, Type 2242/2260/2280/22110(PCIE 3.0 x4 and SATA modes) storage devices support*2
  • 6 x SATA 6Gb/s port(s),
  • Support Raid 0, 1, 5, 10

 

ช่องเสียบ PCIe4.0 x16 นั้นมีอยู่หนึ่งช่องคือช่องบนสุด ส่วนอีกหนึ่งช่องด้านล่างนั้นเป็น PCIe3.0 x16 Slot ที่ทำงานจริงเพียง x4 และช่องเสียบ PCIe3.0 x1 มีมาให้ทั้งหมด 3 ช่องครับ  และรองรับเทคโนโลยี AMD 2-Way CrossFireX

Expansion Slot :

3rd Gen AMD Ryzen™ Processors

  • 1 x PCIe 4.0 x16 (x16 mode)

3rd Gen AMD Ryzen with Radeon Graphics Processors

  • 1 x PCIe 3.0 x16 (x16 mode)

AMD B550 Chipset

  • 1 x PCIe 3.0 x16 (x4 mode)
  • 3 x PCIe 3.0 x1
  • Support PCIe bifurcation for RAID on CPU function.

 

 

ระบบเสียงนั้นก็ยังคงยืนพื้นเดิมด้วยชิป Realtek ACL S1200A 7.1CH Suroound Sound CODEC

Sound :

  • Realtek ALC S1200A 7.1 Surround Sound High Definition Audio CODEC
  • Supports : Jack-detection, Multi-streaming, Front Panel Jack-retasking, up to 24-Bit/192kHz playback

Audio Feature :

  • Exclusive DTS Custom for GAMING Headsets.
  • Optical S/PDIF out port(s) at back panel
  • Audio cover
  • Audio Shielding
  • Dedicated audio PCB layers
  • Premium Japanese audio capacitors
  • Unique de-pop circuit

 

สุดเสียบช่อง RGB Header ต่างๆ ประกอบไปด้วยช่องเสียบแบบ 12V 4-Pin RGB Header จำนวน 2 ช่อง และช่องเสียบแบบ 5V 3-Pin ARGB Gen.2 อีก 1 ช่อง

 

บริเวณด้านหลัง Back I/O Panel ครับ

Back I/O Panel :

  • 1 x DisplayPort
  • 1 x HDMI
  • 1 x LAN (2.5G) port(s)
  • 2 x USB 3.2 Gen 2 (teal blue) (1 x Type-A+1 x USB Type-C®)
  • 4 x USB 3.2 Gen 1 (blue) Type-A
  • 2 x USB 2.0 (one port can be switched to USB BIOS FlashBack)
  • 1 x Optical S/PDIF out
  • 5 x Audio jack(s)
  • 1 x BIOS FlashBack Button(s)

LAN :

  • Realtek RTL8125B 2.5Gb Ethernet
  • TUF LANGuard

WiFi :

  • M.2 slot only (Key E) (Support PCIe interface)*
    *Wi-Fi module is sold separately. ไม่แถมการ์ด WiFI ต้องซื้อเพิ่มเอง*

USB Ports :

Rear USB Port ( Total 8 )

  • 2 x USB 3.2 Gen 2 port(s)(1 x Type-A +1 x USB Type-C®)
  • 4 x USB 3.2 Gen 1 port(s)( x Type-A)
  • 2 x USB 2.0 port(s)( x Type-A)

Front USB Port ( Total 6 )

  • 2 x USB 3.2 Gen 1 port(s)(2 x Type-A)
  • 4 x USB 2.0 port(s)(4 x Type-A)

 

บริเวณด้านหลังเมนบอร์ดครับ

 

 

อุปกรณ์ต่างๆ ที่แถมมากับตัวเมนบอร์ด

Accessories :

  • User’s manual
  • I/O Shield
  • 2 x SATA 6Gb/s cable(s)
  • 1 x Supporting DVD
  • 1 x TUF Gaming Sticker
  • 1 x TUF Certification card(s)
  • 1 x M.2 SSD screw package(s)
  • 1 x M.2 Rubber Package(s)

 

ภาพบรรยากาศในการทดสอบครั้งนี้ครับ โดยเราจะทดสอบในห้องแอร์ 24-25c ตลอดการทดสอบ ส่วนตัวชุดระบายความร้อนของ CPU นั้นเลือกใช้ Block น้ำของคนไทยโดย SuperCool Computer ในรุ่น MARK 6 Beta + ARGB

 

Hardware Spec.

CPU
 AMD RYZEN 7 3800 XT
CPU Cooler  AMD BLOCK MARK 6 By SuperCool Computer
Motherboard  TUF GAMING B550-PLUS
Memory
 VIPERSTEEL DDR4-4400 CL19-19-19-39 16GB (8GBx2) B-Die
VGA  TUF RX 5700 8GB OC
Hard Drive  MP600 PCIe4.0 x4 2TB (OS)
PSU  ToughPower FP1 ARGB 1050Watt 80PLUS Platinum
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 2004

 

System Config

     รายละเอียดของชุดทดสอบในวันนี้ เราก็จะลอง Overclock CPU AMD RYZEN 7 3800 XT ร่วมกับเมนบอร์ด TUF GAMING B550-PLUS ตัวนี้ดูกันว่าจะสุดกันเท่าไร…. และหยังจากที่ได้ลองเล่นดูแล้วก็พบว่าเมนบอร์ดตัวนี้ก็พอที่จะสามารถ OC CPU ไปได้ที่ความเร็ว 4.60Ghz แบบนิ่มๆ ได้ไม่ยากเลย ด้วยไฟเลี้ยงประมาณ 1.35-1.36V ก็เพียงพอแล้ว ส่วนการ Overclock แรมนั้นก็ถือว่าทำได้ดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว โดยผมได้ตั้งเป้าไว้ที่ประสิทธิภาพสูงสุดของ Fclk/Mclk แบบ 1:1 คือที่ความเร็ว DDR4-3800 CL14-14-14-34 1T + กับการปรับแต่ง Sub-Timing แบบแน่นๆ ด้วยไฟเลี้ยงแรม 1.56V สามารถทดสอบ Memtest ผ่านได้ 1000% ในระยัเวลา 1 ชั่วโมง + ผ่านได้แบบไม่ยากเย็นเลยครับ ถือว่าเป็นจุดที่น่าเล่นมาก สำหรับสาวก AMD RYZEN 3000 Series….

 

ตัวแรมผมได้เปลี่ยนมาใช้ Heatspreader แต่งของค่า Barrowch + การแปะ Block น้ำแห้งๆ ไว้ด้านบนให้เป็น Buffer เฉยๆ นะครับยังไม่ได้ลงน้ำ… ก็ให้ผลดีกว่าไม่ใส่…

 

CORSAIR FORCE MP600 PCIe4.0 x4 2TB ตัวแรงที่มาพร้อมกับ M.2 Heatsink

 

แสงสี RGB ของตัวเมนบอร์ดและตัว BLOCK CPU + RAM ครับ ^^”

 

UEFI BIOS Overclock Config

รายละเอียดทางด้าน Overclock Config ในครั้งนี้ครับ สามารถดูเป็นแนวทางในการปรับแต่งได้เลย….  อยากแรงก็ลอกตามเลยครับ จะได้ไม่เสียเวลา ฮ๋าๆ…

 

Overclock Results

และด้านล่างนี้ก็จะเป็นผลการทดสอบความแรงหลังจาก Overclock CPU AMD RYZEN 7 3800 XT @4.6Ghz All Core 1.36V กับแรมความเร็ว DDR4-3800 CL14-14-14-34 1T + Tight Sub-Timing 1.56V แบบเนียนๆ ไปชมกันเลยครับ ^^”

 

RunMemtest 1Hr | 1000%+

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Vray Benchmark

 

Cinebench R15

 

Cinebench R20

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 3

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

PCMARK 10

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

3DMARK Time Spy Extreme

 

Max Overclocking on Water Cooler

     ลาก CPU ต่อทิ้งท้ายกันอีกนิด 3800 XT @4.7Ghz All Core 1.45V กับพอไปได้นะครับ แต่ถ้าจะเอานิ่งๆ เลยผมว่าบอร์ดตัวนี้ยังไม่เก่งเรื่องลาก Ghz CPU สักเท่าไร… แต่เล่นแรมเนี่ย พอได้เลยนะครับ จริงแล้วผมพอมีผลการลากแรมสายท่อ @DDR4-4733 CL18-26-26-46 อยู่นะครับกับแรม TT DJR แต่หาผลไม่เจอ ไม่รู้ไปอยู่ตรงไหน ส่วนที่ DDR4-4800 นั้นพยายามลองบูทแล้วไม่ติดเลย ฮ่าๆ….

 

Cinebench R20 @4.7Ghz

งุ้ยๆๆๆ R20 CB 5723 แบบนี้แรงไหมอะ… จำแต้มไม่ได้ว่าแบบไหนแรง อิอิ…

 

Conclusion.

     OK ครับมาสรุปกันเลยสำหรับการรีวิวเมนบอร์ด ASUS TUF GAMING B550-PLUS ตัวนี้ สิ่งที่ผมชอบก่อนเลยละกันคือ เรื่องของหน้าตาและการออกแบบของตัวเมนบอร์ด ผมมองว่าดูดีกว่ารุ่นก่อนๆ เยอะเลยครับ มีความเรียบหรู และดุดันไปในตัว ไม่ต้องมีสีสันที่ฉูดฉาด ดูเป็นผู้ใหญ่ดีนะเออ…  ส่วนเรื่องประสิทธิภาพการ Overclock แรมนั้นก็ค่อนข้างถูกใจผมอยู่ครับคือดันแบบ Fclk/Mclk 1: 1 ไปสุดที่ 1900Mhz ได้สบายๆ @DDR4-3800 CL14-14-14-34 1T + Tight Sub ด้วยไฟเลี้ยงเพียง 1.56V ก็สามารถรันทดสอบ Memtest ผ่าน 1000%+ ได้แบบนิ่มๆ เลย  ส่วนการลาก CPU นั้นผมมองว่ายังไม่ค่อย OK เท่าไรครับคือเล่น 4.7Ghz ให้นิ่งๆ นั้นทำได้ยากอยู่ คือต้องยัดไฟ Vcore ให้เยอะๆ อย่างเดียว ถึงจะพอไปได้  แต่โดยรวมแลบ้วถ้าเอาแค่ 4.6Ghz น่าสบายๆ เลยครับ ^^”

     ส่วนทางด้านลูกเล่นอื่นๆ ก็พอใช้ได้เลยนะครับ TUF ตัวนี้มีจุดเสียบไฟ AURA Header ให้อยู่ 3 จุด ได้แก่แบบ 12V 4-Pin RGB จำนวน 2 จุด และแบบ 5V 3-Pin ARGB Gen.2 อีก 1 จุด ส่วนเรื่องของระบบ LAN ก็ให้มาแบบ 2.5Gb/s กันเลยทีเดียงแรงเหลือล้นจริงๆ…. ส่วน USB3.2 Gen.2 Type-C และ Type-A ก็มีให้เลือกต่อใช้งานกับอุปกรณ์ได้ที่บริเวณหลัง Back I/O Panel และระบบเสียงยังคงเลือกใช้ Realtek ACL S1200A 7.1CH Suroound Sound CODEC ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ M.2 PCIe4.0 x4 64Gb/s Type-22110 จำนวน 1 ช่อง และ M.2 PCIe3.0 x4 32Gb/s Type-22110 อีก 1 ช่องที่มีพร้อมกับ M.2 Heatsink สวยๆ…

     เอาล่ะครับใครที่ชื่นชอบเมนบอร์ดตระกูล TUF GAMING Series ของทาง ASUS ก็ลองพิจาาณาดูกันได้เลยครับ TUF GAMING B550-PLUS ตัวนี้ที่มี Feature ใหม่ๆ ที่ทันสมัยไว้ให้ครบครัน และยังมีความสามารถในการ Overclock เพิ่มประสิทธิภาพ CPU และ RAM ได้ค่อนข้างน่าสนใจอีกด้วย…. ไว้พบกันใหม่รีวิวฉบับหน้า  สวัสดีครับ ^^”

 

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team