ASRock Z490 Taichi ปะทะ Hynix DJR @DDR4-4800CL18-26-26-46 แบบนิ่มๆ

      สำหรับรีวิวฉบับนี้เราขอเน้นๆ ในเรื่องการ Overclock แรมล้วนๆ เลยนะครับกับเจ้าเมนบอร์ด ASRock Z490 Taichi กับการ Overclock คู่กับแรมชิปยอดนิยมในยุคนี้อย่าง Hynix DJR ซึ่งเป็นแรมจากค่าย Thermaltake ToughRAM RGB DDR4-4400 CL19 16GB-Kit โดยจากที่ผมได้ลองเล่นดูแล้วพบว่า ASRock Z490 Taichi ตัวนี้ก็พอที่จะขับแรมความเร็วสูงๆ ได้เกินระดับ DDR4-4666+ ได้ง่ายมากจริงๆ ครับ  ซึ่งจากผลการทดสอบเค้นแบบสุดๆ ผมก็มาจบที่ความเร็ว DDR4-4800 (2400MHz) ด้วย CL18-26-26-46 2T ด้วยไฟเลี้ยงแรม 1.63V และยังสามารถกด Sub-Timing ได้แน่นดีมากเลยทีเดียว เรียกพลังแฝงของแรมกลับมาได้เยอะมากเลยทีเดียว….  ดังนั้นใครที่ชอบเล่นแรม Mhz เยอะๆ และ CL แน่นพอดีๆ บนเมนบอร์ดรุ่นนี้ลองดูแนวทางการปรับแต่งได้ในรีวิวฉบับนี้เลยครับ…

 

สำหรับการทดสอบของเรานั้นก็จะเลือกใช้ CPU Intel Core i9-10900K 10C/20T ES เหมือนเดิมกับรีวิวก่อนหน้านี้ที่เล่นกับแรมชิป Samsung B-Die

Hardware Spec.

CPU
 Intel Core i9-10900K 10C/20T + Kingpin KPx
CPU Cooler  Water Cooling Custom Set
Motherboard  ASRock Z490 Taichi
Memory
 ToughRAM RGB DDR4-4400 CL19-25-25 16GB (8GBx2)
VGA  AMD RADEON RX 5700 XT 8GB
Hard Drive  WD_BLACK SN750 NVMe SSD 1TB (OS)
PSU  Bequiet! DARK POWER PRO 1200Watt 80PLUS PLATINUM
Base Test
 “DEFAULT”
OS  Windows 10 Pro 64 bit [Last Update] 1909

 

System Config

รายละเอียดในการ Overclock ครั้งนี้ก็ยังคงยืนพื้นที่ความเร็ว CPU 10900K @ 5.2/5.0Ghz Vcore 1.36V BIOS Set ส่วนความเร็วแรมนั้นผมบี้สุดๆ มาได้ที่ DDR4-4800 CL18-26-26-46 2T 1.63V + Tight Sub-Timing ส่วนไฟชุดอื่นๆ ผมไม่ได้ยุ่งอะไรมากครับ มีแต่ Fix VCCIO ไว้ 1.35V เท่านั้น ส่วนไฟเลี้ยง VCCSA ปล่อย Auto ไว้มันจ่ายให้เองประมาณ 1.64-1.66v ครับ

 

UEFI BIOS Overclocking Config

รายละเอียดของหน้า UEFI BIOS ที่ทำการปรับแต่งค่า OC ต่างๆ ครับ ลองดูเป็นแนวทางการปรับแต่งได้เลย…

Overclocking Performance

     สำหรับจุดเด่นของเมนบอร์ด Z490 นั้นส่วนใหญ่ ทุกคนคงจะมองไปที่การขับเคลื่อนแรม DDR4 ไปในความถี่สูงๆ กันเสียส่วนใหญ่ เช่น… บอร์ดตัวนี้ใส่แรมได้เกินความเร็ว DDR4-4600+ หรือรับรองกับแรม DDR4-4800+ ได้ไหม…  ดังนั้นผมจึงขอโอกาศได้ลองเล่นแรมความเร็วสูงๆ ระดับ DDR4-4800 CL18-26-26-46 ให้ดูกันว่า ASRock Z490 Taichi นั้นมีคุณสมบัติที่เพียงพอรึป่าว ?

     คำตอบที่ได้นั้น คือ ทำได้ครับ ด้วยการ Overclock แบบ Manual เข้าไปปรับแต่งความเร็วแรมเอง ซึ่งผมก็ได้ไล่ความเร็วขึ้นจาก XMP DDR4-4400 ไปจนถึง DDR4-4600 4700 แบะจบที่ DDR4-4800 โดย CL นั้นผมก็ Fix แต่แรกเลยที่ CL18-26-26-46 2T  จากนั้นพอเราหาจุดสูงสุดของเมนบอร์ดและแรมที่สามารถบูทความเร็มแรมได้สูงสุดแล้ว ผมก็มานั่งไล่กด Sub-timing ต่างๆ ลงทีละส่วน จนครับ และเริ่มทดสอบ Burn-In ด้วย Memtest เป็นระยะๆ โดยสุดถ้ายก็มาจบที่ Config ดังกล่าวครับ… ซึ่งบอกได้เลยว่าผมสามารถเผาแรมชุดนี้ได้ยาวๆ ถึงระดับ 1200% ด้วยระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมงโดยไม่มี error ให้เห็นเลย นับว่าเสถียรภาพดีมากระดับหนึ่งเลยล่ะ…   แต่ย้ำก่อนนะครับ Config นี้ต้องเล่นในห้องแอร์ 24-25c เท่านั้นเพราะแรมค่อนข้างร้อนมาก เนื่องจากเล่นไฟเลี้ยงสูงถึง 1.63V  หากต้องการใช้ไฟเลี้ยงแรมต่ำกว่านี้ก็ลองปลด CL บางชุดลงดูแทนครับ…..  ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของแรมแต่ละชุดและ IMC ของ CPU แต่ละตัวด้วยว่าเอื้อ…..แค่ไหน?

 

RunMemTest 1200%+ (Run Time 2Hr. +)

 

Super Pi

 

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

 

x264 FHD Benchmark

 

FryRender x64

 

Vray Benchmark

 

Cinebench R15

 

Cinebench R20

 

Realbench V2.56

 

Geekbench 4

 

Geekbench 5

 

3DMARK Night Raid

 

3DMARK Fire Strike

 

3DMARK Time Spy

 

Conclusion.

     ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับการ Overclock แรม DDR4 ความเร็วระดับ 4800+ ซึ่งเมนบอร์ด ASRock Z490 Taichi ก็แสดงศักยภาพให้เราเห็นแล้วว่า กลับมาครั้งนี้เล่นแรมความถี่สูงๆ ได้แบบเนียนๆ แล้วนะเออ…. ใครสนใจหาแรม Hynix DJR มาขับเล่นแถวๆ DDR4-4800 CL18-26-26-46 แบบเราก็ลองดูรายละเอียดตาม Overclock Config ตามที่เราเป็นทำให้ดู Guide ได้เลยครับ ไม่ผิดหวังแน่นอนกับ Taichi โฉมใหม่… ลากแรมได้ไกลกว่าเจนก่อนๆ อย่างแน่นอน

     ส่วนใครที่ชื่อชอบ Performance เป็นหลักก็ยังสามารถหาแรมชิป Samsung B-Die เกรดดีๆ มาขับ + กด CL ต่ำๆ เล่นได้ตามรีวิวฉบับก่อนหน้านี้ได้เช่นกัน  เอาล่ะครับ ไว้พบกันใหม่ รีวิวฉบีบหน้า สวัสดีครับ ^^

 

Special Thanks

Power By Clock’Em UP Team